มรรค 8 คือ ตัวเรา – ใจเรา
มรรค 8 คือ ตัวเรา – ใจเรา

ต้นธาตุ คือ ตัวเรา มี4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม = ทิศหลัก 4 ทิศ
ต้นธรรม คือ ใจเรา มี 4 ห้อง คือ รู้สึก จำ คิด สัมผัสรับรู้ = ทิศเฉียง 4
การศึกษา ตัวเรา ใจเรา คือ ความรู้รอบ สติ และ รอบรู้ คือ ปัญญา

จิต……….คือศูนย์กลางแห่ง ตัวเรา ใจเรา มีรัศมีจิต เป็นรุ้ง 7 สี เพราะเกิดปัญญา สัมมาทิฏฐิ เพื่อบำเพ็ญเพียร ไปสู่ความรู้แจ้ง และ หลุดพ้น……………
ทิศทั้งแปด คือ ทางดำเนินของจิต แห่งอริยศาสตร์ ที่ปุถุชนละเลยในการปฏิบัติ จึงเกิดทุกข์นานัปการ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องศึกษา และ ปฏิบัติกันอย่างจริงจัง……………

1.เห็นชอบ คือ ธาตุน้ำ อยู่ทิศเหนือ ความเห็นชอบจึงเป็น ความเห็นที่ถูกต้อง ที่อยู่เหนือโลก เหนือธรรม เหนือความพอใจ ไม่พอใจ เหนือสรรพสิ่ง เหนือความโลภ ความโกรธ ความหลง จึงมีสภาพที่เป็นน้ำ ซึ่งสามารถชำระความสกปรกได้ทั้งมวล น้ำก่อให้เกิดชีวิต น้ำมีความเพียรเป็นเลิศ หากระดับน้ำไม่เสมอกัน น้ำจะไม่หยุดไหล น้ำมีความยุติธรรม เครื่องมือวัดระดับในโลกใดๆ ยังสู้น้ำไม่ได้ น้ำเป็นธรรมะ น้ำอยู่ในสภาพของเหลว ให้เราศึกษาถึง การเวียนว่าย ตายเกิด ลักษณะเป็นวงกลม ไม่มีต้น ไม่มีปลาย ไม่มีอยู่ มีแต่สมมุติแห่งการรวมตัว ตั้งอยู่ เคลื่อนไป ไม่เปลี่ยนแปลง มีแต่สภาวะธรรม เป็นทั้งรูปที่หนัก และนามที่เบาบาง คือ “เมฆ” เมฆ อยู่ในสภาพที่ว่างเปล่าได้ จึงใช้ สีใส ที่ใสกว่า สีขาว……………….
2.คิดชอบ อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นทิศแห่งสีดำ เพราะมนุษย์เราเกิดจาก อวิชชา คือ ความไม่รู้(มืด) หมายถึง ใจ ที่ยังมิได้ศึกษา มนุษย์จึงเกิดมาศึกษาธรรมะ ศึกษาชีวิต เพราะมนุษย์เกิดจากความคิดที่มี ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ และ ใจไม่พอ ความรู้สึกทั้งสาม เป็นบ่อเกิดแห่งความมืด คือ “คิดชอบ” แต่เป็นสีดำ เพราะในความคิด มีลูกศรชี้ตรงไปที่รูปหัวใจ คือ “ความอยาก” ความอยากเป็นปัญหาของความคิด ที่มีปัญหาให้คิดกัน พูดเป็นกลางๆ คือ ชอบคิดดี หรือ คิดไปในทางไม่ดี แต่ส่วนใหญ่จะแปลไปในทางดี ต้นกำเนิดของทุกข์ทั้งหลาย ล้วนมาจากความคิดที่ผิด “ชั่ว” จึงเป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์ ตัวมืดบอด คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่ตกอยู่ในความคิดของคนเรา โดยเราไม่รู้ตัวว่า สิ่งเหล่านี้มีอยู่ มนุษย์ผู้นั้นเลยมิได้แก้ไข…………..
3.วาจาชอบ คือธาตุไฟ อยู่ทิศตะวันออก เป็นทิศแห่งแสงสว่าง ที่ทำให้เห็นแจ้งโลก วาจาชอบ จึงเป็นพระธรรมคำสั่งสอน ที่ออกจากปากของผู้รู้ คือ มีแสงสว่างอยู่ในจิต มีฉัพพรรณรังสี วาจาชอบ อยู่ทิศตะวันออก หมายถึง เป็นผู้ชี้ทางให้ออกจากโลก ออกจากความชั่ว ความมืด……………..
