Cloud Bursting ยากเกินใช้งานจริงหรือ?


Cloud Bursting ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถนำ Public Cloud จัดการกับยอดความต้องการทรัพยากรที่สูงขึ้นอย่างกะทันหันได้ แต่ความท้าทายและปัญหาที่ตามมาของมันมีอะไรบ้าง?

Cloud Bursting คือ กระบวนการการถ่ายเท Workload ไปมาระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ Workload นั้นๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าเกิดมี Traffic ไปยัง Website หนึ่งเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องเพิ่มจำนวน Server ใน Cluster หรือในกรณีที่รัน Load ขนาดใหญ่บน Service อะไรสักอย่าง แล้วจำเป็นต้องสร้าง Instance เพิ่ม ก็สามารถนำสถาปัตยกรรมแบบ Cloud Bursting มาใช้ให้ Workload สำเร็จลุล่วงไปได้ ซึ่ง Private Cloud ก็สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้เหมือนกัน ตราบใดที่มี Hardware อย่างเพียงพอในการรองรับ VM ที่เพิ่มเข้ามา แต่เมื่อใดก็ตามที่ Infrastructure ใน Private Cloud หมดลง สถาปัตยกรรมแบบ Cloud Bursting จะช่วยให้สลับไปใช้ Public Cloud เพื่อดึงเอาทรัพยากรมาใช้เพิ่มเติมได้ตามต้องการ

ถึงแม้ว่า Cloud Bursting  จะเป็นทีเด็ดของ Hybrid Cloud แต่มันก็นำมาใช้งานจริงได้ยาก ดังนั้นจึงควรพิจารณาให้ดีว่า Cloud Bursting มีความจำเป็นมากแค่ไหน คุ้มค่ากับปัญหาและความท้ายทายที่จะตามมาหรือไม่

สถาปัตยกรรม Cloud Bursting นำมาซึ่งความท้าทายรูปแบบใหม่ทาง IT

ความท้าทายอย่างหนึ่งที่ต้องเจอเมื่อใช้งานสถาปัตยกรรมแบบ Cloud Bursting คือ Private Cloud และ Public Cloud อาจรันอยู่บนคนละ Cloud Platform กัน จำเป็นจะต้องมั่นใจว่า Configuration Script ที่ใช้จะสามารถทำงานได้ดีในทั้ง Private Cloud และ Public Cloud อาจจะต้องมี Configuration Script ชุดหนึ่งสำหรับ OpenStack-based Private Cloud และอีกชุดสำหรับ AWS อย่างไรก็ตามมันมีวิธีที่จะเลี่ยงการมี Configuration Script ถึง 2 ชุด คือ ใช้ Service ที่ครอบคลุมรายละเอียดการทำงานของ Cloud เช่น อาจจะใช้ RightScale Cloud Management Service สำหรับจัดการ Process อย่างการสร้าง Virtual Server เป็นต้น หรืออาจจะทำ Hardware-Based Load-Balancing ระหว่าง Cloud ร่วมกับผลิตภัณฑ์อย่าง F5 BIG-IP Local Traffic Manager เป็นต้น

และเมื่อใช้งานสถาปัตยกรรมแบบ Cloud Bursting แล้ว ก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบของการรัน Service เดียวบนหลายๆ Cloud ซึ่งปัญหาอย่าง Network Latency ย่อมเกิดขึ้นได้แน่นอน นอกเสียจากว่าจะมีการ Host ระบบ Private Cloud เอาไว้ใน Data Center เดียวกันกับ Public Cloud ที่ใช้ในการ Bursting ทั้งยังต้องระวังเรื่องค่าใช้จ่ายการโอนถ่ายข้อมูลขนาดใหญ่จาก Public Cloud ไปยัง Private Cloud แล้วไหนจะเรื่องที่อยู่ของข้อมูลที่ Cloud Service ต้องการ

นอกจากนี้คำถามที่ต้องนำมาขบคิดให้ดีก่อนใช้งานสถาปัตยกรรมแบบ Cloud Bursting ก็คือ

  • ข้อมูลที่คัดลอกเอาไว้สามารถใช้งานใน Cloud ทั้งสองแบบได้หรือไม่?

  • จำเป็นต้องคัดลอกข้อมูลระหว่างขั้นตอนการ Bursting เพื่อให้ Public Cloud มีข้อมูลที่อัพเดทใหม่ที่สุดหรือไม่?

  • มีข้อจำกัดของการจัดการข้อมูลหรือไม่ อย่างไร?

  • การมีข้อมูลที่คัดลอกมาเป็นจำนวนมากจะทำให้เกิดความไม่สอดคล้องในการทำงานหรือไม่ ถ้าหากว่าข้อมูลจากทั้งสองฝั่งถูกอัพเดทระหว่างการ Bursting

ต่อให้มีข้อดีมากมาย การใช้งาน Cloud Bursting ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งนี้เราอาจหาวิธีอื่นมาจัดการ Workload แทน เช่น การใช้ Public Cloud เพื่อ Host Service ที่มักจะมีความต้องการทรัพยากรสูงเกินกว่าจะสามารถจัดการใน Private Cloud ได้




Create Date : 10 มกราคม 2561
Last Update : 10 มกราคม 2561 15:27:35 น.
Counter : 694 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3872753
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มกราคม 2561

 
1
2
3
5
6
7
12
13
14
15
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
31
 
 
All Blog