มีนาคม 2555

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
มโนมยิทธิ(แบบเต็มกำลัง)
ขั้นตอนเบื้องต้นการฝึก ฤทธิ์ทางใจเต็มกำลัง
ลำดับขั้นตอน
1..นำผ้าแดง หรือกระดาษแข็ง ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม กะขนาดให้สามารถนำมาผู้ปิดหน้าได้
2..เขียนคาถาบนหน้ากากว่า " นะ โม พุท ธา ยะ " หรือจะเป็นภาษาขอมก็ได้ถ้าเขียนเป็น
3..สมาทานพระกรรมฐาน ( ดูหน้า 2 )
4..เสร็จแล้วให้ตั้งกำลังใจว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ถ้าจะต้องตายเพราะการฝึกนี้ก็ขอยอมตายเป็นอะไรให้รู้ไป ตายเพื่อความดีแบบนี้เรายอมตายได้
5..ให้ผ้าแดงปิดตา เขียน ยันต์พระพุทธเจ้า 5 พระองค์
6..ใช้คาถากำกับในการท่องภาวนาว่า """ นะ โม พุท ธา ยะ "" หรือ “ สัมมาอรหันต์ “ หรือ “ สัมปจิตฉามิ “ หรือ”
“ นะมะพะทะ “ หรือ “ โสตัตตะภิญญา “ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ท่องคาถาอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ว่าคาถานั้นก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจด้วยเช่นกัน ( ไม่ต้องท่องออกมาก็ได้เหมือนกับที่อธิบายไปแล้วในการฝึกมโนมยิทธิครึ่งกำลัง เมื่อจิตทรงตัวในเขต ของ อุปจารสมาธิ จะมีอาการของปิติ 5 อย่างเกิดขึ้นเหมือนพระกรรมฐานกองอื่นๆ ได้แก่๑) ขนลุกชูชัน ๒) ตัวไหวโยกโครง ๓) น้ำตาไหลริน ๔) เหมือนกายขยายไปรอบข้าง ๕)เหมือนกายขยายสูงขึ้น “ หากมีอาการเช่นนี้เกิดขึ้น ผู้ฝึกไม่ต้องตกใจหรือกังวลใดๆ เพราะเมื่อชินแล้วจะหายไปเอง
7..พอภาวนาไประยะหนึ่งจิตจะเริ่มทรงตัวขึ้นเรื่อย ๆ ลมหายใจจะค่อย ๆ ละเอียดขึ้นและแผ่วเบาลง ซึ่งจะมีลักษณะไม่สอดคล้องกับคำภาวนา ก็ไม่ต้องสนใจ ภาวนาไปอย่างเดียว
เต็มกำลังกับครึ่งกำลัง
โดยที่คำภาวนาในตอนนี้จะมีลักษณะที่ถี่ขึ้น และอาจมีอาการปีติอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมากขึ้น หรือ คำภาวนาอาจหายไปเลยก็ได้ อยู่ใน ฌานที่ 3
8..พอถึงลำดับ ฌาน ที่ 4 ทรงตัวพอสมควรกำลัง ฌาน ก็จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เช่น จาก อุปจารสมาธิแล้วเพิ่มขึ้นไปเป็น ฌาน 1->2->3->4 หรือ จาก ฌาน 4->3->2->1-> อุปจารสมาธิ
จะเป็นแบบนี้สลับไปมาโดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วงนี้เองสภาวะความเป็นทิพย์จะเกิดขึ้น ทำให้ท่านจะเห็นเป็น อาโลกสิณ เช่น ช่องแสง, แสงพุ่งเข้ามาหา, ประตู ,โพรงถ้ำ , พระพุทธเจ้าเสด็จมารับบ้าง ,หรือ อาจเป็นพระอริยเจ้ามารับบ้าง เป็นต้น
9.. เมื่อเห็นแล้วให้รวบรวม กำลังใจน้อมนำจิตพุ่งตามแสง ( พุทธรังสี หรือท่านอื่น ๆ ) ที่มารับนั้นไป บางครั้งจะเหมือนมีพลังมหาศาลมาดูด กายในของเราออกไปถ้ามีลักษณะดูดเช่นนี้ ก็ให้พุ่งกำลังใจออกตามไปเลยเช่นกัน
10..เมื่ออทิสมานกายหลุดออกไปจากกายเนื้อจริง ๆ (ผลของการที่จะหลุดได้ต้องเข้าถึง ฌาน 4 แต่สภาวะที่เหมาะสมที่จะให้กายทิพย์ออกไปได้คือ อุปจารสมาธิ ) ร่างกายของคุณตอนนี้อาจจะทรงตัวไม่อยู่ อาจจะต้องนอนราบไปเลยก็ได้ ในช่วงนี้จะมีความรู้สึกทางกายเพียง 2-10%เท่านั้นที่คอยจะควบคุมร่างกายไว้ หรืออทิสมานกายหลุดออก ๘๐%ขึ้นไป
11..ขอใหัสังเกตุว่า การฝึกเต็มกำลังในเบื้องต้น พระ หรือ เทวดา หรือ พรหม จะพาท่านไปเที่ยว โดยที่ท่านที่พาเราไปนั้นท่านอาจพาไปได้ 2 ที่คือ
11.1.ถ้าเป็นสุคติภูมิ แสงหรือลำแสง ที่ส่องเข้ามาหาผู้ฝึกนั้นจะส่องตั้งแต่ระดับสายตาขึ้นไป
11.2.ถ้าในโลกมนุษย์ แสงหรือลำแสง ที่ส่องเข้ามาหา ผู้ฝึกจะส่องตั้งแต่ระดับสายตา
11.3.ถ้าเป็นทุคติภูมิ แสงหรือลำแสง ที่ส่องเข้ามาหาผู้ฝึกนั้นจะส่องตั้งแต่ระดับสายตาลงมา
12.. เมื่อฝึกจนคล่องแล้ว ญาณ 8 ก็จะตามมาเอง
13.. นำกำลัง ฌาน ต่าง ๆ ที่ฝึกได้แล้ว มาตัดกิเลส ( สังโยชน์) อีกที
14.. และอธิฐานให้จิตมีความรักในพระนิพพาน

