มาปลูกกล้วยไม้ให้บานในหัวใจกัน!!!
Group Blog
 
 
มกราคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
16 มกราคม 2550
 
All Blogs
 
เพลี้ยไฟ (Cotton thrips)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Thrips palmi Karny
ลักษณะการทำลาย ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่เข้าทำลายดอกกล้วยไม้ โดยใช้ปากเขี่ยเนื้อเยื่อพืชให้ช้ำแล้วจึงดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืช ทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเกิดรอยด่างขาว
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด พบครั้งแรกในฝ้ายและยาสูบที่เกาะสุมาตรา ชวาและอินเดีย เป็นแมลงศัตรูพืชที่มีความสำคัญในเขตร้อนและเขตอบอุ่น แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะคาราเบียน และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก มักพบการระบาดเสมอในช่วงฤดูร้อนหรือช่วงที่มีอากาศแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน แต่พบการระบาดน้อยในช่วงฤดูฝน
พืชอาหาร นอกจากทำลายกล้วยไม้แล้ว ยังพบทำลายในพืชผักเศรษฐกิจ ได้แก่ มะเขือเปราะ แตงโม แตงกวา มะระ ฟักเขียว ถั่วฝักยาว หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว ในไม้ผล ได้แก่ องุ่น มะม่วง ส้มโอ ในพืชไร่ ได้แก่ ฝ้าย ยาสูบ งา ทานตะวัน ข้าวโพด และในไม้ดอก เช่น กุหลาบ เบญจมาศ และดาวเรือง เป็นต้น




การป้องกันและกำจัด
การป้องกันและกำจัดก่อนการเก็บเกี่ยว
1.หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาหารในบริเวณแปลงกล้วยไม้ เนื่องจากจะเป็นแหล่งขยายพันธุ์ของเพลี้ยไฟ
2. ดำเนินการป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟบนพืชอาหารรอบๆแปลงกล้วยไม้ เพื่อลดการระบาดของเพลี้ยไฟ
3. ใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ โดยแบ่งเป็นกลุ่มๆ ดังนี้
กลุ่มที่ ชื่อสารเคมี อัตราการใช้ ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • 1 อิมิดาโคลพริด (คอนฟิดอร์ 100 เอสแอล) 10-20 มิลลิลิตร
    อะเซทามิพริด (โมแลน 20 % เอสพี) 10-20 กรัม
2 อะบาเม็กติน (แจคเก็ต, เวอร์ทิเม็ค 1.8 % อีซี) 10-20 มิลลิลิตร
  • 3 ฟิโปรนิล (แอสเซ็นด์ 5 % เอสซี) 20 มิลลิลิตร
4 ไซเพอร์เมทริน/โฟซาโลน (พาร์ซอน 28.75 % อีซี) 40 มิลลิลิตร
เพื่อป้องกันไม่ให้เพลี้ยไฟสร้างความต้านทานต่อสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ควรพ่นสาร แต่ละกลุ่มสลับกันไป ด้วยอัตรา 200 ลิตรต่อไร่ ไม่ควรพ่นติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง ใช้ช่วงพ่น 5-7 วัน ในฤดูร้อน หรือ 7-10 วันในฤดูฝน และควรพ่นให้ทั่วเป็นละอองฝอย โดยเฉพาะบริเวณส่วนดอก เพราะมักจะพบเพลี้ยไฟในบริเวณส่วนดอกที่บานใหม่ๆ

การป้องกันและกำจัดหลังการเก็บเกี่ยว
1.การรมดอกกล้วยไม้ด้วยเมทิลโบรไมด์ นำดอกกล้วยไม้ที่ต้องการรมใส่โรงเรือนสำเร็จรูป ใช้สารรม คือ ก๊าซเมทิลโบร์ไมด์ อัตรา 24 กรัม/ลูกบาศก์เมตร รมนาน 90 นาที
2. การจุ่มดอกกล้วยไม้ในสารป้องกันและกำจัดแมลง โดยจุ่มดอกกล้วยไม้ในสารป้องกันและกำจัดแมลง อิมิดาโคลพริด หรือ อะเซทามิพริด หรือ อะบาเม็กติน หรือ ฟิโปรนิล อัตรา 20, 5, 20 และ 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ โดยใช้เวลานาน 5 วินาที

ข้อมูลดีๆจาก //www.giswebr06.ldd.go.th/lddweb/knowledge/agrilib/plant/orchid/thrips.html



Create Date : 16 มกราคม 2550
Last Update : 25 มกราคม 2550 8:21:26 น. 0 comments
Counter : 2231 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เซ้งขอนแก่น
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add เซ้งขอนแก่น's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.