วัยทารก : จะสนใจมองตามแสงไฟ (สังเกตได้ตั้งแต่2-3 เดือน ว่าลูกมองตามหน้าพ่อแม่หรือไม่)
การกระตุ้น : ห้องนอนสว่าง ของเล่นสีสันสดมองตามไฟฉาย กระจกเงา ซ่อนหาของเล่น เล่นจ๊ะเอ๋
วัยเรียน : ต้องมองการเล่น การอ่าน-เขียน การสังเกต จดจ่อกับการเรียน
การกระตุ้น : แยกแยะรูปร่าง รูปทรง จับคู่ภาพเงาภาพแฟรชการ์ด (ปิดครึ่งหนึ่งแล้วทายว่าคือรูปอะไร)
2. การได้ยิน (Auditory sense)

วัยทารก : ได้ยินเสียงตัวเอง จำแนกเสียงพ่อ แม่ ฟังเพลงสนใจของเล่นมีเสียง
การกระตุ้น : หมั่นพูดคุยกับลูกหันตามเสียงกรุ๋งกริ๋ง ฟังเสียงธรรมชาติ เพลงเสียงสูง-ต่ำแต่เวลานอนต้องเงียบ
วัยเรียน : ฟังเพื่อ ประมวลผลการเรียนรู้ฟังคำสั่งครูหลายขั้นตอน ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงอื่นรอบตัว
การกระตุ้น : จำแนกเสียงสัตว์ทำตามคำสั่งที่มีขั้นตอนซับซ้อน การเล่นดนตรี
เด็กที่มีทักษะการฟังดีนั้นจะมีสมาธิจดจ่อกับการเรียนรู้ที่ดี
3. การรับรส (Gustatory sense)

วัยทารก : เด็กเรียนรู้การเติมความสุข โดยการรับรสเป็นอันดับแรกจากน้ำนมแม่
การกระตุ้น : ดื่มนมแม่ อาหารที่มีรสชาติอ่อนนิ่ม
วัยเรียน : เรียนรู้ รสชาติหวาน เค็ม เปรี้ยว เผ็ด ขม เริ่มคิด แยกแยะ จำแนกประเภทอาหารโปรด
การกระตุ้น : ทานอาหารที่มีอุณหภูมิร้อน-เย็น ประเภทอาหาร รสชาติหลากหลาย
4. การดมกลิ่น (Olfactory sense)

วัยทารก : เด็กสามารถแยกกลิ่นหอม-เหม็นได้ตั้งแต่แรกเกิด
การกระตุ้น : สร้างความผูกพันระหว่างแม่-ลูก คือการที่ลูกจำกลิ่นแม่และพ่อได้
วัยเรียน : มีประสบการณ์รับกลิ่นที่หลากหลายเริ่มวิเคราะห์สถานการณ์ได้ เช่น กลิ่นฝนตก กลิ่นอาหาร
การกระตุ้น : ดมกลิ่นต่างๆรอบตัวแล้วทายว่าคือกลิ่นอะไร เช่น กลิ่นอาหาร ดอกไม้ ตะไคร้ มะนาว
5. การสัมผัส (Tactile sense)

วัยทารก : ได้รับการแสดงวามรักโดยการกอด อุ้มจะทำให้เด็กรู้สึกว่าปลอดภัย ไว้ใจและมีความสุข
การกระตุ้น : สัมผัสลูกผ่านการอุ้ม โอบกอดนวดตัวกระตุ้นสัมผัส ใช้ฟองน้ำ ใยบวบถูตัวขณะอาบน้ำ
วัยเรียน : รับสัมผัสหลากหลายมั่นใจที่จะสัมผัส ลองทำสิ่งใหม่ๆ ในสถานการณ์ต่างๆ
การกระตุ้น : วิ่ง เล่น สัมผัสพื้นหญ้า พื้นทรายกระตุ้นให้เล่น หยิบจับสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
6. การรับรู้ตำแหน่งกล้ามเนื้อเอ็นและข้อต่อ (Proprioceptive sense)

วัยทารก : การรับรู้อวัยวะ ลงน้ำหนักข้อต่อ เช่น ชันคอการกลิ้ง คืบ คลาน เดิน
การกระตุ้น : กระตุ้นการเคลื่อนไหว แขนขาคว้าเอื้อมหยับของเล่นที่บีบ เขย่า กดแล้วเกิดเสียง
วัยเรียน : ร่างกายและสมองทั้งสองซีกประสานกันเด็กมีกล้ามเนื้อแข็งแรง มั่นใจในการเคลื่อนไหว กล้าลองผิดลองถูก
การกระตุ้น : เล่นปีนป่าย ห้อยโหน เดินมือท่าไถนา เพื่อเรียนรู้ใช้กล้ามเนื้ออย่างอิสระ กล้าล้ม กล้าลุก กล้าเรียนรู้
7. การเคลื่อนไหวและทรงตัว (Vestibular sense)

วัยทารก : พัฒนาความสมดุลของร่างกายในการเคลื่อนไหว(การทำงานของหูชั้นใน) ทำงานประสานกับการได้ยิน
การกระตุ้น : นั่งทรงตัว โยกซ้าย-ขวา หน้า-หลังบนพื้น หรือบนบอลลูกใหญ่ นอนในเปลญวณ
วัยเรียน : การทรงตัวร่วมกับการเคลื่อนไหวอย่างซับซ้อนคล่องแคล่วอย่างมีเป้าหมาย
การกระตุ้น : นั่งชิงช้า เต้น หมุนรอบตัวเดินทรงตัวบนทางแคบ เล่นกับกระดานโยก กลิ้ง ตีลังกา ปั่นจักยาน