มีข้อสังเกต 2 ประการณ์
1. ขณะที่กำลังถอดอทิสมานกายแบบ เต็มกำลังนั้นทีสุดของการไปเราจะไม่มีความสามารถ ที่จะมีสติควบคุมสังขารเราไว้ได้ เล็กน้อย( ส่วนใหญ่ของผู้ฝึกได้ใหม่ๆ ) มักต้องล้มลงนอน ครึ่งหลับครึ่งตื่นครับ ถ้ามีความชำนานแล้วจะอยู่ได้ทั้ง 4 อิริยาบทครับ ในระยะต้นๆที่คุณเป็นอยู่ ควรหลับตาครับ ถ้าลืมตาจะไปได้เพียง มโนฯครึ่งกำลังครับ
2. การพุ่งออกของอทิสมานกาย แบบเต็มกำลังในระยะต้นๆ จะไปตามที่พระ
มีข้อสังเกต 2 ประการณ์
1. ขณะที่กำลังถอดอทิสมานกายแบบ เต็มกำลังนั้นทีสุดของการไปเราจะไม่มีความสามารถ ที่จะมีสติควบคุมสังขารเราไว้ได้ เล็กน้อย( ส่วนใหญ่ของผู้ฝึกได้ใหม่ๆ ) มักต้องล้มลงนอน ครึ่งหลับครึ่งตื่นครับ ถ้ามีความชำนานแล้วจะอยู่ได้ทั้ง 4 อิริยาบทครับ ในระยะต้นๆที่คุณเป็นอยู่ ควรหลับตาครับ ถ้าลืมตาจะไปได้เพียง มโนฯครึ่งกำลังครับ
2. การพุ่งออกของอทิสมานกาย แบบเต็มกำลังในระยะต้นๆ จะไปตามที่พระท่านให้ไป เมื่อชำนานแล้วกำหนดจิตไปได้ทุกที่ อารมณ์กลัวตาย ครับ ให้ลองคิดดูว่าชีวิตนี้เกิดหนเดียวตายหนเดียว แต่เราตายในชาตินี้หรือเดี๋ยวนี้ เราจะยอมตายเพื่อพระนิพพาน จะไม่ยอมตายเพราะทำชั่วเด็จขาด เพียงนี้ไม่ช้าก็ไปได้ครับ
3. การพุ่งออกไปในระยะต้นๆ ไม่แน่ครับว่าจะได้พบหลวงพ่อก่อน รวมความว่าพบท่านผู้ใดก็ขอบารมีท่านก็แล้วกันครับ เรื่องคาถากำกับ แล้วแต่ความคุ้นเคยมาแต่ปางก่อน ของแต่ละบุคคลครับ ในวาระจิตที่กำลังเข้าฌาน ในลำดับต่างๆ ในการฝึก " ฤิทธิ์ทางใจ แบบเต็มกำลัง " นั้นมักมีนิวรณ์ 5 + อุปกิเลส เข้ามากินใจแทรกระหว่างการประคับประคอง กำลังใจให้ทรงฌาน
ถ้าได้ " ฤทธิ์ทางใจครึ่งกำลัง " มาก่อนจะมีอาการ ลักษณะเดียวกันนี้มาก คือ
1. เหมือนว่ามีกำลังจิตอีก ส่วนหนึ่งไปคอยเฝ้าดูว่า มีความเคลื่อนไหวต่างๆเช่นไร
2. กำลังจิตกำลังทรงอารมณ์ถึงระดับไหนแล้ว

