เด็กๆ ก็เป็นโรคเบาหวานได้!

โดย หมอนัท

โรคเบาหวานนับได้ว่าเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญและพบได้บ่อย เชื่อว่าคุณคงต้องมีคนรู้จักหรือแม้แต่คนในครอบครัวป่วยด้วยโรคเบาหวานอย่างน้อยก็คนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มวัยผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ และมักพบร่วมกับโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง หรือความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดได้ แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าโรคเบาหวานสามารถเกิดในเด็กที่มีอายุน้อยได้เช่นกัน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคเบาหวานในเด็กกันครับ


โรคเบาหวานคืออะไร



(ที่มา: //www.diabeteshealth.com/read/2008/05/30/5776/type-1s-live-insulin-free-for-up-to-two-years-thanks-to-transplanted-human-islet-cells----but-theres/)


โรคเบาหวานเป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถหลั่ง insulin หรือ อาจเกิดจากการที่ร่างกายมีภาวะดื้อ insulin (insulin resistance) โดยระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นเวลานานจะทำให้เกิดผลแทรกซ้อนตามมามากมาย เช่น ความผิดปกติในการทำงานของไต จอประสาทตา หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้มากขึ้น


โรคเบาหวานแบ่งเป็นกี่ชนิด



ในทางการแพทย์เราอาจแบ่งโรคเบาหวานได้เป็น 4 ชนิด คือ

1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1
เกิดจากการเซลล์ตับอ่อนถูกทำลาย ทำให้เกิดภาวะขาด insulin ดังนั้นเซลล์ต่างๆ ในร่างกายจึงไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ ส่งผลให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 นี้ จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยได้รับ insulin ทดแทน

2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2
เกิดจากการที่ร่างกายดื้อต่อ insulin และในระยะต่อมาอาจพบว่ามีความบกพร่องของตับอ่อนในการหลั่ง insulin ร่วมด้วยได้ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้มักพบในผู้ใหญ่ และสัมพันธ์กับภาวะอ้วนลงพุง ในช่วงแรกอาจรักษาโดยการรับประทานยาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่หากยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีพอ ก็อาจมีความจำเป็นต้องได้รับ insulin ทดแทนเช่นเดียวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 โดยในปัจจุบันพบโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเด็กมากขึ้นโดยเฉพาะเด็กที่มีภาวะอ้วน

3. โรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์
ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงทุกคน จะได้รับการตรวจคัดกรองเพื่อดูน้ำตาลในปัสสาวะ หรือระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากหากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงโดยไม่ได้รับการควบคุม อาจทำให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ เช่น ทารกตัวใหญ่กว่าปกติ (น้ำหนักแรกเกิดมากกว่า 4,000 กรัม)

4. โรคเบาหวานที่มีสาเหตุมากจากโรคอื่นๆ
เช่น เป็นผลจากโรคของตับอ่อน โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย หรือเป็นผลจากยา เป็นต้น


โรคเบาหวานในเด็ก


(ที่มา: //www.mdconsult.com/das/patient/body/185571418-2/0/10041/9383.html)


โรคเบาหวานที่พบในเด็กส่วนใหญ่มักเป็นชนิดที่ 1 แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันพบว่า มีอัตราการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเด็กวัยรุ่นไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสัมพันธ์กับโรคอ้วน ที่เกิดจากการภาวะโภชนาการเกิน และการขาดการออกกำลังกาย

สำหรับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นั้น ผู้ป่วยมักมีอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักตัวลดลง และในบางรายอาจพบภาวะเลือดเป็นกรดที่เรียกว่า diabetic ketoacidosis ซึ่งถูกกระตุ้นให้เกิดในช่วงที่ผู้ป่วยเจ็บป่วย เช่น มีไข้ โดยจะมีอาการคือ หายใจหอบลึก ซึมลง ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เนื่องจากอาจทำให้เสียชีวิตได้

