A NaughtyDog a day will keep a real doctor away!

 
ธันวาคม 2554
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
28 ธันวาคม 2554
 

ออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์ Episode II

คราวก่อนพูดถึงเรื่องข้อดี ข้อกังวลเกี่ยวกับการออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์ไปแล้ว วันนี้จะมาเล่าต่อเรื่องเกี่ยวกับการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ครับ
คำแถลง(Statement)ที่เกี่ยวกับการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์นั้น...สภาสูตนรีแพทย์แห่งอเมริกา(ACOG ย่อมาจาก American Congress of Obstetrics and Gynecology) ได้ใช้คำแนะนำของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค(CDC ย่อมาจาก Center for Disease Control and Prevention) และ วิทยาลัยเวชศาสตร์การกีฬาแห่งอเมริกา ที่แนะนำการออกกำลังกายของคนทั่วๆไป(ไม่ใช่หญิงตั้งครรภ์)มาใช้ในหญิงตั้งครรภ์ได้ คำแนะนำหรือคำแถลงดังกล่าวก็คือ...
"การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและความแข็งแรงนั้น แนะนำให้ออกำลังกายปานกลาง(Moderate exercise)วันละประมาณ 30 นาทีหรือมากกว่า ในทุกวันหรือเกือบทุกวัน(Exercise, aimed at improving the health and well-being of nonpregnant individuals, suggests that an accumulation of 30 minutes or more of moderate exercise a day should occur on most, if not all, days of the week)"
ทาง ACOG ก็รับเอาคำแนะนำดังกล่าวมาใช้กับหญิงตั้งครรภ์เช่นกัน โดยมีติ่งหรือข้อแม้อยู่ว่า "หากไม่มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อนทางสูติ(In the absence of either medical or obstetric complications, pregnant women also can adopt this recommendation)" ดังนั้นก่อนจะไปถึงรายละเอียดในเรื่องการออกกำลังกายของหญิงตั้งครภ์ควรจะทราบก่อนว่าภาวะใดบ้างที่แพทย์แนะนำว่าไม่ควรออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์
ภาวะที่เป็นข้อห้ามของการออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์(Absolute Contraindications to Aerobic Exercise During Pregnancy)
1. เป็นโรคหัวใจที่การทำงานของหัวใจไม่ดีอย่างชัดเจน(Hemodynamically significant heart disease)
2. เป็นโรคปอดบางชนิด คือพวกที่เป็นโรคปอดแบบจำกัดการทำงานของปอด(Restrictive lung disease)
3. มีภาวะปากมดลูกไร้ประสิทธิภาพ(Incompetent cercix) หรือพวกที่ผูกปากมดลูก(Cervical cerclage)เอาไว้เนื่องจากมีภาวะปากมดลูกไร้ประสิทธิภาพ
4. ตั้งครรภ์แฝดที่เสี่ยงต่อการเกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด(Multiple gestation at risk for premature labor)
5. มีภาวะเลือดออกทางช่องคลอดในไตรมาสที่สองหรือสามของการตั้งครภ์และยังไม่หายดี(Persistent second- or third-trimester bleeding)
6. มีภาวะรกเกาะต่ำหลังอายุครรภ์ 26 สัปดาห์(Placenta previa after 26 weeks of gestation)
7. มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในการตั้งครรภ์ปัจจุบัน(Premature labor during the current pregnancy)
8. มีภาวะน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว(Ruptured membranes)
9. มีภาวะพิษแห่งครรภ์(Pre-eclampsia/pregnancy-induced hypertension) หรือมีภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์
จะเห็นว่าภาวะต่างๆที่เป็นข้อห้ามของการออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์นั้น...หลายๆอย่างอาจจะอ่านแล้วไม่เข้าใจครับ เพราะเป็นศัพท์ทางการแพทย์ ดังนั้นจึงควรขอคำปรึกษาจากสูติแพทย์ผู้ดูแลก่อนว่า...สมควรจะออกกำลังกายได้ระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่ครับ
การออกกำลังกายที่ "แนะนำ" และ "ไม่แนะนำ" ระหว่างตั้งครรภ์
