space
space
space
 
มกราคม 2567
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
space
space
24 มกราคม 2567
space
space
space

ศึกษาตำรา ไม่ยอมปฏิบัติ 99.99%โดนอวิชชาครอบงำจนเป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้น กระทู้คำถาม ติดตาม ศาสนาพุทธมห

ศึกษาตำรา ไม่ยอมปฏิบัติ 99.99%โดนอวิชชาครอบงำจนเป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้น


กระทู้คำถาม

ศาสนาพุทธมหาสติปัฏฐาน 4พระไตรปิฎกปฏิบัติธรรมศาสนา

ศึกษาตำรา ไม่ยอมปฏิบัติ 99.99%โดนอวิชชาครอบงำจนเป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้น
0
 
2
 

สมาชิกหมายเลข 2748147
วันจันทร์ เวลา 13:29 น.

ความคิดเห็นที่ 1เอาตัวเลข 99.99 มาจากไหนครับ สำรวจยังไง
ตอบกลับ
0
 
2
 

สมาชิกหมายเลข 869744
วันจันทร์ เวลา 14:11 น.
ฆราวาสมุนี ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 3402001 ถูกใจ
ดู 6 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 284000.org



025 เรียนไม่เป็นก็มีโทษ

ปัญหา คนทั่วไปเข้าใจว่า การเรียนธรรมเป็นของดี มีประโยชน์ แต่ถ่ายเดียว ใครจะทราบว่าการเรียนธรรมก่อให้เกิดทุกข์โทษ มีหรือไม่?

     พุทธดำรัสตอบ

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษเหล่าบางพวกในพระธรรม วินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ

บุรุษเหล่าเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรอง เนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญา

ธรรมเหล่านั้นย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแก่บุรุษเปล่าเหล่านั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วยปัญญา

บุรุษเปล่าเหล่านั้น เป็นผู้มีความข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ (เรียนเพื่อข่มผู้อื่น)

และมีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์ (เรียนเพื่อให้คนตำหนิมิได้)

ย่อมเล่าเรียนธรรม ก็กุลบุตรทั้งหลายย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด บุรุษเหล่าเหล่านั้นย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์แห่งธรรมนั้น

ธรรมเหล่านั้นอันบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนไม่ดีแล้ว

     
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษเสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือ ที่แขน หรือที่อวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย มีการกัดนั้นเป็นเหตุข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะงูพิษตนจับไม่ดีแล้ว”

อลคัททูปมสูตร มู. ม. (๒๗๘)
ตบ. ๑๒ : ๒๖๗-๒๖๘ ตท.๑๒ : ๒๑๗-๒๑๘
ตอ. MLS. I : ๑๗๑-๑๗๒
ตอบกลับ
0
 
1
 

สมาชิกหมายเลข 7326608
วันจันทร์ เวลา 14:19 น.
สมาชิกหมายเลข 2965262 ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 3อนิจฺจา วต สงฺขารา   อุปฺปาทวยธมฺมิโน
อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ   เตสํ วูปสโม สุโขฯ


https://84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270095
ตอบกลับ
0
 
2
 

โอวันติ 
วันจันทร์ เวลา 14:21 น.
สมาชิกหมายเลข 3402001 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 1265297 ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 4https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=71
๓. อิฏฐธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนา
             [๗๓] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
             ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
             ๑. โภคสมบัติ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
             ๒. ผิวพรรณ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
             ๓. ความไม่มีโรค เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
             ๔. ศีล เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
             ๕. พรหมจรรย์ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
             ๖. มิตร เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
             ๗. ความเป็นพหูสูต เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
             ๘. ปัญญา เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
             ๙. ธรรม๑- เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
             ๑๐. สวรรค์ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
@เชิงอรรถ :
@๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๗๓-๗๔/๓๕๙)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๖๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๓. อากังขวรรค ๓. อิฏฐธัมมสูตร

             ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
             ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้
ยากในโลก มีธรรมที่เป็นอันตราย ๑๐ ประการ คือ
                          ๑. ความเกียจคร้าน ไม่ขยันหมั่นเพียร เป็นอันตรายต่อโภคสมบัติ
                          ๒. การไม่ประดับตกแต่ง เป็นอันตรายต่อผิวพรรณ
                          ๓. การทำสิ่งที่ไม่เป็นสัปปายะ เป็นอันตรายต่อความไม่มีโรค
                          ๔. ความเป็นผู้มีปาปมิตร(มิตรชั่ว) เป็นอันตรายต่อศีล
                          ๕. ความไม่สำรวมอินทรีย์ เป็นอันตรายต่อพรหมจรรย์
                          ๖. การแกล้งกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความจริง เป็นอันตรายต่อมิตร
                          ๗. การไม่ทำการสาธยาย เป็นอันตรายต่อความเป็นพหูสูต
                          ๘. การไม่ฟังด้วยดี การไม่สอบถาม เป็นอันตรายต่อปัญญา
                          ๙. การไม่ประกอบความเพียร การไม่พิจารณา เป็นอันตรายต่อธรรม
                          ๑๐. การปฏิบัติผิด เป็นอันตรายต่อสวรรค์
             ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นอันตรายต่อธรรม ๑๐ ประการ
ซึ่งเป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
             ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้
ยากในโลก มีธรรมที่เป็นอาหาร ๑๐ ประการ คือ
                          ๑. ความขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน เป็นอาหารของโภคสมบัติ
                          ๒. การประดับตกแต่ง เป็นอาหารของผิวพรรณ
                          ๓. การทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ เป็นอาหารของความไม่มีโรค
                          ๔. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร(มิตรดี) เป็นอาหารของศีล
                          ๕. ความสำรวมอินทรีย์ เป็นอาหารของพรหมจรรย์
                          ๖. การไม่แกล้งกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความจริง เป็นอาหารของมิตร
                          ๗. การทำการสาธยาย เป็นอาหารของความเป็นพหูสูต
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๖๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๓. อากังขวรรค ๔. วัฑฒิสูตร

                          ๘. การฟังด้วยดี การสอบถาม เป็นอาหารของปัญญา
                          ๙. การประกอบความเพียร การพิจารณา เป็นอาหารของธรรม
                          ๑๐. การปฏิบัติชอบ เป็นอาหารของสวรรค์
             ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นอาหารของธรรม ๑๐ ประการ
ซึ่งเป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ตอบกลับ
0
 
2
 

ทำหมู 
วันจันทร์ เวลา 14:38 น.
สมาชิกหมายเลข 1265297 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 3402001 ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 5https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=100
๗. ปฐมพลสูตร
ว่าด้วยกำลัง สูตรที่ ๑
             [๒๗] ภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๘ ประการนี้
             กำลัง ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
                          ๑. เด็กมีการร้องไห้เป็นกำลัง
                          ๒. มาตุคามมีความโกรธเป็นกำลัง
                          ๓. โจรมีอาวุธเป็นกำลัง
                          ๔. พระราชามีอิสริยยศเป็นกำลัง
                          ๕. คนพาลมีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง
                          ๖. บัณฑิตมีการไม่เพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง
                          ๗. คนผู้เป็นพหูสูตมีการพิจารณาเป็นกำลัง
                          ๘. สมณพราหมณ์มีขันติ๑- เป็นกำลัง
             ภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๘ ประการนี้แล
ตอบกลับ
0
 