ในขณะที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น มักจะมีรูปร่างอ้วน และมีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน โดยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ แต่อาจตรวจพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงโดยบังเอิญ นอกจากนี้ยังอาจตรวจพบอาการแสดงของภาวะดื้อ insulin เช่น acanthosis nigricans ซึ่งเป็นลักษณะที่ผิวหนังบริเวณคอ หรือข้อพับตามร่างกายมีสีเข้มเป็นปื้นหนา ดังแสดงในภาพ



(ที่มา: //dermatology.cdlib.org/DOJvol6num1/original/acanthosis/figure02b.jpg)



เด็กกลุ่มใดที่ควรมารับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด


เด็กที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป หรือ มีดัชนีมวลกายเมื่อเทียบกับอายุ (BMI-for-age) มากกว่า percentile ที่ 85 หรือมีน้ำหนักตัวเมื่อเทียบกับส่วนสูงที่ควรจะเป็นในแต่ละอายุ (% weight-for-height) มากกว่าร้อยละ 120

ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ

1. มีคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือมีประวัติเป็นโรคหัวใจขาดเลือดก่อนอายุ 55 ปี

2. มีอาการแสดงของภาวะดื้อต่อ insulin เช่น acanthosis nigricans

3. มีโรคร่วมอื่นๆ เช่น โรคถุงน้ำในรังไข่ (polycystic ovary syndrome) ความดันโลหิตสูง หรือมีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด

4. มีเชื้อชาติดังต่อไปนี้ เช่น American Indian, African-American หรือ Hispanic American เป็นต้น

ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ควรจะได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัย การรักษา และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้


แนวทางการรักษา


นอกจากการรักษาด้วยยาลดระดับน้ำตาลในเลือดหรือการพิจารณาให้ insulin ทดแทนตามเห็นสมควรแล้ว กุมารแพทย์ยังจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการดูแลโภชนาการให้เหมาะสมตามวัย การออกกำลังกาย และนัดมาติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคเบาหวานมีสุขภาพแข็งแรง และสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนกับเด็กปกติทั่วไปมากที่สุดครับ


เอกสารอ้างอิง


1. สุภาวดี ลิขิตมาศกุล. Type 2 Diabetes in Adolescents. In: เกวลี อุณจักร, อวยพร ปะนะมณฑา, สมจิตร์ จารุรัตนศิริกุล และสุภาพ อรุณภาคมงคล บรรณาธิการ.Pediatric Endocrinology: Common Problems & current management. ชมรมต่อมไร้ท่อเด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย. บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์. กรุงเทพมหานคร 2552

2. Mark A. Sperling, Stuart A. Weinzimer, William V. Tamborlane. Diabetes Mellitus In: Mark A. Sperling, ed. Pediatric Endocrinology, 3rd ed.Saunders Philadelphia, 2008

3. //www.childrenwithdiabetes.com/d_0n_d00.htm



Create Date : 04 เมษายน 2553
Last Update : 4 เมษายน 2553 14:01:38 น. 29 comments
Counter : 4900 Pageviews.

 

สวัสดีคะ แวะมาทักทาย มีความสุขในวันหยุดนะคะ



โดย: หน่อยอิง วันที่: 4 เมษายน 2553 เวลา:14:05:55 น.  

 
มากับหน่อยอิงคับ


โดย: nuyect วันที่: 4 เมษายน 2553 เวลา:14:10:20 น.  

 
สวัสดีค่ะน้องหมอนัท นี่ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเลยนะคะเนี่ย เพิ่งอ่านจบยังพอจำได้ค่ะ แต่นาน ๆ ไปนี่ลืมหมดแน่ พี่นี่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงค่ะเพราะยายพี่เป็นแม่ไม่เป็น น้องชายยายคนหนึ่งเป็น ป้าพี่คนหนึ่งเป็น แล้วตัวเองก็ดันเป็นคนชอบกินขนมของหวานอะไรพวกนี้ด้วย ตอนนี้กำลังเริ่มลดน้ำหนักค่ะ จะหมดหน้านาวแล้วต้องควบคุมกันหน่อย แก่แล้วปล่อยไปคงกู่ไม่กลับเป็นแน่


โดย: prunelle la belle femme วันที่: 4 เมษายน 2553 เวลา:20:11:45 น.  

