Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
242526272829 
 
28 กุมภาพันธ์ 2551
 
All Blogs
 

พื้นที่ชุ่มน้ำ...บึงกะโล่ จ.อุตรดิตถ์

สถานที่ : บึงกะโล่ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์
ลักษณะพื้นที่ : บึงกะโล่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.ป่าเซ่า อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ มีเนื้อที่กว้างขวางราว ๗,๕๐๐ ไร่ เป็นแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อการเกษตรของ ต.ป่าเซ่า ต.คุ้งตะเภา และ ต.หาดกรวด อ.เมือง ...

...ถึงแม้การพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำกว่า ๗,๐๐๐ ไร่แห่งนี้จะต้องมีขึ้นในอนาคตก็ตาม แต่สิ่งที่ทำให้ผมสนใจก็คือ ณ ปัจจุบันพื้นที่นี้เป็นแหล่งอาศัยของนกน้ำที่ดีมากอีกแห่งหนึ่งในแถบภาคเหนือตอนล่างนอกจากแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ๆ ในสุโขทัย, พิษณุโลกและพิจิตร...ทั้งนกน้ำที่อยู่ประจำถิ่นทั้งปีและนกน้ำที่มาสมทบในช่วงฤดูหนาวกลับเพิ่มจำนวนมากขึ้นและมีรายงานที่น่าตื่นเต้นอยู่เรื่อย ๆ ในพื้นที่บึงกะโล่แห่งนี้..เช่น นกตระกราม( Greater Adjutant )และนกกระทุง( Spot-billed Pelican ) ซึ่งถือเป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่หายากมากก็ตามก็เคยพบในพื้นที่นี้ได้...

.....มองพื้นที่ให้เป็นแหล่งดูนก

...........การเดินทางสู่บึงกะโล่นั้นถือว่าสะดวกสบายเป็นที่สุด เพราะอยู่ไม่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินเส้นพิษณุโลก-อุตรดิตถ์เท่าใดนัก แถมเข้าไปอีก ๒ กิโลเมตรก็จะพบกับบึงน้ำขนาดใหญ่แห่งนี้แล้ว...
...........จากอุตรดิตถ์ย้อนออกมาสู่ทางหลวงหมายเลข ๑๑ ( พิษณุโลก - อุตรดิต์) ตรงแยก อุตรดิตถ์พอดี ตรงเข้าไปในบึงเพียง ๒ กิโลเมตร พื้นที่โดยรอบบึงเป็นทุ่งนาและพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งน้ำในพื้นที่รอบนอกจะแห้งลงเมื่อเข้าหน้าแล้งแต่พื้นที่ส่วนกลางบึงก็ยังคงสภาพชุ่มน้ำอยู่ ประกอบกับต้นไม้และพืชพรรณต่าง ๆ ที่ขึ้นหนาแน่นกันใจกลางบึง....นกเด่น ๆ ของที่นี่จะพบมากในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือน พ.ย.-ก.พ.ของทุกปีซึ่งจะพบได้ทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพซึ่งเข้ามาสมทบเป็นจำนวนมาก..




...นกไฮไลต์ของที่นี่ต้องยกให้นกกระติ๊ดแดง( Red Avadavat )ซึ่งถือว่าพบเป็นนกที่มีแหล่งกระจายพันธุ์แห่งใหม่ที่มีปริมาณมากกว่า ๓๐-๕๐ ตัว ทีเดียว นกเด่นที่ไม่ควรพลาดอีกชนิดที่พบได้ในช่วงอพยพหน้าหนาวและจำนวนมากคือนกคอมรกต( Bluethroat ) ที่มีลีลาการหากินอาหารที่โดเด่นคือชอบที่จะยืนตัวตรงบนจุดเด่น ๆ เนินดินซึ่งก็หาตัวไม่ยากนัก สำหรับนกอื่น ๆ ที่พบในพื้นที่ได้เป็นประจำแทบทุกปีคือพวกเหยี่ยวทุ่ง อย่างเหยี่ยวทุ่งด่างดำขาว( Pied Harrier ) และเหยี่ยวทุ่งพันธุ์เอเชียตะวันออก( Eastern Marsh Harrier ) ที่ชอบใช้ความพิเศษเฉพาะตัวร่อนเลียดไปกับยอดหญ้าเพื่อมองหาเหยื่อด้านล่าง แต่เมื่อเทียบระหว่างเหยี่ยวทุ่งพันธุ์เอเชียตะวันออกและเหยี่ยวทุ่งด่างดำขาวแล้ว..เหยี่ยวทุ่งด่างดำขาวน่าจะมีโอกาสเห็นได้เด่นกว่าเป็นแน่ด้วยสีขนที่เป็นสีขาวและดำปลอด...




