Home ตั้งเวปนี้เป็นหน้าแรก

PIWAT
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




Online Users
     

Custom Search

วิทยุธรรมะออนไลน์ Free counter and web stats
Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2550
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
1 พฤษภาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add PIWAT's blog to your web]
Links
 

 

ตำนาน เพลงเพื่อชีวิต


ตำนานเพลงเพื่อชีวิต เสรีภาพจากบทเพลง
ในวันที่ท้องฟ้ามัวหมอง แผ่นดินลุกร้อนเป็นไฟ ประชาชนคนไทยแร้นแค้นทุกข์ยาก หนุ่มสาวเดือนตุลาครั้งอดีต รวมพลังแข็งขันด้วยความหวังอันแรงกล้า ดุจดั่งกำแพงหินอันยิ่งใหญ่ ร่วมต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย คืนอำนาจการปกครองสู่ประชาชน ณ บัดนี้ ผ่านมาแล้วหลายสิบปีที่ชอกช้ำ เก็บเรื่องราวในคืนวันอันขมขื่น ถ่ายทอดไว้เป็นความความทรงจำอันเจ็บปวดผ่านบทเพลงเพื่อชีวิต
ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2480 จุดเริ่มต้นของแนวเพลงชีวิตยุคบุกเบิกได้ถือกำเนิดขึ้น รวมทั้งเพลงเสียดสียั่วล้อสังคม นับได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่ศิลปินมีบทบาทสะท้อนความทุกข์ยากของผู้คน รวมถึงการโกงกินของผู้แทนและนักการเมือง ออกมาในบทเพลงของพวกเขา โดยมีสภาพที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนในช่วงระหว่างสงครามและหลังสงคราม
ผู้บุกเบิกแนวเพลงชีวิตเป็นคนแรกนี้ นั่นก็คือ อาจารย์ แสงนภา บุญราศรี เป็นผู้ร้องเพลงที่สะท้อนภาพปัญหาของชีวิต และปัญหาของสังคมอยู่ในยุคแรกๆนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวความทุกข์ยากของคนปาดตาลในเพลงที่มีชื่อว่า “คนปาดตาล” ในอดีต คนปาดตาลเป็นอาชีพหนึ่งที่ทุกข์ยาก มีหน้าที่ปีนต้นตาลขึ้นไปปาดเอาน้ำตาลลงมาแล้วมาทำน้ำตาล และอีกหลายๆบทเพลง ที่ไม่สามารถฟังได้ด้วยเทคโนโลยีการบันทึกเสียงใดๆ หรือจะกล่าวอีกนัยนึงได้ว่าเราจะฟังเพลงของอาจารย์แสงนภาได้จากผู้อาวุโสอายุ 60 ปีขึ้นไป บางท่านที่ยังพอจดจำเพลงชีวิตของนักเพลงผู้นี้เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างมากสำหรับบทเพลงที่มีความหมายและทรงคุณค่าอย่างนี้ ที่ปราศจากการเหลียวแลของคนยุคนั้น
ในช่วงทศวรรษ 2490 ความตื่นตัวของวงการเพลงที่มีสถานีวิทยุและธุรกิจแผ่นเสียงเป็นแรงกระตุ้นสำคัญ ที่ทำให้รูปแบบและเนื้อ หาเพลงชีวิต พัฒนาไปในทิศทางที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น มวลชนมีการรับรู้กันอย่างกว้างขวางมากขึ้น จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงทศวรรษ 2500 เป็นช่วงที่เพลงชีวิตซบเซาถึงขีดสุด แต่ได้เกิดเพลงชีวิตอีกแนวหนึ่งโดยนักเขียนนาม “จิตร ภูมิศักดิ์” ขึ้นภายในกำแพงคุก ในช่วงที่ถูกจองจำเป็นนักโทษการเมือง และพัฒนาเป็นต้นแบบของ “เพลงเพื่อชีวิต” ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 โดยนิสิตนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย
ท่ามกลางความมืดมิดในยุคเผด็จการครองเมืองก่อน 14 ตุลา 2516 ณ ห้วงเวลานั้น จิตร ภูมิศักดิ์ เขียนบทความที่เสนอแนวคิดเรื่อง “ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน” ขึ้นมา และเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดแนวเพลงใหม่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา นั่นก็คือ “เพลงเพื่อชีวิต” กล่าวได้ว่าเพลงเพื่อชีวิตคือ เพชรเม็ดงามทางด้านวัฒนธรรม อันเกิดจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516

เมื่อเอ่ยถึง เพลงเพื่อชีวิต เรามักจะนึกถึงเหตุการณ์บ้านเมืองสมัย 14 ตุลาคม 2516 ถึง 6 ตุลาคม 2519 เป็นช่วงที่บทเพลงเพื่อชีวิตทำหน้าที่ของมันจนถึงขีดสุด กระทั่งสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญๆ ทางการเมืองในยุคสมัยนั้น

“ สู้เข้าไปอย่าได้ถอย
มวลชนคอยเอาใจช่วยอยู่
รวมพลังทำลายเหล่าศัตรู
พวกเราสู้เพื่อความยุติธรรม
เราเดินเคียงบ่าเคียงไหล่
สู้ต่อไปด้วยใจมุ่งมั่น
เขาจะฟาดเขาจะฟัน
เราไม่พรั่นพวกเราสู้ตาย
สู้เข้าไปอย่าได้หนี
เพื่อเสรีภาพอันยิ่งใหญ่
รวมพลังผองเราเหล่าชาวไทย
สู้เข้าไปพวกเราเสรีชน”

