<<
กันยายน 2556
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
3 กันยายน 2556

Review : Samsung Pocket Neo จิ๋วแต่แจ๋ว



เรือธงหลายลำก็แล่นออกไปแล้วสำหรับซัมซุงค่ายมือถือที่มาแรงแซงทางโค้งจนได้ชื่อว่าเป็นเบอร์หนึ่งของเครื่องสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ที่ผู้บริโภคเลือกใช้ แต่กระนั้นตลาดล่างที่ซัมซุงไม่เคยลืมนับตั้งแต่ออกรุ่น Hero ในราคาไม่กี่ร้อยบาทเพื่อเจาะตลาดล่างโดยเฉพาะ ก็เป็นสิ่งที่ตอกย้ำความมุ่งมั่นการทำตลาดในทุกเซกเมนต์ของซัมซุงได้เป็นอย่างดี และครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน Samsung Pocket Neo ด้วยราคาประมาณ 3 พันต้นๆแต่สามารถใช้งาน 3G ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แน่นอนว่ารุ่นนี้ราคาต่ำกว่า Samsung Galaxy Young ซึ่งเป็นตำนานความสำเร็จของรุ่นเล็กอยู่เพียงไม่กี่ร้อยบาท อาจจะคาบเกี่ยวผู้บริโภคกันอยู่บ้าง แต่ในตลาดล่างแล้วระดับราคาเพียงแค่ไม่กี่ร้อยบาทก็มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแบบพลิกหน้ามือได้เช่นกัน

การออกแบบและสเปก



       Samsung Pocket Neo แม้ว่าจะใช้วัสดุพลาสติกเป็นส่วนประกอบหลัก แต่กระนั้นก็ยังเลือกใช้สีโทนโครเมียมเพื่อเพิ่มความหรูหราในส่วนของการออกแบบ ด้วยรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบโค้งมน ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนก็คงเรียกกันว่าทรง Candy Bar ขนาด 105 x 57.8 x 11.8 มิลลิเมตร น้ำหนัก 100.2 กรัม ด้านหลังมีความโค้งแบบหลังเต่า ช่วยให้การหยิบจับถนัดมือขึ้นมาก โดยรวมของงานประกอบดูดีเกินราคา แถมไม่ลืมเรื่องของฟีเจอร์ที่อัดแน่นมาทั้งเรื่องระบบนำทางแบบ GPS และการเล่นสนุกบนโลกโซเชียลมีเดีย ซึ่งถือว่าครบครันแม้ว่าจะตัวเล็กและสเปกต่ำตามราคาที่ขาย



ด้านหน้า - หากมองหน้าตรงจะเห็นว่ามีความโค้งมนของขอบทั้ง 4 ด้านอยู่พอสมควร ด้านบนสุดมีลำโพงเสียงสนทนาวางอยู่เหนือโลโก้ซัมซุง ถัดลงมาเป็นหน้าจอขนาด 3 นิ้ว ความละเอียด 240 x 320 พิกเซล ความชัดระดับ QVGA โดยหากถามถึงยุคปัจจุบันถือว่าเป็นขนาดหน้าจอที่ตกรุ่นแล้วแน่นอน แต่เมื่อมองที่ราคาก็ถือว่าสมเหตุสมผล ถัดลงมาด้านล่างตรงกลางเป็นปุ่มโฮมที่มีไฟสีปุ่มแบบสีฟ้าช่วยให้เห็นตำแหน่งกดได้ง่ายขึ้นเมื่ออยู่ในที่มืด ขณะที่ด้านซ้ายเป็นปุ่มเมนูและด้านขวาเป็นปุ่มย้อนกลับตามมาตรฐานเครื่องซัมซุงแทบทุกรุ่นในปัจจุบัน



