Group Blog
 
 
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
18 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
โรมานอฟ 1

ราชวงศ์โรมานอฟ


ประเทศรัสเซียจัดได้ว่าเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ ๒๓ ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรกว่า ๓๐๐ ล้านคน ประกอบด้วยชนหลายเชื้อชาติ ประวัติศาสตร์ของรัสเซียโดดเด่นตั้งแต่ยุคการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนมาถึงการปกครองแบบสาธารณรัฐ

ช่วงประวัติศาสตร์ในยุคการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นับเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจที่สุด เนื่องจากเป็นระยะเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบเดิมสู่การปกครองแบบใหม่

นับตั้งแต่คริสตศักราชที่ ๑๘ เป็นต้นมา ประเทศรัสเซียมีกษัตริย์แห่งราชวงศ์โรมานอฟปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถึง ๕ พระองค์ ดังนี้

๑. พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ ๑ (ค.ศ. ๑๘๐๑-๑๘๒๕)
๒. พระเจ้านิโคลัสที่ ๑ พระอนุชาของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ ๑ (ค.ศ. ๑๘๒๕-๑๘๕๕)บทบาทสำคัญคือ ทรงใช้อำนาจเด็ดขาดที่สุด
๓. พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ ๒ โอรสของพระเจ้านิโคลัสที่ ๑ (ค.ศ. ๑๘๕๕-๑๘๘๑)บทบาทสำคัญคือ ทรงประกาศเลิกทาส
๔. พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ ๓ โอรสของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ ๒ (ค.ศ. ๑๘๘๑-๑๘๙๔) บทบาทสำคัญคือ เป็นกษัตริย์องค์แรกที่เจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส
๕. พระเจ้าชาร์นิโคลัสที่ ๒ โอรสพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ ๓ ทรงเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติต้งแต่ปี ค.ศ. ๑๘๙๔ จนถึงปีที่สละราชสมบัติ ในปี ค.ศ. ๑๙๑๗ ซึ่งเป็นปีที่ราชวงศ์โรมานอฟล่มสลายในที่สุด

ในระบอบการปกครองดังกล่าวถือว่า กษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดในการปกครองบ้านเมือง ทรงมีสิทธิเหนือทรัพย์สินและชีวิตของพสกนิกรทุกคน ส่วนสภาที่มีอยู่เป็นสภาที่ปรึกษา มีคณะรัฐมนตรี ซึ่งทรงเลือกตั้งด้วยพระองค์เอง ในบรรดารัฐมนตรีทั้งหมด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสำคัญที่สุด เนื่องจากมีตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย

นอกจากกษัตริย์จะทรงอยู่เหนือกฎหมายแล้ว บุคคลสำคัญที่มีอำนาจสูงสุดเช่นเดียวกัน คือ ตำรวจลับที่มีอำนาจเด็ดขาดทุกประการ สามารถกระทำการใดๆ ในแผ่นดินได้ เข้าตรวจค้นบ้านเรือนของประชาชนได้ทุกโอกาส สังหารบุคคลใดก็ได้โดยไม่ต้องนำตัวขึ้นศาล ตำรวจลับ คือ บุคคลสำคัญที่กษัตริย์ทรงใช้ปฏิบัติการแทนอำนาจเด็ดขาดของพระองค์

ประชาชนพลเมืองในยุคนั้นไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ไม่มีสิทธิในการประชุมหรือตั้งสมาคมใดๆ ไม่มีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์ หรือออกความเห็นใดเกี่ยวกับกิจการของรัฐบาล สื่อมวลชนต่างๆ ไม่มีสิทธิเสรีภาพ

ประชาชนในสมัยนั้นแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม คือ
- พวกขุนนาง ทั้งขุนนางชั้นสูง ชั้นกลาง และขุนนางชั้นต่ำ
- บาทหลวง
- บุคคลชั้นกลาง คหบดี
- ชนชั้นกสิกร ชาวนา ชาวไร่

