อ๊ะ....อ๊ะ....อย่าแอบดูอย่างเดียวจิ เข้าไปทักทายกันที่ "หน้าเกริ่นนำ" หน่อยนะจ๊ะ
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
29 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
ไตเติล ตอนที่4 กรรมวิธีการผลิตไม้อัด

ไม้อัด ( Plywood )








เป็นผลิตภัณฑ์ ที่คงใช้พื้นฐานทางวัตถุดิบธรรมชาติ โดยถูกพัฒนากรรมวิธีการผลิตขึ้นมา

เพื่อตอบสนองการใช้ไม้จริง (Solid Wood) ที่มีขนาดหน้ากว้างมากๆ

ที่ปัจจุบันการเจริญเติบโตของป่าไม้ในประเทศไทย ไม่ทันต่อการตอบสนองในการใช้งาน


จึงต้องมีการพัฒนา การใช้ต้นไม้ ที่มีหน้ากว้างขนาดเล็ก เป็นไม้ทั่วไป ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว และหาได้ง่าย

นำมาดัดแปลง เพื่อใช้งานแทนไม้อุตสาหกรรมต่างๆ ที่นับวันเริ่มหาได้ยากขึ้นทุกทีภายในประเทศ

ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านแทน


ไม้อัด ในท้องตลาด จะถูกจัดแบ่งตามคุณภาพ และขนาด

ในขั้นต้น ผมจะกล่าวถึงในเรื่องของขนาดก่อน

สำหรับเรื่องคุณภาพ จะถูกกล่าวรวมไว้ ในส่วนขั้นตอนกรรมวิธีการผลิตต่อไปนะครับ


ขนาดของ ไม้อัด ความกว้าง และความยาว จะเป็นขนาดมาตรฐาน

คือ ขนาด 4’ x 8’ ( 1220 x 2440 มม.)

ส่วนความหนาของไม้อัด โดยส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน

จะไม่ได้เป็นขนาดที่ระบุแน่นอน เท่ากับขนาดความหนาของไม้อัดนั้นๆ ที่ใช้กันอยู่

เพราะขนาดของไม้อัด ขึ้นอยู่กับคุณภาพ และโรงไม้แต่ละโรงที่ผลิตออกมา

เพราะฉนั้นการเรียกไม้อัด บางครั้ง จึงต้องมีการเรียกคุณภาพของไม้กำกับไว้ด้วย

เช่น ไม้อัดบางนา 10 มม., ไม้อัดเกรด A โรงใหม่ 15 มม.

ความหนาของไม้อัดในตลาดทั่วไป โดยทั่วไปที่นิยมเรียกกัน

จะมีความหนาอยู่ที่ 3, 4, 6, 10, 15 และ 20 มม.


กรรมวิธีการผลิต ผมขอแบ่งเป็นแค่ เกรด A (ไม้อัดบางนา), B (ไม้อัดโรงใหม่) และ C (ไม้แบบ) แล้วกันนะครับ

ไม่งั้นจะเยอะเกินไป สับสนปล่าวๆ (พูดง่ายๆ ขี้เกียจพิมพ์น่ะ)




1. เริ่มจากกระบวนการนำซุง เปิดปีกไม้

โดยเครื่องเลื่อยสายพาน (คือ การตัดเปลือกนอกออกน่ะครับ

ให้เหลือเนื้อไม้ตามหน้าตัดซุง เป็นสี่เหลี่ยม )




2. ส่งซุงเข้าต้ม เพื่อให้ไม้นิ่ม และดำเนินการสไลด์ตามแนวยาวตามขนาดท่อนซุง

ออกมาเป็นแผ่นเยื่อไม้บางๆ ( ซึ่งต่อไป จะขอเรียกว่าวีเนียร์นะครับ )





ความหนาอยู่ที่ประมาณ 0.8-1.2 มม.




3. นำวีเนียร์ที่ได้ ผ่านเครื่องตัดกิโยติน

เพื่อตัดริมขอบวีเนียร์ ให้เป็นเส้นตรง และตัดความยาวที่เกินมากไป




4. (ขั้นตอนนี้ โดยส่วนมาก จะใช้เฉพาะเกรด B ขึ้นไปครับ ถ้าเป็นเกรดต่ำๆ หน่อย จะอาศัยวางเรียงกันเลยครับ)

นำวีเนียร์ ที่ตัดริม มาเย็บให้ติดกัน โดยใช้กระดาษกาวสำหรับปิดวีเนียร์






หรืออาจจะใช้เครื่องเย็บวีเนียร์ ที่เป็นลักษณะใช้เส้นกาวเย็บแทนเส้นด้าย





จนได้หน้ากว้างประมาณ 1240 มม.,ความยาวประมาณ 2450 มม.

และ หน้ากว้างประมาณ 2450 มม., ความยาวประมาณ 1240 มม.

