รกคน ดีกว่ารกหญ้า รกคนไม่เข้าท่า รกหญ้าดีกว่ารกคน
Group Blog
 
 
มิถุนายน 2556
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
28 มิถุนายน 2556
 
All Blogs
 
โรคลมแดด Heat stroke หรือ Hypertermia ...

ความจริงแล้ว..เรื่องของความร้อน ดูไม่น่าจะมีผลอะไรกับการดำน้ำเลย แต่ที่ไหนได้ บางครั้ง.. ถ้าเราปล่อยให้ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป อาจทำให้เกิดอันตรายได้เลยนะ..

เราลองมาดูสาเหตุว่าจากอะไร อันตรายยังไง และวิธีการรักษาทำยังไงกันดีกว่า.. :-


ทุกวันนี้อากาศร้อนจัดมากขึ้นทุกวัน
โดยเฉพาะบ้านเรา ทั้งร้อนและแดดจัด
จนมีคำพูดว่า บ้านเรามีอยุ่แค่ 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน กับฤดูร้อนชิ..หาย
มีโรคที่มากับอากาศร้อนที่ควรระมัดระวัง ซึ่งเราอาจจะนึกไม่ถึงและมองข้ามไป




โรคลมแดด หรือที่การแพทย์เรียกว่า ฮีต สโตรก (Heat stroke)
เป็นภาวะวิกฤตของร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมความร้อนได้

โรคลมแดดเกิดจากการได้รับความร้อนมากเกิน
ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลัง หรือเล่นกีฬาในภาวะอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน

อาจเกิดขึ้นได้แม้ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง
เป็นความผิดปกติที่รุนแรงมากที่สุด ทำให้สมองไม่ทำงาน
ไม่สามารถควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ
เช่น ระบบประสาทส่วนกลาง การทำงานของตับและไต
รวมทั้งสูญเสียความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย
ทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นผิดปกติเกิน 40 องศาเซลเซียส
ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องให้การรักษาอย่างรีบด่วน
เนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิต 17-70 เปอร์เซ็นต์

อาการสำคัญ ได้แก่ ตัวร้อนจัด เพ้อ หรือหมดสติ
ชีพจรเต้นเร็ว ความดันเลือดลดลง ช็อก ผิวหนังแห้งและร้อน
ระดับความรู้สึกตัวลดลง การทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว
กระสับกระส่าย เอะอะ ก้าวร้าว หมดสติ เกร็ง ชัก
โดยกลไกการทำงานของร่างกายหลังจากที่ได้รับความร้อน
จะมีการปรับตัวโดยส่งน้ำหรือเลือดไปเลี้ยงอวัยวะภายใน
เช่น สมอง ตับ และกล้ามเนื้อ เป็นต้น
ทำให้ผิวหนังขาดเลือดและน้ำไปหล่อเลี้ยง
จึงไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้
ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ

สัญญาณสำคัญของโรคนี้คือ
ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ที่เป็นจะกระหายน้ำมาก ปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน คลื่นไส้
หายใจเร็ว อาเจียน ต่างจากการเพลียแดด
หรือเป็นลมแดดทั่วไปที่จะพบมีเหงื่อออกด้วย
เมื่อเกิดอาการดังกล่าวจะต้องหยุดพักทันที
ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาทันท่วงที จะทำให้เสียชีวิตได้




ในการช่วยเหลือผู้ที่มีอาการเป็นลมแดด
ให้นำผู้ที่มีอาการเข้าร่ม นอนราบ ยกเท้าสูง
เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ถอดเสื้อผ้าออก
ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้
เชิงกราน ศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมช่วยเป่าระบายความร้อน
หรือเทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำลงโดยเร็วที่สุด
และรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุด
ในรายที่อาการยังไม่มากควรให้ดื่มน้ำเปล่าธรรมดามากๆ



สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอันตรายจากอากาศร้อนจัด ได้แก่
การขาดการปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศร้อน
ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงร่างกายขาดน้ำได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ
เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว
ผู้ที่มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง
ที่ต้องกินยาควบคุมความดัน เช่น ยาขับปัสสาวะ
ซึ่งมีผลขับสารโซเดียมออกจากร่างกาย
ทำให้มีโอกาสเกิดความผิดปกติของระดับเกลือแร่ได้เร็วกว่าผู้อื่น
รวมทั้งผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือผู้ที่อดนอน
เนื่องจากจะทำให้ร่างกายตอบสนองต่อความร้อนที่ได้รับช้ากว่าปกติ
ส่วนผู้ที่ดื่มสุราหรือเบียร์ ร่างกายจะมีโอกาสสูญเสียน้ำ
และเกลือแร่สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่ม เพื่อขับแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย

นอกจากนี้เกิดอันตรายได้ในคนอ้วน เนื่องจากมีไขมันที่ผิวหนังมาก
ซึ่งทำหน้าที่คล้ายฉนวนกันความร้อน
ทำให้คนอ้วนสามารถเก็บความร้อนได้ดี
ขณะที่การระบายความร้อนออกทำได้น้อยกว่าคนทั่วๆ ไป
นอกจากนี้บริเวณผิวหนังที่มีไขมันมากมักมีต่อมเหงื่อน้อยลงด้วย
ดังนั้น คนอ้วนจึงมีโอกาสเกิดปัญหาได้ง่าย


...
การปรับสภาพร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายในช่วงที่มีอากาศร้อน
ที่สำคัญที่สุดคือ ประชาชนจะต้องต้องดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
โดยปกติควรดื่มน้ำให้ได้ 2 ลิตรต่อวัน
หากทำงานในที่ร่มควรดื่มอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
ผู้ที่ดื่มน้ำไม่เพียงพอ จะไม่สามารถปรับตัวให้สู้กับอากาศร้อนได้
เพราะน้ำเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
โดยปกติร่างกายจะพยายามปรับอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส
ในการสังเกตว่าร่างกายได้รับน้ำเหมาะสมหรือไม่
ให้สังเกตจากสีของปัสสาวะ ถ้าสีเหลืองจางๆ แสดงว่าได้รับน้ำเพียงพอ
แต่ถ้าปัสสาวะสีเข้มขึ้น และปัสสาวะออกน้อย แสดงว่าได้รับน้ำไม่เพียงพอ
ส่วนการออกกำลังกายสามารถกระทำได้ โดยค่อยๆ ออกกำลังกาย
และเพิ่มระยะเวลาการออกกำลังกายขึ้นเรื่อยๆ

ในต่างประเทศเช่นสหรัฐมีรายงานข่าวการเสียชีวิตเนื่องจากโรคนี้ปีละ
ประมาณ 371 ราย  สำหรับในบ้านเราอาจจะพูดถึงกันน้อยมาก
ทั้งๆที่เชื่อว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ไม่น้อย
แต่ส่วนใหญ่ มักเป็นผู้สุงอายุ ก็จะมองเห็นเป็นการเสียชีวิตเนื่องจากหัวใจวาย
การทำงานของหัวใจล้มเหลวไป

กลไกการควบคุมมีหลายอย่างเช่นหากอุณหภูมิภายนอกเย็นเกินไป
ร่างกายจะปิดกั้นการถ่ายเทความร้อนออกสู่ภายนอกโดยการหดรัดเส้นเลือด
ทำให้ปลายมือปลายเท้าซีด
มีการสร้างความร้อนภายในทดแทนโดยการสั่นของกล้ามเนื้อ
หากความร้อนภายนอกสูงมาก และแผ่รังสีเข้าสู่ร่างกาย
ร่างกายต้องกำจัดออกให้ทันเวลาโดยการสร้างเหงื่อ
และการขยายของเส้นเลือดส่วนปลายเพื่อระบายความร้อน

กลไกเหล่านี้ของร่างกายจะมีขีดจำกัดในการต่อสู้
เมื่อหนาวมากเกินไป หรือร้อนมากเกินไป
กลไกการควบคุมความร้อนของร่างกายก็เสียหาย
ไม่สามารถทำงานได้ตามปรกติ