ในบรรดาประชากรทั้ง ๔ กลุ่ม ที่สำคัญที่สุดและมีผลต่อการเมืองการปกครองที่สุดก็คือ พวกขุนนาง และพวกกสิกร ขุนนางในสมัยนั้นมีจำนวนนับแสนกว่าครอบครัว บางครอบครัวมีสมาชิกมากถึงพันคน ตามธรรมเนียมหากใครดำรงตำแหน่งขุนนาง ก็ได้รับที่ดินด้วย ถือเป็นตำแหน่งที่ติดที่ดิน(ศักดินา)และเป็นมรดกตกทอดกันมา ด้วยเหตุนี้ที่ดินส่วนใหญ่ในประเทศจึงเป็นสมบัติของขุนนางแทบทั้งสิ้น และชาวไร่ชาวนาต้องอาศัยทำมาหากินในที่ดินของพวกขุนนางแทบทั้งสิ้น ชาวไร่ชาวนาทั้งหมด ถือเป็นทาสรับใช้ขุนนางมาโดยตลอด ในยุคแรกๆ รัฐบาลก็ยังดำเนินการกับพวกทาสแบบเดิมๆอยู่ เพียงแต่ชาวไร่ชาวนาบางกลุ่มมีนายผลัดเปลี่ยนกันเข้ามา คือเปลี่ยนจากขุนนางมาเป็นคหบดีเชื้อสายพวกขุนนางเก่า การซื้อขายทาส หรือแม้แต่การสมรสของพวกทาส ต้องได้รับอนุญาตจากนายทาสเท่านั้น

พวกทาสดังกล่าว แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ

๑.พวกทาสติดที่ดิน หมายถึง พวกที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของนาย ทำมาหากินด้วยการเพาะปลูกในที่ดิน สุดแต่นายจะกำหนดเขตให้ ผลผลิตทำได้ก็แบ่งกัน แล้วแต่นายจะเห็นสมควร

๒. พวกทาสในตัวคน หมายถึง พวกทาสไม่ต้องอาศัยประจำในที่ดิน จะไปทำมาหากินที่ใดก็ได้ และต้องนำค่าตอบแทนมาให้นายแล้วแต่นายจะกำหนด

๓. ทาสในบ้าน หมายถึง ทาสที่พักอาศัยภายในบ้าน คอยปรนนิบัติรับใช้นายแล้วแต่นายจะสั่ง ทาสพวกนี้นายจะซื้อหรือจะขายให้ใครก็ได้ ดังที่มีการประกาศขายทาส ราวกับสินค้าในหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน

ภายหลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ ๑ เสด็จสวรรคตแล้ว พวกทหารที่เคยไปรบประจำการในฝรั่งเศสก็คิดนำวิธีการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญมาใช้ในรัสเซีย จึงได้รวมตัวกันตั้งเป็นสมาคมลับ ดำเนินการหลายสมาคม

(ฝรั่งเศสได้โค่นล้มระบอบกษัตริย์ลงในการปฏิวัติฝรั่งเศสครั้งใหญ่ระหว่างปี ๑๗๘๙-๑๗๙๙ ซึ่งมีผลกระทบต่อหลายๆประเทศในทวีปยุโรปในขณะนั้น เพราะหากฝรั่งเศสสามารถโค่นล้มระบบกษัตริย์ลงได้และสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศได้แล้ว ก็จะเป็นตัวอย่างให้ประเทศอื่นเห็นตามและนำมาซึ่งการโค่นล้มกษัตริย์ลง จึงทำให้ประเทศที่ปกครองด้วยระบบกษัตริย์ได้ร่วมกันแทรกแซง จนถึงเข้าทำสงคราม เพื่อทำทุกทางที่จะนำระบบกษัตริย์กลับคืนมาสู่ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสต้องสู้รบกับศึกหลายด้าน ทั้งศึกภายในประเทศและภายนอกประเทศ แต่ด้วยความเจนจัดและกล้าหาญของนายทหารฝรั่งเศส จึงสามารถต่อต้านและขับไล่กองทัพพันธมิตรของต่างชาติไว้ได้ ในเหตุการณ์สงครามหลายต่อครั้งได้สร้างนายทหารหนุ่มคนหนึ่งให้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทหารฟันฝ่าศึกหลายสมรภูมิ จนสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ นำฝรั่งเศสต่อสู้กับประเทศรอบด้าน อย่างไรก็ตามฝรั่งเศสภายหลังการปฏิวัติครั้งใหญ่ในปี ๑๗๙๙ นั้น ก็หาได้ร่มเย็นเป็นสุขอย่างใดไม่ เพราะหลังจากที่นโบเลียน โบนาปาร์ต สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิแล้ว ก็ประหนึ่งจะหวนกลับไปหาระบบการปกครองที่อยู่ภายใต้การตัดสินใจของบุคคลเพียงคนเดียว ฝรั่งเศสเปิดศึกสงครามกับหลายประเทศในยุโรป และยังขยายไปถึงอียิปต์ จนในที่สุดฝรั่งเศสภายใต้การนำของนโปเลียนก็พ่ายแพ้ต่อรัสเซีย แต่ก็ได้สร้างการยอมรับนับถือในการต่อสู้เพื่อสาธารณรัฐให้เกิดขึ้นในใจของนายทหารรัสเซีย)

