กันยายน 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
อาหารสำหรับวัยทารก

                   วัยทารกเป็นระยะแรกของชีวิตที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าทุกกลุ่มอายุทั้งทางด้านร่างกายและสมอง โดยทั่วไปน้ำหนักเด็กอายุ 5 เดือนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของน้ำหนักแรกคลอด หรือเพิ่มประมาณ 3 กิโลกรัมและจะเพิ่มเป็น 3 เท่า เมื่ออายุครบ 1 ปีหรือประมาณ 6 กิโลกรัม

ด็กทารกที่ อายุต่ำกว่า 4 เดือน

ควรได้รับ น้ำนมแม่เพียงอย่างเดียวซึ่งธรรมชาติได้ปรุงแต่งให้สะอาด เหมาะสม มีคุณค่าและเพียงพอสำหรับเด็กทุกคนไม่มีความจำเป็นต้อง ให้อาหารเสริมอย่างอื่นในระยะนี้เพราะนมแม่มีสารอาหารครบถ้วนทั้งโปรตีน วิตามิน ไขมัน แร่ธาตุต่างๆนอกจากนี้ยังมีโคลอสตรัม หรือหัวน้ำนมในช่วงแรกหลังคลอดซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้ทารกได้อย่างดีและยังช่วยระบาย "ขี้เทา"ซึ่งค้างอยู่ในลำไส้ตั้งแต่ลูกยังอยู่ในท้อง มีฮอร์โมนและสารกระตุ้นการเติบโตของสมองและอวัยวะอื่นๆ ทำให้ร่างกายและสมองของลูกพัฒนาอย่างสมบูรณ์ขึ้นและมีผลต่อการพัฒนาระดับสติปัญญา การให้อาหารอื่นนอกจากนมแม่ก่อนลูกอายุได้ 4 เดือนนั้น จะมีผลเสียต่อทารกมากมาย เช่นทำให้ทารกท้องอืด เนื่องจากกระเพาะยังไม่พร้อมที่จะรับอาหารอื่นที่สำคัญทำให้ ทารกอิ่มจนกินนมแม่ได้น้อยกว่าปกติเป็นผลทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารน้อยกว่าที่ควร

ในระยะที่ลูกมีอายุ ตั้งแต่ 3-4 เดือน ขึ้นไป

การทำงานของระบบทางเดินอาหารรวมทั้งน้ำย่อยต่างๆจะพัฒนามากขึ้นตามอายุ เพื่อให้สามารถ ย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมันและสามารถนำสารอาหารเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ใน ร่างกายให้ได้มากที่สุด

อาหารของทารก วัย 4 เดือนขึ้นไป

คือ นมแม่ ข้าวบดไข่แดงต้มสุก ผสมน้ำแกงจืดวันละ 1 ครั้งแล้วกินนมแม่ตามอีกจนอิ่ม

อาหารของทารก วัย 5 เดือน

คือนมแม่เพิ่มข้าวบดเนื้อปลาสุกสลับกับไข่แดงต้มสุก ผสมน้ำแกงจืดวันละ 1 ครั้ง แล้วกินนมแม่ตามจนอิ่ม

อายุครบ 6 เดือน

กินนมแม่ ข้าวบดเนื้อปลาสุกหรือไข่แดงต้มสุกผสมน้ำแกงจืด โดยเพิ่มผักสุกบดด้วยทุกครั้งเป็นอาหาร แทนนมแม่ 1 มื้อ มีผลไม้สุกนิ่มๆ เช่นมะละกอสุก เป็นอาหารว่าง 1 มื้อ

เมื่ออายุ ครบ 7 เดือน

นอกจากินนมแม่แล้ว ต้องเพิ่มเนื้อสัตว์สุกบดชนิดอื่นๆเช่น ไก่ หมู่ และตับสัตว์สุกบด หรือทั้งไข่แดงและไข่ขาวต้มสุกบดในข้าวและผักบดสลับกับอาหารที่เคยให้เมื่ออายุครบ 6 เดือน มีผลไม้ เป็นอาหารว่าง มื้อ

อายุ 8-9 เดือน

กินอาหารเช่นเดียวกับเด็กอายุครบ 7 เดือนแต่บดให้หยาบและเพิ่มปริมาณมากขึ้นเป็นอาหารหลัก แทนนมแม่ได้ 2 มื้อมีผลไม้เป็นอาหารว่าง 1 มื้อ

อายุครบ 10-12 เดือน

กินอาหารเช่นเดียวกับเด็กอายุ 8-9 เดือน แต่เพิ่มปริมาณให้มากขึ้นเป็นอาหารหลักแทนนมแม่ได้ 3 มื้อ  มีผลไม้เป็นอาหารว่าง 1 มื้อ ในระยะที่ทารกได้รับอาหารเพิ่มเติบตามวัย และค่อยๆกินอาหารทดแทนนมแม่ไปทีละมื้อนั้นมีความ สำคัญมากเพราะลูกอาจจะยังไม่คุ้นกับอาหารใหม่ จึงได้เริ่มให้ตั้งแต่อายุ ครบ 4 เดือนขึ้นไป เมื่ออายุ 6 เดือน จะได้กินแทนนมแม่ได้ 1มื้อ เต็มที่ ในระยะ 4-5 เดือนอาจกินได้ไม่เต็มที่จึง ได้แนะนำให้กินนมแม่ต่อจนอิ่ม ช่วงระยะ 6 เดือน –1 ปี สมัยก่อนเรียกว่าเป็นระยะหย่านมทำให้เข้าใจผิดคิดว่าให้อดนมแต่ความจริงแล้วเป็นแต่เพียงเปลี่ยนให้กินนมเป็นอาหารเสริม แทนที่จะเป็นอาหารหลักแม่จึงควรเอาใจใส่ในการให้อาหารทารกตามวัยในระยะนี้ให้มาก

ขอบคุณข้อมูลจาก  //office.bangkok.go.th/




Create Date : 15 กันยายน 2556
Last Update : 20 ตุลาคม 2556 12:07:32 น.
Counter : 245 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 911561
Location :
มุกดาหาร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments