มาปลูกกล้วยไม้ให้บานในหัวใจกัน!!!
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2550
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
 
6 กุมภาพันธ์ 2550
 
All Blogs
 
มูลเหตุแห่งโรคและศัตรูกล้วยไม้

โรคกล้วยไม้ (Orchid diseases)
สิ่งที่ก่อให้เกิดโรคกล้วยไม้ โรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเสีย ใกล้เล้าสัตว์ปีก แดดจัด ฝนตกหนัก หมอกลง น้ำเป็นพิษ คือ pH และ EC สูงเกินไป ปุ๋ยเป็นพิษ เครื่องปลุกผุ เป็นต้น เมื่อต้นกล้วยไม้ไม่แข็งแรงก็ทำให้เชื้อโรคเข้าต้นกล้วยไม้ง่าย จะต้องหมั่นสังเกตุจากขณะที่รดน้ำกล้วยไม้ เชื้อโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย (Bacteria) หรือเชื้อรา (Fungi) หรือเชื้อไวรัส (Virus) ฉะนั้นควรฉีดยาป้องกันไว้ดีกว่าแก้ ถ้าเป็นโรคแล้วรีบหาทากำจัดทันที ถ้าคิดว่ารักษายากให้นำต้นที่เป็นโรคไปเผาไฟทิ้ง ฉะนั้นเวลาที่ซื้อกล้วยไม้นำเข้ามาใหม่ควรดูด้วยว่าต้นกล้วยไม้เป็นโรคหรือเปล่า

โรคกล้วยไม้ (Orchid diseases)
1. โรคเน่าดำ (Phytophthora palmivora Butt) ลักษณะอาการ ใบมีจุดน้ำตาลแฉะ จะเปลี่ยนเป็นสีดำในที่สุด โคนต้นเน่า รากเน่า ดอกเน่า เกิดจากสภาพความชื้นสูง ฝนตกหนัก อากาศเปลี่ยนฤดู

2. โรคจุดสนิม (Curvalaria eraqostidis) ลักษณะอาการ กลีบดอก ใบ จะเป็นจุดน้ำตาลคล้ายสนิม

3. โรคเน่าแห้ง โรคราเม็ดผักกาด (Sclerotium rotist Sacc.) ลักษณะอาการ จะทำลายบริเวณราก โคนต้น และยอด เป็นเม็ดคล้ายเม็ดผักกาด ลักษณะต้นเหมือนมีแป้งโรย ใยสีขาวขุ่นเป็นเส้นหยาบ จากการสังเกตุพบในเครื่องปลูกเสีย อากาศร้อน ความชื้นสูง ถ้าพบเห็นให้ทำลายทิ้งทั้งต้น โรคนี้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว

4. โรคใบปื้นเหลือง (Pseudocercos poro dendrobil) ลักษณะอาการ ใบแก่ ใบโคนต้นจะเหลืองเป็นปื้น มีผงสีดำคล้ายผงดินสอกระจายอยู่ ถ้าทิ้งไว้ใบจะเหลืองดำทั้งใบ และหลุดล่วงจากต้น จะระบาดตอนย่างเข้าฤดูหนาว ควรจะเก็บนำใบที่เป็นโรคทิ้งเผาไฟ

5. โรคขี้กลาก (Phyllosticta sp.) โรคราชบุรี ซึ่งเกิดจากสกุแวนดาที่จังหวัดราชบุรี ทำให้ชาวสวนกล้วยไม้ชาวราชบุรีไม่ชอบชื่อโรคนี้ ลักษณะอาการ เป็นจุดแผลสีน้ำตาลดำ เหมือนเมล็ดข้าว กระจัดกระจายบนใบ จนกลายเป็นใบปื้นน้ำตาลเข้ม จับดูจะรู้สึกสากมือ

6. โรคเอนเทรคโนส (Colletotrichum sp.) ลักษณะอาการ ปลายใบแห้ง โรคใบไหม้ แผลสีน้ำตาลเป็นวงๆ ซ้อนกันหลายๆชั้น ลามจากปลายใบไปหาโคน

7. โรคใบจุด (Alternaria sp.) ลักษณะอาการ ใบจุดดำทั่วทั้งใบ แล้วจะเป็นสีดำบุ๋มๆ

8. โรคราดำ (Cladosporium sp.) ลักษณะอาการ เป็นปื้นสีดำเป็นแถบสกปรก ตามกาบใบระหว่างลำต้น จะเกิดในช่วง ปลายฤดูฝน เข้าฤดูหนาว

9. โรคโคนเน่าดำ (Fusarium sp.) ลักษณะอาการ โคนต้นเน่าดำเกิดจากเครื่องปลูกเสีย ตะไคร่น้ำจับหน้าเชื้อราเข้าทางรากทำให้โคนเน่าใบเหี่ยว ควรเปลี่ยนเครื่องปลูกใหม่

10. โรคราขาว (Rhizoctonia sp.) ลักษณะอาการ อาการเริ่มแรกเน่าจากปลายราก มาทางโคนต้น เหมือนมีแป้งโรย ใบซีดเหลือง เกิดจากเครื่องปลูกไม่ได้คุณภาพ โดยเฉพาะกาบมะพร้าวที่ยังไม่แก่พอ

11. โรคเน่าเละ (Pseudomonas gladioli) ลักษณะอาการ เกิดจากแบคทีเรีย อาการใบเน่าฉ่ำน้ำ ลำลูกกล้วยเน่า ใบหลุดล่วง โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน หรืออาการมีความร้อนชื้นสูง อบอ้าว