ด้านหลัง - เป็นแบบฝาหลังเปิดได้ผลิตจากพลาสติก ด้านบนซ้ายจะเห็นกล้องขนาด 2 ล้านพิกเซล ถัดไปจะเป็นช่องลำโพงขนาดเล็กช่วยถ่ายทอดพลังเสียงจากด้านหลัง แต่อาจจะไม่ดีเทียบเท่ารุ่นใหญ่หลายๆรุ่นแต่ก็ถือว่าครบที่มีลำโพงให้ทั้งหน้า-หลัง ถัดลงมาตรงกลางมีโลโก้ซัมซุงมองเห็นอย่างชัดเจน



ด้านซ้าย - ลมีเพียงปุ่มเพิ่ม-ลดเสียงเท่านั้น ถือว่าเข้ากันดีกับด้านข้างแบบสีโครเมียม ทำให้มองแล้วดูทนทานและสวยงามขึ้นมาอีกแบบ แต่แน่นอนว่าความเงาของวัสดุก็ทำให้เกิดลอยนิ้วมือได้ง่ายเช่นกัน



ด้านบน - มีช่องสำหรับเปิดฝาหลังอยู่ตรงกลาง พร้อมช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 ม.ม. ช่วยเพิ่มอรรถรสและเป็นเสาอากาศในการฟังวิทยุจากเครื่องด้วย



ด้านล่าง - มีเพียงช่องต่อแบบหัว Micro USB สำหรับต่อสายชาร์จและสาย Data Link เท่านั้น



       Samsung Pocket Neo มาพร้อมฮาร์ดแวร์ภายในแบบสมราคา หน่วยประมวลผลแบบคอร์เดียวรุ่น Cortex A9 850MHz ซึ่งอาจจะไม่ใหญ่มากแต่ก็เหมาะสำหรับเครื่องรุ่นเล็กแบบพอดี RAM ขนาด 512 MB หน่วยความจำภายในตัวเครื่องขนาด 4 GB แต่เมื่อลงระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ 4.1 (Jelly Bean) พร้อมแอปพลิเคชันพื้นฐานแล้วจะเหลือพื้นที่ให้ใช้งานได้เพียงแค่ 1.83 GB เท่านั้น โดยสามารถรองรับ Micro SD card สูงสุด 32 GB สำหรับการใช้งาน 3G แบ่งเป็นเครื่องที่รับ 850/2100 MHz และรุ่นที่รับ 900/2100 Mhz ก่อนซื้อควรระบุกับผู้ขายว่าต้องการใช้ 3G กับซิมค่ายไหนเพื่อป้องกันความผิดพลาด รองรับ Wi-Fi มาตรฐาน 802.11 a/b/g/n มีบลูทูธและจีพีเอสสำหรับแอปพลิเคชันนำทางและระบุพิกัดที่อยู่

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ





       Samsung Pocket Neo อาจจะไม่ใช่เครื่องเทพ แต่กับกลุ่มผู้เริ่มต้นใช้ถือว่าเป็นเครื่องที่เหมาะเป็นอย่างมาก Samsung Pocket Neo ยังมาพร้อมอินเตอร์เฟสแบบ Motion UI ที่เพิ่มความสามารถในการควบคุมการเปิด-ปิดเสียงสายเรียกเข้าหรือเสียงเพลงจากโปรแกรมเล่นเพลงในเครื่องด้วยการพลิกคว่ำโทรศัพท์ได้อีกด้วย ถือว่าเป็นลูกเล่นเล็กๆสำหรับเครื่องขนาดจิ๋วที่ถูกใจกรรมการไม่น้อย



       ในส่วนของฟีเจอร์ของ Samsung Pocket Neo ก็ยังมีลูกเล่นในส่วนของการบันทึกเสียงวิทยุเพื่อเก็บไว้ฟังวันหลัง หรืออีกนัยหนึ่งก็อาจจะมีประโยชน์ในการช่วยบันทึกรายการวิทยุเพื่อตอบปัญหาชิงรางวัลจากสถานีวิทยุต่างๆที่จัดกันอยู่ทุกวันได้เช่นกัน



