จุดเริ่มต้นของกลุ่มผู้รักร่วมเพศในสังคมไทย
ประวัติศาสตร์ความเป็นผู้รักร่วมเพศในสังคมไทยนั้น ประกอบด้วย 7 ยุค



1. จุดเริ่มต้นของกลุ่มผู้รักร่วมเพศในสังคมไทย


ประวัติศาสตร์ของผู้รักร่วมเพศในประเทศ ไทยไม่มีความชัดเจนว่าเริ่มต้นเมื่อใด และไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานอย่างจริงจัง แต่อย่างไรก็ตาม มีความเชื่อว่าน่าจะมีการรับรู้หรือมองเห็นปัญหาของ พฤติกรรมรักร่วมเพศมาตั้งแต่ในอดีต ในทางพระพุทธศาสนา เมื่อครั้งบรรพกาลก็มีเรื่องที่กล่าวขานเกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศไว้มากพอสมควรในพุทธชาดก รวมทั้งภาพพฤติกรรมรักร่วมเพศที่ปรากฏบนจิตรกรรมฝาผนังของวัดต่างๆ ในประเทศไทย นอกจากนี้ในพระไตรปิฎกอันประกอบด้วย พระวินัยปกฎก อภิธรรม ปิฎก และ สุตตันตปิฎก เป็นหลักธรรมที่สำคัญของพุทธศาสนา ได้กล่าวในเรื่องของ "กะเทย" หรือ "บันเดาะ" หรือ "บันเฑาะ ก์" ซึ่งก็มีความหมายว่าเป็นชายที่มีราคะจัด ชอบประพฤตินอกรีตในการเสพกามและยั่วยวนชายอื่นให้ประพฤติตาม หรือชายที่ถูกตอนหรือที่เรียกว่า ขันที คนที่เป็นกะเทยโดยกำเนิด อันหมายถึง ผู้มี 2 เพศในบุคคลเดียวกัน โดยมีบัญญัติข้อบ่งชี้ถึงบุคคลที่ไม่สามารถบวช ในพุทธศาสนาไว้เช่นกัน โดยที่ " บันเฑาะก์" ถือเป็นข้อห้ามหนึ่งที่ไม่ยินยอมให้บวชได้ ความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่าเพศของฆราวาสและเพศของบรรพชิตนั้นสามารถหลุดพ้น ได้ และพฤติกรรมรักร่วมเพศได้มีการบัญญัติว่า เป็นสิ่งที่ผิดและไม่ดีงามต่อพุทธศาสนา โดยเฉพาะในพระวินัยปิฎกได้ระบุเป็นข้อห้ามข้อหนึ่งของพระสงฆ์ว่า จะกระทำมิได้ อันทำให้ไม่ใส่ใจช่วยเผยแผ่พระศาสนาอันเป็นกิจของสงฆ์


ในเรื่องนี้มีหลักฐานจากพระราช พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ร.2 ได้เขียนว่า พระสังฆราชวัดมหาธาตุมีพฤติกรรมรักร่วมเพศกับลูกศิษย์หนุ่มแม้ไม่ถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์ แค่เพียงสัมผัสจับต้อง ลูบคลำอวัยวะเพศจึงไม่ถึงกับปาราชิก แต่ถือว่าเป็นความผิดเช่นเดียวกัน จึงถูกถอดจากสมณศักดิ์และเนรเทศให้ออกไปจากวัดมหาธาตุ เป็นการลงโทษที่ ประพฤติปฏิบัติผิดหลักพระวินัยของสงฆ์อย่างหนึ่ง สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นมามากกว่า 200 ปี แต่เป็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้มีการกล่าวถึง เพราะ ถือเป็นความเสื่อมเสียของสังคมและขัดต่อขนบธรรมเนียมและประเพณีของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง


วิถีชีวิตของคน ไทยมีการประพฤติและปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักของศาสนาในหลายๆ ด้าน จึงรับเอาความคิดและความเชื่อดังกล่าวเข้ามาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตด้วย ดัง นั้นพฤติกรรมรักร่วมเพศในสังคมไทยจึงน่าจะมีมาตั้งแต่ต้นสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว เนื่องจากกฎหมายตราสามดวง ซึ่งสันนิษฐานว่าเริ่มตรามาตั้งแต่สมัยกรุง ศรีอยุธยาตอนต้นและได้มีการแก้ไขปรับปรุงจนถึงตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้ระบุถึงบุคคลที่มีคุณลักษณะที่ไม่ใช่เพศชายและเพศหญิง ว่าเป็น " กะเทย" หรือ "บันเฑาะก์" ซึ่งไม่สามารถเป็นพยานในศาลได้ ก็แสดงให้เห็นว่าเรื่องดังกล่าวน่าจะเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของสังคมจึงได้ บัญญัติไว้เป็นกฎหมายเช่นนั้น