4.กระทำชอบ หรือ ปฏิบัติชอบ อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ลูกศรชี้ตรงไปที่หัวใจ คือ ความยึด มีสัญญา และ ความจำ เป็นเป้าหมายให้มนุษย์ปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม และจดจำไว้ เพื่อเผยแผ่ให้กับผู้ไม่รู้ต่อไป………….
5.อาชีพชอบ อาชีพที่ต้องห้าม 5 อย่าง คือ ค้ามนุษย์ ค้าอาวุธ ค้ายาพิษ ค้าสุรา ค้าสัตว์เป็นเพื่อฆ่า อยู่ทิศใต้ คือ ธาตุดิน ผู้ที่มีอาชีพสุจริตทุกอาชีพ ต้องอาศัยธาตุดิน คือ รูปธรรม อย่างน้อย ต้องอาศัยกาย เป็นที่ตั้งแห่งการประกอบอาชีพ ทิศใต้ หมายถึง บ่าว เปรียบเสมือน ร่างกายที่ถูกใจ ใช้ให้ไปในทางที่ดี หรือ ชั่วก็ได้ จึงต้องอาศัยอาชีพที่ชอบดำเนินชีวิต…………..
6.เพียรชอบ อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ศรชี้ไปทางหัวใจแห่งความไม่รู้ มนุษย์เรามีทั้งเพียรชอบ และ เพียรชั่ว ล้วนแล้วแต่อาศัยความคิดปรุงแต่งทั้งสิ้น ถ้าเพียรพยายามชอบ ก็ต้องคิดในสิ่งที่ดี ละสิ่งที่ชั่ว รักษาความดี และระวังความชั่ว มิให้เกิด โดยอาศัยการศึกษาธรรมะ และศึกษาชีวิตเป็นเกณฑ์………….
7.สติชอบ อยู่ทิศตะวันตก คือ ธาตุลม มนุษย์เราเกิดมาต้องมี “ลมหายใจ” การมีลมหายใจ ต้องมีสติ จึงจะไม่หลงชีวิต สตินั้น ต้องเจริญตลอดเวลา คือ มีสติ ในการเคลื่อนไหวทุกอิริยาบถ มีสติอยู่กับ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ตลอดเวลา มีสติอยู่กับ ความคิดปรุงแต่ง รู้เท่าทันความคิดดีและชั่วของตัวเอง มีสติอยู่กับ การเกิดขึ้น เคลื่อนไป และเปลี่ยนแปลง ให้ต่อเนื่อง มีสติ รู้จัก ความไม่เที่ยง ไม่ยึดมั่น ถือมั่น ในสรรพสิ่ง แก้ไขได้ก็แก้ไข แก้ไขไม่ได้ก็ต้องรู้จักปล่อยวางมันไป ทิศตะวันตก คือ การลับไปแห่งแสงสว่าง สิ่งสำคัญที่สุดเวลาตาย หรือจากโลกนี้ไป ต้องมีสติพร้อม…………
8.สมาธิชอบ คือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผลของสติ คือสมาธิ จะตั้งอยู่ได้นาน ต้องอยู่เหนือสติ สมาธิ คือ การตั้งใจมั่น นั้นต้องมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สมาธิ คือ การสงบนิ่งแห่งใจ เพื่อการพัฒนา ขึ้นสู่ความรู้แจ้งแห่งจิต ตัวรู้ ตัวตื่น ตัวเบิกบาน นิ่งแบบผู้รู้ มิใช่นิ่งแบบไม่รู้ นิ่งแบบผู้รู้ เรียกว่า “นิ่งเสียโพธิสัตว์” นิ่งแบบไม่รู้ เรียกว่า “สมาธิหัวตอ หรือสมาธิหลับ” มิใช่สมาธิตื่น ต้องมีสมาธิอยู่เหนือสติ และมีปัญญาอยู่เหนือความนิ่ง สมาธิที่แท้จริง ต้องอยู่กับ การสัมผัสรับรู้ที่ไม่หลงผิด…………….

อันความจริงใจ ไม่มีตัวตนหรอก มีแต่อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น จึงมีใจ มีจิต ที่ส่งออกไปกระทบ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสต่างๆ แล้วเกิดความไม่รู้ ไปยึดรูป อัตตาตัวตนเข้า เป็นเขา เป็นเรา ทึกทักเอาว่า เป็นความจริง เท็จจริงแล้ว เป็นเพียงความรู้สึกของเราเอง ที่คิดปรุงแต่ง ไปตามอายตนะเท่านั้น มนุษย์เราแท้จริง มีเพียง จิต กับ กาย เท่านั้น…………….
พระอรหันต์ หรือ ผู้รู้ที่แท้จริง มีเพียงสองสิ่งเท่านั้น คือ เกิด กับดับ หรือดับ การเกิด…………..