.......ในส่วนของนกชายเลนที่หากินในแหล่งน้ำจืดก็ถือว่าดีทีเดียว ได้แก่นกชายเลนน้ำจืด( Wood Sandpiper ), นกเด้าดิน( Common Sand Piper ), นกสติ๊นท์อกเทา( Temminck's Stint ), นกสติ๊นท์นิ้วยาว( Long-toed Stint ), นกทะเลขาเขียว( Common Greenshank ), นกปากซ่อมหางพัด( Common Snipe ), นกปากซ่อมหางเข็ม( Pintail Snipe ), นกตีนเทียน( Black-winged Stilt ), นกโป่งวิด( Greater Painted-snipe ), นกหัวโตเล็กขาเหลือง( Little Ringed Ploverเป็นต้น...
......นกเด้าลมเป็นนกอีกกลุ่มที่พบได้ที่นี่ถึง ๔ ชนิดคือนกอุ้มบาตร( White Wagtail ), นกเด้าลมเหลือง( Yellow Wagtail ), นกเด้าลมหลังเทา( Grey Wagtail )และนกเด้าลมหัวเหลือง( Citrine Wagtail ) เป็นกลุ่มนกที่ชอบเดินเลียบไปกับพื้นที่เลนหรือในนาข้าวแตกหน่อใหม่ ๆ และก็อย่าลืมมองหาญาติของเขาอย่างนกเด้าดินอกแดง( Red-throated Pipit )ที่พบได้เช่นกัน
.....ในส่วนที่เป็นนกน้ำทั้งประจำและไม่ประจำถิ่นมีเป็ดแดง( Lesser Whistling-duck ), นกอีล้ำ( Common Moorhen ), นกอีลุ้ม( Watercock ), นกอีโก้ง( Purple Swamphen ), นกกระสาแดง( Purple Heron ), นกกระสานวล( Grey Heron ), นกอัญชันคิ้วขาว( White-browed Crake ), ...นกกระเต็นปักหลัก( Pied Kingfisher )ก็เป็นอีกชนิดที่เด่นไม่แพ้ตัวอื่น กับลีลาการปักหลักหาปลาด้วยท่าฮูฟที่แสนเร้าใจ...นกในกลุ่มอื่นก็มีให้ดูได้อย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนกนกพง( Reed Warbler ), นกกระจาบ( Weaver ), หรือแม้แต่กลุ่มนกกิ้งโครง( Starling ) ...




...นับเป็นจุดที่มีความสำคัญมากอีกแห่งหนึ่งของแหล่งนกน้ำในภาคเหนือซึ่งนับวันก็ถูกพัฒนาไปในทางที่แย่ลงในมุมมองของการอนุรักษ์ ในส่วนของการสำรวจนกในพื้นที่ข้อมูลนกของที่นี่ยังเป็นเบื้องต้นอยู่มากมีนกที่พบ ณ ปัจจุบัน ๑๐๐ ชนิดเศษ...แต่กระนั้นไม่ว่าอนาคตของพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้จะเป็นเช่นไรหรือถูกพัฒนาไปในทิศทางใด แต่ก็ให้ทราบไว้ว่าที่นี่คือบ้านของกระติ๊ดแดงกว่าครึ่งร้อย...นกกระสาแดง...และนกน้ำนานาพันธุ์....ที่หวังจะใช้พื้นที่อันเงียบสงบนี้เป็นแหล่งพักพิงและขยายเผ่าพันธุของเขา....สืบไป




 

Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2551
12 comments
Last Update : 7 กรกฎาคม 2551 16:36:26 น.
Counter : 3745 Pageviews.