(อ๊ะ อ๊ะ สังเกตุด้วยนะครับ ว่ามี 2 แบบ เดี๋ยวจะพูดถึงในขั้นต่อไป)




5. นำวีเนียร์ที่ได้ ทากาวลาเท็กซ์อุตสาหกรรม

( มันจะมีส่วนผสมในกาว ที่ไม่เหมือนกาวลาเท็กซ์ทั่วไป จะมีผสมตัวเร่ง,

แป้งมัน, ยูเรีย แล้วแต่เทคนิค ของแต่ละโรงงานครับ )

โดยมาวางเป็นชั้นๆ สลับลายตามแนวขวางลาย และตามแนวขนานลาย

( งงมั้ยครับเนี่ย ที่ต้องวางสลับลายระหว่างชั้นเช่นนี้ เพื่อให้เกิดการดึงตัวระหว่างผิวภายในเท่ากันทั้ง 2 ด้าน

ไม่ให้เกิดการบิดตัวโก่งงอ เมื่อทำเป็นแผ่นสำเร็จ )

จนได้ความหนาที่ต้องการ แต่จะวางทับเป็นชั้นเลขคี่เสมอ

ถ้าเป็นไม้อัดเกรดดีหน่อย มักจะวางชั้นให้ได้ความหนาเกินขนาดที่ต้องการไว้ก่อน

สำหรับสาเหตุเพราะอะไร ติดตามตอนต่อไปครับ




6. นำวีเนียร์ที่วางเสร็จแล้ว ขึ้น Hot Press

(เครื่องอัดแรงดันสูงมั้ง น่าจะใช่ชื่อเรียกภาษาไทยนะครับ

เครื่องนี้จะเป็นเครื่องอัดทับ ขนาดใหญ่ ที่มีแผ่นความร้อน

ถ่ายผ่านไอน้ำ จากบอยล์เลอร์ เข้ามา ปรับตั้งอุณหภูมิได้เกิน 100 องศาขึ้นไป แล้วแต่รุ่น)



อัดทับลงไป เพื่อให้แผ่นวีเนียร์อัดประสานติดกัน พร้อมเนื้อกาว

(นี่งัยครับ สาเหตุ การอัดทับลงไป ทำให้เกิดการยุบตัวของเนื้อวีเนียร์

ซึ่งคำนวนเป็นค่ายุบตัวมาตรฐานค่อนข้างยาก สำหรับวัตถุดิบทางธรรมชาติ

ทำให้แผ่นไม้อัดที่ผลิตออกมา ค่าความหนาไม่ค่อยคงที่)




7. เมื่อได้เป็นแผ่นไม้ออกมา จะนำไปตัดขนาดความกว้าง x ความยาว

ตามขนาดมาตรฐานก่อนนำส่งเข้าไปขัดผิว ที่เครื่องขัดกระดาษทรายสายพาน

ถ้าเป็นไม้อัดเกรดต่ำ จะผ่านการขัดที่กระดาษทรายเบอร์เดียว คือ ประมาณเบอร์ #120

แต่ถ้าเป็นไม้อัดเกรดดีหน่อย จะผ่านการขัด 2 เบอร์ คือ #120 และ #240 ครับ




จริงๆ แล้ว ยังมีการแบ่งประเภทไม้อัดไว้อีกประเภท คือ ไม้อัดกันน้ำ

ซึ่งไม้อัดกันน้ำ กรรมวิธีการผลิต จะเพิ่มขั้นตอนในส่วนการทากาว

ซึ่งจะมีส่วนประกอบ ที่ป้องกันความชื้น ผสมไว้ด้วย




ไม้อัด สำหรับในโรงงานเฟอร์นิเจอร์ระดับกลาง ถึงใหญ่

ส่วนใหญ่ ผมว่าจะมีการใช้งานค่อนข้างน้อย

เมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุดิบประเภทอื่นๆ ที่นำเข้ามาใช้งาน ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์

สาเหตุ มาจากสิ่งที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้



จากการที่เรารับรู้กันว่า ถ้าเทียบโดยพื้นฐานในขนาดที่เท่ากันแล้ว

ไม้อัด มีความแข็งแรงพื้นฐานมากกว่าแผ่นผลิตภัณฑ์อื่นๆ อยู่ เช่น MDF, PB หรือ HDF

แต่ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตงานส่งออก มักไม่ค่อยนิยมใช้

(อัันนี้ ขอบอกไว้เลยนะครับ ว่าอาจจะเป็นทัศนะส่วนตัวบางส่วนนิดนึง)

หลักๆ จากสาเหตุประมาณ 3 ประการ



1.ราคาแพง ไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติมง่ะ


2.ขนาดความหนาที่ไม่คงที่ เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตเพื่อส่งออก

ขนาดภายนอกโดยรวม จะผิดพลาดบวกลบ ไม่เกิน 2 มม.

เพราะฉนั้น ชิ้นส่วนต่างๆ ที่นำมาประกอบกัน จะถูกควบคุมให้ค่าบวกลบไม่เกิน 1 มม.