1
 

ทำหมู 
วันจันทร์ เวลา 14:39 น.
สมาชิกหมายเลข 3402001 ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 6https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=622&Z=649
หานิสูตร
             [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เสื่อมแก่อุบาสก ๗ ประการเป็นไฉน คือ อุบาสกขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑
ละเลยการฟังธรรม ๑  ไม่ศึกษาในอธิศีล ๑ ไม่มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่
เป็นเถระ ทั้งเป็นผู้ใหม่ ทั้งปานกลาง ๑ ตั้งจิตติเตียนคอยเพ่งโทษฟังธรรม ๑
แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ทำสักการะก่อนในเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก
๗ ประการเป็นไฉน คือ อุบาสกไม่ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑ ไม่ละเลยการฟัง
ธรรม ๑ ศึกษาในอธิศีล
 ๑ มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระ ทั้งเป็น
ผู้ใหม่ ทั้งปานกลาง ๑ ไม่ตั้งจิตติเตียน ไม่คอยเพ่งโทษฟังธรรม ๑ ไม่แสวงหา
เขตบุญภายนอก ๑ กระทำสักการะก่อนในเขตบุญในศาสนานี้ ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก ฯ
                          อุบาสกใดขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน ละเลยการฟัง
                          อริยธรรม ไม่ศึกษาในอธิศีล มีความไม่เลื่อมใสเจริญยิ่งๆ
                          ขึ้นไป ในภิกษุทั้งหลาย ตั้งจิตติเตียนปรารถนาฟังสัทธรรม
                          แสวงหาเขตบุญอื่นภายนอกศาสนานี้ และกระทำสักการะ
                          ก่อนในเขตบุญภายนอกศาสนานี้ อุบาสกนั้นซ่องเสพธรรม
                          อันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม อันเราแสดงแล้ว ๗ ประการ
                          นี้แล ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม อุบาสกใดไม่ขาดการเยี่ยม
                          เยียนภิกษุผู้อบรมตน ไม่ละเลยการฟังอริยธรรม ศึกษาอยู่
                          ในอธิศีล มีความเลื่อมใสเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปในภิกษุทั้งหลาย
                          ไม่ตั้งจิตติเตียนปรารถนาฟังสัทธรรม ไม่แสวงหาเขตบุญอื่น
                          ภายนอกศาสนานี้ และกระทำสักการะก่อนในเขตบุญใน
                          ศาสนานี้ อุบาสกนั้นซ่องเสพธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
                          ความเสื่อม อันเราแสดงดีแล้ว ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่
                          เสื่อมจากสัทธรรม ฯ
ตอบกลับ
0
 
0
 

ทำหมู 
วันจันทร์ เวลา 14:43 น.
ความคิดเห็นที่ 7นักท่อง นักมั่วตำรา ร้อนรนเหมือนโดนน้ำร้อนลวก
ตอบกลับ
0
 
1
 

สมาชิกหมายเลข 2748147
วันจันทร์ เวลา 14:48 น.
สมาชิกหมายเลข 7062862 ขำกลิ้ง
ความคิดเห็นที่ 8หลวงพ่อปานให้ฝึกบิณฑบาตกับเทวดา
อยู่ 1 เดือน แล้วส่งไปธุดงค์กลางป่า 3 รูป
มีเทวดาพากันมาใส่บาตรทุกวัน

ถ้าว่าเห็นแต่นิมิตอย่างเดียวอย่างที่ปากแจ๋วๆ ว่า
จะทำให้อิ่มท้องได้เป็นเดือนมั้ยน้อ

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ 088. (15-02) ฝึกธุดงค์
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ วันจันทร์ เวลา 15:13 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 4655194 
วันจันทร์ เวลา 14:52 น.
ความคิดเห็นที่ 9มาดูกัน ฮับว่า จขพ เป็น นักปฏิบัติ หรือ นักตำรา

จงเลือกคำบอกเล่าต่อไปนี้ว่าข้อไหนถูกต้ม

ก. มีพระท่านหนึ่งเมื่อได้พัดยศ ก็พยากรณ์ไปว่า คนให้พัดเป็นพระนเรศ กลับชาติมาเกิด

ข. ผู้ได้รับการพยากรณ์ว่าเป็นพระนเรศกลับชาติมาเกิด ไปถามหลวงปู่xxx ว่ามีพระองค์
.   หนึ่งพยากรณ์ว่าxx อันนี้จริงไหม ( พระตอบไม่ได้ ให้ไปหาหลวงปู่ตื้อ )

ค. ในหนังสือประวัติพระศิษย์สายบ้านตาด กล่าวไว้ว่า หลวงตา บอกเอง ว่าตนคือพระนเรศ กลับชาติมาเกิด

ง. ตอบไม่ได้ เรื่องพวกนี้มาจาก การปฏิบัติ ไม่ใช่จาก พระไตรปิฏก



.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ วันจันทร์ เวลา 14:56 น.
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 7720522
วันจันทร์ เวลา 14:55 น.
ดู 10 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 10ศึกษาตำรา ไม่ยอมปฏิบัติ 99.99%โดนอวิชชาครอบงำจนเป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้น...👈..จะเห็นได้ว่า
นี้คือคำไม่จริง เป็นสิ่งที่ปุถุชนผู้ไม่สดับ กล่าวขึ้นเองลอยๆ ขาดปริยัติ ขาดความสำรวมกาย วาจา ใจ

เพี้ยนมโน

กล่าวมุสา ก็บาป
กล่าวส่อเสียด ใส่ร้าย ก็บาป

คนที่จะต้องร้อนรนเหมือนโดนน้ำร้อนลวก คงจะเป็นคนที่ชอบทำบาป ไม่สำรวมกาย วาจา ใจ
ตอบกลับ
0
 
