space
space
space
 
มีนาคม 2561
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
space
space
12 มีนาคม 2561
space
space
space

Printer สำหรับคนบ้า printer


  คงจะเป็นความบ้าส่วนตัวที่ชอบมี printer ตั้งแต่ไหนแต่ไรจำความได้  เริ่มเห็นคอมพิวเตอร์ครั้งแรกเมื่อเรียน ม. 5 (ปี 2530 โน่น แถว ๆ โน้น) เป็น Epson dot matrix เห่ย เฉย ๆ ขาวดำ  งั้น ๆ แหละ

ความประทับใจครั้งแรกมาตอนไปทำงานใช้ทุนที่มหาสารคาม  ณ ที่นั่น ได้พบเห็น printer สีครั้งแรก HP deskjet จำรุ่นไม่ได้ ประทับใจ พิมพ์สีได้ สวย เลิศ  อยากได้มั่ง

พอทำงาานมีเงินซื้อคอมพ์เครื่องแรก (Pentium อะไรปานนั้น) ก็ถอย Epson Stylus color รุ่นอะไรจำไม่ได้ ชอบ พิมพ์ ตัน หมึกหมด ตลับหมึกแพง หัวพิมพ์ตัน อะไรนั่น

พอไปเมกา ก็แน่นอน ได้คอมใหม่ คราวนี้ถอยทั้ง HP color lasert jet (4500 กระมัง) ราคาหลายตังค์อยู่ แบบว่าคนมันบ้า ก็เป็นของจำเป็น อยากได้ laser สีมานานแระ ได้สมใจ  เท่านั้นยังไม่พอ ยังบังอาจถอย Epson Stylus Photo 1280 มาเสียด้วย

หลังจากพิมพ์นู่น นี่ นั่นอยู่เรื่อย ก็ชอบมาพิมพ์รูปภาพ ก็เลยเพิ่งมาเรียนรู้ว่าภาพที่พิมพ์จากหมึก dye นั้น มันอยู่ไม่ทน มันจะมี color shift และก็ต้องโยนทิ้งไป  ตอนนั้นก็เมียงมอง Epson 2000P อยู่ แต่ความที่มี 1280 อยู่แล้วก็ไม่อยากซื้อใหม่ ราคา 2000P ก็แพ๊ง แพง โดยเฉพาะตลับหมึก จำได้ว่าตอนนั้นเรามีการดัดแปลงระบบ ink tank เรียก CIS (Continuous Ink Supply) โดยหาซื้ออุปกรณ์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ มีการซื้อหมึก third party pigment ink มาใส่ในระบบ ink tank ที่ประดิษฐ์เอง เรียกว่า หมดเวลาไปเยอะ โชคดีที่ไม่ได้หมกมุ่นจนเกินเหตุ เรายังสามารถเรียนจบตามที่ต้องการหางานทำต่อไปได้


หลังจากทำ Epson 1280 พังไป 2-3 อัน จากการนั่งประดิษฐ์ ลองผิด ลองถูก เติมหมึกเอง รีเซ็ทชิป บ้าบอ คอแตก สุดท้าย ก่อนจะกลับเมืองไทย (หลังอยู่เมกา 7 ปั) เราก็อัพเกรด printer เป็น Epson R2200 ซึ่งใช้หมึก pigment ink ถึงตอนนั้น ยอมแพ้กับระบบ ink tank เพราะรู้สึกว่าปัญหาเยอะมาก เดี๋ยวมี bubble เดี๋ยวหัวตัน ไม่แน่ใจว่าควรจะใช้ CIS หรือไม่ ตอนหลังเราเปลี่ยนมาใช้วิธีเติมหมึกในตลับแท้ของ R2200 เราแกะตลับหมึก Epson มาศึกษาจนรู้ถึงวิธีเติม (ใช้วิธี negative pressure filling) และสรุปว่าไม่มีหมึกปลอมยี่ห้อไหน ดีเท่าหมึก Epson  ตอนหลังก็เลยซื้อหมึก pigment ของ Epson ที่เขาใช้สำหรับเครื่อง printer ใหญ่ ๆ แบบตั้งพื้น ซึ่งราคาหมึกเป็น ซีซี ถูกกว่าหมึกตลับเล็กมาก  เราก็มานั่นเติมเอา ก็ใช้ได้ เรื่อยมาจนกระทั่ง upgrade เป็น R1800 อีกครั้งก่อนกลับเมืองไทย ปัญหาคือ ตลับหมึก R1800 ค่อนข้างเล็ก มีหมึกให้ใช้งานได้แค่ 12-14 ซีซี แป๊บเดียวหมด  ส่วนใหญ่หมดไปกับการล้างหัวพิมพ์เพราะหัวพิมพ์ตันมากกว่า หมดไปกับการพิมพ์