พ่อแม่ที่ปล่อยลูกไว้ในรถ ลงไปชอปปิ้ง
อาจเปิดเครื่องยนต์เปิดแอร์ไว้ แต่เครื่องเกิดดับขึ้นมา
ชั่วเวลาเพียงไม่นาน อุณหภูมิภายในรถจะสูงขึ้น
หากอุณหภูมิภายนอกสูงเช่นในเวลากลางวัน
ความร้อนจะยิ่งทวีคูณอย่างรวดเร็ว
อุณหภูมิภายในรถอาจสูงขึ้นถึง 5 องศาเซลเซียสภายในเวลา 10 นาทีแรก
ในวันที่อากาศภายนอกประมาณ 32 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิภายในรถสามารถเพิ่มขึ้นถึง 51 องศาเซลเซียส
ได้ภายในเวลาเพียงยี่สิบนาที 
ในเด็กอุณหภูมิภายในร่างกายจะปรับตัวต่อสู้กับสิ่งแวดล้อมได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่
ดังนั้นอุณหภูมิในร่างกายจะสูงเร็วกว่าผู้ใหญ่ถึงเกือบห้าเท่าตัว

ในประเทศสหรัฐมีรายงานการตายลักษณะนี้กว่า 25 รายต่อปี
ทั้งๆที่เป็นเมืองที่ไม่ร้อนเท่าบ้านเรา



ข้อมูลจาก ข่าวสด วันที่ 05 เมษายน พ.ศ. 2550
และบทความของ
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ใน /www.csip.org


---------------------------------------------------------------------------------------------------

อาการแสดงของโรค

1) มีอุณหภูมิกายสูงมากกว่า 41 องศาเซลเซียส(hyperthermia) มีเหงื่อออกมากในกลุ่ม EHS และไม่มีเหงื่อออกใน NEHS สัมพันธ์กับประวัติกิจกรรมในที่อากาศร้อนชื้น ถ่ายเทยาก หรือมีประวัติออกกำลังกาย หรือฝึกหนักก่อนมีอาการมาพบแพทย์

2)อาการ ทางคลินิกสามารถรุนแรงมากขึ้นหากมี ภาวะต่าง ๆเหล่านี้ นำมาก่อน เช่น proceeding viral infection, มีภาวะขาดน้ำ, ร่างกายอ่อนเพลีย, มีโรคอ้วน, ผักผ่อนนอนหลับไม่พอเพียง, ร่างกายไม่ฟิตพอ(poorly physical fitness) มีการปรับตัวกับอากาศร้อนไม่ได้ดี(lack of acclimazation)

3) อาการทางระบบประสาท ตั้งแต่กระสับกระส่าย, delusion, มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงจากปกติ, หูแว่วเห็นภาพหลอน(hallucination), ชักเกร็ง และโคมา อาการโคมา อาจมีผลจากการผันผวนของสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย, ภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ, ภาวะ hepatic encephalopathy, มีเลือดออกในสมอง จากการบาดเจ็บที่ศีรษะ และอื่น ๆ จนถึงอาการทางสมองบวมจนถึงมีการเคลื่อนตัวของสมองมากดแกนสมอง เป็นต้น

4) อาการที่พบในระบบอื่น ๆ จะช่วยทำให้เรานึกถึงโรคหรือภาวะนี้มากขึ้น

4.1) ด้านสัญญาณชีพ พบ อุณหภูมิกายสูง เหงื่อออก(หรือ ไม่มีหงื่อออก ในกลุ่ม NEHS) ชีพจรเร็ว ความดันปกติหรือสูง ในช่วงต้นโดยมักมี wide pulse pressure(Systolic Blood Pressure-Diastolic Blood Pressure > 40 mmHg) จากการมี peripheral vasodilatation ของหลอดเลือดฝอยส่วนปลาย

4.2) อาจพบการเคลื่อนไหวผิดปกติแบบ nystagmus ของตา หรือแบบ occulogyric เหลือกไปด้านใดด้านหนึ่ง ม่านตาสามารถขยาย,หด, หรือในสภาพปกติก็ได้ (fixed, dilated, pinpoint or normal pupils)

