Private Cloud คืออะไร


Private Cloud เป็นโครงสร้างรูปแบบหนึ่งของ Cloud Computing ที่ประกอบด้วย Cloud Based Environment ที่แยกออกมาเป็นส่วนตัว และมีการรักษาความปลอดภัยอย่างดี เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์เข้าถึงและจัดการ

Private Cloud มีส่วนที่เหมือนกับ Cloud รูปแบบอื่นๆ ตรงที่ Private Cloud จะให้บริการ Computing Power as a Service ภายใน Virtualized Environment โดยใช้ทรัพยากรจากแหล่งของ Physical Computing Resource แต่อย่างไรก็ตาม แหล่งทรัพยากรของ Private Cloud นี้ก็เปิดให้เข้าถึงได้เพียงหนึ่งองค์กรเท่านั้น เพื่อให้องค์กรนั้นมีความเป็นส่วนตัวและมีอำนาจในการควบคุมจัดการมากขึ้น

เทคนิคที่ใช้เพื่อให้บริการ Private Cloud อาจมีได้หลากหลาย ดังนั้นมันจึงยากที่จะจำแนกประเภท  Private Cloud ด้วยคุณสมบัติทางเทคนิค โดยทั่วไปแล้ว Cloud จะถูกจำแนกด้วยฟีเจอร์การให้บริการลูกค้าเสียมากกว่า ซึ่งสิ่งที่จำแนก Private Cloud ออกมาจากบริการรูปแบบอื่น ก็คือ ระบบ Ring Fencing ของ Cloud ที่กั้นไว้สำหรับให้องค์กรเดียวใช้งาน และระบบรักษาความปลอดภัยในระดับที่สูงกว่าปกติ แตกต่างจากบริการ Public Cloud ที่ให้ลูกค้าหลายรายสามารถเข้าถึง Virtualized Service ได้ และมีการดึงเอาทรัพยากรออกมาจากแหล่งทรัพยากรเดียวกันใน Public Network ซึ่งถ้าเป็น Private Cloud จะดึงทรัพยากรจากแหล่งที่แยกออกมาต่างหาก อาจจะติดตั้งอยู่ภายในหรือภายนอกก็ได้ โดยเข้าถึงจากการเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการโดยตรง (Lease Line) หรือการเชื่อมต่อเข้ารหัสผ่านทาง Public Network

ระบบรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมที่มีการกั้นเขตการใช้งาน Cloud นี้เรียกได้ว่าเหมาะเหม็งสำหรับกลุ่มองค์กร รวมทั้งบริษัทต่างๆ ที่มีการเก็บและดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นส่วนตัวหรือมีความละเอียดอ่อนสูง ยกตัวอย่างเช่น บริษัทด้านการเงินที่มีข้อบังคับตามระเบียบให้ต้องเก็บข้อมูลละเอียดอ่อนไว้ภายใน แต่ยังต้องการใช้ประโยชน์จาก Cloud Computing อย่างการจัดสรรทรัพยากรได้ตามต้องการ จะเหมาะกับ Private Cloud เป็นอย่างดี

ที่จริงแล้วรูปแบบของ Private Cloud ค่อนข้างใกล้เคียงกับ Local Access Networks (LANs) ส่วนตัวที่องค์กรต่างๆ เคยใช้กันมาในอดีต เพียงแค่เสริมข้อได้เปรียบของเทคโนโลยี Virtualization เข้าไปเท่านั้น

ส่วนฟีเจอร์ และประโยชน์ที่จะได้จากการใช้งาน  Private Cloud มีดังนี้:

มีความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวสูง : แม้ว่า Public Cloud จะมีระบบรักษาความปลอดภัยอยู่แล้วในระดับหนึ่ง แต่ Private Cloud สามารถให้ความมั่นใจด้านความปลอดภัยที่ดีกว่า ด้วยเทคโนโลยีอย่าง การมีแหล่งทรัพยากรแยก พร้อมจำกัดสิทธิ์การเข้าถึง ต้องเชื่อมต่อจากภายในระบบ Firewall ขององค์กรเท่านั้น การใช้งาน Lease Line และ/หรือ การติดตั้งภายในแบบ On-Site Hosting