 
คุณนัทเป็นหมอเด็กเหรอครับ
โอ้โห สุดยอดไปเลย

ที่บ้านผมเป็นเบาหวานกันทั้งพ่อทั้งแม่ครับ
ผมเองเคยตรวจเลือดเมื่อหลายปีที่แล้วยังปกติดีอยู่
แต่ก็ประมาทไม่ได้ครับ มีแนวโน้มว่าจะเป็นมากๆ
ทุกวันนี้กินอาหารลดน้ำตาลตามพ่อแม่ไปด้วย
และพยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอครับ



โดย: พลทหารไรอัน วันที่: 6 เมษายน 2553 เวลา:20:59:29 น.  

 
ได้ประโยชน์มากค่ะ มาศึกษาเพราะเคยเห็นญาติบางคนของตัวไปฉีดยาเองในห้อง

ภาพต้นคอดำนั้นเพิ่งเคยเห็นค่ะ
เมื่อสองวันไปซื้อหนังสือ human Anatomy ไว้ศึกษาเอง
เพราะต้องการทราบอุปกรณ์การทำงานเเละหน้าที่ในร่างกายเรา (อ่านเเล้วง่วงค่ะ )

ขอบคุณมากสำหรับเรื่องที่มีประโยชน์เเละประมาทไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเราหรื่อไม่?


โดย: YUCCA วันที่: 7 เมษายน 2553 เวลา:6:18:17 น.  

 
น้องออมหายป่วย ออกจากโรงพยาบาลแล้วค่ะ
ขอบคุณที่แวะไปเที่ยวที่บล็อกนะคะคุณหมอ

บล็อกคุณหมอสะอาด สบายตาและให้ความรู้มากทีเดียว แล้วจะแวะมาใหม่ค่ะ


โดย: wilasinee_kae วันที่: 7 เมษายน 2553 เวลา:8:49:55 น.  

 
คุณพลทหารไรอัน ::
ยังไม่ใช่หรอกครับ ยังเรียนแพทย์ปีสุดท้ายอยู่ เพียงแต่ชอบวิชากุมารฯ เป็นพิเศษครับ


พี่ YUCCA ::
เก่งจังครับ หาหนังสือแนวนี้มาอ่าน แต่ว่ามันก็ชวนง่วงจริงๆ ด้วยครับ


คุณ wilasinee_kae ::
ดีใจด้วยครับ น้องออมหายแล้ว แล้วไว้อัพ blog ใหม่จะชวนมาอ่านนะครับ


โดย: malaguena วันที่: 7 เมษายน 2553 เวลา:20:25:17 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้นะคะ


โดย: genio IP: 87.8.253.114 วันที่: 8 เมษายน 2553 เวลา:0:51:37 น.  

 
โห..ให้ความรู้ดีมากๆ เลยค่ะ

เราห่วงคุณแฟนว่าจะเป็นอยู่ เพราะว่าแม่เค้าเป็นน่ะ

ขอบคุณที่เอามาแบ่งปันกันนะคะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 9 เมษายน 2553 เวลา:9:48:07 น.  

 
ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมนะคะ ได้ความรู้เรื่องสุขภาพเพิ่มอีก ดีจัง ขอบคุณสำหรับสาระน่ารู้ ดีๆนะคะ


โดย: Ananas99 วันที่: 9 เมษายน 2553 เวลา:20:59:01 น.  

 
หวัดดีค่ะหมอนัท

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวที่นำมาให้ความรู้นะคะ..
เพิ่งทราบว่าโรคเบาหวานนี่เป็นกันในเด็กด้วย เคยทราบแต่ว่าเป็นโรคที่สืบทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์ แต่กำเริบในเด็กนี่ไม่เคยทราบ น่าสงสารเนอะ..