ขนาดความกว้าง และความยาว โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์สามารถคุมได้ จากการตัดขนาดผ่านเครื่องตัด

สำหรับความหนา ทางโรงงาน ก็สามารถคุมได้เช่นกัน โดยผ่านเครื่องขัดสายพาน

แต่อย่างที่อธิบายให้ทราบข้างต้นแล้วว่า ไม้อัด เกิดจากกระบวนการใช้วีเนียร์ มาทับกันเป็นชั้นๆ

ซึ่งวีเนียร์แต่ละชั้น มีความหนาประมาณ 0.8-1.2 มม. เท่านั้น


ดังนั้น ถ้าต้องการขัดคุมขนาด ที่ความหนาออกมากเกิน 1 มม.

จะเกิดความเสี่ยง ที่วีเนียรปิดผิวชั้นนอกสุด

(ลืมอธิบายไว้ครับ ว่าวีเนียร์ชั้นในที่เป็นไส้ไม้อัด จะเป็นวีเนียร์ที่ไม่มีคุณภาพ ลายไม่สวย)

หลุดร่อนหายไปได้ จึงเป็นปัญหาในการที่จะมาทำการผลิตเฟอร์นิเจอร์



3.ค่าการแผ่ระเหย (Emission) ขณะนี้ หลายๆ ท่าน คงรู้จักศัพท์เทคนิคคำนี้กันบ้างแล้ว

อธิบายคร่าวๆ ก็คือ เป็นศัพท์ที่ระบุขึ้นมาถึงค่าการแผ่สารไว้

กำหนดค่ามาตรฐานของสารจำพวก Toxic ที่มีอยู่ในแผ่นผลิตภัณฑ์ทั่วไป

แผ่นผลิตภัณฑ์ ที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาด ค่ากำหนดของสาร Toxic คือ E2

นั่นหมายความว่า ยังมีสารจำพวก Toxic ปนอยู่

ใน ขณะที่ ตัวเลขกำกับ ถ้าน้อยลงนั่นหมายความว่า สารจำพวก Toxic ก็จะน้อยตามลงด้วย

(เช่น E1 ก็จะมีสารอันตราย น้อยกว่า E2 นั่นล่ะครับ)

ไม้อัด ปัจจุบัน ที่มีใช้อยู่เกือบทั้งหมด ยังไม่เข้าข่าย E1

ซึ่งในต่างประเทศหลายๆ แห่ง กำหนดไว้ว่า ชิ้นส่วนในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ต้องเทียบเท่าค่า Toxic ที่ระดับ E1


ดังนั้น หลายๆ โรงงาน จึงหันไปพัฒนากรรมวิธีการผลิตเฟอร์นิเจอร์

จากไม้ MDF, PB ที่มีเกรด E1 อยู่ ให้มีความแข็งแรง

เทียบเท่ากับการผลิตเฟอร์นิเจอร์ โดยไม้อัดแทน


แต่ทว่า.................................................... ในไม้อัด ที่ยังไม่สามารถไปถึงระดับค่า E1 ได้นั้น

สาเหตุมาจากกาวลาเท็กซ์อุตสาหกรรม ที่ใช้ทาระหว่างชั้นวีเนียร์

ยังมีส่วนผสมของสารยูเรีย และสารตั้งต้นมีพิษ ผสมอยู่อีกหลายประเภท

จึงทำให้ไม้อัด ยังไม่สามารถผลิตเป็นไม้เกรด E1 ได้

แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีโรงงานอุตสาหกรรมผลิตของเล่นเด็กจากไม้

ร่วมวิจัยกับมหาวิทยาลัยชื่อดัง ทำการวิจัยค้นคว้ากาวลาเท็กซ์ไร้สาร

เท่าที่ทราบ คือ เป็นผลสำเร็จแล้ว โดยสามารถผลิต เป็นไม้อัด อีกประเภท

นอกเหนือจาก ไม้อัดทั่วไป (E2), ไม้อัดกันน้ำ


นั่น ก็คือ ไม้อัด E1





เช่นเคยครับ เข้ามาแล้ว อย่าลืมแวะทักทายกันบ้างนะครับ



Create Date : 29 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 20 สิงหาคม 2558 0:55:38 น. 0 comments
Counter : 10317 Pageviews.

ko7vasan
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




มี 2-3 เรื่อง ที่อยากจะขอบอกเล่าเก้าสิบกันไว้ก่อน


1.ภูมิปัญญาที่เห็นในนี้ มาจากประสบการณ์การทำงานส่วนตัว

ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับทฤษฎี ที่มีอยู่เป็นแนวทางในการศึกษาเท่านั้น


2.เพื่อป้องกันปัญหา ที่อาจจะเกิดขึ้นขอสงวนสิทธิ ในบทความ และภาพถ่ายทั้งหมด ที่มี

ถ้าผู้ใด จะนำไปเผยแผ่ขอให้ได้รับการอนุญาติ จากผมก่อน


3.การตอบปัญหา ทั้งหมด ที่มีขอให้เข้าใจนิดส์ส์ส์ส์ส์นึงว่า

ทางผม ไม่ได้เห็น,จับต้อง ชิ้นงาน หรือเฟอร์นิเจอร์

เพราะฉนั้น คำตอบที่ได้ไปพอใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้

แต่........ ต้องอาศัยการสังเกตุ การศึกษาของตนเองด้วยนะครับ

Google
Friends' blogs
[Add ko7vasan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.