"ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลพนมสารคาม" ศีล และ ธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ
Group Blog
 
 
ธันวาคม 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
13 ธันวาคม 2549
 
All Blogs
 
เรื่องของเด็กศิลปะ



....................................................................

ขอเชิญเด็กศิลปะเข้ามาเขียนคอมเมนท์ต่อข้างล่างได้

เรื่อยๆ แต่มีเงื่อนไข ผู้จะเขียนคอมเมนท์ได้ต้องสมัครเป็น

สมาชิกก่อน โดยคลิกสมัครสมาชิก ที่

www.bloggang.com

เมื่อgเข้ามาได้แล้ว ก็กดสมัครที่บรรทัดบน จะมีคำว่า REGISTER ให้คลิกแล้ว

สมัคร จะมีการตรวจสอบ ก่อน ประมาณ 3 วันแล้วถ้าผ่านจะได้เป็นสมาชิก เมื่อ

เป็นสมาชิก ได้ แล้วเวลาจะคอมเมนท์จะต้องเข้าชื่อนามแฝง และ รหัสผ่าน ก่อน

ก็จะสามารถเขียนคอมเมนส์ได้ และ ยังสามารถขอบล็อก ของตนเองมาใช้ได้

ด้วย



ขอเชิญผู้ที่คิดว่าเป็น "เด็กศิลปะ" มาร่วมบรรเลงลงบล็อก

แก็งค์กันได้

จาก

ผู้หนึ่งในสมาชิกบล็อกแก็งค์พนมสารคาม




Create Date : 13 ธันวาคม 2549
Last Update : 3 ตุลาคม 2550 12:08:32 น. 2 comments
Counter : 769 Pageviews.

 
มารับแผนพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผน 10 แผนใหม่ที่จะมุ่งเน้น

คุณภาพชีวิต(Gross Domestic Happiness:GDH)

แทน เน้น ความร่ำรวย (Gross Domestic Product:GDP)

โดยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองให้มีคุณภาพ

แทนที่จะมุ่งเน้นให้ตนเองร่ำรวย ด้วยวงจรคุณภาพ ของ เด

มมิงค์ (PDCA) เหมือนที่นำไปใช้กับหน่วยงาน เพื่อให้เกิด

คุณภาพ เช่น ทำโรงพยาบาลให้เป็น"โรงพยาบาล

คุณภาพ" มาทำตนเองให้เป็น"คนมีคุณภาพ" ดังนี้

1.กลางคืน เมื่อมีเวลาว่างหลังอาบน้ำก่อนนอน ก็มานั่ง

ทบทวน(Check:C) ว่าที่ผ่านมา 1วัน ที่ผ่านไป ทำอะไรไป

บ้าง ถูก-ผิด หรือ ยังไม่ทำ-ทำอะไร ไปบ้าง

สิ่งที่ทำถูก ก็ไปจดลงในสมุดบันทึกความสุข

//www.budpage.com/budboard/show_content.pl?b=1&t=16365

เพื่อไว้ดูเมื่อยามเกิดขาดความสุข จะได้ดูเพื่อเติมความสุข

ให้กับตนเอง เมื่อได้อ่านสมุดบันทึกความสุข

สิ่งใดที่ทำผิด ก็จำไว้เป็นบทเรียนว่าจะไม่ทำผิด เช่นนั้นอีก

2.เมื่อทบทวน แล้วก็จดลงในกระดาษ ที่ต่อไปจะเรียก

ว่า "กระดาษแผน" เพื่อจะทำวันพรุ่งนี้ เช่น

เช้าต้องไป ทำงาน อยู่หน้าที่ใด ก็วางแผนทำหน้าที่รับผิด

ชอบให้ดี เมื่อมีงานเพิ่มที่นึกได้ว่าจะต้องทำก็บันทึกลงเพิ่ม

ไปใน"กระดาษแผน"

3.ทำตาม"กระดาษแผน"(Do:D)จะได้ไม่หลงลืมทำสิ่งที่

ต้องทำในวันนี้ โดยเมื่อว่างๆ ไม่รู้จะทำอะไรก็หยิบ

แผ่น"กระดาษแผน"นี้ขึ้นมาดู สิ่งใดทำแล้วก็ทำเครื่อง

หมายว่าทำแล้ว สิ่งใดที่ยังไม่ทำก็ รีบทำจะได้ไม่ลืมทำสิ่ง

ที่ต้องทำในวันนั้น

4.ก่อนนอน กลางคืนก็มาตรวจสอบ"กระดาษแผน" ที่ทำ

ตามข้อ1.(Check:C) ว่า วันที่ผ่านมาลืมทำ หรือ ทำไป

แล้ว ทำแล้วมีข้อผิดพลาด ต้องแก้ไขอย่างไร(Action:A)

เพื่อนำมาวางแผน(Plan:P)ลงกระดาษแผนสำหรับวันพรุ่งนี้

ต่อไป เป็นวงจรคุณภาพ

PDCA-P:Plan,D:Do,C:Check,A:Act หมุนวนไปเรื่อยๆ

ตลอดไปทำให้ตัวเราเองเกิดคุณภาพเพิ่มขึ้นไปตลอด

จึงเสนอกิจกรรมนี้ มาเพื่อให้เด็กศิลปะท่านอื่นพิจารณา นำ

มาทำเป็นกิจกรรมพัฒนาตนเองต่อไป



โดย: "เด็กศิลปะคนหนึ่ง" (panomsarakham ) วันที่: 26 มกราคม 2550 เวลา:23:11:08 น.  

 
วิธีสร้างวินัยในตนเอง

พระธรรมปิฎก ( ป.อ. ปยุตฺโต)

ความหมายที่แท้จริงของคำว่า "วินัย"

วินัยเป็นการจัดสรรโอกาส

วินัยนี้มักจะเข้าใจกันในความหมายเชิงลบ คือไปเข้าใจ

เป็นเครื่องบังคับควบคุม ซึ่งยังไม่ถูกต้อง เรียกว่าเป็นความ

หมายสำหรับคนที่ยังไม่ได้พัฒนา

ความหมายที่ต้องการของวินัยเป็นความหมายเชิง

บวก กล่าวคือวินัยเป็นการจัดสรรโอกาส ทำให้ชีวิตและ

สังคมมีระบบระเบียบ และมีโอกาสเกิดขึ้น ทำให้ทำอะไร

ได้คล่องดำเนินชีวิตได้สะดวก ดำเนินกิจการได้สะดวก ถ้า

ชีวิตและสังคมไม่มีระเบียบ ไม่เป็นระบบ ก็จะสูญเสีย

โอกาส ในการที่จะดำเนินชีวิตและทำกิจการของสังคมให้

เป็นไปด้วยดี ตลอดจนทำให้การพัฒนาได้ผลดี

ทำไมจึงต้องจัดระเบียบ ทำไมจึงต้องมีวินัย

ถ้าชีวิตวุ่นวาย การเป็นอยู่ของมนุษย์สับสนหา

ระเบียบไม่ได้ โอกาสในการดำเนินชีวิตก็จะหายไป กิจการ

ต่างๆ ต้องมีระเบียบหรือต้องอาศัยวินัยมาจัดสรรโอกาสทั้ง

นั้น ที่เห็นได้ง่ายๆ เช่น เมื่อแพทย์จะผ่าตัดศัลยแพทย์จะ

ต้องการวินัยมาก จะต้องจัดระเบียบเครื่องมือที่ใช้ตาม

ลำดับการทำงานอย่างเคร่งครัดทีเดียว ต้องตกลงกันไว้

ก่อนว่า ขั้นตอนใดจะใช้เครื่องมือไหน และส่งเครื่องมือให้

ถูกต้อง คนนี้ยืนตรงนี้ จังหวะนี้ ถึงเวลาไหนส่งเครื่องอัน

ไหนเพราะอยู่ในช่วงของความเป็นความตาย พยาบาลที่จัด

เตรียมเครื่องมือ ต้องพร้อมและต้องจัดให้ถูกลำดับ

ทุกอย่างผิดนิดไม่ได้ เพราะงานนั้นต้องเป็นไปตามเวลาที่

จำกัด ฉะนั้นในกิจการที่ยิ่งมีความสำคัญ มีความซับซ้อน มี

ความเป็นความตายเข้ามาเกี่ยวข้อง วินัยจะยิ่งต้องมีความ

เคร่งครัดแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ในการพัฒนามนุษย์ระยะยาว ถ้าไม่มีวินัยเป็นฐาน ก็จะทำ

ให้เกิดความขัดข้องวุ่นวายสับสน ฉะนั้นเราจึงจัดวางวินัย

เพื่อความมุ่งหมายระยะยาวในการพัฒนามนุษย์ด้วยและ

ด้วยเหตุนี้วินัยจึงเรื่องสำคัญในสังคมประชาธิปไตยเพราะ

ประชาธิปไตยต้องการโอกาสเหล่านี้ ในการที่จะให้มนุษย์

มาสื่อมาแสดงออก เพื่อนำเอาศักยภาพของตัวเองออกมา

ร่วมในการสร้างสรรค์สังคมอย่างได้ผล

สรุปว่า วินัยมีความหมายเชิงบวก คือ เป็นการจัด

สรรโอกาสให้ชีวิตและสังคมดำเนินไปโดยสะดวก คล่อง

ตัว ได้ผลมีประสิทธิภาพ และเป็นโอกาสแก่การพัฒนา

มนุษย์ด้วย

ความสำคัญของวินัย อยู่ที่การฝึกคนให้มีศีล ศีล

นั้นมีความสำคัญมาก เมื่อคนตั้งอยู่ในวินัยอย่างที่เรียกกัน

ว่าเป็นคนมีวินัยแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นองค์ประกอบ