1
 

ทำหมู 
วันจันทร์ เวลา 15:18 น.
สมาชิกหมายเลข 3402001 ซึ้ง
ดู 2 ความเห็นย่อย
 
ความคิดเห็นที่ 11พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

             [๑๑๒] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็น
วิปัสสนาญาณอย่างไร ฯ
             จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณา
อารมณ์นั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็น
อย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัด
ไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณา
เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อม
ละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลินได้ เมื่อคลาย
กำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละ
ความถือมั่นได้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๓๖๐-๑๓๙๓ หน้าที่ ๕๖-๕๗.
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=1360&Z=1393&pagebreak=0
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=112&items=3
             อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :-
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=112&items=3&mode=bracket
             อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :-
https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=31&item=112&items=3
             อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :-
https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=31&item=112&items=3
             ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :-
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=112
++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อาจารย์ผู้บอกกรรมฐานอย่างน้อยที่สุด
ก็ต้องเป็นผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
https://pantip.com/topic/38517496/comment9

จิตวิสุทธิ , วิสุทธิ ๗ และ ญาณ ๑๖
https://pantip.com/topic/33381826/comment3

วิสุทธิ ๗
https://abhidhamonline.org/visudhi.htm
++++++++++++++++++++++++++++

ทิฏฐิ จขกท และอัตตโนมติต่าง ๆ ที่ จขกท ยกมาอ้าง ไม่ได้ทำให้เกิดปัญญาเลยครับ มีแต่จะเกิด สัสสตทิฏฐิ มากขึ้นเรื่อย ๆ  เห็นว่า จิตเที่ยงแท้  ธาตุรู้ เป็น อมตะ ว่าซั่น

เจริญอานาปานสติจนเข้าถึงจิตเดิมแท้จะพบปัญญามากมายมหาศาล

เกิดสภาวะ จิตหดเล็กลงแล้วพุ่งออกไปผ่านรู สว่างไสวเป็นสายยาวดังรูป ลักษณะคล้าย “รูหนอน”
https://pantip.com/topic/42021814

พระไตรปิฏกผ่านมา 2566 ปี สังคายนาแล้ว 9 ครั้ง ทำไมเชื่อว่าเนื้อหาไม่ผิดเพี้ยนหรือตกหล่นเลย???
https://pantip.com/topic/42056110

นักท่องตำรา อ่านตำรา บอกว่าจิตไม่เที่ยง ครูบาอาจารย์สายปฏิบัติ อ่านตำราเล่มเดียวกัน บอกว่าจิตเที่ยง
https://pantip.com/topic/42129919

ทำไมถึงเลิกอ่านตำรา พระไตรปิฏก
https://pantip.com/topic/41514820

ตาที่สาม หรือ ต่อมไพเนียล ฮินดู เรียกว่า จักระที่ 6 อะชะ

คำสอนของพระพุทธเจ้าสอดคล้องกับหลักฟิสิกส์ควอนตัม   ว่าซั่น

ไม่กลัวบาปกรรมเลย พ่อเทพสามตา ที่กล้าไปกล่าวตู่ พระพุทธเจ้า

ปล.ผมเขียนจากประสบการณ์ปฏิบัติตอนบวชที่วัดถ้ำสหายปี 59 ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับคำสอนองค์พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่จันทร์เรียน

คงจะไม่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าด้วย แต่กล้าไปกล่าวอ้างว่าเป็น หลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา คงต้องตั้ง นิกายใหม่ หรือ ลัทธิใหม่กันแล้ว งานนี้
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3402001  
วันจันทร์ เวลา 15:31 น.
ความคิดเห็นที่ 12นิมิตบางอย่างที่หลวงพ่อ ฯ ไปเห็นมา อาจจะไม่ใช่ของจริงก็ได้ครับ แบบที่พ่อเทพสามตาไปเห็นมานั่นแหละ   เช่น ที่บอกว่าคนจะมีอภิญญาเยอะขึ้น (ผมเห็นแต่พวก มิจฉาสมาธิ ว่าจิตเที่ยงนิพพานเป็นอัตตา แบบลัทธิธรรมกลาย คอยบ่อนทำลาย พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ครับ)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
https://buddhasattha.com/%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A4%E0%B9%85%E0%B8%A9%E0%B8%B5/