นอกจากนี้คำว่ากะเทย ยังพบอยู่ใน "พะจะนะพาสาไท" ที่เขียนโดย บาทหลวงปาลเลอกัวร์ ในปี พ.ศ.2397 ที่เขียนว่า "กเทย" แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า "Hermaphrodite" และหมอบรัดเลย์ได้ เขียนหนังสือชื่อ "อักขราภิธานศรับท์" ในปี พ.ศ.2416 ว่า "กะเทย" หมายถึง "คนที่ไม่เปนเภษชาย ไม่เปนเภษหญิง มีแต่ ทางปัศสาวะ" กล่าวได้ว่าสังคมไทยได้รับรู้ในผู้รักร่วมเพศมานานแล้ว ต่อมาจึงมีการบัญญัติศัพท์ไว้เป็นที่ชัดเจนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 และพจนานุกรมอื่นๆ เป็นต้นมา ความหมายของ "กะเทย" หมายถึงลักษณะที่กำกวมของอวัยวะเพศ หรือลักษณะสิ่งที่ไม่ปรากฏเพศ หรือลักษณะกลางๆ ไม่เป็นเพศใดเพศหนึ่ง ดังนั้น จะเห็นว่าความหมายดังกล่าวมีนัยเพียงด้านเดียว ทั้งนี้ในทางสังคมแล้ว "กะเทย" หรือผู้มี พฤติกรรมรักร่วมเพศจะมีความหมายที่กินความกว้างขวางกว่านั้น


นอกจากนี้การบันทึกทางประวัติศาสตร์เชื่อม โยงกับพฤติกรรมรักร่วมเพศในสังคมไทยอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ในปี ค.ศ.1634 นายโยส สเคาเต็น อดีตเจ้าหน้าที่การค้าของฮอลันดา ประจำกรุงศรีอยุธยา ถูกลง โทษประหารชีวิตโดยรัฐบาลของเนเธอร์แลนด์ที่เมืองปัตตาเวีย ในข้อหาว่าเป็นผู้มีพฤติกรรมรักร่วมเพศซึ่งเป็นความผิดอย่างร้ายแรงในสังคมตะวันตก นายสเคา เต็น ยอมรับสารภาพและอ้างว่าได้รับแบบอย่างพฤติกรรมรักร่วมเพศมาจากคนในกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานได้ว่า พฤติกรรมรักร่วมเพศมีมาแต่สมัยอยุธยาและ เป็นที่รับรู้กันแล้วในสังคม แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะในราชสำนักและบ้านของขุนนางชั้นผู้ใหญ่เสียมากกว่าที่จะเป็นเรื่องของชาวบ้านธรรมดา ดังนั้นพฤติกรรม รักร่วมเพศจึงเป็นสิ่งที่ไม่ไกลเกินตัวในสังคมไทย


พฤติกรรมรักร่วมเพศได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ ไม่มีการบันทึกหรือบอกเล่าไว้เป็นหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ไทย เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่อับอายและน่ารังเกียจเป็นอย่างยิ่ง ผู้ใดปฏิบัติจะ เป็นความอัปมงคลต่อตนเองและมัวหมองต่อวงศ์ตระกูลและครอบครัว ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องปกปิดและไม่ต้องการให้ผู้ใดได้รับรู้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ต่อสังคม อีกทั้งอาจมีการลงโทษถ้าเป็นการสร้างความเสื่อมเสียให้กับบ้านเมือง



Create Date : 07 มิถุนายน 2554
Last Update : 7 มิถุนายน 2554 0:01:02 น.
Counter : 805 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Bel_Lu
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



偶然という名の運命 そんな出逢いだからこそ๐ 何気ない瞬間を 今日からは かけがえのない瞬間に๐ 永遠にともに いつの日も どんなときも๐
มิถุนายน 2554

 
 
 
1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30