วันก่อนได้ดูกึ่งๆสารคดีที่นี่ค่ะ เป็นการถ่ายทำเรื่องราวของหนุ่มคนนึงที่เป็นโรคเบาหวานมาแต่เด็ก อยู่กับเข็มฉีดยามาแต่เด็ก เขาถ่ายทำให้เห็นว่า ถึงแม้เด็กคนนี้จะต้องต่อสู้กับโรคประจำตัวของตัวเอง แต่ก็ไม่เคยหมดกำลังใจ แกสู้มาตลอด แกเลือกกีฬาที่เล่นคือเป็นหนึ่งในสมาชิกทีมเชียร์ลีดเดอร์ ที่ต้องใช้แรงกายแรงใจและสมาธิในการฝึกฝน จนในที่สุดทีมแกก็ได้รับรางวัลชนะเลิศหรืออย่างไรเนี่ย.. จำไม่ค่อยได้ละ

แล้วเด็กหนุ่มคนนี้ก็ได้มาพูดให้เด็กๆตามร.ร.ฟัง ถึงเรื่องการมีชีวิตอยู่กับอินซูลินมาโดยตลอด มาให้กำลังใจเด็กๆถึงเรื่องการต่อสู้ การไม่หมดหวังในชีวิต ดูเรื่องราวแบบนี้แล้ว ได้ความรู้สึกมากมายเลยค่ะ

เอ.. เม้นท์ยาวไปหรือเปล่านี่? ขอบคุณที่แวะไปเที่ยวด้วยกันนะคะ


โดย: ป้าโซ วันที่: 10 เมษายน 2553 เวลา:15:21:39 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค่ะ


โดย: ellie@aggie วันที่: 10 เมษายน 2553 เวลา:20:10:33 น.  

 
น้องนัท ....เอาความรู้มาฝากอีกแล้ว
สงกรานต์ไปเที่ยวไหนคะ
สุขสันต์วันสงกรานต์นะจ๊ะ...

บ๊ายยจ้า


โดย: แพร์ (wirinpear ) วันที่: 11 เมษายน 2553 เวลา:0:04:37 น.  

 
เด็ก ๆ นี่ ต่อให้เป็นแผลเล็ก ๆ ก็น่าสงสารมากแล้วนะคะ หากมาเป็นโรคแบบนี้เข้าไปอีก สงสารอ่ะ หากเป็นลูกของตัวเอง คงอยากจะเป็นโรคแทนลูกค่ะ

ขอบคุณที่นำข้อมูลดี ๆมาฝากกันนะคะ


โดย: ANGEL_CS วันที่: 12 เมษายน 2553 เวลา:18:20:10 น.  

 
เป็นความรู้ใหม่เลยค่ะ นึกว่าเด็กๆจะไม่เป็นเสียอีกคะ


โดย: Ribbonetta Wish วันที่: 13 เมษายน 2553 เวลา:8:01:26 น.  

 
สวัสดีวันสงกรานต์ค่ะน้องนัท

เข้ามาเก็บความรู้ดีๆในบล๊อกน้องนัทอีกเช่นเคยค่ะ


โดย: mywishmylove วันที่: 13 เมษายน 2553 เวลา:21:42:37 น.  

 
สวัสดีปีใหม่เช่นกันค่ะน้องหมอนัท ขอให้มีความสุขในวันพักผ่อนกับครอบครัวนะคะ


โดย: prunelle la belle femme วันที่: 14 เมษายน 2553 เวลา:2:27:09 น.  

 
โรคนี้ผู้ชายเป็นกันง่ายกว่าหญิงเนอะ
และเป็นกันเยอะด้วยยิ่งแก่ตัว ยิ่งเสี่ยงจัง
สมัยนี้สุขภาพคนเราเปลี่ยนไป ป่วยง่าย อากาศเปลี่ยน
อาหารการกินเปลี่ยน สารเคมีรอบตัวก็มาก
จขบ. เอาข้อมูลมามีประโยชน์มากๆเลยค่ะ

สุขสันต์วันปีใหม่ไทยย้อนหลังนะคะ


โดย: @FirstblusH วันที่: 14 เมษายน 2553 เวลา:9:25:23 น.  