หลวงพ่อฤาษี ท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านได้แนวความรู้แบบลัดนี้ มาจากท่าน อาจารย์สุข ซึ่งเป็นฆราวาส ด้วยความบังเอิญ เพราะไม่รู้จักกันมาก่อน หลวงพ่อท่านถูกขอร้องให้เป็นพยานในการท้าทายพิสูจน์กัน ระหว่างอาจารย์สุขและเพื่อนในวงเหล้า ที่เขาไม่เชื่อความสามารถอาจารย์สุข ที่สอนให้คนไปนรกไปสวรรค์ได้ หลวงพ่อสนใจและเห็นว่าแปลกดี เพราะการปฏิบัติแบบนี้ ไม่น่าจะมีเหล้ามาเกี่ยวข้อง และท่านเล่าให้ฟังต่อไปว่า

มโนมยิทธิ แบบอาจารย์สุข
https://www.manomayitthi.com/articles/42014572/%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%20%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82.html


ตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ คนจะมีอภิญญา ได้วิชา มโนมยิทธิ มากขึ้น จริงหรือ?
https://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=32516


บทความเรื่อง "นิพพานไม่สูญ & ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน" (จากคุณกระถาง สายมโน ฯ)
https://pantip.com/topic/38668082


คุณจะอาศัยภูมิความรู้ใด มาเปลี่ยนแปลง หรือ แก้ไข พระไตรปิฏก ?
https://pantip.com/topic/32481447

อาศัย

ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน (รวมเรื่องนิพพาน) (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
https://pantip.com/topic/35556279

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เล่าเรื่อง "เมืองนิพพาน"
https://pantip.com/topic/33590282

นิพพานไม่สูญ
https://pantip.com/topic/34608740

หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง ไปนิพพานครั้งแรก และได้สนทนากับ พระพุทธเจ้า อย่าพลาดครับ มาฟังกันครับว่านิพพานเป็นเช่นไร?
https://pantip.com/topic/33584551
พระไตรปิฎกตัวหนังสือตายตัวไม่เพิ่มขึ้น แต่ความรู้จากพระอริยะสงฆ์มีแต่เพิ่มขึ้น คุณจะเอาของตายมาเปรียบกับของเป็นได้งัย?

กรณีธรรมกลาย
https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/10

https://dharmasamathi.wordpress.com/2013/05/17/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B2-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA/

ความเห็นผิดสุดโต่ง ๒ สาย (ธรรมกลาย&มโนอิทธิ, พุทธทาส+นักบวชคึก+สันติอโศก)
https://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/Y2639614/Y2639614.html
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3402001  
วันจันทร์ เวลา 15:33 น.
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 13อาจารย์ไก่ ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วิชามโนมยิทธิ
https://pantip.com/topic/41873352

พ่อเทพสามตา อย่าได้ยึดติดในตัวบุคคลมากเกินไปครับ  ใช่ว่า เป็นศิษย์หลวงพ่อ ฯ แล้ว ได้วิชามโน ฯ เต็มกำลังแล้ว จะมีสัมมาทิฏฐิถูกต้อง ตาม พระวินัย ก็ไม่แน่น่ะครับ อาจจะไม่ยอมรับ พระธรรมวินัย พระไตรปิฏก อรรถกถา แบบพ่อเทพสามตาก็ได้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เหตุให้เกิดศรัทธา ๔ ประการ (จากพระอภิธรรม ปุคคลบัญญัติ)

๑. รูปัปปมาณศรัทธา -- บุคคลผู้ถือรูปที่สมส่วน หรืองามพร้อม ไม่มีที่ติเป็นประมาณ แล้วจึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ( หรือเห็นความเป็นระเบียบ, สวยงาม)

๒. โฆสัปปมาณศรัทธา -- บุคคลผู้ถือเสียงมีการสรรเสริญคุณ พูดยกย่องชมเชย เขียนหรือพูดต่อหน้า หรือแม้ติดในเสียงผู้แสดง ก็นับว่าถือเสียงเป็นเหตุให้เกิดศรัทธา บุคคลนี้ ชื่อว่าถือเสียงเป็นประมาณ