ครั้นพระเจ้านิโคลัสที่ ๑ ครองราชสมบัติต่อมาอีก ๓๐ ปี พระองค์ทรงใช้อำนาจเด็ดขาดปกครองบ้านเมือง ทำให้คนทั่วไปเดือดร้อนยิ่งขึ้น

ต่อมาเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ ๒ ได้ครองราชสมบัติแล้ว ทรงพยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ในลักษณะผ่อนคลายความเดือดร้อนลง และที่สำคัญก็คือ ทรงประกาศเลิกทาสสำเร็จ ในปี ค.ศ. ๑๘๖๐ และก่อนที่พระองค์จะทรงนำรัฐธรรมนูญมาใช้ตามแบบอย่างอารยประเทศ พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระโอรสของพระองค์ทรงครองราชสมบัติต่อมาคือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ ๓

ครั้นตกมาถึงสมัยการปกครองของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ ๓ พระองค์ทรงดำเนินการปกครองเข้มงวดกวนขันหนัก และล้มเลิกกิจการสำคัญที่พระราชบิดาทรงดำเนินการไว้เกือบทั้งหมด ทำให้สภาพการปกครองกลับเลวร้ายลงเช่นเดิม

หลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ ๓ เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. ๑๘๙๔ โอรสของพระองค์ก็ทรงเสด็จครองราชสมบัติแทน ทรงพระนามว่า พระเจ้านิโคลัสที่ ๒

ในสมัยพระเจ้านิโคลัสที่ ๒ นี้ พระองค์ทรงคิดวิธีการปกครองอย่างเคร่งครัด ตั้งพระทัยที่จะใช้อำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างเต็มรูปแบบ

พระเจ้านิโคลัสที่ ๒ หรือที่ประชาชนชาวรัสเซียทั่วไปเรียกกันว่า พระเจ้าซาร์ (มาจากคำว่า TZAR ซึ่งแปลว่า พระจักรพรรดิ เช่นเดียวกับไกเซอร์) พยายามที่จะปกครองบ้านเมืองที่ทรงประกาศไว้อย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์อ่อนแอเกินไปที่จะปกครองประชาชนและประเทศใหญ่โตขนาดนั้น นอกจากนั้นอาจเป็นเพราะมีบุคคลชี้นำซึ่งเป็นบุคคลไม่สุจริต ทำให้การปกครองล้มเหลวโดยตลอด ประชาชนต่างก็ทวีความขุ่นเคืองมากขึ้น เมื่อผู้นำระดับสูงหลายฝ่ายได้มีพฤติการณ์เหลวไหล ฉ้อราษฎร์บังหลวง เหตุการณ์สำคัญที่สุดที่ทำให้มหาชนเสื่อมศรัทธาในพระองค์ก็คือ รัสเซียพ่ายแพ้สงครามต่อญี่ปุ่น

หลังจากนั้นเหตุการณ์บ้านเมืองได้เลวร้ายลงเป็นลำดับ ถึงกับมีประชาชนลุกฮือขึ้นก่อจลาจลในเมืองสำคัญๆหลายเมือง พวกกรรมกรได้นัดหยุดงานทั่วไป แม้ว่าพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ จะทรงยินยอมให้ประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงในการปกครองมากขึ้น โดยยอมให้ตั้งสภาดูมาขึ้น แต่ก็มิได้ให้อำนาจอะไรมากนัก ผลจากการตั้งสภาทำให้บ้านเมืองเจริญขึ้นระยะหนึ่ง แต่ก็เคราะห์ร้ายที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ เหตุการณ์บ้านเมืองกลับทรุดหนักลงไปอีกเมื่อรัสเซียเป็นพันธมิตรกับอังกฤษและฝรั่งเศสรบกับเยอรมนี ฝ่ายกองทัพเริ่มแข็งข้อต่อพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ ในที่สุดก็นำไปสู่การสละราชสมบัติอันเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์โรมานอฟที่ปกครองรัสเซียมายาวนาน


source : //www.serichon.com



Create Date : 18 ตุลาคม 2552
Last Update : 18 ตุลาคม 2552 9:28:00 น. 1 comments
Counter : 193 Pageviews.

 
OhO


โดย: xiao long pao IP: 124.121.226.53 วันที่: 19 ตุลาคม 2552 เวลา:20:43:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

xiao ye zi
Location :
Dubai United Arab Emirates

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตย์ทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา..
Friends' blogs
[Add xiao ye zi's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.