       ในส่วนฟีเจอร์ของการถ่ายภาพของ Samsung Pocket Neo แม้ว่าจะมีขนาดกลองมาให้เพียงแค่ 2 ล้านพิกเซลเท่านั้น แต่ฟังก์ชันการถ่ายทั้งในส่วนของแอฟเฟกต์และส่วนเสริมเพื่อทำให้รูปดูสวยและแตกต่างก็มีมาให้อย่างครบถ้วน โดยสามารถปรับแต่งระหว่างถ่ายหรือจะปรับแต่งภาพหลังจากถ่ายแล้วก็สามารถทำได้อย่างครบถ้วน



       ฟังก์ชันการจับเวลาก็น่าจะเป็นอีกฟังก์ชันที่ตอบโจทย์การใช้งานซึ่งติดตั้งมาให้พร้อมในตัวเครื่องเสร็จสรรพ ประหนึ่งรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายยังต้องใช้นาฬิกาจับเวลาเพื่อวิชาพละศึกษานั่นเอง แน่นอนว่าฟีเจอร์บางส่วนอาจจะไร้ค่าสำหรับบางกลุ่ม แต่สำหรับบางกลุ่มแล้วการมีฟีเจอร์ที่ต้องใช้ไว้ในเครื่องก็ช่วยลดเวลาการค้นหาแอปฯที่ต้องใช้ในบางเวลาได้พอสมควร



       อีกฟีเจอร์ที่อยากนำเสนอคือความสามารถในการนำทาง ด้วยความน่าสนใจของเครื่องที่แม้ว่าจะเป็นเพียงเครื่องเล็กในสายตาผู้ใหญ่ แต่เมื่อลงโปรแกรมแผนที่กูเกิลเข้าไปแล้วก็ทำให้เครื่องเล็กๆเช่นนี้สามารถกลายเป็นเครื่องนำทางในยามคับขับหรือหาจุดหมายปลายทางได้เป็นอย่างดี แน่นอนว่าขนาดของจออาจจะเล็กไปเสียหน่อยสำหรับการมองแผนที่ แต่กระนั้นความเร็วในการตรวจจับสัญญาณเพื่อระบุพิกัดก็ทำได้ไม่แพ้เครื่องราคาแพงๆ เช่นกัน



       การทำเครื่องเล็กไม่กี่พันบาทให้กลายเป็นเครื่องปล่อยสัญญาณไวไฟแบบพกพาได้ เท่านี้ส่วนตัวก็คิดว่าคุ้มแล้ว โดยการทำงานนี้ก็ไม่ต่างจากแอนดรอยด์รุ่นใหญ่ทั่วไป ระดับการใช้งานถือว่าใช้ได้เป็นปกติดี มีบ้างที่ระดับของสัญญาณจะอ่อนเมื่อเดินออกห่างมากเกินไป เนื่องจากขนาดของเครื่องที่เล็กความแรงสัญญาณจึงถูกลดทอนระยะลงเพื่อให้แบตเตอรี่อยู่ได้นานก็เป็นได้



       ในส่วนของคีย์บอร์ดถือว่าใช้งานได้ครบทั้งไทยและอังกฤษ แต่สำหรับคนมือใหญ่ๆอาจจะหงุดหงิดเสียอารมณ์บ้าง เพราะอาจจะพลาดกดผิดบ่อย แต่ก็อย่างที่บอกว่ารุ่นนี้เหมาะสำหรับวัยใส วัยเรียนเท่านั้น คนกลุ่มนี้น่าจะยังนิ้วเล็กๆอยู่แน่นอน และที่สำคัญขนาดที่เล็กและไม่หนักจนเกินไปก็ช่วยให้เครื่องรุ่นนี้น่าจะถูกใจวัยใสก็เป็นได้



       ผลการทดสอบด้วยโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพบนแอนดรอยด์อย่าง Quadrant Standart และ Antutu ได้คะแนน2,194 คะแนน และ 5,045 คะแนน ตามลำดับ หน้าจอรองรับการสัมผัสพร้อมกัน 2 จุด