๓. ลูขัปปมาณศรัทธา -- บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองแห่งจีวร บาตร เสนาสนะ หรือเห็นการทำทุกรกิริยา ( เช่น ไม่ใส่รองเท้า ไม่ใช้อิริยาบถนอน ฉันมื้อเดียว ฯลฯ ) ถือเอาสิ่งเหล่านี้เป็นประมาณ แล้วเกิดศรัทธา

๔. ธัมมัปปมาณศรัทธา -- บุคคลผู้ถือธรรม คือ เหตุ – ผล ด้วยปัญญา ฟัง คิด ( ภาวนา – ศีล สมาธิ ปัญญา ) จนเข้าถึงเหตุ – ผล เกิดปัญญาขึ้น บุคคลนั้นจึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา

ท่านจัดอันดับบุคคลในโลกนี้ ที่ศรัทธาในรูปมีมากที่สุด ผู้ศรัทธาในธรรม ถือเหตุ – ผล มีน้อยที่สุด

หมายเหตุ ชาวพุทธเรามักหลงติดอาจารย์ ไม่อาการใดก็อาการหนึ่งเสมอ

จากหนังสือ แนะแนวการปฏิบัติวิปัสสนา โดย อาจารยบ์แนบ  มหานีรานนท์

ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3402001  
วันจันทร์ เวลา 15:39 น.
ความคิดเห็นที่ 14หลวงปู่ดู่กล่าวไว้ชัดเจน ว่าญาณทัศนะของพระอรหันต์ เปรียบดั่งหิ่งห้อย เมื่อเทียบกับพระพุทธเจ้า เทียบเท่า ดวงอาทิตย์ การที่พระอรหันต์ใช้ญาณทัศนะ ไปดูบุคคลหนึ่ง อาจจะเห็นบุคคลนั้นอยู่ร่วมในเหตุการณ์ เช่น สงครามเสียกรุงครั้งที่ 1 ที่สมเด็จพระนเรศวรกู้กรุงจากพม่า เห็นเพียงบางฉาก บางตอน ก็อนุมานว่าเป็นบุคคลนั้น พระอรหันต์อีกองค์ก็เห็นอีกเหตุการณ๋หนึ่ง จะอาจไม่เที่ยงแท้เฉกเช่น พระสัพพัญญูของพระพุทธเจ้า
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 2748147
วันจันทร์ เวลา 15:45 น.
ดู 7 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 15คนยึดมั่นจิตเที่ยงย่อมปฏิเสธวิธีการปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาหมดเกลี้ยง เริ่มจากสติปัฏฐานสูตร จิตใครๆ ก็รู้ คนไทยก็รู้ รู้จักจิตในศัพท์ว่า ใจ พวกเดียร์เถียงว่า โลกเที่ยง แล้วจะมีเดียร์สักกี่คนมีปัญญากลับจิตได้ แล้วพวกจิตเที่ยงล่ะ หัวจะปวด
ตอบกลับ
0
 
1
 

โอวันติ 
วันจันทร์ เวลา 17:01 น.
สมาชิกหมายเลข 3402001 ถูกใจ
ดู 4 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 16ความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่าง นักปฏิบัติกับนักปริยัติคือความรู้สึก ความรู้สึกคือสภาพจิต จิตใจขณะนั้น
นักปฏิบัติจะมีความโล่ง เบา สบายในจิต อันเป็นโพชฌงค์ เนื่องจากขันธ์ทั้ง5ไม่เป็นเหตุให้เกิดความหนัก รูปเกิดมาแล้วหายไป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญานเกิดมาแล้วหายไปอย่างรวดเร็ว  นักปริยัติก็จะหลงผิดไปว่าสิ่งนี้มันเป็นกิเลสไม่ต้องไปเอา ซึ่งตามจริงมันแสดงไตรลักษณ์ของมันอยู่แล้ว ยึดไม่ได้ ลองยึดปิติ สุข ไม่ต้องมากไว้ซัก1ชั่วโมงซิจะยึดไว้ได้มั้ย คิกคิก
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3237158 
วันจันทร์ เวลา 17:33 น.
ดู 6 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 17พาพันขยัน
โอวาทปาฏิโมกข์

.....ละอกุศล ๑
[321] อกุศลกรรมบถ 10 (ทางแห่งอกุศลกรรม, ทางทำความชั่ว, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์ หรือทุคติ — unwholesome course of action)
       ก. กายกรรม 3 (การกระทำทางกาย — bodily action)
        1. ปาณาติบาต (การทำชีวิตให้ตกล่วง, ปลงชีวิต — destruction of life; killing)
        2. อทินนาทาน (การถือเอาของที่เขามิได้ให้ โดยอาการขโมย, ลักทรัพย์ — taking what is not given; stealing)
        3. กาเมสุมิจฉาจาร (ความประพฤติผิดในกาม — sexual misconduct)

       ข. วจีกรรม 4 (การกระทำทางวาจา — verbal action)
        4. มุสาวาท (การพูดเท็จ — false speech)
        5. ปิสุณาวาจา (วาจาส่อเสียด — tale-bearing; malicious speech)
        6. ผรุสวาจา (วาจาหยาบ — harsh speech)
        7. สัมผัปปลาปะ (คำพูดเพ้อเจ้อ — frivolous talk; vain talk; gossip)

       ค. มโนกรรม 3 (การกระทำทางใจ — mental action)
        8. อภิชฌา (เพ่งเล็งอยากได้ของเขา — covetousness; avarice)
        9. พยาบาท (คิดร้ายผู้อื่น — illwill)
        10. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิดจากคลองธรรม — false view; wrong view)

....เพียรเจริญกุศล ๑
[89] บุญกิริยาวัตถุ 10 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี — bases of meritorious action)
       1. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ — meritorious action consisting in generosity; merit acquired by giving)
       2. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี — by observing the precepts or moral behavior)
       3. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ — by mental development)
       4. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม — by humility or reverence)
       5. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ — by rendering services)
       6. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น — by sharing or giving out merit)
       7. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น — by rejoicing in others’ merit)
       8. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้ — by listening to the Doctrine or right teaching)
       9. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ — by teaching the Doctrine or showing truth)
       10. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง — by straightening one’s views or forming correct views)

       ข้อ 4 และข้อ 5 จัดเข้าในสีลมัย; 6 และ 7 ในทานมัย; 8 และ 9 ในภาวนามัย; ข้อ 10 ได้ทั้งทาน ศีล และภาวนา

.....ทำจิตใจให้ผ่องแผ่ว ๑
[311] วิปัสสนาญาณ 9 (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือที่จัดเป็นวิปัสสนา คือ เป็นความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง — insight-knowledge)
       1. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด — knowledge of contemplation on rise and fall)
       2. ภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด — knowledge of contemplation on dissolution)
       3. ภยตูปัฏฐานญาณ (ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นความแตกสลายอันมีทั่วไปแก่ทุกสิ่งทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น -- knowledge of the appearance as terror)
       4. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์ — knowledge of contemplation on disadvantages)
       5. นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ — knowledge of contemplation on dispassion)
       6. มุญจิตุกัมยตาญาณ (ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น — knowledge of the desire for deliverance)
       7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป — knowledge of reflective contemplation)
       8. สังขารุเปกขาญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้ — knowledge of equanimity regarding all formations)
       9. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป — conformity-knowledge; adaptation-knowledge)

       ธรรมหมวดนี้ ท่านปรุงศัพท์ขึ้น โดยถือตามนัยแห่งคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค นำมาอธิบายพิสดารในวิสุทธิมรรค แต่ในอภิธัมมัตถสังคหะ ท่านเติม สัมมสนญาณ (ญาณที่กำหนดพิจารณานามรูป คือ ขันธ์ 5 ตามแนวไตรลักษณ์ — Comprehension-knowledge) เข้ามาเป็นข้อที่ 1 จึงรวมเป็น วิปัสสนาญาณ 10 และเรียกชื่อญาณข้ออื่นๆ สั้นกว่านี้ คือ เรียก อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณ
ตอบกลับ
0
 
2
 

ทำหมู 
วันจันทร์ เวลา 18:50 น.
สมาชิกหมายเลข 3402001 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 1265297 ถูกใจ
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 18มโนตัวเลขขึ้นมาเอง

พอ ๆ กับมโนว่าสภาวะที่ตนพบในสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิแล้ว
ตอบกลับ
0
 
0
 

จางซานฟง  
22 ชั่วโมงที่แล้ว
ดู 2 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 19.


------ เจ้าของกระทู้  อ่านที่ตัวเองนำมาแสดง ให้ถูก ให้ครบ ก่อน

" ศึกษาตำรา ไม่ยอมปฏิบัติ 99.99%โดนอวิชชาครอบงำจนเป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้น"




.
แก้ไขข้อความเมื่อ 21 ชั่วโมงที่แล้ว
ตอบกลับ
0
 
0
 

วงกลม  
22 ชั่วโมงที่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 20กท.เรียบๆ เหงา ก็เปลี่ยนเป็นกท.เรียกแขก พอคนรุมเข้ามาตอบก็หาว่า ร้อนรน








ปล.สักแต่ว่าคน
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 1163497 
21 ชั่วโมงที่แล้ว
ดู 2 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 21อ่านดูแล้วอาจจะตลก ๆ หน่อนนะครับ แต่ผมยังมั่นใจ (Convinced) ว่า การศึกษาพระธรรมวินัยในพระศาสนานี้ เดินตามทางสายกลางดีที่สุดแบบเฉพาะตัว เพราะ ทางสายกลางของบุคคลที่มีบารมีธรรมและอัธยาสัย ที่สั่งสมมาในอดีตและปัจจุบันไม่เท่ากัน ในสมัยที่พระศาสดาทรงพระชนม์อยู่ก็จะทรงสอนคนที่ควรสอนและยอมให้สอน แต่พอดีต่อการบรรลุธรรม. มาในยุคนี้พุทธพจน์ที่ทรงวางไว้โดย ๒ ปริยาย  เป็นอย่างน้อย ได้แก่ ๑. คันถะธุระและวิปัสสนาธุระ ๒. ปริยัติสัทธรรม ปฏิบัติสัทธรรม และ ปฏิเวธสัทธรรม และ พระธรรมคุณทั้ง ๗ ประการ คือ สวากขาโต ภควตา ธัมโม .. ปัจจัตัง เวทิตะโภ วิญญูห-ีติ (บทว่า สวากขาโต ฯ กล่าวว่า พระธรรมอันทรงแสดงไว้ดีแล้ว บทนี้แสดงถึง ปริยัติสัทธรรม หรือ คันถะะุระ หรือ สุตมยปัญญา) ฯลฯ

ร่วมกันศึกษาครับ. เจริญในธรรมครับ.
ตอบกลับ
0
 
1
 

ฆราวาสมุนี  
21 ชั่วโมงที่แล้ว
ทำหมู ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 22ปริยัติกับปฏิบัติ ต้องถ่วงดุลกัน และสมดลกัน

ในสนามรบจริง ทหารที่ท่องตำราไปรบ จะมีเหลือรอดซักกี่คนครับ
ถ้ารบโดยไม่มีกลยุทธ์ก็ไม่รอดเหมือนกัน

ในสงครามที่เรารบกับกิเลส ถ้าเราท่องแต่ตำรา จะมีเหลือรอดจริงซักกี่คน

มนุษย์เราถูกกิเลสตัณหาล่อลวงยังไม่พอ ยังมีเทวปุตตมาร พุทธาวตาร และไสยศาสตร์ล่อลวงอีก ปริยัติอย่างเดียวอาจไม่รอดครับ

เท่าที่สังเกต ท่านที่ปริยัติ ชอบแปะยาวๆ รู้ไปหมด แค่พุทธาวตารยังไม่ผ่านเลย ยังเป็นสลิ่มด้วยซ้ำ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

แต่หลวงพ่อฤาษีฯ ท่านมองขาด
ความรู้ในตำราอาจไม่เท่าใครในที่นี้ แต่มีกลยุทธ์ มีสับขาหลอกบ้าง และเล่นผ่าน
เอาตัวรอด ไม่เหมือนแปะเหลิม รู้ไปหมดแต่ไม่รอด
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 7950378
18 ชั่วโมงที่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 23สาธุ

เพี้ยนสวัสดี
ตอบกลับ
0
 
1
 

สมาชิกหมายเลข 2965262 
17 ชั่วโมงที่แล้ว
สมาชิกหมายเลข 7950378 ซึ้ง
ความคิดเห็นที่ 24ผมเอง ก็เเห็นว่า ปริยัติ ปฏิบัติ  ควรไปด้วยกัน  ปลอดภัยสุด ไม่หลงทางง่าย


Create Date : 24 มกราคม 2567
Last Update : 24 มกราคม 2567 7:16:39 น. 0 comments
Counter : 98 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 7881572
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7881572's blog to your web]
space
space
space
space
space