สำคัญอย่างหนึ่งในสิ่งที่เรียกว่า แสงเงินแสงทองของชีวิตที่

ดีงาม ซึ่งมี ๗ ประการด้วยกัน ความมีวินัยหรือศีลนี้เป็นรุ่ง

อรุณของการศึกษา หรือแสงเงินแสงทองนั้นอย่างหนึ่ง

พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อพระอาทิตย์จะอุทัย ย่อมมี

แสงเงินแสงทองขึ้นมาก่อน ฉันใด ชีวิตที่ดีงามจะเกิดขึ้น

โดยมีความถึงพร้อมด้วยศีลหรือความมีวินัยนี้เป็นสิ่ง

บ่งบอกเบื้องแรกด้วย ฉันนั้น ถ้าคนตั้งอยู่ในวินัยมีศีลแล้ว

ก็มั่นใจได้ว่าชีวิตที่ดีงามจะเกิดขึ้น เท่ากับว่าพระพุทธเจ้า

ตรัสให้คำรับรองไว้ว่าศีลหรือความมีวินัยเป็นรุ่งอรุณของ

การศึกษา เป็นสัญญาณว่ามนุษย์จะมีการพัฒนาและมีชีวิต

ที่ดีงามต่อไป

วิธีเสริมสร้างวินัย

สร้างวินัยด้วยการทำให้เป็นพฤติกรรมเคยชิน

วิธีฝึกวินัยที่ดีที่สุดอาศัยธรรมชาติของมนุษย์ คือ

ใช้ธรรมชาติของมนุษย์มาเป็นเครื่องช่วย คือทำให้เป็นไป

ตามธรรมชาติ หรือสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์นั้น

เองหมายความว่ามนุษย์ที่ดำเนินชีวิตโดยทั่วไปนี้อยู่กัน

ด้วยความเคยชิน ที่เราเป็นอยู่กันทุกวันนี้ เมื่อพบเห็นอะไร

แล้วจะปฏิบัติการอะไรอย่างไร เราทำไปตามความเคยชิน

กันเป็นส่วนใหญ่

ความเคยชินเกิดจากอะไร ก็เกิดตามธรรมดาของ

ธรรมชาติหรือตามธรรม คือความเป็นไปตามเหตุปัจจัยใน

การดำเนินชีวิตของมนุษย์นั่นเอง มนุษย์ทำพฤติกรรมอะไร

อย่างไร พอทำไปแล้วครั้งสองครั้งก็เริ่มมีแนวโน้มที่จะ

ชินอย่างนั้น และก็จะทำอย่างนั้นซ้ำไปซ้ำมาๆ จนชิน พอ

ชินแล้วก็ยึดมั่นแล้วก็เกิดความพึงพอใจในพฤติกรรมที่เคย

ชินนั้น พอชินแล้วก็เปลี่ยนแปลงแก้ไขยาก ยิ่งยึดมั่นแล้วก็

ยิ่งถอนยากและปุถุชนก็จะมีเหตุผลมาปกป้องตนเองเสีย

ด้วย ทำให้ไม่ยอมเปลี่ยน ฉันจะต้องยึดแบบนี้ ใครจะ

มาบอกให้ทำอย่างอื่นไม่เอา ฉะนั้นเราจึงต้องถือโอกาสใช้

ความเคยชินของมนุษย์ให้เป็นประโยชน์แก่ตัวเขา

เราต้องยอมรับว่ามนุษย์ทั้งหลายส่วนใหญ่อยู่ด้วย

ความเคยชิน จริงอยู่มนุษย์นั้นเป็นสัตว์ที่ต้องฝึกและฝึกได้

แต่เราก็ต้องยอมรับด้วยว่าการที่จะฝึกคนนี้ต้องใช้ความ

สามารถและต้องมีระบบในการฝึกซึ่งต้องสอดคล้องกับ

ธรรมชาติ บางทีก็เหน็ดเหนื่อยพอสมควร ถ้าเขาลงเคย

ชินอย่างไรแล้วก็แก้ยาก เรายอมรับความจริงนี้เสียก่อน

เมื่อเรายอมรับความเคยชินเป็นสำคัญแล้ว เราก็ใช้ความ

เคยชินเป็นการฝึกขั้นแรก คือฝึกให้เป็นพฤติกรรมเคยชิน

โดยถือว่าต้องสร้างวินัยให้เป็นพฤติกรรมเคยชิน

วิธีที่ ๑ นี้ก็คือเมื่อเขาเริ่มต้นชีวิตเข้าสู่สังคมเข้าสู่

ชีวิตใหม่เข้าสู่หมู่ใหม่ เราก็ถือโอกาสตอนนั้น โดยรู้ทัน

ความจริงว่าคนเราเมื่อมีชีวิตอยู่เขาต้องมีการเคลื่อนไหวเขา

จะมีการเคลื่อนไหวคือมีพฤติกรรมนั้น ในเวลาที่เจอ

ประสบการณ์ หรือมีสถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งเขาจะต้องมี

ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่ง คือเขาจะต้องทำ

อย่างใดอย่างหนึ่ง เคลื่อนไหวอย่างใดอย่างหนึ่งลงไปแล้ว

เมื่อเขาเจอสถานการณ์อย่างนั้นอีก เขาจะมีแนวโน้มที่จะ

ทำพฤติกรรมอย่างนั้นซ้ำอีกพอทำอย่างนั้นหลายครั้งเข้า

แล้วเขาก็จะชิน และพฤติกรรมอย่างนั้นก็กลายเป็น

พฤติกรรมเคยชินของเขา

ก่อนที่จะเกิดเป็นพฤติกรรมเคยชินนั้น ถ้า

พฤติกรรมที่เขาทำครั้งแรกเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี ก็เท่ากับว่า

เราเสียเปรียบหรือเริ่มเสียโอกาสแล้ว แล้วก็มีหวังว่า

พฤติกรรมนั้นจะกลายเป็นพฤติกรรมเคยชินของเขาต่อไป

ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ทีนี้พอเคยชินแล้ว คราว

นี้เราก็ลำบาก แก้ไขยากเขาก็จะมีพฤติกรรมเคยชินอย่าง

นั้นติดตัวไป ฉะนั้น เพื่อชิงให้เกิดพฤติกรรมที่ดีไว้ก่อน และ

กันพฤติกรรมที่ไม่ดีไม่ให้เกิดขึ้น เรารีบเอาพฤติกรรมที่ดีที่

เราเรียกว่าวินัย คือพฤติกรรมเคยชินที่ดีเข้าไปให้เสียก่อน

พอพฤติกรรมที่ดีเข้าไปเป็นตัวเลือกที่ ๑ และเขาจับเอา

พฤติกรรมนั้นได้แล้ว ก็มีแนวโน้มว่าพอเจอสถานการณ์

อย่างนั้นครั้งที่ ๒ เขาก็จะทำอย่างนั้น พอ ๓-๔ ครั้ง คราวนี้

ลงตัวแล้วกลายเป็นพฤติกรรมเคยชินที่ดีคราวนี้ก็สบาย

แล้ว ฉะนั้นจึงควรใช้วิธีพื้นฐานในการสร้างวินัยซึ่งไม่ต้อง

ลงทุนลงแรงอะไรมากนี้ ถ้าเราไม่ทำเราก็ต้องเสียโอกาส

ถึงอย่างไรมันก็ต้องเคยชินไปทางใดทางหนึ่งอยู่แล้ว เราก็

ชิงให้ชินไปในทางที่ดีเสียเลย ฉะนั้นจึงเอาพฤติกรรมเคย

ชินมาเป็นพื้นฐาน เป็นวิธีการเบื้องต้นในการสร้างวินัย โดย

การทำให้เกิดพฤติกรรมเคยชินที่ดี

ถ้าในหมู่คณะของเราปฏิบัติอะไรให้วินัยลงตัวเป็น

วัฒนธรรมไปแล้ว คนที่เข้ามาสู่วัฒนธรรมนั้น สู่ชุมชนนั้น

ใหม่ก็จะเป็นไปอย่างนั้นเอง เพราะฉะนั้นสำหรับพฤติกรรม

เคยชิน โดยวิธีของวัฒนธรรมนี้ ในสังคมที่เขาสร้างสรรค์

ถ่ายทอดเรื่องระเบียบวินัยมาก่อน เขาก็ได้เปรียบ เพราะว่า

คนรุ่นหลังเข้าสู่วินัยโดยติดพฤติกรรมเคยชินไปเอง แต่ถ้า

เรายังไม่มีวัฒนธรรมอย่างนั้น เราก็ต้องอาศัยมีผู้นำที่รู้หลัก

การอันนี้แล้วนำไปใช้ อย่างไรก็ตาม อันนี้เป็นวิธีพื้นฐาน

เท่านั้น ต้องพูดถึงวิธีอื่นต่อไป

สร้างวินัยให้ได้ผลด้วยระบบสัมพันธ์ขององค์รวม

ต้องให้ได้ทั้ง ๓ ส่วน นี่คือต้องมีทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา จะ

