มาปลูกกล้วยไม้ให้บานในหัวใจกัน!!!
Group Blog
 
 
มกราคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
15 มกราคม 2550
 
All Blogs
 
โรคเน่าดำ (Black rot)

เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora Butl.
ลักษณะอาการ
ราก เป็นแผลสีดำ เน่า แห้ง ยุบตัวลง หรือรากเน่าแห้งแฟบ ต่อมาเชื้อจะลุกลามเข้าไปในลำต้น
ลำต้น เชื้อราจะเข้าทางยอดหรือโคนต้น ใบจะเหลืองหรือเน่าดำหลุดร่วงจากต้นได้ง่าย ถ้าเชื้อเข้าทางยอดจะทำให้ยอดเน่า เมื่อใช้มือดึงยอดจะหลุดติดมือขึ้นมา ถ้าเชื้อเข้าทางโคนต้น ใบจะเหลืองร่วงจากโคนต้นขึ้นไปหาส่วนยอดเรื่อยๆ บางครั้งเกษตรกรเรียกว่า "โรคแก้ผ้า"
ใบ เริ่มแรกเป็นจุดใส ชุ่มน้ำ สีเหลือง ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และเป็นสีดำในที่สุด แผลจะขยายใหญ่ลุกลามอย่างรวดเร็ว ในสภาพที่มีความชื้นสูง เชื้อราจะสร้างเส้นใยสีขาวใสละเอียดบนแผลเน่าดำ สังเกตเห็นได้ชัดเจนตอนเช้ามืดก่อนที่แสงแดดจัด
ดอก เป็นจุดแผลสีน้ำตาลบนกลีบดอก และอาจมีสีเหลืองล้อมรอบแผล ถ้าเป็นกับดอกตูมขนาดเล็ก ดอกจะเน่าและหลุดจากก้านช่อ
ก้านช่อดอก จะเห็นแผลเน่าดำที่ก้านช่อดอก เชื้อจะลุกลาม และก้านช่อดอกจะหักพับในที่สุด



การแพร่ระบาด เชื้อสามารถแพร่ระบาดจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งได้ง่าย โดยเฉพาะในฤดูฝน ซึ่งอากาศมีความชื้นสูงมาก สปอร์ของเชื้อราจะกระเด็นไปกับน้ำฝนหรือระหว่างการรดน้ำกล้วยไม้
การป้องกันและกำจัด
1. ปรับสภาพโรงเรือนให้โปร่ง และอย่าปลูกกล้วยไม้แน่นเกินไป
2. ถ้าพบโรคนี้ในระยะลูกไม้ ให้แยกกระถางที่เป็นโรคออกเสีย แล้วนำไปเผาทำลาย ถ้าเป็นกับกล้วยไม้ที่ต้นโตแล้ว ควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกเสียจนถึงเนื้อดี แล้วใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดโรค ป้ายบริเวณที่เป็นแผล
3. ไม่ควรให้น้ำกล้วยไม้ตอนเย็นใกล้ค่ำ โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว เพราะจะทำให้เกิดสภาพอากาศเย็นความชื้นสูง ซึ่งเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อ ทำให้โรคระบาดอย่างรุนแรงได้ง่ายขึ้น
4. ควรทำหลังคาพลาสติกสำหรับลูกกล้วยไม้เพื่อป้องกันการระบาดของโรคในช่วงฤดูฝน
5. ไม่ควรขยายพันธุ์จากต้นที่เป็นโรค และควรเผาทำลายต้นที่เป็นโรคเพื่อตัดวงจรของเชื้อสาเหตุ
6. ในสภาพดินเหนียว น้ำขัง เชื้อจะระบาดได้ดีเป็นพิเศษ ดังนั้น จึงควรช่วยระบายน้ำในแปลงปลูก โดยการรองพื้นด้วยขี้เถ้าแกลบก่อนปูด้วยกาบมะพร้าว ขี้เถ้าแกลบมีความเป็นด่าง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคในระยะแรกอีกด้วย
7. ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดโรค ได้แก่
- ฟอสฟอรัส แอซิด อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นในช่วงแดดไม่จัด สารนี้ใช้ได้ดีในแง่ของการป้องกัน
- อีทริไดอะโซล ใช้ได้ดีสำหรับการป้องกัน แต่ควรระวัง คือ ไม่ควรใช้ผสมกับปุ๋ยและสารเคมีอื่นๆทุกชนิด
- เมธาแลคซิล 35 % WP อัตรา 7 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือเมธาแลคซิล 25 % WP อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้ได้ผลดีในการกำจัด แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง เพราะเชื้ออาจเกิดการดื้อยาเร็ว จึงควรพ่นสลับกับสารเคมีชนิดอื่น เช่น แคปแทน หรือแมนโคเซบ เป็นต้น นอกจากนี้ ข้อควรระวังในการใช้สารเคมีชนิดนี้ คือ ถ้าใช้ในอัตราที่เข้มข้นมากๆ และพ่นถี่มากเกินไป กล้วยไม้จะมีอาการต้นแคระแกรน รากกุด ข้อถี่ ช่อดอกสั้นผิดปกติ
- โฟซีทิล-อลูมิเนียม ใช้อัตรา 25-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ถ้าป้องกันโรคใช้ในอัตราที่ต่ำ ถ้ากำจัดโรคใช้ในอัตราที่สูง สารนี้เป็นสารดูดซึม ถ้าใช้เพื่อป้องกันโรค ให้ใช้พ่นเพียงเดือนละ 1-2 ครั้งเท่านั้น และไม่ควรผสมกับปุ๋ยใดๆ ควรพ่นสลับกับสารเคมีชนิดอื่น เช่น ใช้เมธาแลคซิล สลับกับแมนโคเซบ เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา หรือใช้สารที่ผสมมาให้เรียบร้อยแล้ว จะทำให้การป้องกันและกำจัดได้ผลดียิ่งขึ้น

ข้อมูลดีๆจาก //www.giswebr06.ldd.go.th/lddweb/knowledge/agrilib/plant/orchid/blackrot.html


Create Date : 15 มกราคม 2550
Last Update : 15 มกราคม 2550 14:11:38 น. 0 comments
Counter : 1237 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เซ้งขอนแก่น
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add เซ้งขอนแก่น's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.