 
เข้ามาทักทายยามค่ำคืนค่ะ


โดย: cd2lucky วันที่: 14 เมษายน 2553 เวลา:20:06:09 น.  

 
เป็นคุณหมออยู่เวรแล้วเหรอคะน้องนัท แต่จะว่าไปบ้านเราก็ร้อน ออกไปไหนก็คงไม่ค่อยสนุกเท่าไหร่ เป็นกำลังใจให้คุณหมอนัทสู้ ๆ ค่ะ


โดย: prunelle la belle femme วันที่: 15 เมษายน 2553 เวลา:2:40:02 น.  

 
เคยไปตรวจสุขภาพ แต่ไม่เคยตรวจเบาหวานเลย พอจะทราบมาบ้าง คุณย่าเป็นเบาหวาน แต่ไปสบายแล้ว อ่านแล้วน่ากลัวจัง

มีโอกาสคงต้องไปตรวจหาเบาหวานหน่อยละ


โดย: ostojska วันที่: 16 เมษายน 2553 เวลา:7:30:14 น.  

 
ขยันจังเรยนัท

thx จ้า ได้ทวนความรู้ไปในตัวด้วย

เป็น extern แล้วเนอะ เร็วจัง

ตอนนี้อยู่ที่ไหนหรอ วอร์ดไรอ่ะ เวรยุ่งป่ะ

เราอยุ่เด็ก เวรเด็กเล็กช่วงนี้ยุ่งมากกกก

ขอให้มีความสุขกับการเป็น extern นะจ๊ะ

แล้วจะแวะมาทักทายใหม่ บะบาย


โดย: Pii IP: 58.9.189.34 วันที่: 16 เมษายน 2553 เวลา:18:47:41 น.  

 
ขอบคุณคะ..สำหรับข้อมูลดีๆ แต่ที่บ้านก็ไม่มีใครเป็น แต่จะไม่ประมาทและจะรักษาสุขภาพจ้า


โดย: macoffee วันที่: 17 เมษายน 2553 เวลา:20:30:44 น.  

 
หวัดดีตอนดึกๆ เลยจ้า...ไปเที่ยวสงกรานต์กลับมาแล้ว
ไม่รู้น้องนัทไปเที่ยวไหนจ๊ะ....แวะมาเยี่ยมค่ะ

ฝันดีน๊าาา



โดย: แพร์ (wirinpear ) วันที่: 18 เมษายน 2553 เวลา:4:05:47 น.  

 
พี่ Lilac ก็หวั่นๆ ค่ะ เพราะทั้งคุณย่าคุณยายก็เป็นเบาหวานกันทั้งคู่เลย แต่ยังไงมีความรู้ไว้ก่อนจะได้ดูแลตัวเองได้โน๊ะ ขอบคุณที่มาบอกเล่าค่ะ


โดย: der Flieder วันที่: 18 เมษายน 2553 เวลา:7:52:59 น.  

 
เบาหวานในเด็กก็มีหรือคะ ไม่อ่านไม่รู้เลย อย่างมากที่เห็นทั่วไปก็โรคอ้วนเท่านั้นค่ะ

เข้ามาอ่านได้ความรู้เยอะเลยค่ะน้องนัท ^____^



โดย: nadtha วันที่: 13 มิถุนายน 2553 เวลา:12:59:34 น.  

 
Metabolizer ถ้ากลางวันพี่ทาแล้วทากันแดดแต่งหน้าต่อเลยค่ะ แต่ถ้ากลางคืนก็จะทาตัวอื่นทับสลับๆ กันไปค่ะ

ส่วนวิธีใช้ ใช้ได้ทั้งแบบเทใส่มือแล้วตบๆ เหมือน SKII กับเทใส่สำลีแล้วเช็ดค่ะ พี่ใช้วิธีหลัง เพราะบีเอแนะนำมาค่ะ ว่ามันดีกว่าจ้าาา

ปล. ช่วงนี้รักษาสิวอุดตันด้วยตัวเองอยู่ค่ะ น้องนัทมีอะไรแนะนำพี่มั้ยคะ


โดย: copo de nieve วันที่: 12 กรกฎาคม 2553 เวลา:18:51:39 น.  