 

อืม ฟังดูสภาพพื้นที่ดีจังเลย หวังว่าจะคงอยู่เช่นนี้ตลอดไปนะ


แถวบางแก้วก็แย่ลงทุกวัน วงแหวนตัดผ่าน บ้าน โรงเรียน ร้านค้าผุดกันใหญ่เลย

 

โดย: โป่งวิด 2 มีนาคม 2551 21:48:42 น.  

 

ขอบคุณครับที่เข้ามาชม...ที่นี่อย่างน้อยก็เกือบสิบปีน่าจะเป็นสภาพเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ นกก้ดี เหยี่ยวก็ดี กระติ๊ดแดงเยอะดีจริง ๆ แถมพวกคอมรกตอีก...

 

โดย: นกสุโขทัย 3 มีนาคม 2551 11:29:10 น.  

 

กระติ๊ดแดงเยอะดีครับน่าสนใจ

 

โดย: B/W 5 มีนาคม 2551 18:06:33 น.  

 

ใช่ครับคุณเอก..กระติ๊ดแดงเยอะจริง ๆ ต้องไปเฝ้าเก็บข้อมูลบ่อย ๆ แล้ว...

พื้นที่คล้าย ๆ ทางน้ำคำที่เชียงแสนเผื่อมีคอทับทิมอกดำและนกพงนาพันธุ์อินเดียโผล่มาอย่างเขา อิอิ

 

โดย: นกสุโขทัย 5 มีนาคม 2551 19:10:29 น.  

 



กลับมาจากแก่งแล้วค่ะ เลยมาทักทาย

 

โดย: นกแห้ว 17 มีนาคม 2551 10:44:59 น.  

 

ว้าว ๆ ขอบคุณครับ ถ่ายมาทีสองสาวเลย...

แหมไม่มีโอกาสจะไปนับนกกะเขา...เสียดายจริง ๆ ไกล และก็ไม่มีเวลาด้วย ทำแต่งาน ได้ตังก็ไปดูนกหมด....

คงมีโอกาสได้เจอะกันมั่งนะครับคุณซินเนีย...เรลา

 

โดย: นกสุโขทัย 18 มีนาคม 2551 11:18:16 น.  

 

กระติ๊ดแดง นี่ ไปเมื่อไหร่ก้อเจอหรือเปล่าค่ะ???
อยากเจอจัง...

 

โดย: kumdwar13 17 เมษายน 2551 12:17:08 น.  

 

ครับผม คุณ kundwar13 .....ไปไงก็เจอครับ จะเยอะจะน้อยอีกเรื่องครับ

อิอิ

 

โดย: นกสุโขทัย 17 เมษายน 2551 17:22:07 น.  

 



แวะมาชมนกขอรับ อิอิ

 

โดย: คนสาธารณะ 1 พฤษภาคม 2551 12:08:09 น.  

 

แอบ มาเยี่ยมชม ค่ะ

 

โดย: สุนันยา 1 พฤษภาคม 2551 18:19:28 น.  

 

ดองเค็มแล้วนะตั๊ว อิอิ

 

โดย: โป่งวิด 11 พฤษภาคม 2551 0:49:29 น.  

 

สภาพธรรมชาติของอุตรดิตถ์นับวันลดน้อยเพราะการบุกรุกของคนเองครับ

 

โดย: scimovie 25 พฤศจิกายน 2552 2:55:36 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นกสุโขทัย
Location :
สุโขทัย Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ปีกงาม..แห่งพื้นน้ำทะเลหลวง
Friends' blogs
[Add นกสุโขทัย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.