คันฉ่องและโคมฉาย -หัวใจเศรษฐี (๕) ทรัพย์ภายนอกเป็นสิ่งวูบไหว
ในพรรษกาลที่ ๕ พระพุทธองค์เสด็จนิวัติพระนครกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพระประยูรญาติ ในการเสด็จนิวัติพระนครคราวนั้น พระนางยโสธราพิมพา อดีตพระอัครชายาเรียกพระราชโอรสมารับสั่งเชิงนัดแนะว่า “ลูกรัก พรุ่งนี้เสด็จพ่อจะเสด็จมาเสวยที่วัง อย่าลืมนะลูกนะ เสด็จพ่อของลูกน่ะ แต่เดิมทรงมีฐานะเป็นเจ้าชายรัชทายาทของกบิลพัสดุ์นคร
ในวันแรกประสูติของพระองค์ มีขุมทองทั้งสี่ผุดขึ้นมาที่สี่มุมเมือง ราชสมบัติในพระนครกบิลพัสดุ์เป็นของเสด็จพ่อของลูก แต่เมื่อเสด็จพ่อของลูกเสด็จออกผนวชแล้ว สมบัตินั้นทั้งปวงต้องเป็นของลูก ขุมทองทั้งสี่ก็ของลูก ราชสมบัติก็ของลูก ราชบัลลังก์ก็ของลูก ลูกเอ๋ย ! พรุ่งนี้แล้วที่เสด็จพ่อของลูกจะกลับมาเยี่ยมเราอีกครั้งหนึ่ง นี่เป็นโอกาสของลูกแล้วนะ อะไรที่ควรเป็นสมบัติของลูก ต้องไปขอคืนมาให้ได้เชียวนะ”
วันรุ่งขึ้น เมื่อเสด็จมาเยือนพระนครแล้ว แทนที่จะเสด็จดำเนินตรงเข้าสู่พระนคร พระองค์กลับเสด็จดำเนินภิกขาจารไปตามถนนใหญ่ในเมืองตามแบบอย่างแห่งพุทธวงศ์ ที่สืบสายกันมาทุกพระองค์ พระตถาคตเสด็จดำเนินผ่านชานพระนคร ผ่านตรอกเล็กซอยน้อย ทะลุทะลวงไปในคามนิคม ในที่สุดก็เสด็จจาริกภิกขาจารมาจนถึงพระลานหลวง พระนางยโสธราพิมพาและพระราหุลกุมารทอดพระเนตรผ่านช่องพระแกลเห็นพระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์หลายร้อยรูปกำลังเสด็จดำเนินตรงมาทางพระลานหลวง เสด็จแม่ทรงรับสั่งกับราชโอรสองค์น้อยว่า
“ลูกรัก โน่นแน่ะ สมณะองค์ที่เดินนำหน้าน่ะลูก นั่นแหละเสด็จพ่อของลูกล่ะ ส่วนที่กำลังเดินตามเสด็จพ่อของลูกมานั้น คือพระอานนท์ พระพุทธอนุชา พระญาติวงศ์ของเราเองนะลูกนะ ลูกเอ๋ย ลูก ตามเสด็จพ่อของลูกไปเถิด แล้วอย่าลืมเสียล่ะ อะไรที่เป็นสมบัติของลูก จงขอคืนมาจากเสด็จพ่อของลูกทั้งหมดด้วย”
พระพุทธองค์เสด็จดำเนินภิกขาจารไปตามลำดับ เจ้าชายน้อยทรงวิ่งลงจากพระตำหนัก ตามพระพุทธองค์ไปต้อยๆ พอตามไปทัน ทรงไปยืนอยู่ข้างๆ พระพุทธองค์ พลางออกพระโอษฐ์ขอสมบัติตามที่เสด็จแม่นัดแนะไว้ “เสด็จพ่อ หม่อมฉันขอรับพระราชทานมรดกของเสด็จพ่อมาเป็นของหม่อมฉัน พระพุทธเจ้าข้าๆๆ ”พระพุทธองค์ทรงแย้มพระสรวล ทรงรำพึงว่า เห็นทีเสด็จแม่จะสอนกุมารน้อยนี้เป็นแน่ พระพุทธองค์ทรงรู้ทัน เพราะว่าเด็กวัยเจ็ดขวบ ไม่มีทางที่จะขออะไรอย่างนี้แน่นอน พระองค์ไม่ตรัสว่ายังไง เสด็จดำเนินทรงอุ้มบาตรภิกขาจารต่อไปตามปกติ พระราหุลกุมารน้อยวิ่งตามต่อไปพลางดำรัสขอรัชสมบัติซึ่งเป็นมรดกตกทอด
“เสด็จพ่อ ขอสมบัติ”, “เสด็จพ่อ ขอมรดก”, “เสด็จพ่อ ขอทองคำ”
พระพุทธองค์ยังคงแย้มพระสรวลในความเงียบ ไม่ตรัสว่ากระไร ทรงแย้มพระสรวลพลาง เสด็จดำเนินไปพลางจนกระทั่งกลับถึงวัด ล้างพระบาท วางบาตร ประทับนั่งบนพุทธอาสน์
“มานี่สิลูก ไหนว่ายังไง ลูกอยากได้อะไรนะ”
“เสด็จพ่อ ลูกอยากได้มรดก ของทุกอย่างที่เป็นของของเสด็จพ่อ มันควรจะเป็นของลูก”
“ลูกอยากได้มากใช่ไหม”
“ขอรับ เสด็จพ่อ”
พอพระราหุลกุมารทูลรับเท่านั้นแหละ ทรงมอบหมายให้พระภิกษุรูปหนึ่งนำพระราหุลกุมารไปปลงพระเกศา เมื่อพระกุมารถูกปลงพระเกศาแล้ว เสด็จกลับมายังที่ประทับ ทรงรับสั่งถามย้ำ
“อยากได้สมบัติใช่ไหมลูก”
“ขอรับเสด็จพ่อ”
“เอาล่ะ ถ้างั้นว่าตามพ่อนะลูกนะ”
“พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ : ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธ ว่าเป็นที่พึ่ง
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ : ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรม ว่าเป็นที่พึ่ง
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ : ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง”
ด้วยการรับไตรสรณคมน์ คือ การเปล่งวาจาขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง พระราหุลกุมารกลายเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา เป็นอันว่า สมบัติที่พระกุมารทรงประสงค์ก็ "โลกียสมบัติ” หรือ “โลกียทรัพย์” แต่สมบัติที่เสด็จพ่อประทานให้ก็คือ “อริยสมบัติ” หรือ “อริยทรัพย์” นั่นก็คือความเป็นสามเณร ซึ่งเป็นหน่อเนื้อเชื้อไขของสมณะผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ว.วชิรเมธี