 
หมอนัทค่ะตอนนี้ลูกสาวอายุ9ขวบ ตรวจพบน้ำตาลในเลือดสูง120 คุณหมอให้กลับมาลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย หนูกลัวและเรรียดมาก มีวิธีไหนบ้างค่ะที่จะทำให้หายขาด หรือมียาจัวไหนกอนแล้วทำให้ย้ำตาลในเลือดลดลง ค่ะ


โดย: โอปอ IP: 223.206.207.65 วันที่: 29 สิงหาคม 2560 เวลา:22:09:09 น.  

 
ไปเจอมาบทความนึงค่ะ บอกไว้ว่า ควรจะวางแผนในการดูแลสำหรับเด็กที่เป็นเบาหวาน และวางแผนในช่วงระหว่างที่เด็กอยู่ในโรงเรียนด้วยค่ะ มีดังนี้


หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง ผู้ดูแล หรือครูใหญ่ ที่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่หรือเด็กสามารถฉีดอินซูลินในช่วงเวลาเรียน
สิ่งที่เด็กต้องใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน สิ่งที่พวกเขาทำได้ด้วยตัวเอง และสิ่งที่พวกเขาต้องการจากผู้อื่น
ใครที่จะทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และควรทำความช่วยเหลือเมื่อใด
รายละเอียดของการใช้ยา ปริมาณอินซูลิน และยาที่ต้องใช้ โดยระบุช่วงเวลาที่ต้องใช้และขั้นตอนในการฉีด
รายละเอียดที่ระบุว่าเด็กต้องทำการตรวจสอบน้ำตาลในเลือดเมื่อใด รวมทั้งขั้นตอนในการทำ และสิ่งที่พวกเขาต้องทำเมื่อรู้ผลตรวจแล้ว
อาการอะไรที่บ่งบอกว่าภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูง รวมทั้งสิ่งที่เจ้าหน้าที่ต้องทำเมื่อเกิดเรื่องนี้ขึ้น นอกจากนี้ก็ควรระบุช่วงเวลาที่ควรติดต่อผู้ปกครอง และเมื่อใดที่ควรโทรเรียกรถพยาบาล
รายละเอียดที่ระบุว่าเมื่อใดที่เด็กควรกินอาหาร และสิ่งที่พวกเขาต้องการในขณะกินอาหาร เช่น ต้องให้ช่วยควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตหรือไม่ หรือควรต้องเตรียมอะไรเป็นพิเศษเมื่อถึงเวลากินอาหาร
สิ่งที่ต้องทำก่อนหลังหรือในช่วงเรียนวิชาพละ ยกตัวอย่างเช่น การทดสอบน้ำตาลในเลือด หรือต้องกินของว่างชนิดพิเศษก่อน
รายละเอียดของการเก็บรักษาอินซูลินและอุปกรณ์อื่นๆ รวมทั้งระบุว่าใครต้องเป็นคนทำ รวมทั้งสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ และควรต้องตรวจสอบอุปกรณ์บ่อยแค่ไหน และใครต้องเป็นคนทำ
สิ่งที่ต้องทำเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน รวมทั้งต้องติดต่อใคร
ความช่วยเหลือพิเศษตามที่เด็กต้องการ ทั้งทางด้านการศึกษา อารมณ์ และสังคม เช่น เด็กสามารถขาดเรียนได้มากแค่ไหน รวมทั้งความช่วยเหลือต่างๆ เพื่อให้เด็กเรียนทันเพื่อน หรือจัดเตรียมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คำปรึกษาแก่เด็ก
แผนการที่ต้องใช้ในการสอบมีอะไรบ้าง
แผนการที่ต้องใช้ในการทัศนศึกษา (รวมถึงการค้างคืน) หรือกิจกรรมอื่นๆ ของโรงเรียน


โดย: สมาชิกหมายเลข 4984277 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา:1:14:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

malaguena
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
4 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add malaguena's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.