ควบคุมได้มากขึ้น : เพราะ Private Cloud สามารถเข้าถึงได้โดยองค์กรเพียงองค์กรเดียวเท่านั้น องค์กรจึงสามารถจัดการและตั้งค่าจากภายในได้เต็มที่เพื่อให้ได้ Tailored Network Solution ที่เหมาะกับการใช้งานมากที่สุด แต่สิทธิ์การควบคุมในระดับนี้ทำให้สูญเสียกการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ที่มีใน Public Cloud ไปบางส่วน เพราะจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนสำหรับจัดการระบบ Hardware เพิ่มเข้ามา

ใช้ต้นทุนและพลังงานอย่างคุ้มค่า : การนำ Private Cloud มาใช้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากรภายในองค์กร ให้แต่ละแผนกหรือ Business Function สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้โดยตรง และสามารถปรับใช้ได้ตามต้องการ ดังนั้นแล้ว แม้จะไม่ประหยัดงบประมาณเทียบเท่า Public Cloud เนื่องจากรายจ่ายด้านระบบการจัดการ แต่  Private Cloud ก็มีประสิทธิภาพในการใช้งานทรัพยากรมากกว่าระบบ LANs แบบเก่า เพราะมันยังคงลดรายจ่ายในส่วนที่ไม่ได้ใช้งาน และช่วยให้องค์กรลดการกระจาย Carbon ออกสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้วย

มีความน่าเชื่อถือสูง : ต่อให้ทรัพยากรทั้งหลาย ไม่ว่าจะ Server หรือ Network ถูก Host อยู่ภายในองค์กร ก็ยังได้รับข้อดีของ Virtualised Operating Environment ไม่ต่างกัน คือ ระบบ Network นั้นจะสามารถฟื้นตัวจากสภาพล้มเหลวในระบบ Infrastructure ได้เร็ว เช่น Virtual Partition ทำให้สามารถดึงทรัพยากรจาก Server ที่ไม่ได้รับความเสียหายมาใช้ได้ นอกจากนี้ ถ้า Cloud ถูก Host โดยผู้ให้บริการบุคคลที่สาม ทางองค์กรผู้ใช้บริการก็จะได้สิทธิประโยชน์จากระบบรักษาความปลอดภัยทางกายภาพของระบบ Infrastructure ที่อยู่ใน Data Center นั้นๆ อีกด้วย

ระบบ Cloud Bursting : ผู้ให้บริการบางรายอาจมีบริการ Cloud Bursting เพิ่มเข้ามาให้ในบริการ Private Cloud เผื่อกรณีที่มี Traffic เพิ่มสูงขึ้นอย่างกระทันหัน บริการนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถย้ายฟังก์ชั่นที่ไม่มีข้อมูลสำคัญหรือเป็นความลับไปยัง Public Cloud เป็นการชั่วคราว เพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับฟังก์ชั่นที่มีข้อมูลสำคัญๆ อยู่ ทั้งนี้ Private Cloud สามารถทำงานร่วมกับ Public Cloud เพื่อสร้าง Hybrid Cloud ขึ้นมาได้ แล้วให้พวกฟังก์ชั่นที่ไม่มีข้อมูลสำคัญถูกจัดสรรไว้ใน  Public Cloud เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานถึงขีดสุด




Create Date : 13 พฤศจิกายน 2560
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2560 17:38:06 น.
Counter : 1655 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3872753
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤศจิกายน 2560

 
 
 
1
4
5
9
10
11
12
18
19
25
26
27
28
29
30
 
 
13 พฤศจิกายน 2560
All Blog