ต้องฝึกวินัยให้ได้องค์ประกอบสัมพันธ์กันพร้อมทั้ง ๓ ด้าน

นี้

สร้างวินัยโดยใช้ปัจจัยอื่นช่วยเสริม

วินัยจะทำให้เกิดความสุข และประพฤติปฏิบัติด้วย

ความพึงพอใจ โดยใช้ปัจจัยอย่างอื่นมาช่วยอีกก็ได้ เช่นมี

กัลยาณมิตรขอยกตัวอย่างว่า ถ้าครูอาจารย์น่ารัก ทำให้

เด็กมีความอบอุ่นสบายใจ เด็กก็อยากจะเชื่อฟัง ครูอาจารย์

ที่เขารัก เคารพ และศรัทธานั้น พอพูดอะไรลูกศิษย์ก็

อยากทำอยู่แล้ว และเขาก็มีความสุขที่จะทำตามด้วย วินัย

ก็เกิดได้ง่าย เพราะฉะนั้น ศรัทธา และความรัก จึงเป็น

ปัจจัยสำคัญศรัทธาและความรักนี้พ่วงอยู่กับความมี

กัลยาณมิตร แต่อันนี้ที่จริงเป็นองค์ประกอบที่จะมาเสริม

เอามาพูดแทรกเสียก่อนเพื่อยกตัวอย่างให้เห็น

ความเป็นกัลยาณมิตร เป็นตัวเสริมในการสร้าง

วินัยจากพฤติกรรมที่เคยชินได้โดยทำหน้าที่หนุนองค์

ประกอบทั้ง ๓ ด้าน คือ

- เป็นต้นแบบที่ดีของพฤติกรรม (ศีล)

- มีความรัก ทำให้เกิดความอบอุ่น มีความเป็นกันเองพร้อม

ศรัทธาและความสุข (จิตใจ)

- กัลยาณมิตร รู้เหตุรู้ผล สามารถบอกได้ว่าทำอย่างนั้น

แล้วมีผลอย่างไร ทำให้เด็กเข้าใจเหตุผลและเห็นคุณค่าใน

สิ่งที่ทำ (ปัญญา)

- สร้างวินัยด้วยแรงหนุนของสภาพจิตใจ

อีกวิธีหนึ่งซึ่งเอาปัจจัยด้านจิตใจมานำคือการตั้ง

เป็นอุดมคติในจิตใจ ทำให้ใจมีความฝักใฝ่มุ่งมั่นอย่างแรง

เช่น ชนชาติหนึ่งตั้งเป้าหมายใฝ่ฝันว่า ชาติเราจะต้องยิ่ง

ใหญ่มีชื่อเสียงปรากฎไปทั่วโลกว่าเป็นชาติที่มีวินัย เพื่อให้

ชาติของเรายิ่งใหญ่ ขอให้คนของเราปฏิบัติอย่างนี้ๆ ด้วย

ความที่มีเป้าหมายอย่างแรง เป็นอุดมคติ ใฝ่ตั้งใจจริงอย่าง

นี้ ก็ทำให้คนปฏิบัติตามวินัยได้ แต่วินัยแบบนี้อาจจะทำให้

เลยเถิด เช่น ใช้กิเลสรุนแรง ทำให้คนมีความภูมิใจว่า

แหม หมู่คณะของเรานี่ยอดเลยการใช้วิธีการนี้มักทำให้เกิด

ความคิดเปรียบเทียบและมักจะนำมาปลุกใจกันว่า หมู่คณะ

ของเรารักษาวินัย มีวินัยดี เห็นไหม เทียบกับโรงเรียนอื่น

โน้น โรงเรียนของเรา มีชื่อเสียง ใครๆ ก็นิยม ไปไหนก็มี

เกียรติ เราก็ภาคภูมิใจตัวเองว่า โรงเรียนของเราเป็น

โรงเรียนที่มีชื่อเสียง มีเกียรติ มีวินัย ถ้าใช้วิธีเร้าอย่างนี้

ท่านเรียกว่าเร้ามานะ

มานะในระดับต้นๆ นี้เป็นความภูมิใจ แต่ถ้าแรงไป

จะกลายเป็นดูถูกดูหมิ่นคนอื่น ตลอดจนเป็นการแข่งขัน

แย่งชิงความเป็นใหญ่ มุ่งความเด่นความดัง ซึ่งมีภัย

อันตรายอยู่ด้วยเพราะฉะนั้น ถ้าจะใช้มัน ก ใช่ได้แต่ในขั้น

ต้น แล้วต้องรีบเปลี่ยนไปใช้ปัจจัยตัวอื่นที่เป็นฝ่ายดี ถ้าใช้

มานะตลอดไป จะก่อให้เกิดปัญหาในระหว่างมนุษย์ คือ

รักษากลุ่มของตัวได้ แต่ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกับ

กลุ่มอื่น แล้วทำให้เกิดสภาพจิตไม่ดี คือการดูถูกดูแคลน

ความทะนงตัวหยิ่งลำพองตลอดจนการคิดกำจัดคนอื่นต่อ

ไปอีก ไม่ประกอบด้วยปัญญาที่แท้จริง บางสังคม บาง

ประเทศ บางกลุ่มก็รักษาวินัยด้วยมานะนี้ แม้แต่ทำคุณ

ความดีอื่นๆ ก็ด้วยมานะนี้เป็นการทำตนให้อยู่ในระบบการ

แข่งขันไปในตัว อย่างน้อยก็ต้องอาศัยความรู้สึกภูมิใจเข้า

ช่วย และเมื่อภูมิใจในกรณีอย่างนี้แล้วก็มักจะต้องพอง วิธี

นี้ทางธรรมจึงไม่สนับสนุน ถ้าจะใช้ก็ต้องระวัง โดยรีบสร้าง

ปัจจัยที่ดีมาสืบทอดต่อไปอย่างที่กล่าวแล้ว

สร้างวินัยโดยใช้กฎเกณฑ์บังคับ

อีกวิธีหนึ่งคือการสร้างวินัยโดยใช้กฎหมายหรือ

กฎเกณฑ์บังคับควบคุม โดยมีการลงโทษ วิธีนี้ก็สร้างวินัย

ได้แต่เป็นวิธีที่ไม่ดีและไม่ถูกต้อง ไม่เข้ากับหลักการของ

ธรรม เป็นวิธีการที่ไม่ถูกธรรมคือไม่สอดคล้องกับความเป็น

จริงของกฎธรรมชาติมนุษย์จะมายัดเยียดเอาศีลใส่ให้แก่

กันไม่ได้ ศีลเกิดจากการฝึกให้มีขึ้นในตัวคน ฉะนั้น การกด

หรือบีบบังคับนี้ ถ้าอำนาจยังอยู่ก็อยู่ได้ แต่พออำนาจที่กด

บีบหมดไปเมื่อไร คนก็จะละเมิดวินัย คราวนี้ยิ่งปั่นป่วนเสีย

หายหมด ฉะนั้น ในสังคมที่อยู่ได้ด้วยกฎข้อบังคับ แล้วใช้

อำนาจบีบบังคับกัน ถึงแม้จะมีวินัยอยู่ได้ แต่เมื่อไรอำนาจ

ที่กดบีบนั้นหายไป สังคมนั้นก็ปั่นป่วนอีก ไม่ได้ผลอย่าง

แท้จริง

อย่างไรก็ตาม การใช้กฎเกณฑ์ข้อบังคับนี้ บาง

ครั้งได้ผลในเมื่อกฎเกณฑ์นั้นไม่บีบบังคับรุนแรงเกินไป

และมีช่วงเวลายาวพอที่จะให้คนผ่านเข้าสู่ความเคยชินจน

เขาไม่รู้ตัวพอกลายเป็นความเคยชินไปแล้วก็เข้าสู่กฎ

ธรรมชาติตามวิธีแรกคือเป็นวินัยพื้นฐานที่เกิดขึ้นโดยการ

สร้างพฤติกรรมเคยชิน มันกลายเป็นเรื่องของความเคยชิน

ตามธรรมชาติที่มารับทอดจากการใช้อำนาจตบีบบังคับ อัน

นั้นต่างหากที่ได้ผล

การใช้กฎหมายหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับมาฝึกวินัย

ให้คนมีศีลนี้ มีวิธีที่จะทำให้ได้ผลได้ โดยต้องไม่ให้อยู่แค่

เป็นการใช้อำนาจกดบีบบังคับและลงโทษ แต่ต้องให้จิตใจ

ของคนเกิดความรู้สึกสำนึกว่าเป็นการฝึก โดยให้เขารู้เข้า

ใจมองเห็นเหตุผลและประโยชน์ของการปฏิบัติตามกฎข้อ

บังคับนั้นๆ ความรู้ความเข้าใจและจิตสำนึกในการฝึกนี้จะ

ทำให้เขาเกิดมีความพึงพอใจหรือความเต็มใจขึ้นมาใน

ระดับหนึ่งที่จะทำตาม และก็ทำให้ได้ผล ซึ่งก็คือทำให้เข้า

สู่ระบบการศึกษาที่แท้จริง โดยมีองค์ประกอบสามส่วน คือ

พฤติกรรม สภาพจิตใจ และปัญญา เข้ามาประสานกัน

วินัยในฐานะเป็นองค์ประกอบของประชาธิปไตย

การฝึกวินัยนี้ มีความหมายอีกอย่างหนึ่งด้วย คือ

เราถือว่า วินัยเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของประชาธิปไตย

ถ้าไม่มีวินัย ประชาธิปไตยก็ตั้งอยู่ยาก เพราะ

ประชาธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชน ประชาชน

ปกครองกันเอง ประชาชนจะปกครองกันเองได้ ประชาชน

ทุกคนต้องปกครองตนเองได้ คนที่ปกครองตนเองได้คือ

คนที่มีวินัย คนที่ไม่มีวินัยจะปกครองตนเองไม่ได้ เมื่อ

ปกครองตนเองไม่ได้แล้วจะไปร่วมกันปกครองเป็น

ประชาธิปไตยได้อย่างไร ประชาธิปไตยก็ไปไม่รอด

สรุป ประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชนที่แต่ละ

คนปกครองตนเองได้

การที่จะทำให้คนปกครองตนเองได้ ต้องทำให้คน

มีวินัยคือมีศีล หรือตั้งอยู่ในวินัย แต่สาเหตุของความขาด

วินัยอย่างหนึ่งมันมาจากปัญหาเกี่ยวกับหลักการของ

ประชาธิปไตยเสียเอง กล่าวคือมีองค์ประกอบอยู่อย่างหนึ่ง

ที่สำคัญมากของประชาธิปไตยคือเสรีภาพ ทีนี้ ถ้าคนเข้า

ใจความหมายของเสรีภาพไม่ถูกต้อง เสรีภาพนั้นก็จะมาขัด

แย้งกับวินัย เหมือนกับในบางสังคมที่มีปัญหาการขาดวินัย

เกิดขึ้น เพราะคนไปยึดถือเสรีภาพในทางที่ผิดคือไม่ถึง

ความหมายของเสรีภาพนึกว่า เสรีภาพ คือการทำได้ตามใจ

ชอบ เพราะฉะนั้นการตามใจตนเองได้ ทำตามใจชอบได้ ก็

คือการมีเสรีภาพ แล้วบอกว่าเสรีภาพคือองค์ประกอบของ

ประชาธิปไตย เมื่อเข้าใจ เสรีภาพอย่างนี้ วินัยก็มีไม่ได้

กลายเป็นว่า คนพวกนี้ เอาข้ออ้างจากหลักการของ

ประชาธิปไตยมาทำลายประชาธิปไตย ฉะนั้นเมื่อคนไม่เข้า

ถึงสาระของประชาธิปไตยก็เกิดความขัดแย้งในตัวมันเองนี่

คือการเข้าใจความหมายของเสรีภาพผิด

เสรีภาพนั้นไม่ใช่การทำตามชอบใจ เรามักจะให้

ความหมายของเสรีภาพในแง่ที่เป็นการทำได้ตามปรารถนา

ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย หรือกติกาของสังคมบ้าง การ

ทำได้ตามพอใจเท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นบ้าง แต่นั่นยัง

ไม่ใช่ความหมายที่เป็นสาระของประชาธิปไตย เป็นเพียง

ความหมายในเชิงปฏิบัติเท่านั้น

ที่จริง เสรีภาพในฐานที่เป็นหลักการอย่างหนึ่งของ

ประชาธิปไตย ย่อมมีความหมายที่สอดคล้องกับความมุ่ง

หมายของประชาธิปไตย ประชาธิปไตยนั้นเป็นระบบการ

ปกครองอย่างหนึ่ง การปกครองทุกอย่างมีความมุ่งหมาย

เพื่อจัดสรรสังคมให้อยู่ดีมีสันติสุข เราเห็นว่าประชาธิปไตย

เป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุดที่จะให้บรรลุจุดหมายนี้ เรา