12. โรคไวรัส มีไวรัสหลายตัว (Cymbidium Mosaic virus, Tobacco Mosaic virus, Bacilliform) ลักษณะอาการ ดอกด่างมีอาการเบี้ยวบิด สีเข้มสลับสีอ่อน ใบยอดบิด ใบด่างเป็นจ้ำๆ เขียวอ่อนสลับเขียวเข้ม

โรคแมลง (Insect and Pest)
1. เพลี้ยไฟ (Thrip palmi, Dichromotrip corbetti) เพลี้ยแป้ง (Mealy buy) เพลี้ยหอย (Scale insect) เพลี้ยอ่อน (Aphid) ลักษณะอาการ เพลี้ยไฟหรือตัวกินสี จะวางไข่ในเยื่อของกลีบกล้วยไม้ ระยะไข่ 2-6 วัน มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ตัวมีปีกบินได้ ขนาดยาว 1-2 ม.ม. ชอบระบาดในอากาศร้อน และแห้งแร้งในฤดูร้อนและฤดูหนาว (ไม่หนาวมาก) ในฤดูฝนระบาดน้อยลง สังเกตจากดอกตูมจะเป็นสีน้ำตาลและแห้งคาช่อดอกบาน ปลายกลีบดอกจะมีสีซีดขาว และจะเป็นสีน้ำตาลเรียกดอกไหม้ ใบเพลี้ยไฟชอบหลบซ่อนอยู่ในกลีบใบ ส่วนเพลี้ยแป้งเหมือนแป้งโรย โดยเฉพาะเครื่องปลูกเป็นถ่าน มดดำเป็นพาหะนำเพลี้ยแป้งมา เพลี้ยหอย มักจะพยตามร่องใบของลำลูกกล้วย เป็นเม็ดนูนหรือแบน ถ้าไม่กำจัดเพลี้ยหอยขับถ่ายน้ำคล้ายน้ำตาล เชื้อจะทำให้เกิดโรคราดำ

2. ไรแดง (Dolivotetranychus Vandergooti) ลักษณะอาการ ใบเป็นสีขาวเหมือนมีแป้งโรยที่ใบบางๆ โดยเฉพาะด้านใต้ใบจะเป็นสีน้ำตาลเหมือนผิวเหล็กเป็นสนิม ไรแดงชอบอยู่หลังกลีบดอก เรียกหลังลาย หรือหลังขี้กลาก บางครั้งเหมือนลักษณะสีแดงกระเด็นใส่ดอก

3. หนอนแมลงวันชอนดอก (Aqromy zidae) ลักษณะอาการ ชอบระบาดในฤดูฝน มีความชื้นสูง ดอกตูมจะเน่าเหลือง ฉ่ำน้ำ แกะดอกตูมดูจะเห็นตัวหนอนขนาดเส้นด้าย ยาว 1-2 ม.ม. อยู่กันเป็นกลุ่ม 3-7 ตัวขึ้นไป ชาวสวนชอบเรียกไอ้อวบ คือดอกร่วงฮวบฮาบ ระบาดรุนแรง บางท่านเข้าใจว่าเป็นเชื้อรา ถ้าใช้ย่าฆ่าเชื้อราก็จะไม่หาย

4. หนอนกระทู้หอย (Spodoptera exiqua) ลักษณะอาการ ระบาดสวนกล้วยไม้ที่ปลูกอยู่กับพวกสวนผัก หรือสวนผลไม้ หนอนมีหลายสี (เขียว เทา น้ำตาล) ด้านล่างมีแถบขาวตามลำตัว จะกัดกินดอกและใบดอกแหว่งเหมือนตั๊กแตนกินใบ จะพบไข่อยู่ใต้ใบ หรือกลีบดอก

5. หนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura) ลักษณะอาการ ตัวโตขนาด 3-4 ซ.ม. จะออกหากินตอนกลางคืน จะกัดกินใบอ่อนจนบางใสหรือเป็นรูพรุน

6. ด้วงเต่า (Lemma pectolaris) ลักษณะอาการ เป็นแมลงปีกแข็ง ลำตัวสีเหลืองทอง มีหนวดและมีขาสีดำ ขนาด 8 ม.ม. ดักแด้อยู่ในโฟมคล้ายฟองสบู่ขาวหุ้มตัวมันมิด ชอบกินใบอ่อนและดอกทั้งดอกตูมและดอกบาน

7. ด้วงกุหลาบ (Adoretus compressus) ลักษณะอาการ สีน้ำตาลอ่อนอมเทา ลำตัวป้อมแบน ออกหากินตอนเย็นและตอนกลางคืน ชอบเล่นแสงไฟ กลางวันจะหลบซ่อนอยู่ในกาบใบ กาบมะพร้าว ในดิน ชอบกินกลีบดอก

8. หนอนปลอก ลักษณะอาการ หนอนที่มีปลอกสีน้ำตาลเข้มหุ้ม และห้อยลงมา ชอบกินดอก ใบ ก้านช่อดอก จะพบมากที่ใบของต้นหมากสง (หมากกิน๗

9. หนู ลักษณะอาการ เป็นศัตรูสำคัญชอบกันกินดอกและหน่ออ่อนของกล้วยไม้

ข้อมูลจาก //www.bangsaigardenorchid.com/activity/act1/activity2.html


Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2550 11:02:58 น. 0 comments
Counter : 1552 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เซ้งขอนแก่น
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add เซ้งขอนแก่น's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.