โปรแกรมตรวจวัดระดับสารโลหะหนักในร่างกาย ( Heavy Metal Test Program ) การมีโลหะหนักสะสมในร่างกายอาจเป็นสาเหตุของอาการต่างๆ ได้แก่ ท้องอืด ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หงุดหงิดง่าย มีไข้ต่ำ ๆ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ มีแผลร้อนในในปากเป็นประจำ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ผิวหนังเป็นผื่นคัน เรื้อรัง เจ็บป่วยง่าย หายช้า ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นโรคภูมิแพ้ โรคมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ เป็นต้น
- Arsenic (As) อาร์ซีนิกหรือสารหนู เป็นส่วนประกอบในยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืช และมักพบในการทำเหมืองแร่ดีบุก อุตสาหกรรมด้านการเกษตร อุตสาหกรรมย้อมผ้า เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายโดยทางเดินหายใจ จะทำให้ระคายเคืองต่อเนื้อเยี่อ เกิดเยื่อบุกั้นจมูกทะลุ และอาจเกิดมะเร็งที่ปอดได้ ทางผิวหนัง ทำให้เกิดระคายเคือง เป็นผื่นผิดปกติเรื้อรังอาจทำให้เกิดมะเร็งที่ผิวหนังได้ ทางตา เกิดอาการระคายเคือง ตาแดง อักเสบ และจะทำลายระบบประสาทอาจทำให้เกิดอาการแขนขาชาและอาจเป็นอัมพาต ถ้าได้รับปริมาณมากจากการอาหาร (Inorganic Arsenic) จะทำให้เกิดตับอักเสบและเกิดโรคมะเร็งในอวัยวะภายในมากขึ้น พิษของสารหนูทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า ไข้ดำ ซึ่งคนเป็นโรคนี้จะมีผิวดำคล้ำ เป็นผื่นแดงและคันบางรายมีอาการผิวหนังเป็นสะเก็ด อาการโดยทั่วไปจะมีอาการอ่อนเพลียมือและเท้าชา - Cadmium (Cd) หรือแคดเมียม ที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมจะพบในแหล่งทำเหมืองสังกะสีและตะกั่วในอุตสาหกรรม ยาสูบและบุหรี่ พลาสติก และยาง นอกจากนี้ยังนิยมใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ อุปกรณ์ไฟฟ้า โลหะผสม อะไหล่รถยนต์ โลหะผสมในอุตสาหกรรมเพชรพลอยอีกด้วย เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกดูดซึมและสะสมเพิ่มขึ้นในปริมาณสูงจะทำให้เกิดมะเร็ง ไตทำงานผิดปกติ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ปวดกระดูกสันหลัง แขนขา ซึ่งจะทำให้ไตพิการได้ โรคที่เกิดจากพิษของแคดเมียมเรียกว่า โรคอิไต-อิไต (Itai Itai disease)
- Lead (Pb) ตะกั่ว เป็นโลหะหนักมีสีเทาเงิน หรือแกมน้ำเงินเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ปัจจุบันอุตสาหกรรมหลายประเภทมีการใช้ตะกั่วเป็นวัตถุดิบเป็นจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคและคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เกิดการปลดปล่อยตะกั่วและสารประกอบของตะกั่วในรูปของสารมลพิษออกสู่สภาวะแวดล้อม ตะกั่วสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ ทางอาหาร การหายใจ และผิวหนัง เมื่อสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกาย ส่วนใหญ่จะจับยึดอยู่กับเม็ดเลือดแดงจะไปลดการสร้างฮีม (Heme) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือดแดงโดยไปยับยั้งเอ็นไซม์ที่เกี่ยวกับการสร้างฮีม นอกจากนี้ตะกั่วยังมีผลต่อตับ หัวใจ และหลอดเลือด ทำให้เกิดกรผิดปกติของโครโมโซม ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และความพิการแต่กำเนิด
- Mercury (Hg) หรือปรอท เป็นโลหะหนักที่อยู่ในรูปของเหลวระเหยเป็นไอได้ง่ายในภาวะปกติ พบมากในแหล่งที่มีการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง โลหะ โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ ในอุตสาหกรรมที่มีการใช้สารประกอบของปรอท นอกจากนี้ยังใช้ในวงการแพทย์ เช่นเป็นสารอุดฟัน ไอปรอทที่เข้าสู่ร่างกาย จะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตทันที และกระจายไปยังสมองและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้รวดเร็ว การได้รับสารปรอทสะสมเป็นเวลานานจะทำให้มีอาการมือ และใบหน้าเกิดอาการบวมและเจ็บ บางคนอาจเกิดอาการเหน็บชาบางส่วนจนเป็นอัมพาต โรคที่เกิดจากปรอท เรียกว่า โรคมินามาตะ
- Tin (Sn) หรือดีบุก เป็นธาตุที่พบได้ตามธรรมชาติ แต่จะพบดีบุกในดินและอาหารต่างๆในปริมาณน้อย ดีบุกใช้ในการผลิตกระป๋อง ตะกั่วขัดสี เหล็ก ท่อทองแดง กระป๋องบรรจุอาหารทำจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก เพื่อป้องกันการกัดกร่อนของเหล็ก และเคลือบทับด้วยสารสังเคราะห์บางประเภทอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันดีบุกละลายผ่านออกมา แต่หากนำไปบรรจุอาหารที่มีสารบางชนิดปนอยู่หรือการเก็บอาหารกระป๋องในที่ร้อน ดีบุกจะละลายมาในอาหารได้ นอกจากนั้นเมื่อเปิดกระป๋องแล้วออกซิเจนจากอากาศจะเป็นตัวเร่งให้ดีบุกละลายมากขึ้น อาหารกระป๋องจึงเป็นแหล่งสำคัญที่ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับธาตุดีบุกมากกว่าอาหารประเภทอื่น พิษเฉียบพลัน ของดีบุก จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดินและมีไข้
https://www.mediscicenter.com/content/7262/%e0%b9%82%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%88%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%ab%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a2
ฝากติดตามสาระดีๆมากมายที่ • Youtube : https://www.youtube.com/c/MedisciCenter • Instagram : https://www.instagram.com/medisci • Facebook : https://www.facebook.com/Medisci • Website : https://www.mediscicenter.com • Twitter : https://www.twitter.com/Medisci • Podcast : https://doctoratchima.podbean.com
Create Date : 14 ตุลาคม 2564 |
|
0 comments |
Last Update : 14 ตุลาคม 2564 13:56:50 น. |
Counter : 392 Pageviews. |
|
|
|