มาปลูกกล้วยไม้ให้บานในหัวใจกัน!!!
Group Blog
 
 
มกราคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
17 มกราคม 2550
 
All Blogs
 
หนอนกระทู้หอม (Beet armyworm)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Spodoptera exigua Hubner
ลักษณะการทำลาย ในกล้วยไม้ หนอนจะกัดกินเฉพาะส่วนดอก ในกุหลาบ ดาวเรือง เบญจมาศ และมะลิ หนอนจะกัดกินทุกส่วนของพืช โดยหนอนเมื่อฟักออกจากไข่จะเริ่มกัดกินส่วนต่างๆของพืช แต่ยังไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก ความเสียหายจะพบรุนแรงกับหนอนระยะตั้งแต่วัย 3 ขึ้นไป ถ้าหนอนระบาดทำลายในระยะพืชยังเล็กจะทำให้พืชตายได้ ถ้าทำลายในระยะที่มีดอก จะทำให้ดอกเกิดรอยแหว่ง ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด พบหนอนกระทู้หอมระบาดทั่วไปตามแหล่งปลูกผักและไม้ดอกในบริเวณภาคกลางและภาคตะวันตก และมักพบระบาดรุนแรงในฤดูหนาวและฤดูร้อน
พืชอาหาร หนอนกระทู้หอมทำลายพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยมากกว่า 30 ชนิด พืชอาหารที่สำคัญ ได้แก่ พืชผักตระกูลกะหล่ำ หอมแดง หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง มันเทศ ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว กระเจี๊ยบเขียว เผือก มะเขือเทศ มะระ พริก แตงโม เป็นต้น ในพืชไร่ ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว ฝ้าย ข้าวโพด ในไม้ผลพบเข้าทำลายองุ่น ในไม้ดอก ได้แก่ เบญจมาศ กุหลาบ มะลิ ดาวเรือง และกล้วยไม้ ศัตรูธรรมชาติ
ศัตรูธรรมชาติ แมลงศัตรูธรรมชาติที่พบทำลายหนอนกระทู้หอมในพืชผักมี 3 ชนิด ได้แก่ Apanteles sp. (Braconidae:Hymenoptera), Charop sp. (Ichneumonidae: Hymenoptera) และแมลงวันพวก Tachinidae:Diptera แตนเบียนที่พบว่ามีบทบาทสำคัญที่สุดในการควบคุมประชากรหนอนกระทู้หอม คือ Apanteles sp. เนื่องจากพบทำลายหนอนกระทู้หอมตามแหล่งปลูกทั่วไปตลอดปี และมีประสิทธิภาพสูงในการทำลายหนอนกระทู้หอม นอกจากนี้ ยังพบเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถทำลายหนอนกระทู้หอม ได้แก่ ไวรัสชนิดเอ็น พี วี (Nuclear Polyhedrosis Virus) ซึ่งสามารถนำมาใช้กำจัดหนอนกระทู้หอมได้อย่างมีประสิทธิภาพ



การป้องกันและกำจัด
1. โดยวิธีกล เก็บกลุ่มไข่และหนอนไปทำลาย วิธีนี้ได้ผลดีและลดการระบาดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ใช้เชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่
  • 2.1 ไวรัส เอ็นพีวี ของหนอนกระทู้หอม อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบอัตราตามฉลาก ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5 วันเมื่อพบการระบาด วิธีนี้เป็นวิธีการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอมที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง

  • 2.2 เชื้อแบคทีเรีย (Bt) เช่น เซนทารี อัตรา 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ เดลฟิน อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเย็นทุก 5 วัน เมื่อพบการระบาด

3. ใช้สารสกัดสะเดา อัตรา 100 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร เมื่อพบการระบาด
4. ใช้สารป้องกันและกำจัดแมลง ได้แก่ ไดอะเฟนไทยูรอน (โปโล 25 % เอสซี) อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร

ข้อมูลดีๆจาก //www.giswebr06.ldd.go.th/lddweb/knowledge/agrilib/plant/orchid/armyworm.html


Create Date : 17 มกราคม 2550
Last Update : 17 มกราคม 2550 8:46:42 น. 1 comments
Counter : 952 Pageviews.

 


โดย: คน IP: 118.172.51.129 วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:12:34:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เซ้งขอนแก่น
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add เซ้งขอนแก่น's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.