Group Blog
 
<<
มีนาคม 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
15 มีนาคม 2550
 
All Blogs
 
หัวขโมยพันธุกรรม

ถ้าเราแบ่งประเทศในโลกออกเป็น 2 ซีก หนึ่งคือผู้ที่ได้ชื่อว่าประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศอุตสาหกรรม และสองคือประเทศที่กำลังพัฒนา ในแง่ของความหลากหลายทางพันธุกรรมแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนาถือเป็นขุมทรัพย์ของทรัพยากรทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ประมาณกันว่าในธนาคารยีน (Gene bank) ทั่วโลกนั้น ยีนที่เก็บอยู่เป็นพันธุกรรมที่มาจากประเทศกำลังพัฒนาเสีย 9 ใน 10 ส่วน นอกจากนี้ที่ตั้งของธนาคารยีนนั้นอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาแค่ 15% ที่เหลืออยู่ในประเทศมหาอำนาจที่ว่าตัวเองพัฒนาแล้ว

ความยุติธรรมมีในโลกเสียที่ไหนล่ะครับ ดูตัวอย่างยางพารานั่นไง ถิ่นกำเนิดของยางพาราคือเป็นพันธุ์ไม้ของบราซิล แต่ก่อนบราซิลมียางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจและมีรายได้จากการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ แต่ความโชคร้ายของบราซิลก็บังเกิดเมื่อหัวขโมยชาวอังกฤษได้จิ๊กเอาเมล็ดยางพาราจากบราซิลกลับประเทศ และสุดท้ายมันได้ถูกนำมารวบรวมไว้ที่สวนพฤกษศาสตร์ Kew ที่ลอนดอน หลังจากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นประเทศผู้ล่าอาณานิคมตัวฉกาจก็นำพันธุ์ยางพารานี้ไปทดลองปลูกที่มาเลเซียและศรีลังกาจนได้ผลดี ปัจจุบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือฐานการผลิตใหญ่ของยางพาราจนเราแทบไม่ทราบเลยว่าปัจจุบันบราซิลเป็นผู้ส่งออกอันดับที่เท่าไรของโลก และไม่น่าแปลกใจเลยใช่มั้ยครับว่าบริษัทที่ทำธุรกิจยางอย่าง Firestone จะเป็นของอังกฤษเขา

ข้ามฟากไปที่สหรัฐอเมริกา ดูที่พืชเศรษฐกิจของเขาอย่างถั่วเหลือง ข้าวสาลีและข้าวโพด ก็แน่นอนที่สุดว่าพืชทั้ง 3 ไม่ใช่พืชที่มีถิ่นกำเนิดที่อเมริกาแน่ๆ

แหล่งพันธุกรรมเป็นทรัพยากรสำคัญที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุ์พืชเศรษฐกิจหลายชนิดต่างถูกปรับปรุงพันธุ์โดยใช้ลักษณะพันธุกรรมเด่นของพันธุ์ป่า ธรรมชาติได้คัดเลือกพันธุ์ให้ดำรงชีวิตด้วยกลไกที่ซับซ้อน สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีความอ่อนแอธรรมชาติจะค่อยๆ คัดทิ้ง ที่เหลืออยู่จึงเป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งถือว่าเป็นแหล่งทรัพยากรทางพันธุกรรม (Genetic resources) ที่มีค่าและเป็นที่ปรารถนาของประเทศผู้พัฒนาแล้วเป็นอย่างมาก

สหรัฐอเมริกาที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีวิทยาการด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชสูงส่ง แต่แหล่งพันธุกรรมที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์นั้นกลับมากจากต่างประเทศทั้งนั้น เช่นยีนต้านทานโรคเหี่ยวจากแบคทีเรียในแตงกวาก็เอามาจากพม่า ยีนต้านทานอาการไหม้ในมันฝรั่งเอามาจากปานามา ยีนต้านทานเชื้อ Fusarium ในถั่วเอามาจากเม็กซิโก ยีนต้านทานโรคราสนิมในข้าวสาลีเอามาจากตุรกี

ไม่รู้ว่าของดีบ้านเราในเวลานี้ถูกเขาขโมยไปเท่าไรแล้ว


Blog นี้มีแต่ text เพราะเขายังไม่ให้ใส่รูป ไว้ค่อยกลับมาใส่วันหลังครับ



Create Date : 15 มีนาคม 2550
Last Update : 15 มีนาคม 2550 12:44:37 น. 2 comments
Counter : 878 Pageviews.

 
เห้นด้วยอย่างแรง ตอนนี้ญี่ปุ่นเริ่มทำงานวิจัยกะมังคุดแล้ว ตอนนี้มีเด็กญี่ปุ่นมาเก็บตัวอย่างมังคุด มาทำงานวิจัยที่เมืองไทย 3 เดือน มาอาศัยที่ห้อง lab เราทำงาน คุยกันได้ความประมาณว่า จะเอามังคุดไปชักนำให้กลายพันธุ์แล้วปรับปรุงพันธุ์ให้สามารถปลูกได้ใน jap เพราะมังคุดมีความหลากหลายต่ำ ปลูกได้เฉพาะในบ้านเรากับประเทศใกล้เคียง เซ็งมากๆ แต่ทำไรไม่ได้ คุยกะน้องๆ ว่าจะทำงัยดี มีคำแนะนำมั้ยคะ


โดย: fattyacid (deeny ) วันที่: 15 มีนาคม 2550 เวลา:21:23:16 น.  

 
คุณ deeny ทำงานภาครัฐ เอกชน หรือ NGO ล่ะครับ


โดย: น้าโหด วันที่: 17 มีนาคม 2550 เวลา:21:09:59 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

น้าโหด
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าโหด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.