ก่อนกลับเมกา เราขาย HP Color laserjet 4500 ไปได้ มีคนซื้อต่อ  แต่เราซื้อ Color laser printer ตัวใหม่เป็นยี่ห้อ Lexmark จำรุ่นไม่ได้ ไม่ทันได้ใช้งานที่เมกา เราเอาขึ้นเรือกลับมาเมืองไทย สรุปว่าทั้ง Epson R1800 และ Lexmark color laser jet ก็ได้เดินทางจากเมกากลับมาที่เมืองไทย

Lexmark ตายก่อน ห่วยแตก โปรดอย่าซื้อ คงไม่ซื้ออีกแล้ว ใช้งานอยู่ได้ 2-3 ปี คุณภาพก็ไม่ได้ดีมาก เทียบกับ HP แล้ว เทียบไม่ติด ถูกกว่าเยอะ และห่วยกว่าเยอะ  แทบจะจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าเคยมี printer ตัวนี้  สรุปว่าเสียแล้วโยนทิ้งไป (ตอนนั้นยังไม่ได้คิดรักษ์โลกมาก)

ส่วน Epson R1800 ที่บ้านก็ใช้งานมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่สักประมาณปี 2005 จนถึงประมาณปี 2013 มันก็ตายจนได้ มีอาการปริ็นท์ไม่ออก ล้างเท่าไหร่ ๆ ก็ไม่เอา ยกไปให้เค๊าซ่อม เปลี่ยนหัวพิมพ์แล้ว คุณมานพ ที่เจอกันที่ฟอร์จูน ใช้บริการเค๊าบ่อย เค๊าดัดแปลง R1800 เราให้เป็นระบบไฟ 220V ได้ แต่หลังจากซ่อมเปลี่ยนหัวพิมพ์ได้ไม่นาน มันก็ตายจริง ๆ ปริ๊นท์อะไรไม่ออก มีตลับหมึกที่ซื้อมาตุนไว้เหลือเยอะแยะ  เป็นบทเรียนว่าวันหลังอย่าตุนตลับหมึกไว้เยอะเกินไป

หลังจาก Lexmark color laser ตายได้ไม่นาน เราก็ถอย color laser printer Canon imageclass มาใช้งาน ตั้งไว้อยู่ที่บ้าน ซื้อมาตั้งแต่ประมาณปี 2010 ไม่ค่อยได้พิมพ์เท่าไหร่ คลุมผ้าไว้เฉย ๆ ประมาณปี 2017 เธอก็มีอาการดึงกระดาษไม่ขึ้น เอาไปซ่อมหมดไป 10000 กว่าบาท ตอนนี้ก็คลุมผ้าไว้ที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ จะว่าไปเทียบคุณภาพ Canon laser printer ก็ยังสู้คุณภาพ HP color laser printer ที่ทำงานไม่ได้ เวลาพิมพ์งานออกมาจะดูจาง ๆ จืด ๆ ไม่ดำเข้มเหมือน HP  สรุปว่าถ้าจะต้องซื้อ laser printer อีก  คงจะขอเลือกเป็น HP แน่นอน

