Dr.Danai @ DNT Consultants
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2549
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
9 พฤษภาคม 2549
 
All Blogs
 
ไชน่าทาวน์ : ผลิตภัณฑ์และช่องทางจำหน่ายระดับโลก

ประเทศไทยกำลังจะมีการปรับเปลี่ยนไปสู่ทิศทางที่มีความหวังมากขึ้นแม้จะไม่มากนัก หากเราได้ผู้นำประเทศที่มีคุณธรรมหรือจริยธรรมที่เพียงพอ อย่างไรก็ตามผู้เขียนยังเห็นว่า ถ้ามองด้านธุรกิจและที่จะออกไปแข่งขันในเวทีโลกแม้จะมีที่ว่างให้เราปักหลักยืนได้ แต่ก็ไม่มั่งคงเพียงพอและยิ่งในอนาคตข้างหน้าด้วยแล้วยิ่งน่ากลัวกว่าปัจจุบันเป็นร้อยพันเท่าก็ว่าได้
เราคงได้ยินหรือเห็นถึงกลุ่มประเทศ 2 กลุ่มที่มีพัฒนาการที่รวดเร็วและเข้าสู่ตลาดโลกคือ BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดียและจีน) กับกลุ่ม NON-BRIC คือ ประเทศเกิดใหม่หรือเติบโตเร็วเช่น เกาหลีใต้ ตุรกี อัฟริกาใต้ โปแลนด์ อียิปต์และเวียตนาม ฯลฯ อย่าถามนะครับว่ามีประเทศเราไหม ในตลาดโลกยังไม่นับเราอยู่ในกลุ่ม 2 กลุ่มนี้หรอกครับ
การขยายอิทธิพลของจีน หรืออาจจะเรียกว่า “Global China Networks” ลำพังเพียงแค่ได้ยินได้ฟังก็รู้สึกว่าคงไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าออกไปตลาดโลกแล้วต้องตะลึงเลยทีเดียว!



คำว่า ไชน่าทาวน์ (China Town) ดูจะเป็นอะไรที่ทุกคนในโลกนี้เข้าใจดี อาทิ
-เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของคนจีนในต่างแดน ไม่ว่าจะเป็นเมืองไทยในย่านถนนเยาวราช ที่สิงคโปร์ ที่ออสเตรเลีย เช่น บริสเบน, ซิดนีย์ ที่สหรัฐอเมริกาใจกลางเมืองซานฟรานซิสโกและอีกหลายๆ เมือง ที่เราจะไปที่ไหนต้องเจอไชน่าทาวน์อย่างแน่นอน
-ต้องมีสินค้าราคาถูกที่ทำจากเมืองจีนและมีสารพัดชนิดแบบถูกสุดๆ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการก๊อปปี้อย่างเหมือนของจริง จริงๆ ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องการของนักช็อปทั่วโลก ยิ่งนักช็อปชาวเอเชียด้วยกันแล้วล่ะจัดได้ถูกใจแบบโป๊ะเชะเลย!
-ต้องมีศูนย์อาหารหรือ Food Court หรือตลาดของสดที่คนเอเชียหรือคนท้องถิ่นหรือชาวตะวันตกที่หลงใหลอาหารเอเซีย อยากลิ้มลองหรือต่างบ้านต่างเมืองมาก็จะถูกปากถูกคอดีกว่าอาหารฝรั่ง ยิ่งบรรดาพวกที่ชอบทำอาหารกินกันชอบไปที่ไชน่าทาวน์รับรองไม่มีผิดหวัง

 ทำไมผู้เขียนจึงบอกว่า “ไชน่าทาวน์” คือ ผลิตภัณฑ์ระดับโลก
ต้องยอมรับกันว่าในช่วงก่อนศตวรรษที่ 21 อิทธิพลทางการค้าของโลกถูกกระแสจีนทะลักออกมากระหน่ำตลาดโลก
 มีตัวอย่างของประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ออสเตรเลีย ที่เคยมีการปกป้องและ
คุ้มครองสินค้าในบ้านตนเอง ยังต้องยอมเปิดประเทศเพราะกระแสการค้าเสรี
 ประเทศผู้ผลิตสินค้าแบรนด์เนมชั้นนำของโลกต่างหันทิศทางไปหา OEM
(โรงงานผู้ผลิต) จากประเทศจีน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสินค้าชั้นนำทั้งรองเท้า เสื้อผ้า กระเป๋าถือ อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ รถยนต์ ฯลฯ ต่างก็ผลิตจากประเทศจีนหรือกลุ่ม Non-BRIC เป็นส่วนมาก

 การจับมือเพื่อตกลงการค้าแบบทวิภาคีหรือ FTA (Free Trade Agreement)
เช่นที่ประเทศไทยทำอยู่โดยรัฐบาลและกลุ่มทุนที่ได้ประโยชน์เฉพาะบางธุรกิจอาจไม่ได้ช่วยให้คนชั้นกลางซึ่งต้องเลี้ยงดูคนทั้งประเทศได้ประโยชน์อะไรเลยกลับต้องซื้อสินค้าราคาแพงและเสียค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคที่สูงกว่าประเทศพัฒนาแล้ว
เช่น กรณีน้ำมัน จะเห็นว่าราคาน้ำมันบ้านเรา ราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 26 บาทกว่าๆ ต่อลิตร เบนซินอยู่ที่ 28 บาทกว่าๆ หรือเกือบจะ 30 บาท ขณะที่ออสเตรเลียน้ำมันเบนซินอยู่ที่ลิตรละประมาณ 1.18-1.30 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (1 AUD=28 บาท) คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 36 บาทต่อลิตร แต่ค่าครองชีพเขาแพงกว่าเรา 28 เท่า
หรือกรณีน้ำอัดลม เช่น เป๊ปซี่ หรือโค้ก กระป๋องละ 1.80 ดอลลาร์ออสเตรเลียก็เท่ากับกระป็องละ 50 บาทโดยที่บ้านเรากระป๋องละประมาณ 10-13 บาทถูกกว่าประมาณ 4.5 เท่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องเพราะค่าครองชีพของเราถูกกว่า
ดังนั้น ชัดเจนเลยครับคนไทยเราเสียค่าน้ำมันแพงกว่าประเทศพัฒนาแล้ว เพราะเมื่อใดก็ตามที่บริษัทหรือองค์กรรัฐแปรรูปรัฐวิสาหกิจ หรือเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สินค้าหรือบริการจะแพงหมด แต่คนที่ได้ประโยชน์คือผู้ถือหุ้น (ทั้งถือโดยราคาถูกและโดยการอุปการคุณ) คนชั้นกลางก็รับกรรมต่อไป
กลับมาที่ “ไชน่าทาวน์” ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นผลิตภัณฑ์ระดับโลกตามที่ยก-ตัวอย่างมากแล้วข้างต้น
“A China Town is a Global Product” และก็เป็นแบรนด์ระดับโลก (Global Brand) ที่น่าจับตาเป็นพิเศษ


ประการแรก เมื่อกลุ่มคนจีนสามารถตั้งไชน่าทาวน์ในย่านธุรกิจการค้าของเมืองระดับโลกหรือ “Global City” ได้ สิ่งที่เป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นตามทันที
• มีการนำสินค้าจากจีนแผ่นดินใหญ่ส่งเข้ามาขายตามไชน่าทาวน์ที่มีอยู่
ทั่วทุกมุมโลกในทุกประเทศ
• สามารถที่จะนำคน/ส่งคนในชาติโดยเฉพาะลูกหลาน ญาติพี่น้องเข้ามา
ช่วยทำการค้าหรือขยายธุรกิจให้เจริญเติบโตก้าวหน้าได้มากยิ่งขึ้น
• การที่คนรุ่นใหม่ชาวจีนอาศัยช่องทางการค้าผ่านไชน่าทาวน์ ทำให้คน
จีนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้พฤติกรรม วัฒนธรรมและความต้องการของผู้บริโภคทั่วทุกมุมโลก ทำให้การผลิตสินค้าในประเทศจีนสามารถประหยัดด้วยขนาดและแทบจะไม่มีสินค้าอะไรที่ขายไม่ได้และไม่จำเป็นต้องมีสต็อคสินค้าจำนวนมาก
ประการต่อมา การพัฒนาสินค้าแบบ OTOP เพื่อส่งออกไปเจาะตลาดโลกหรือที่ภาษาธุรกิจเรียกกันว่า “Business Matching” โดยผ่านทาช่องทางการแสดงสินค้าหรือเทรดโชว์แบบที่ประเทศไทยกำลังบูมและคิดจะสร้างงานแสดงสินค้าไทยให้เป็น Destination ของการซื้อในระดับโลก อาจจะเป็นกลยุทธที่ถูกต้องแต่จะไม่รวดเร็วเท่ากับผ่านช่องทางจำหน่าย “ไชน่าทาวน์”
เมื่อใดก็ตามที่สินค้าที่จำหน่ายในไชน่าทาวน์ สามารถขยับขึ้นเป็นแบรนด์ที่ชาว
โลกรู้จัก การทำตลาดหรือผ่านทาง “เทรดโชว์” (Trade Show) หรือ “เทรดแฟร์” จะทำตลาดได้ง่ายกว่าเพราะผู้ซื้อระดับโลกได้รู้จักสินค้าเหล่านั้นมาก่อนแล้วทางไชน่าทาวน์ ขณะเดียวกันก็ราคาถูกมากกว่า ผู้ผลิตที่ยังไม่สามารถประหยัดด้วยขนาดได้
ประการสุดท้าย กว่าเราจะรู้เท่าทันกลยุทธการเจาะตลาดโลกของชาวจีน ก็แทบจะไม่มีพื้นที่การค้าในโลกให้เราเข้าไปแข่งได้ เพราะลำพังการสร้างชุมชนการค้าแบบ “ไทยทาวน์” ในเมืองระดับโลกยังมีไม่มากหรือแทบไม่เคยได้ยิน จะเห็นมีก็เพียงร้านค้าคนไทยแฝงหรือผสมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในไชน่าทาวน์
สิ่งนี้ถือเป็น กลยุทธในการเข้าตลาดโลก (Mode of Entry) ที่ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งทำไม่ได้แต่ต้องทำเป็นคลัสเตอร์ธุรกิจ
ผู้เขียนอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียในช่วงฤดูร้อน จึงได้เห็นถึงเครือข่ายการค้าและรูปแบบการเจาะตลาดโลกของธุรกิจชาวจีนที่นั่น แล้วก็ทั้งชื่นชมและน่ากลัวจริงๆ เมื่อมองกลับมาที่ธุรกิจของประเทศไทยเราครับ


อ.ดนัย เทียนพุฒ
Aj.Danai Thieanphut
DNT Consultants



Create Date : 09 พฤษภาคม 2549
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2549 21:44:15 น. 0 comments
Counter : 854 Pageviews.

dnt
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ
( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced
Scorecard & KPIs)
การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ
(Competency Based Approach)
การพัฒนา HRD-KM และ
การจัดการสมัยใหม่
*************************
Friends' blogs
[Add dnt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.