ผู้รู้-ธาตุรู้-ความรู้

แผนผังทางหลุดพ้น

แผนผัง คือ แผนที่ ที่เราศึกษา เพื่อมิให้หลงทาง หลงโลก และ หลงธรรม
ทาง คือ หนทาง หรือ มรรค มีองค์แปด ซึ่งเป็นการปฏิบัติไปสู่การดับทุกข์ทั้งมวล
หลุด คือ หลุดออกจากทางแห่งความชั่วทั้งปวง มีอวิชชา10 เป็นต้น โดยอาศัยบารมี 10 เป็น
เหตุ และ พ้นจากกาย จากใจ
พ้น คือ พ้นจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม และอวิชชา ที่มีในกาย ในใจ ทั้งหลายทั้งปวง คือ………….

(1)ปัญญา ความเห็นที่ถูกต้อง โดยมีความรอบรู้ คือ มรรค มีองค์แปด
(2)อธิษฐานและทาน คือการตั้งใจที่เสียสละบริจาคทาน ให้หลุดออกจากกายและใจ ทั้งหมด ทั้งสิ้น
(3)สัจจะ อุเบกขาและสันโดษ คือความสำเร็จ ต้องอาศัยสัจจะ คือ รู้จักความจริงของโลก ของชีวิต และสามารถหยุดหรือวางเฉย ที่จะไม่กระทำความชั่วทั้งปวง โดยอาศัยความสันโดษ สันติ สงบ เป็นตัวปฏิบัติธรรม
(4)เมตตา ขันติ เพียร ศีล “เมตตา”เป็นเครื่องคุ้มครองโลก คือ รากฐานของชีวิต มีขันติ ความเพียร และ ศีล เป็นองค์ประกอบ มีขันธ์5เป็นรากฐานของการสร้างบารมี ทางกายและใจ เพื่อไปสู่ความสำเร็จแห่งมรรคผล

นิพพาน ไตรลักษณ์ คือลักษณะสามแห่งปิรามิดของพุทธะ แผนผังไปสู่ความหลุดพ้น โดยอาศัย พระไตรปิฎก คือ คำสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ลักษณะ3 คือ ศีล เมตตา สมาธิ ปัญญา
ลักษณะ3 คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ลักษณะ3 คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ลักษณะ3 คือ ความคิด การพูด และการกระทำ
ลักษณะ3 คือ พระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม

ทำไมมนุษย์เราต้องมีภูมิคุ้มกัน 37 ประการ

ชีวิตของผู้รู้ จิตที่ดีต้องมีภูมิธรรม 37 ประการ เป็นภูมิคุ้มกันชีวิต……….


สัมมัปปธาน 4 คือ ประธานของชีวิต………
1.ละชั่ว-ที่ความคิด………
2.ระวังชั่วมิให้เกิด-ที่คำพูดและการกระทำ………….
3.ทำดี-ด้วยการคิด การพูด และการกระทำ…………
4.รักษาดี -คือ การไม่หยุดทำความดี แม้ในหมู่คนเลวและชั่ว………..


สติปัฏฐาน 4 (ฐานของชีวิต)………….
1.สติ-ในกาย…….ที่เคลื่อนไหวทุกอิริยาบถ นั่ง นอน ยืน เดิน………..
2.สติ-ในความรู้สึก…….ในกาย พอใจในกาย ไม่พอใจในกาย ให้เพียงแต่รู้……….
3.สติ-ในความคิดปรุงแต่ง………คิดดีให้รู้ คิดชั่วให้รู้ คิดไม่ดีไม่ชั่ว คือ สงบจากความคิดปรุงแต่ง ก็ให้รู้……………
4.สติ-ในการสัมผัส………ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ…….ต้องรู้………….


โพชฌงค์ 7 ความสำเร็จในชีวิต……………
1.รู้รอบในความคิดปรุงแต่ง…………….
2.ใคร่ครวญวิจัยธรรม…………….
3.เพียรพยายามละชั่ว ทำดี รักษาดี ระวังชั่ว…………..
4.อิ่มใจ เท่ากับเต็มใจในการทำความดี……………
5.สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกของจิต คือ ไม่วุ่นวายกับอัตตาทั้งปวง…………
6.ตั้งใจมั่น คือ ความคิดที่สงบระงับจากการปรุงแต่ง มีเอกภาพ…………
7.วางเฉยต่อความพอใจ ไม่พอใจในโลก………….


อิทธิบาท 4 การรักษาความสำเร็จในชีวิต………………
1.ความพอใจในการเกิด การมีอยู่ของชีวิตและการงาน…………..
2.ความเอาใจใส่ในชีวิตและการงาน…………….
3.ความเพียรพยายามในชีวิต ให้ดีขึ้นทุกวิถีทางในทางสุจริต………….
4.การรักษาความดีในชีวิตให้ถาวร คือ การตรวจสอบ………..