4.3) ระบบไหลเวียนโลหิต สามารถทำให้เกิด myocardial dysfunction หัวใจจะอยู่ในภาวะ hyperdynamic state , ชีพจรเต้นเร็ว มี high cardiac output index ซึ่งบางครั้งอาจพบว่าความดันโลหิตต่ำ จาก peripheral vasodilatation หรือจาก myocardial dysfunction จนถึงมีอาการหัวใจวาย(High/Low output Heart failure) ได้

4.4) ระบบทางเดินอาหาร มักเกิดภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารร่วมด้วยเสมอ อาจพบอาการตับวายร่วมด้วยได้บ่อย ๆ โดยสามารถดูจากเอ็นไซม์ของตับที่สูงขึ้น ตัวเหลือตาเหลือง เป็นต้น

4.5) ระบบกล้ามเนื้อ จะมีการสลายของกล้มเนื้อ ( rhabdomyolysis) มีอาการเกร็ง กระตุกของกล้ามเนื้อ จนถึงอาการอ่อนแรงก็สามารถเกิดร่วมได้

4.6) ระบบทางเดินปัสสาวะ พบภาวะไตวายเฉียบพลันซึ่งเป็นผลมาจาก myoglobinemia จาก rhabdomyolysis หรือจากภาวะขาดน้ำรุนแรง อาจพบสีปัสสาวะแดงขึ้นคล้ายสีโค๊ก สีชา จนเป็นสีเลือดแดงเก่า ๆ ปนเวลปัสสาวะได้

การรักษา

1)ภาวะ นี้ถือว่าเป็นภาวะเร่งด่วนฉุกเฉินทางการแพทย์ ที่ต้องรีบให้การรักษาโดยทันที ดังนั้นผู้ประสบเหตุจึงเป็นกุญแจสำคัญในการรักษา เพราะถ้านึกถึง สงสัย และให้การช่วยเหลือเบื้องต้น จนถึงส่งโรงพยาบาลอย่างรวดเร็วจะช่วยลดอัตราตายลงได้ถึงร้อยละ 10 ส่วนการวัดไข้ต้องวัดโดยทางทวารหนักจะเที่ยงตรงที่สุดเพราะเป็นตัวสะท้อน core temperature ที่ดี ควรรับผู้ป่วยไว้ติดตามอาการต่าง ๆใน รพ. อย่างน้อย 48 ชม. ในหอผู้ป่วยวิกฤติ(ICU)

2)ลดอุณหภูมิกายลงโดย ค่อย ๆ ลดลงมาที่ 39 องศาเซลเซียสก่อน ยังไม่ต้องรีบลดลงจนเป็นปกติเร็วเกินไป ถอดเสื้อผ้าออก พ่นละอองฝอยของน้ำเป็นสเปรย์ละเอียดหับร่างกายผู้ป่วยคลุมด้วย Water Soak Sheet หรืออาจเอาถุงน้ำแข็งวางบริเวณซอกรักแร้และขาหนีบทั้งสองข้างร่วมไปด้วย

3) ใส่ท่อช่วยหายใจถ้าจำเป็น ให้ออกซิเจนผู้ป่วย

4) เปิดเส้นเลือดดำ ให้สารน้ำทางหลอดเลือดให้พอเพียง แก้ไขภาวะน้ำตาลในหลอดเลือดหากพบว่ามีการต่ำกว่าปกติ

5) หัวใจหรือหลักการรักษา ต้องค่อย ๆลดอุณหภูมิกายลง 0.2 องศาเซลเซียส ต่อนาที จนลงมาที่ 39 องศาสเซลเซียสก็พอเพียง เพราะไม่ต้องการให้ลดเร็วจนเกินไป โดยวิธีการรักษาในห้องฉุกเฉินหรือไอซียูนั้นการใช้ละอองน้ำพ่นใส่ (intermittent spray)โดยใช้ละอองน้ำอุ่น ๆ ร่วมกับเปิดพัดลมเป่า จะช่วยส่งเสริมการระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ดีที่สุด ซึ่งอ้างว่าจะปลอดภัยกว่าวิธีเดิมที่ใช้ Ice-water immersion เช่นจุ่มลงในน้ำผสมน้ำแข็ง เพราะจะทำให้เกิด shivering ,peripheral vasoconstriction ทำให้ความร้อนยิ่งเพิ่มขึ้น ระบายไม่ออกจากร่างกาย