อทิสมานกาย จะหลุดออกจากกายในลักษณะใด
3. อทิสมานกาย จะหลุดออกจากกายในลักษณะใด เช่น ดิ่งขึ้นข้างบน หรือ ออกทาง ซ้าย -- ขวา หรือ หน้า -- หลัง จะเป็นประการใดกันแน่
4. ไม่เห็นเหมือนที่ได้รู้มาเลย นะ
5. อาการหายใจเริ่มถี่กระชั้นเหลือเกิน แทบจะกลั้นใจตายอยู่แล้ว หยุดดีกว่า
6. กลัวว่าไปแล้วจะไม่กลับ ทั้งๆที่ยังไม่ได้เคยไปเลย

จากนั้นจึงฝึก “ ญาณ 8 “ ต่อไป
ในประการทั้ง 6 อย่างนี้ มักเป็นอุปสรรค์ในการฝึกฤิทธิ์ แบบเต็มกำลัง
" ขอแนะนำให้ท่านทำอารมณ์จิต อุเบกขา สักหน่อยผลการปฏิบัติจะก้าวหน้าครับ

การศึกษาวัตถุประสงค์หลัก ในการฝึก ฤทธิ์ทางใจ
เมื่อฝึกปฏิบัติ ได้ ฤทธิ์ทางใจ ได้แล้วพึงปฏิบัติตนให้ทรงกำลังใจ ดั่งนี้
๑. เพื่อปฏิบัติตน มีญาณทิพย์ เป็นเครื่องรู้ใน เพื่อใช้ควบคู่กับ “ พระกรรมฐาน 40 “ หรือ “ มหาสติปัฏฐาน 4 “ จะเกิดความแตกฉานได้รวดเร็วมาก
๒.เพื่อปฏิบัติตน สื่อความหมายข้อธรรม กับครูอาจารย์ ที่โลกแห่งความเป็นทิพย์ ที่เป็น พระพุทธเจ้าพระองค์ใดองค์หนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์ใดองค์หนึ่ง พระโพธิ์สัตว์ พรหม เทวดา ท่านจะมาสอนเราในทางสมาธิของความเป็นทิพย์
๓. เพื่อปฏิบัติตน ให้รู้ตัวทั่วพร้อมในการทำความดี ในระดับต่าง ตั้งแต่ มนุษย์ คุณธรรมของ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ หรือแบบโพธิ์ญาน เป็นต้น
๔.เพื่อปฏิบัติตน ในทรงอารมณ์ นิพพิทาญาณ ที่มั่นคงจนตลอดชีวิต
๕.เพื่อปฏิบัติตนให้ก้าว เข้าสู่พระนิพพาน ในปัจจุบันชาติ เป็นที่สุด ( ก่อนตายเล็กน้อย )