บทเพลงข้างต้นเป็นบทเพลงที่มีชื่อว่า “สู้ไม่ถอย” เป็นบทเพลงแรกของแนวเพลงเพื่อชีวิต แต่งขึ้นจากเหตุการณ์เรียกร้องให้รับนักศึกษา 9 คนในมหาวิทยาลัยรามคำแหง กลับเข้าเรียนหนังสือต่อ เพราะว่ามีคำสั่งของอธิการบดี ‘ปลด’ นักศึกษา 9 คนออกจากมหาวิทยาลัย เนื่องจากนักศึกษา 9 คนนี้ ไปเอาเรื่องราวของรัฐบาล โดยให้คำจำกัดความว่าเป็น “รัฐบาลสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย” ตีแผ่ลงหนังสือของรามคำแหงในขณะนั้นแล้วตีพิมพ์ออกมา สืบเนื่องมาด้วยว่า อยู่ๆมาวันหนึ่งมีเฮลิคอปเตอร์ตกในทุ่งใหญ่นเรศวร แล้วพบว่าในซากของเครื่องที่ตกนั้น มีซากสัตว์เต็มไปหมดเลย รัฐบาลในขณะนั้นมีการล่าสัตว์ มีการทำร้ายทารุณสัตว์ป่ามากมายเหลือเกิน เป็นเรื่องหน้าเศร้าใจยิ่งนักของคนยุคนั้นจนถึงปัจจุบัน
เป็นผลให้สื่อมวลชนและนักศึกษาร่วมมือกันตีแผ่เปิดโปงการกระทำผิดกฎหมายของฝ่ายราชการ และได้รับความสนใจจากประชาชน ทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลได้รับความกระทบ กระเทือนอย่างหนัก นักศึกษาทั้ง 9 คนนี้ ในฐานะคนทำหนังสือก็ตีแผ่ เลยโดนอาจารย์ ดอกเตอร์ ศักดิ์ ซึ่งเป็นอธิการบดีในขณะนั้น ปลดออกจากการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง นักศึกษาและประชา ชนจำนวนมากเห็นว่าไม่ยุติธรรม จึงรวมตัวกันประท้วงที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้ที่มีการชุมนุมประท้วงข้ามวันข้ามคืน ทั้งยังมีการแต่งเพลง “สู้ไม่ถอย” โดย อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อีกด้วย หลังจากทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงรับตัวนักศึกษาทั้ง 9 คนแล้ว ขบวนประท้วงก็เลยแปรขบวนไปเป็นการเรียกร้องรัฐธรรมนูญต่อไป
“สุรชัย จันทิมาธร” หรือที่รู้จักกันในนาม “หงา คาราวาน” ศิลปินเพลงเพื่อชีวิตผู้ยิ่งใหญ่ ก็ถือกำเนิดบทบาทของการเป็นศิลปินเพื่อชีวิตขึ้นมาในเหตุการณ์ครั้งนั้น เป็นผู้หนึ่งที่อยู่ร่วมในการประท้วง และคอยแต่งบทกลอนต่างๆส่งให้โฆษกบนเวทีอ่านให้ประชา ชนฟัง เพื่อปลุกเร้าขวัญกำลังใจและรวบรวมความคิดให้เป็นหนึ่งเดียวกัน และยังได้แต่งเพลง “สานแสงทอง” มีเนื้อร้องอยู่ว่า

“ขอผองเราจงมาร่วมกัน ผูกสัมพันธ์ยิ่งใหญ่
สานแสงทองของความเป็นไทย ด้วยหัวใจบริสุทธิ์”

บทเพลง “สู้ไม่ถอย” และ “สานแสงทอง” เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ในส่วนของบทเพลงสู้ไม่ถอยนั้นเป็นเพลงมาร์ชปลุกใจที่ใช้ในการรวมพลังประท้วง ส่วนเพลงสานแสงทองเกิดจากความคำนึงถึงเสรีภาพของประชาชน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สองบทเพลงนี้ก็คือจุดกำเนิดของบทเพลงเพื่อชีวิตนั่นเอง

อ่านต่อ //members.thai.net/wanyong/tamnan.htm




 

Create Date : 01 พฤษภาคม 2550
2 comments
Last Update : 3 ตุลาคม 2550 12:36:20 น.
Counter : 3148 Pageviews.

 

ตำนานของคนหนุ่มสาว ที่แสวงหาอิสรภาพของการเป็นเสรีชน

 

โดย: da IP: 202.28.51.71 21 พฤษภาคม 2551 15:37:23 น.  

 

อยากให้ใครๆที่รู้ได้เล่าเรื่องเข้ามาเพื่อเป็นการปะติดปะต่อภาพของเหตุการณ์ประวัติศาตร์ประชาชน มากกว่าที่ใครคนใดคนหนึ่งเขียนขึ้น

 

โดย: dddd IP: 202.41.167.241 21 กันยายน 2552 9:55:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.