       ทดสอบการใช้งาน HTML 5 ผ่าน Vellamo ได้ 1,008 คะแนน ส่วนประสิทธิภาพตัวเครื่องได้ 296 คะแนน ทดสอบกราฟิกผ่าน Nenamark1 ได้ 49.4 fps Nenamark2 33.8 fps ซึ่งถือว่าเป็นคะแนนที่ต่ำอยู่พอสมควร ซึ่งอาจจะส่งผลให้การใช้งานไม่ลื่นไหลเท่าที่ควร



       ส่วนการทดสอบ CF-Bench ดูรายละเอียดได้จากรูปด้านล่าง



จุดขาย
       - ราคาถูกเมื่อเทียบกับความสามารถของเครื่องพร้อมยี่ห้อที่ยังขายได้สำหรับคำว่า “ซัมซุง”
       - ขนาดเครื่องเล็กกะทัดรัด ออกแบบได้น่ารักพอดีมือ
       - มีลูกเล่นของ Motion UI ช่วยให้เครื่องดูมีอะไรน่าสนใจสำหรับเด็ก
       - แม้ว่าราคาจะถูกแต่ก็ยังรองรับ 3G ได้ ตามกระแสไม่ตกเทรนด์

ข้อสังเกต/ตอบจุดขายหรือไม่

       - การติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมทำได้ไม่มากนัก เพราะถ้าลงแอปฯเยอะจะเจอความจำเต็มตลอด
       - อาการหน่วงและกระตุกหากเปิดเกมเล่นมีให้เห็นบ่อยครั้ง ถือว่ายังทำได้ไม่ดี
       - การตอบสนองการสัมผัสของมือยังไม่ลื่นไหล มีอาการหน่วงให้เห็นอย่างชัดเจน

ฟันธง! ความคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่เสียไป

       เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นใช้งานสมาร์ทโฟนเป็นเครื่องแรก แนะนำว่าอายุไม่ควรเกิน 20 ปี เนื่องจากขนาดร่างกายจะใหญ่เกินหน้าจอสัมผัส แต่กระนั้นก็แอบเห็นผู้ที่ใช้งานบางท่านไม่สนใจการกดที่ผิดพลาดและต้องแก้ไขคำผิดตลอดเวลา ซึ่งก็อาจจะสร้างอาการหงุดหงิดอยู่บ้างหากทนใช้

       สำหรับเด็กที่แนะนำ โดยรวมทั้งฟีเจอร์และความสามารถของเครื่องถือว่าทำออกมารองรับการใช้ชีวิตประจำวันได้หลากหลายแง่มุม แน่นอนว่าอาจจะไม่เหมาะกับทุกรูปแบบชีวิต แต่การมีเครื่องคิดเลข ฟังวิทยุ นาฬิกาจับเวลา Wi-Fi Hotspot ระบบแผนที่นำทาง กล้องเล็ก เครื่องอัดเสียง หรือแม้กระทั่งการนำโลกโซเชียลมีเดียมาไว้ด้วยความเร็วแบบ 3G ก็ถือว่าตอบโจทย์เด็กกลุ่มนี้ได้ดีอย่างแน่นอน

       ยืนยันว่าด้วยราคาและความสามารถเช่นนี้ เหมาะที่จะหาให้เด็ก บุตร หลาน หรือแม้กระทั่งผู้ที่ไม่ต้องการใช้งานสมาร์ทโฟนแบบไม่เรื่องเยอะหรือมีอะไรให้เลือกใช้มากมายเกินไป และที่สำคัญไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอะไรให้เก็บเยอะแยะเนื่องจากเครื่องไม่รองรับความเยอะนั่นเอง


    ที่มา ผู้จัดการออนไลน์




 

Create Date : 03 กันยายน 2556
0 comments
Last Update : 3 กันยายน 2556 23:23:12 น.
Counter : 1617 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


hutza
Location :
อุบลราชธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




[Add hutza's blog to your web]