6) การลดความร้อน อื่น ๆ ไม่มีข้อสนับสนุนชัดเจน ทางวิชารว่าดีแต่ยังสามารถทำได้ เช่น การใส่สายเข้าไปในกระเพาะอาหาร(stomach), ช่องท้อง(peritoneal),ทวารหนัก(rectum) แล้วทำการล้างด้วยน้ำเย็น หรือน้ำแข็ง การใช้น้ำเกลือที่มีความเย็น(Cold sal, ne),ใช้ไอออกซิเจนเย็น(Cold humidified oxygen)ให้ผู้ป่วย จนถึงการทำ Cardiopulmonary bypass แต่มักทำได้ยากเพราะมักต้องใช้เครื่องมือ บุคลากรที่มีความรู้

7) การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำควรพอดี โดยเฉพาะช่วงแรก เน้น Coolling อย่างเดียวก็สามารถทำให้ทุกอย่างกลับมาปกติ แต่ถ้ามีการสลายของกล้ามเนื้อ (rhabomyolysis) มี hemoglobinemia ซึ่งพบราว 25-30 % อาจต้องให้สารน้ำมากขึ้น(บางครั้งอาจถึง 10 ลิตร) ทำปัสสาวะให้เป็นต่าง ร่วมกับการให้ manitol โดยพยายามให้มีปัสสาวะออกราว 3 ซีซีต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม ต่อชัวโมง พยายามให้ปัสสาวะมีความเป็นด่าง pH 7.5-8

8) ตรวจหาติดตามการเกิด MOD(multiple organ dysfunction) และรีบแก้ไขให้กลับสู่ปกติ

ดังที่กล่าวมาถ้าเป็นแล้วการรักษามีความยุ่งยากและซับซ้อน ดังนั้นเราควรป้องกันไว้ก่อน จะดีที่สุด

การป้องกัน

1) ในสภาวะที่อากาศร้อนมาก ควรดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณ 2 ลิตร ต่อวัน(ราว 6-8 แก้ว) หลีกเลียงอากาศร้อนชื้น ถ่ายเทไม่สะดวก

2) ในการออกกำลังกายในช่วงอากาศร้อนไม่ควรโหมหนัก ต้องรู้จักพัก, warming up และ warm down

3) ใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ง่าย และโปร่งสบาย เช่น ผ้าฝ้าย

4) สำหรับเด็กเล็ก คนชรา ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ในช่วงที่อากาศร้อนมีการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ควรต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิด ช่วยหาอาหารและน้ำให้รัปประทานอย่างเพียงพอ

5) ใช้หลักการ Risk modification behavior เช่น อาบน้ำทำตัวให้เย็นสบาย ปะแป้ง เปิดแอร์ เปิดพัดลมคลายร้อน งดอาหารประเภทมีแอลกอฮอล์ หรือยาบางชนิดที่มีผลต่อารเพิ่มความร้อนในร่างกายเช่น ยาแอมเฟตามีน โคเคน ยารักษาโรคบางชนิดที่กินประจำแต่อาจมีผลรบกวนในเรื่องระบายความร้อน ก็อาจปรับเปลี่ยนให้เหมะสม

6) อาการแสดงที่บอกเราว่าจะเกิดภาวะนี้ได้แก่ เมื่อเราอยู่ในที่อากาศร้อน ชื้น การถ่ายเทไม่ดี หรือร่วมกับการฝึกหรืออกกำลังกาย อย่างหนัก หากมีอาการเหล่านี้ เหงื่อออกมาก หน้าซีด
ตะคริว อ่อนเพลีย มึนงง ปวดศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน เป็นลม ตัวร้อนจัด ควรนึกถึงโรคนี้และรีบนำผู้ป่วยส่ง รพ.ทันที

อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MSc. In ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University






Create Date : 28 มิถุนายน 2556
Last Update : 28 มิถุนายน 2556 23:01:37 น. 0 comments
Counter : 2806 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ตะวันลับฟ้า
Location :
สมุทรสาคร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 23 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add ตะวันลับฟ้า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.