Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
2 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
ลักษณะบางประการที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธี GMOs



นอกจากลักษณะทาง Quantitive ที่นักปรับปรุงพันธุ์พืช GMOs ที่ต้องพัฒนาพันธุ์พืชให้ได้ผลผลิตสูงแล้ว คุณลักษณะทาง Qualitative ก็เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ถือเป็นเป้าหมายของการปรับปรุงพันธุ์ ยกตัวอย่างเช่น

a. พันธุ์ต้านทานอันตรายจากสารออกฤทธิ์ในยาปราบวัชพืช Herbicide tolerance ในการฉีดยาฆ่าหญ้าแต่ละครั้ง ทำให้พืชปลูกพลอยได้รับความเสียหายไปด้วย เช่นใบไหม้ เซลหมวกรากตาย การพัฒนาพันธุ์พืชต้านทานยาปราบวัชพืชจึงทำให้การทำงานง่ายขึ้น ความเสียหายก็ลดลง พันธุ์พืช GMOs บางชนิดที่ปรับปรุงพันธุ์เพื่อด้านนี้เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว ถั่วเหลือง หัวบีทน้ำตาล คาโนล่า อัลฟาฟ่า

b. พันธุ์พืชต้านทานการเข้าทำลายของแมลงจำเพาะชนิด Insect resistance จะดีแค่ไหนถ้าพืชที่มีแมลงคู่กรณีที่แข็งแกร่งปลอดจากการทำลาย ยกตัวอย่างสำคัญคือหนอนเจาะสมอฝ้ายที่เป็นปัญหากับพื้นที่ปลูกฝ้ายทั่วโลก และทำให้ผลผลิตฝ้ายไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ การปรับปรุงพันธุ์ฝ้ายเพื่อต้านทานการเข้าทำลายของหนอนเจาะสมอฝ้ายจึงเป็นความหวังว่าปริมาณฝ้ายจะมีเพียงพอความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในอนาคต พืชชนิดอื่นที่ปรับปรุงพันธุ์ในด้านนี้เช่น มะเขือเทศ ข้าวโพด มันฝรั่ง

c. พันธุ์พืชต้านทานการเข้าทำลายของไวรัส Virus resistance พืชบางชนิดที่ที่มีโรคที่เกิดจากไวรัสเป็นคู่กรณีถือเป็นโชคร้าย เพราะมันจะสิงสถิตอยู่ในระดับโมเลกุล ถือเป็นคู่เวรคู่กรรมตัวจริง ยาใดๆ ในโลกก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่เทคโนโลยีชีวภาพช่วยได้ พันธุ์พืชตัวอย่างที่มีการปรับปรุงพันธุ์ด้านนี้เช่น มะละกอ มะเขือเทศ มันฝรั่ง พริกหวาน

d. พันธุ์พืชที่ยืดระยะการสุกแก่ Delayed ripening period โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักและผลไม้ที่มีข้อจำกัดว่าเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วต้องถึงมือผู้บริโภคโดยเร็วที่สุด มิฉะนั้นผลผลิตจะเสียหายอย่างรวดเร็ว พืช GMOs ที่ปรับปรุงด้านนี้เช่น มะเขือเทศ คาร์เนชั่น

ลักษณะอื่นๆ ที่นักปรับปรุงพันธุ์ทำในพืชบางชนิดแล้วเช่น พันธุ์พืชที่มีปริมาณไขมันชนิดดีในอัตราส่วนที่เหมาะสม (Modified oil content) พันธุ์พืชที่เบี่ยงเบนสีที่ไม่พบจากยีนควบคุมในธรรมชาติ (Modified flower color) พันธุ์ยาสูบที่มีปริมาณนิโคตินน้อย (Nicotin control) หรือพันธุ์พืชที่มีไลซีนมากกว่าปกติ (Lysine content enhancing) เป็นต้น


Create Date : 02 ตุลาคม 2551
Last Update : 2 ตุลาคม 2551 8:20:28 น. 1 comments
Counter : 2003 Pageviews.

 


โดย: uter วันที่: 5 ตุลาคม 2551 เวลา:9:42:16 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

น้าโหด
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าโหด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.