จึงตกลงกันให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยให้

ประชาชนร่วมกันปกครอง โดยทุกคนมีส่วนร่วมในการ

ปกครองนั้น และเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครอง

เราจึงต้องให้ประชาชนมีเสรีภาพ เพื่อให้ประชาชนเหล่านั้น

ทุกๆ คนสามารถนำเอาสติปัญญาความรู้ความสามารถของ

เขาออกมาร่วมสร้างสรรค์สังคม ถ้าคนไม่มีเสรีภาพ สติ

ปัญญาความรู้ความสามารถของเขาก็ถูกปิดกั้นไม่มีโอกาส

ออกมาร่วมสร้างสรรค์สังคม

โดยนัยนี้ เสรีภาพที่เป็นหลักการของ

ประชาธิปไตยจึงมีความหมายว่าเป็นการสิทธิโอกาสที่จะนำ

เอาศักยภาพของบุคคลแต่ละคน ออกมาช่วยเป็นส่วนร่วม

ในการเสริมสร้างประโยชน์สุขให้แก่สังคม เสรีภาพที่แท้

จริงอยู่ที่นี่ เสรีภาพที่เข้าใจผิดก็คือ การที่แต่ละคนจะเอา

แต่ผลประโยชน์เข้าตัวเอง เสรีภาพกลายเป็นมีความหมาย

ว่าฉันจะเอาอะไรก็ต้องได้ตามที่ฉันต้องการ แต่ที่จริงนั้น

เสรีภาพมีไว้เป็นองค์ประกอบของประชาธิปไตย เพื่อให้

การปกครองนั้นสร้างสรรค์ประโยชน์สุขแก่สังคมได้จริง

โดยการจัดการเอื้ออำนวยโอกาสให้บุคคลแต่ละคนมาช่วย

กันเสริมสร้างสังคมได้

ถ้าบุคคลไม่มีเสรีภาพ ความคิดความเห็น สติ

ปัญญาของเขาก็ไม่มีโอกาสที่จะมามีส่วนร่วมในการสร้าง

สรรค์สังคม แต่เมื่อเขามีเสรีภาพ สติปัญญาความคิดเห็นที่

ดีของเขาก็ออกมาช่วยสร้างสรรค์สังคมที่ดีงามขึ้นได้

ประชาธิปไตยก็สำเร็จ แต่ประชาธิปไตยที่ไม่ถูกต้อง ก็

เพี้ยนไป กลายเป็นระบบแก่งแย่งผลประโยชน์ของปัจเจก

ชน ที่แต่ละคนก็มองเสรีภาพในความหมายว่าฉันจะเอา

อะไรก็ต้องเอาให้ได้ ถ้าเป็นอย่างนี้ประชาธิปไตยก็อยู่ไม่

รอด

ฉะนั้นจะต้องมองความหมายของเสรีภาพใหม่ว่า

เสรีภาพคือการมีสิทธิโอกาสที่จะใช้ศักยาภาพของแต่ละ

คนในการมีส่วนร่วมที่จะสร้างสรรค์สังคม อันนี้เป็นความ

หมายที่แท้จริง เพราะสอดคล้องกับความมุ่งหมายของ

ประชาธิปไตยซึ่งเป็นระบบการจัดตั้งเพื่อสังคม

เรื่องความหมายของศัพท์เหล่านี้จะต้องทำความ

เข้าใจทั้งนั้น เพราะมีความสำคัญ และสัมพันธ์ซึ่งกันและ

กัน ถ้าเราเข้าใจพลาด การปลูกฝังคุณสมบัติต่างๆ ก็คลาด

เคลื่อนหมด ฉะนั้นการจะปลูกฝังวินัยได้สำเร็จจะต้อง

สัมพันธ์สอดคล้องกับหลักการอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบทั้ง

หลายของประชาธิปไตย ถ้าจะให้วินัยเป็นองค์ประกอบของ

ประชาธิปไตยก็ต้องมีความหมายที่ถูกต้อง แล้วมาจับ

สัมพันธ์กันอย่างสอดคล้องกลมกลืน มันจึงจะประสานกัน

ไปได้ ฉะนั้นเสรีภาพจึงเป็นคำหนึ่งที่จะต้องเข้าใจความ

หมายให้ถูกต้อง

เมื่อเข้าใจความหมายของเสรีภาพถูกต้องแล้ว ก็

จะเห็นว่า วินัยเป็นการจัดสรรโอกาสที่จะทำให้เสรีภาพของ

เราอำนวยผลเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สังคมได้อย่างแท้

จริง แล้วคนก็จะมีใจยินดีที่จะประพฤติตามวินัย ทำให้เกิด

ความเคารพกฎเกณฑ์กติกา คือเคารพวินัยนั่นเอง

(ตัดตอนจาก "วินัยเรื่องที่ใหญ่กว่าที่คิด โดย พระ

ธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)

www.budpage.com


โดย: "เด็กศิลปะคนหนึ่ง" (panomsarakham ) วันที่: 5 ตุลาคม 2550 เวลา:12:08:28 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

panomsarakham
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




นายแพทย์สำเริง ไตรติลานันท์
นายแพทย์เชี่ยวชาญ
หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมชุมชน
แพทย์ครอบครัว ร.พ.พนมสารคาม และ
ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพ ต.เขาหินซ้อน
ประธาน"ชมรมจริยธรรม ร.พ.พนมสารคาม"
..................................................

เธอจงระวังความคิดของเธอเพราะความคิดของเธอจะกลายเป็นความประพฤติของเธอ จงระวังความประพฤติของเธอเพราะความประพฤติของเธอจะกลายเป็นความเคยชินของเธอ จงระวังความเคยชินของเธอเพราะความเคยชินของเธอจะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอเธอ จงระวังอุปนิสัยของเธอเพราะอุปนิสัยของเธอจะกำหนดชะตาชีวิตของเธอชั่วชีวิต....หลวงพ่อชา
Friends' blogs
[Add panomsarakham's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.