OpenStack เป็นแพลตฟอร์มการจัดการระบบคลาวด์



20150116165047765.jpg


 หลายคนอาจจะมีข้อสงสัยว่า OpenStack คืออะไรกันแน่ เป็นโปรแกรม Cloud Management Platform (CMP) หรือเปล่า? ซึ่งเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของข้อสงสัยจำนวนมากมาย วันนี้จะพาไปไขข้อข้องใจว่าด้วยเรื่อง OpenStack ให้หายสงสัยกันเสียที

OpenStack Cloud Software เป็นโปรแกรมช่วยจัดมาตรฐานและจัดการความซับซ้อนของการจัดการ Cloud Infrastructure แบบผสม หลากหลายผู้นำอุตสาหกรรมด้าน Storage, Networking และ Compute ต่างก็สนับสนุน OpenStack โดยการให้ Code สำหรับเรียกการทำงานของอุปกรณ์ ทำให้


          -      สามารถ Provision เครื่อง Virtual Server ได้

          -      เสริมพื้นที่จัดเก็บข้อมูลให้กับ Server

          -      ตั้งค่าระบบรักษาความปลอดภัย และระบบ Network ได้ง่ายขึ้น


หนึ่งในผู้พัฒนากล่าวว่า “OpenStack พิเศษตรงที่ผู้ใช้สามารถควบคุมและ Scale ระบบ Compute ที่แตกต่างกันได้ รวมทั้งจัดการกับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและ Networking ได้ผ่านทาง Open API” ถือว่าเป็นเรื่องดีสำหรับ OpenStack Developer และไม่มีอะไรเหมาะสมกับ Cloud Application ได้เท่ากับ OpenStack อีกแล้ว โดยเฉพาะกับ Application ที่ถูกออกแบบมาให้รันบน Cloud Node ที่มีการเรียกใช้ Ephemeral Storage และ Database ที่สามารถ Scale แบบ Horizontal ได้ เช่น mongoDB เป็นต้น ซึ่ง Application ส่วนใหญ่ใน Data Center ไม่ได้ถูกออกแบบมาเช่นนี้ โดยมากแล้วจะรันบน Bare Metal หรือ Virtual Machine ที่ Scale ข้อมูลแบบ Vertical ด้วยการเพิ่มจำนวน Physical Resource เช่นพวก Exchange Oracle หรือ WebSphere ซึ่งทาง OpenStack.org ได้เห็นความสำคัญของข้อแตกต่างและพบว่าวิธีใช้งานที่ดีที่สุด คือ การรัน OpenStack สำหรับ Application รูปแบบใหม่ที่มี โครงสร้าง Cloud ควบคู่ไปกับการรัน Application แบบดั้งเดิมบน Virtual หรือ Physical Infrastructure


ตอนนี้ OpenStack Community ได้พัฒนา Open Source จากพื้นฐานความสามารถหลักในระบบ Compute Sorage และ Network ทั้งด้านความสามารถการใช้งาน  การจัดการ และความปลอดภัย รวมไปถึงการเพิ่มฟังก์ชั่นการจัดการ Image, Monitoring, Reporting, DBaaS ด้วย แน่นอนว่า OpenStack มีความสามารถหลายอย่างที่ตรงกับคุณสมบัติของ CMP แต่การจัดการบริการ Infrastructure สำหรับ Application แบบเดิมที่รันบนระบบแบบ Physical หรือ Virtualized นั้นยังขาดคุณสมบัติการใช้งาน ความยืดหยุ่น และการควบคุม ที่ตอบโจทย์การให้บริการ Cloud  ซึ่งมีวิธีที่จะมาเติมเต็มในส่วนที่ขาด ดังนี้

        -      หา Project ตัวอื่นของ OpenStack มาเสริม ซึ่งมักจะเป็นโปรเจ็กต์ชั่วคราวที่ผ่าน  

               การทดสอบมาน้อย ทำให้ต้องการบุคลากรที่มีความรู้เรื่อง OpenStack เพื่อติดตั้ง   

               บำรุงรักษา

        -      ลงทุนกับ Cloud Management Platform ของผู้ให้บริการรายอื่นที่รองรับการใช้งาน  

OpenStack


CMP จากผู้ให้บริการมีความสามารถเติมเต็มในส่วนที่ OpenStack ขาด ในขณะเดียวกันก็มีบริการซัพพอร์ต ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการใช้ซอฟต์แวร์แบบ Open Source ด้วย ดังนั้นในการเลือกผู้ให้บริการจึงควรตรวจสอบสภาพแวดล้อม ทรัพยากร และประเมินการใช้งานเทคโนโลยีรุ่นเก่ากับเทคโนโลยี Cloud ของตนตามความเป็นจริง และนำมาเปรียบเทียบกับความสามารถของตัวองค์กร ว่าจะเปลี่ยนไปใช้ Cloud ได้หรือไม่ หลายครั้งมีองค์กรออกมาประกาศว่าจะทำให้ทุกอย่างจะขึ้นไปอยู่บน Cloud ทั้งหมด แต่กลับล้มเหลวเพราะสู้ค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้าง Application ไม่ไหว ถึงอย่างนั้นความต้องการที่จะมีสภาพแวดล้อมการใช้งานทั้ง Cloud และ Virtualized Application ร่วมกับการจัดการบริการ IT ที่เปลี่ยนไป ตลอดจนการควบคุมทรัพยากรทั้ง Physical และ Virtual ก็ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ


           คำถามที่ว่า OpenStack คือตัวเลือกที่ใช่สำหรับระบบ Cloud หรือเปล่า? และเหมาะสมกับการใช้งานแบบไหน? ยังคงขึ้นอยู่กับแผนการจัดการ Workload และแผนการใช้งาน Cloud ของแต่ละองค์กร ซึ่ง OpenStack เป็นอุปกรณ์ที่ดีสำหรับการบริหารจัดการ Cloud Infrastructure และ  Application ที่ถูกพัฒนามาสำหรับ Cloud โดยเฉพาะ แต่อาจจะยังไม่ตอบโจทย์ในสภาพแวดล้อมที่มี Workload หลายรูปแบบ หรือมีการทำงานร่วมกันระหว่างเทคโนโลยี Cloud และส่วนที่ไม่ใช่ Cloud


สุดท้ายแม้ว่าจะสามารถดาวน์โหลด OpenStack ฟรีจาก GitHub แต่ควรมองถึงด้านอื่นๆในการใช้งาน Cloud มากกว่า เช่น ทักษะในการจัดการ Cloud ได้มายังไง? การอัพเดตและ Administer ระบบ Cloud ยากแค่ไหน? ถ้ามีปัญหาขึ้นมาจะเรียกหาใครได้บ้าง? ซึ่งบ่อยครั้งที่มีการปรับเปลี่ยนระบบตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีแต่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบใดๆ เลย




Create Date : 03 พฤศจิกายน 2560
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2560 17:50:22 น.
Counter : 554 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3872753
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤศจิกายน 2560

 
 
 
1
4
5
9
10
11
12
18
19
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog