😊 จริงๆแล้วมันก็ไม่ถึงกับผิดเสียทีเดียวนะคะ
แต่ การจับดินสอที่ถูกต้องจะช่วยให้
แรงกดกระจายเท่าๆกันที่นิ้ว โป้งชี้ กลาง
ใช้แรงในการเขียนน้อยซึ่งทำให้มือไม่ล้าง่าย
ทำให้มีการเคลื่อนไหวที่สะดวก
และทำให้เขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งการจับดินสอของเด็กๆจะแบ่งเป็นช่วงวัยต่างๆได้แก่
1 - 2 ขวบ
► กำดินสอทั้งมือ เขียนโดยการเคลื่อนไหวทั้งแขน
2 - 3 ขวบ
► จับดินสอในลักษณะคว่ำมือลง
นิ้วหัวแม่มือร่วมกับนิ้วอื่นๆ เคลื่อนไหวทั้งแขน
3 - 4 ขวบ
► จับดินสอโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง
และนิ้วนาง ควบคุมการเคลื่อนไหวของแขน
เป็นส่วนใหญ่+ ข้อมือเล็กน้อย
4 - 7 ขวบ
► การจับดินสอโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้
และนิ้วกลางประคอง ควบคุมการเขียนโดยใช้นิ้วมือ
และข้อมือเป็นหลัก โดยจะวางมือและแขนบนกระดาษ
========================
👎 แล้วถ้าจับดินสอผิดๆมาโดยตลอดจะเป็นอย่างไรนะ?
⛔ ออกแรงมาก/น้อยเกินในการเขียน
⛔ การเขียนไม่มีประสิทธิภาพ
⛔ ปวดเมื่อยแขน มือ ล้าง่าย
⛔ อาจจะไม่ชอบการเขียนในที่สุด

========================
แล้วจะเริ่มอย่างไรดี?
แน่นอนค่ะว่าครูแนนมีวิธีดีๆมาแนะนำ
และสิ่งที่ต้องเตรียมก็คือ
แป้งโดว์ /ดินน้ำมันปั้นกลม, สำลีก้อน, ลูกแก้ว,
ลูกปัดทรงกลม เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
สำหรับอุปกรณ์สามารถหาซื้อได้
ตามร้านอุปกรณ์เครื่องเขียนและห้างสรรพสินค้าชั้นนำค่ะ
🔔 มาเริ่มกันเถอะ!!
ขั้นตอนแรกเราต้องวางสำลีซ่อนไว้ที่นิ้วนาง
กับนิ้วก้อย ของเด็ก ให้เค้ากำไว้
อย่าให้หลุดเลยนะคะ
จากนั้นใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง จับดินสอ
หากเค้ายังจับไม่ถนัด เราก็ต้องช่วยประคับประคองค่ะ

หรือ อาจเลือกใช้เทคนิคอุปกรณ์ช่วยอื่นๆได้อีก เช่น
🔑ใช้ดินสอขนาดใหญ่ขึ้น
🔑ใช้ดินสอรูปทรงสามเหลี่ยม
🔑ใช้ยางช่วยจับดินสอ
🔑ใช้หนังยางพันกับดินสอ
🔑ใช้ไม้หนีบผ้าติดกับปลายดินสอ
ปล.
เทคนิคเหล่านี้ นักกิจกรรมบำบัด แนะนำว่า
สามารถส่งเสริมได้กับเด็กอายุประมาณ 4 ขวบขึ้นไปค่ะ
เดี๋ยวก่อน...ยังไม่จบนะคะ!!!
ถ้า อยากได้ผลดียิ่งขึ้น ครูแนนแนะนำ
ให้ฝึกร่วมกับกิจกรรมฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก
กล้ามเนื้อมือ แขน รวมถึงกล้ามเนื้อหลัง
เพื่อให้เด็กพร้อมในการใช้ดินสอ
และนั่งขีดเเลยขียนได้ถูกท่าทาง
เดี๋ยวครู แนนจะมาสอนในตอนต่อไปค่ะ
========================
#นักกิจกรรมบำบัด