ผลจากการฝึก " ฤทธิ์ทางใจ " มี 8 ประการเป็นความรู้ที่พิเศษแด่นักปฏิบัติ มีดังนี้
๑.มีทิพย์จักขุญาณ มีความรู้สึกคล้ายตาเห็น เป็นเบื้องต้น
๒. ปุพเพนิวาสนุสสตญาณ รู้ระลึกชาติตนเอง และคนอื่นไดได้ นับชาติไม่ถ้วน
๓. อตีตังสญาณ รู้ประวัติความเป็นมาของสถานที่ต่างๆ รู้เรื่องในอดีต ของคน สิ่งของ ไม่จำกัดกาลเวลา
๔. เจโตปริยญาณ รู้อารมณ์จิตต์ ของตนเอง และ จิตต์ของบุคคลอื่นๆ ว่าปรุงแต่งดีหรือไม่ดี อย่างไร
๕.จุตูปปาตญาณ . รู้จุติ ของตนเอง คนและ ต่างๆ ไม่จำกัด
๖. ปัจจุปปันนังสญาณ รู้ในปัจจุบัน ของตนเอง และคนอื่น ในสถานที่ต่างๆ ในระยะเวลาเดียวกัน
๗.อนาคตังสญาณ รู้ในอนาคต ของตนเอง และคนอื่น
๘.ยถากัมมุตาญาณ รู้ผลของกรรมดี และกรรมไม่ดี ของคนและ ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบันอาสวคยญาน
วิธีพิจารณาเพื่อมาเป็น " อาสวคยญาน " โดยนำญาณรู้ทั้ง ๘ อย่าง ที่กล่าวมาในข้อที่ ๒.๓ มาร่วมพิจารณา กับ วิปัสสนาญาณ ๙

." วิปัสสนาญาณ ๙ " ได้แก่
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาให้เห็นความเกิด และความดับ ในทุกสิ่ง
๒.ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาให้เห็นแต่ความดับในทุกสิ่ง
๓.ภยตูปัฏฐานญาณ พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว ที่จะมาเกิดใหม่อีกครั้ง
๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นโทษของสังขาร
๕.นิพพทานุปัสนาญาณ พิจารณาสังขารเห็นเป็นของน่าเบื่อหน่าย มีจิตต์รักใน พระนิพพาน
๖.มุญจิตุกามยตาญาณ พิจารณาเพื่อใคร่จะให้พ้นจากสังขารไปเสีย
๗.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ พิจารณาหาทางที่จะให้พ้นจากสังขาร
๘.สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นว่าควรวางเฉยในสังขาร
๙.สัจจานุโลมิกญาณ พิจารณาโดย อนุโลม ปฏิโลม เพื่อเข้าใจใน “ อริยสัจ 4 “ ก้าวเข้าสู่พระนิพพาน

หมายเหตุ คัดลอกมาจากเว็บคนเมืองบัว เห็นว่ามีประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจฝึกสมาธิสายหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เลยช่วยกันเผยแพร่ครับ



Create Date : 14 มีนาคม 2555
Last Update : 14 มีนาคม 2555 22:08:00 น.
Counter : 2024 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mahahora
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



New Comments