Create Date : 25 ธันวาคม 2553
Last Update : 25 ธันวาคม 2553 9:10:25 น.
Counter : 579 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Thus Spoke Eitthakorna
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พุทโธ ธัมโม สังโฆ
พุทโธ ธัมโม สังโฆ
พุทโธ ธัมโม สังโฆ
พุทโธ พุทโธ พุทโธ

"ใจทั้งปวง จงสงบเย็นเป็นสุขเถิด
การกระทำทั้งปวงของเรา จงยังใจทั้งหลายให้สงบเย็นเป็นสุขเถิด
ใจที่สงบเย็นเป็นสุขแล้ว ประเสริฐจริงหนอ
ใจทั้งปวง จงมีดวงตาเห็นธรรมเถิด..."
อะระหัง สัมมาสัมพุธโธ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้เองชอบ, ตัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. ข้าพเจ้าอภิวาทกราบไหว้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว, ตัง ธัมมัง นะมัสสามิ. ข้าพเจ้านมัสการกราบไหว้พระธรรมนั้น. สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ที่ท่านปฎิบัติดีแล้ว, ตัง สังฆัง นะมามิ. ข้าพเจ้านอบน้อมกราบไหว้พระสงฆ์นั้น
ธันวาคม 2553

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
26
27
28
29
30
31
 
 
  •  Bloggang.com