นอกจากคำแถลงคร่าวๆแล้ว ในรายละเอียดก็มีข้อแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมการออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์ด้วยครับว่าการออกกำลังกายแบบไหนที่ "แนะนำ" แบบไหนที่ "ไม่แนะนำ" หลักๆมีอยู่ว่าการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ไม่ควรเป็นการออกกำลังกายหนัก(Strenuous exercise) หรือบางแห่งจะเรียกว่าเป็น การออกกำลังกายเพื่อความผ่อนคลาย(Recreational exercise) คือมีวัตถุประสงค์เพื่อการหย่อนใจ หรือพักผ่อนไม่ใช่มุ่งเน้นให้ออกกำลังกายหนักๆ และควรเป็นการออกกำลังกายแบบ Aerobics หรือเป็นแบบ Strength conditioning exercise คือการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของร่างกาย มีการเคลื่อนไหวที่ควบคุมอย่างช้าๆ(increase your overall fitness and involves slow, controlled movements) ส่วนการออกกำลังกายที่ควรหลีกเลี่ยง โดยหลักแล้วก็คือการออกกำลังกายที่มีการปะทะกัน(Contact sports เช่น ยูโด มวย สควอช เป็นต้น) หรือมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น สกี ขี่ม้า ฮ็อกกี้ เป็นต้น
โดยสรุปการออกกำลังกายที่แนะนำในขณะตั้งครรภ์ได้แก่ การเดิน การว่ายน้ำ การปั่นจักรยานอยู่กับที่ การออกกำลังกายแบบแอโรบิคหรือการออกกำลังกายต่อการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด(Cardiovascular exercise)ที่มีการปะทะน้อย(Low impact) และการออกกำลังกายแบบ Strength conditioning exercise เช่น การรำมวยจีน การทำโยคะ เป็นต้น
และการออกกำลังกายที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ได้แก่
1. การออกกำลังกายที่มีการปะทะ(Contact sports) ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการออกกำลังกายที่มีการต่อสู้ หรือมีคู่ต่อสู้ เช่น มวย ยูโด สควอช ฟุตบอล บาสเก็ตบอล เป็นต้น
2. การออกกำลังกายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือเป็นการออกกำลังกายที่โลดโผน เช่น ฮ้อกกี้ สกีลงเขา(Downhill skiing) ขี่ม้า เป็นต้น
3. การดำน้ำลึก(Scuba diving) เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแรงดันอากาศหรือที่เรียกว่า "Decompression sickness (DCS)" หรือ "Bends" หรือภาษาชาวเลเรียกว่า "โรคน้ำหนีบ" เป็น โรคที่พบได้บ่อยในนักดำน้ำ ซึ่งจริงๆแล้วสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่อยู่ในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของ แรงดันอากาศอย่างรวดเร็วเช่น นักบินอวกาศ นักขับเครื่องบินผาดโผนเช่นกัน
4. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากมาก(สูงจากระดับน้ำทะเลเกิน 2,500 เมตร) ทั้งนี้เนื่องจากที่ระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเลมากมากจะมีปริมาณออกซิเจนในอากาศต่ำกว่าปกติอยู่แล้ว และการออกกำลังกายอาจทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกน้อยลง ซึ่ง "อาจจะ" ทำให้ทารกในครรภ์เกิดการขาดออกซิเจนได้ หรือถ้าต้องการออกกำลังกายในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลก็ควรรอให้ร่างกายปรับตัวให้คุ้นชินก่อนครับ
สงสัยจะกลายเป็นเรื่องยาวซะแล้วนะเนี่ย คงต้องยกยอดไปต่อภาคสามแล้วละครับ ตอนต่อไปก็ว่าจะเล่าให้ฟังถึงข้อแนะนำหรือข้อปฏิบัติของการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ครับ




 

Create Date : 28 ธันวาคม 2554
1 comments
Last Update : 28 ธันวาคม 2554 14:31:52 น.
Counter : 6273 Pageviews.

 
 
 
 
Artciles like this make life so much simpler.
 
 

โดย: Deachibiloversc IP: 188.143.232.12 วันที่: 30 เมษายน 2555 เวลา:13:31:40 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

NaughtyDoc
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




[Add NaughtyDoc's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com