ส่วนทางด้าน Inkjet หลังจาก R1800 ตายไป เราก็ถอย Epson stylus R3000 ซึ่งเป็นเครื่องหิ้วจากเมกา  สาเหตุที่ซื้อเครื่องหิ้วเพราะราคาตลับหมึกในเมืองไทยแพงเหลือเกิน  ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีใครใช้ printer รุ่นนี้ในเมืองไทยกระมัง ไม่มีใครบ้าอย่างเรา  คุณภาพงานพิมพ์ R3000 ดีกว่า R1800 อย่างชัดเจน ไม่มีเหลือบ เงาดำ เหมือน R1800 (R1800 มี gloss optimizer แต่ R3000 ไม่มี) R3000 มีเพิ่มหมึก light black, light light black คาดว่าสำหรับงานพิมพ์ขาวดำซึ่งเราไม่ค่อยได้พิมพ์

ณ ขณะนี้ปี 2018  เจ้า R3000 เริ่มออกอาการไม่สู้ดี คือ หมึกสีชมพู Vivid magenta ชอบตัน ไม่อยากจะบอกว่าตัน เอาเป็นว่า nozzle check แล้วยิงออกมาไม่ครบ clean ก็ไม่ออก  ต้อง clean เยอะ ๆ 2-3 รอบถึงจะออก  เราก็เริ่มจะช็อบ printer ใหม่ แต่ในใจก็รู้สึกถึงความสิ้นเปลือง และสงสัยตัวเองว่าจะมี printer ไปเยอะแยะทำไม

อันนั้นที่บ้าน

ที่ทำงาน น่าจะมีเราคนเดียวในหน่วยงานที่มี printer ส่วนตัวที่ซื้อมาเองที่ที่ทำงาน เราไม่เห็นเพื่อนร่วมงานกว่า 80 คนที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกับเราเค๊าเดือดร้อนจะต้องมี printer ส่วนตัวตรงไหน  ไม่นับเจ้าหน้าที่ที่หน่วยงาน ซึ่งพวกนี้เค๊ามี printer ของหลวงใช้ ส่วนใหญ่ก็เป็น HP mono laserjet

เมื่อปี 2559 เป็นช่วงจังหวะที่ Epson ผลิต ink tank printer ออกมาขาย โดยวางตลาดที่ southeast asia ก่อนที่เมกา คงจะเห็นแล้วว่า ไม่ทำให้ แม่มก็เอาไปทำ ink tank เองที่พันธ์ทิพย์หรือฟอร์จูนอยู่ดี ตอนนั้นเราเองเลิกบ้า ink tank ไปแล้ว เราเติมหมึกเอากับ R1800 พอมาใช้ R3000 ก็เลิกเติมหมึกไป เพราะขี้เกียจเติม อีกอย่าง เราเริ่มเชื่อว่าอะไรที่ผู้ผลิตออกแบบมาน่าจะดีและเหมาะที่สุดกับ printer อีกอย่างหมึกของ R3000 มีประมาณ 30 มล. กลายเป็นว่าเราใช้หมึกประมาณปีละชุดเท่านั้นเอง (print ไม่เยอะ ไม่ได้ print ทุกวัน)

แต่ที่ทำงานเนี่ยสิ เราเริ่มจะเกือบกลายเป็นคนดี มีความรู้สึกว่าการปริ๊นท์งานส่วนตัว งานโหลยโท่ย เราไม่ควรใช้ของหลวง  การที่ Epson ทำ ink tank มาขายทำให้เรารู้สึกว่าอยากพิมพ์นู่นนี่ มันเหมือนกำแพงนั้นได้ถูกทลายลง

ราคาก็ไม่แพง (เมื่อเทียบกับ R3000, R1800 หรือแม้แต่ R1280) 

สรุปเราก็ถอย Epson L365 มาด้วยราคา 5650 บาท (วันที่ 22 ม.ค. 2559)

ก็เป็น ink tank printer ตัวแรก ก็พิมพ์โอเค งานสวยดี (หมึก dye จะสวยอยู่แระ แต่ไม่มีความทนทาน) แต่ปัญหาใหญ่ที่เรารับไม่ได้เลย ก็คือการที่งานพิมพ์โดยน้ำไม่ได้เลย  หมึก dye ที่ให้มา โดยน้ำปุ๊บเละเลย ไหล เปื้อน น่าเกลียด  แถม Epson รุ่นนี้ตอนนั้นยังไม่ support borderless printing