พละกำลัง 5 เครื่องมือในการปฏิบัติ เป็นเครื่องอยู่อาศัยในชีวิต………….
1.ศรัทธา -ความเชื่อ ความเลื่อมใส เชื่อว่ากาย คือ ทุกข์ จึงหาทางดับ…………
2.ความเพียร- ละความทุกข์ คือ ละชั่ว ทำดี คือ การดับทุกข์ ระวังชั่ว คือ ละเหตุที่ทำให้ทุกข์เกิด รักษาความดี คือ ทำเหตุที่ทำให้เกิดความสุข คือ ทางสายกลาง ไม่ติดส่วนสุดสองอย่าง คือ พอใจ ไม่พอใจ…………..
3.สติ -การรู้รอบในกาย ในความรู้สึก ในความคิด และการสัมผัสรับรู้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ…………….
4.สมาธิ -การตั้งใจในความสงบ ระงับจากความวุ่นวาย ในอายตนะทั้ง 5 มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นต้น………….
5.ปัญญา- ความรอบรู้ในกองสังขารทั้งกายและความคิดปรุงแต่ง……………


อินทรีย์ 5 ทวารของใจที่ต้องรักษา มิให้ความชั่วเกิด…………….
1.ตา…….มีไว้ดู เพื่อดำเนินชีวิตให้ถูกทาง ไม่พาไปในทางชั่ว…………..
2.หู……..มีไว้ฟัง เพื่อศึกษาหาความรู้ ประสบการณ์ที่ดี…………….
3.จมูก………มีไว้หายใจ มิใช่ใจหายไปตั้งแต่เมื่อไรไม่รู้ ตามหาใจก็ไม่เจอ ดังเช่น สังคมปัจจุบัน ยังจะไปตามหาความรักอีก……………
4.ลิ้น………..มีไว้รับรสและโอภาปราศรัย มิได้มีไว้เชือดเฉือนใคร หรือหลอกลวงคน…………
5.กาย……….มีไว้ทำคุณประโยชน์ให้กับโลกกับสังคม ที่เราอยู่อาศัย ใช้กายให้เป็นประโยชน์ อย่าปล่อยให้เปลืองลมหายใจ……………


มรรค 8 ทางสายกลาง ดำเนินไปสู่ความสุขและความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งหลาย…….
ความเห็นที่ถูกต้อง………ประกอบด้วย………….
1.ต้องรู้จักตน คือ ความคิด……………
2.รู้จักผล คือ พูดดี……………..
3.รู้จักเหตุ คือทำดี………………
4.รู้จักประมาณตน คือ อาชีพดี หรือ หน้าที่ถูกต้องดี……………
5.รู้จักชุมชนดี คือ รู้จักละความชั่วในสังคม หมายถึง ตัวเรา ใจเรา………
6.รู้จักกาลเวลา คือ รู้จักสติ ตัวรู้รอบ ในกองสังขารกายและความรู้สึก รู้รอบในความคิดและในการสัมผัส คือ ต้องปฏิบัติตลอดเวลา………….
7.รู้จักสถานที่ คือ สถานที่ที่ตั้งของใจ คือสมาธิ มีจิตเป็นหนึ่ง มีใจอันสงบ ระงับจากความวุ่นวาย ทั้งทางโลกและทางธรรม……………


ภูมิคุ้มกันทั้ง 37 ข้อ คือ ภูมิคุ้มกันชีวิต ที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์มา สองพันห้าร้อยสี่สิบสี่กว่าปี ยังทนต่อการพิสูจน์อีก สองพันสี่ร้อยกว่าปี เป็นหลักเป็นฐาน ที่ทนต่อการพิสูจน์ ที่ไม่มีอะไรยิ่งกว่า…………
ถ้าได้ปฏิบัติไปตามภูมิคุ้มกัน ที่ท่านได้ทรงสั่งสอนมาแล้ว และยังไม่เกิดความสุขในชีวิตอีก ก็ไม่มีอะไรรับรองความปลอดภัยในชีวิตมนุษย์อีกแล้ว…………

(ที่มา..จากเว็บไซด์สักเว็บค่ะ)



Create Date : 20 กรกฎาคม 2553
Last Update : 20 กรกฎาคม 2553 0:02:03 น.
Counter : 641 Pageviews.

2 comments
  
อนุโมทนาบุญค่ะ
โดย: นาฬิกาสีชมพู วันที่: 20 กรกฎาคม 2553 เวลา:0:40:15 น.
  
สาธุ..กะตัวเอง
โดย: จิตเดิม วันที่: 13 พฤศจิกายน 2555 เวลา:22:55:14 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จิตเดิม
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



กรกฏาคม 2553

 
 
 
 
2
3
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
17
18
19
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31