อีก 2-3 เดือนให้หลังเท่านั้นแหละ Canon ก็เข็น ink tank ออกมาสู้บ้างและดีกว่า Epson ในทุก ๆ ด้าน เช่น ระบบ tank ที่ไม่ยื่นออกมานอกเครื่อง หมึกดำเป็น pigment (หมึกสียังเป็น dye) แถม Canon มีหัวพิมพ์ซึ่ง made in Japan และเป็นแบบ user replaceable หมึกขวดของ Canon ก็ made in Japan มีแต่ตัวเครื่องที่ made in China   ในขณะที่ Epson L365 นั้น ตัวเครื่อง made in Philippines หมึกขวด made in Indonesia

สุดท้ายก็ทนความยั่วยวนไม่ไหว ก็เลยถอย Canon G3000 มาจนได้ ออกอุบายยก Epson L365 ให้เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษาที่ทำงานไป นัยว่าให้เค๊าเอาไปพิมพ์เอกสารประกอบการสอนสำหรับนักศึกษา (แล้วแม่มก็ไม่เห็นเอาไปใช้) สรุปว่าอยากได้ Canon G3000 มาก ก็เลยหาเรื่องกำจัด Epson L365 ไป

Canon G3000 แรกมาก็ print สวย หมึกดำกันน้ำ  แต่จำได้ว่าหมึกดำ pigment ของ Canon นั้น ไม่ดำเท่าหมึกดำ dye ซึ่งก็เป็นเรื่องแน่นอนอยู่แล้ว แต่อย่างอื่นก็ถือว่าดีเลิศ เราก็ใช้งานอย่างคุ้มค่า พิมพ์นู่นนี่นั่น ส่วนใหญ่จะเป็นเอกสารเกี่ยวกับที่ทำงาน จำได้ว่าน่าจะหมดกระดาษไปประมาณ 6-7 รีม (ุ6 * 500 = 3000 แผ่นน่าจะได้)

ผ่านไปประมาณปีครึ่ง เริ่มสังเกตว่า Canon สีเพี้ยน เวลาเช็ค nozzle เค๊าจะยิงออกมาครบ แต่สีจะหม่น ๆ เหมือนสีเหลือง สีฟ้า สีชมพูเปื้อนดำ  ถ้าล้างหัวพิมพ์แล้ว จะหาย พิมพ์สวย ซึ่งเราก็ต้องทำแบบนี้มาตลอด ก่อนจะพิมพ์งานต้องล้างหัวพิมพ์ที แล้วก็จะหาย ทีแรกคิดว่าหมึกมีปัญหา เพราะตั้งแต่ซื้อมา เรายังไม่เคยต้องเติมหมึก มันใช้ไม่หมด  ตอนนั้นพอดี Canon เค๊าให้หมึกมาสองชุดอยู่แล้ว เราก็เลยเติมหมึกจากขวดใหม่ลงไปเพิ่มจนเกือบเต็มแท๊งค์ แต่อาการก็ยังเหมือนเดิม

สุดท้ายสิ่งที่เราคาดก็เกิดขึ้น Canon G3000 มี error ขึ้น ปฏิเสธที่จะพิมพ์ต่อ ซับหมึกเต็ม ต้องเอาเข้าศูนย์เพื่อไปรีเซ็ทและเปลี่ยนแผ่นซับหมึก  ซึ่งอันนั้นก็เป็นปัญหานึง  อีกปัญหาก็คือหัวพิมพ์ที่เสื่อมคุณภาพ คงต้องเปลี่ยนหัวพิมพ์ซึ่งไม่รู้ราคาเท่าไหร่

ก็เลยยก Canon G3000 ให้ผู้จัดการคอนโดไป  ตัวเองไปถอย Epson L6190 มาแทน 



Create Date : 12 มีนาคม 2561
Last Update : 29 สิงหาคม 2561 19:17:40 น. 0 comments
Counter : 1335 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

gollygui
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]






space
space
[Add gollygui's blog to your web]
space
space
space
space
space