ความดับลงแห่งกองทุกข์ มีได้เพราะการดับไปแห่งความเพลิน
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
22 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
ประโยชน์ของการเจริญ สมถะและวิปัสนา





ประโยชน์ของการเจริญ สมถะและวิปัสนา


..........ภิกษุ ท.! ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ เป็นส่วนแห่งวิชชา มีอยู่สองอย่างอะไรเล่า ?

สองอย่างคือ สมถะและวิปัสสนา


..........ภิกษุ ท.! สมถะ เมื่ออบรมแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? อบรมแล้วจิตจะเจริญ จิตเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? เจริญแล้วจะละราคะได้

..........ภิกษุ ท.! วิปัสสนาเล่า เมื่อเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? เจริญแล้ว ปัญญา จะเจริญ ปัญญาเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? เจริญแล้วจะละอวิชชาได้ แล

ฌาน ( ที่มีสัญญา ) ใช้เป็นฐานแห่งวิปัสสนาได้ในตัวเอง


..........ภิกษุ ท.! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนะบ้าง เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนะบ้าง เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนะบ้าง เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง

..........ภิกษุ ท.! คำที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุ ท.! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย ปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?

..........ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้ ภิกษุสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปิติ และ สุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ ในปฐมฌานนั้น มีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ( ที่กำลังทำหน้าที่อยู่ ) เธอนั้นตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น ( ให้ยืมมา ) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน เธอดำรงจิตด้วยธรรม ( คือ ขันธ์ ห้า ) เหล่านั้น ( อันประกอบด้วย ลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะ เป็นต้น ) แล้วจึงน้อมจิต ไปสู่ อมตะธาตุ ( คือ นิพพาน ) ด้วยการกำหนดว่า นั่นสงบระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมชาติที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิ ทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัญหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็น นิพพาน ดังนี้ เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณ มีปฐมฌาน ย่อมถึงความสิ้นไปแห่ง อาสวะ ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็นโอปปาติกะ อนาคามี ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่ง สังโยชน์ มีในเบื้องต่ำห้าประการ และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทิ ( อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ ) นั้นๆนั่นเอง

..........ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา ประกอบการฝึกอยู่กะรูปหุ่นคนที่ทำด้วยหญ้าบ้าง กะรูปหุ่นดินบ้าง สมัยต่อมาเขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงไกล ยิงเร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้

..........ภิกษุ ท.! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุ สงัดออกจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน อันมี วิตก วิจาร มี ปิติ และ สุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ ( เธอนั้นกำหนดเบญจขันธ์ โดยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะ เป็นต้น แล้ว น้อมจิต ไปสู่ อมตธาตุ คือ นิพพาน ถึงความสิ้นอาสวะ เมื่อดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณ มีปฐมฌาน เป็นบาทนั้น หรือ มิฉะนั้น ก็ เป็นอนาคามี เพราะ มี ธัมมราคะ ธัมมนันทิ ในนิพพาน นั้น ) ดังนี้

..........ภิกษุ ท.! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อความข้อนี้กล่าวแล้ว

( ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย ทุติยฌาน บ้าง ตติยฌาน บ้าง เพราะอาศัย จตุตถฌาน บ้าง ก็มีคำอธิบาย ที่ตรัสไว้ในทำนองเดียวกัน ในกรณีแห่งปฐมฌาน ข้างต้นนี้ ทุกตัวอักษร ทั้งในส่วนของอุปมา อุปไมย ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌานเท่านั้น )

..........ภิกษุ ท.! คำที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุ ท.! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย อากาสานัญจายตนะบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?

..........ภิกษุ ท.! ในกรณี้ ภิกษุ เพราะการก้าวล่วงรูปสัญญาเสียได้ โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ทำไว้ในใจซึ่ง นานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สิ้นสุด ดังนี้ แล้วแลอยู่ ในอากาสานัญจายตนะ นั้น มี ธรรมคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ( ที่กำลังทำหน้าที่อยู่ ) เธอนั้น ตามเห็น ซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา ) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของมิใช่ตน เธอดำรงจิตด้วยธรรม ( คือ ขันธ์เพียง สี่ ) เหล่านั้น ( อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ) แล้วน้อมจิตไปสู่ อมตธาตุ ( คือ นิพพาน ) ด้วยการกำหนดว่า นั่นสงบระงับ นั่นประณีต นั่นคือ ธรรมชาติที่สงบระงับ แห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนแห่ง อุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัญหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็น นิพพาน ดังนี้ เธอดำรงอยู่ในวิปัสนาญาณ อันมีอากาสานัญจายตนะ เป็นบาทนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามี ผู้ปรินิพพานในภพนั้นมีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำ ห้าประการ เพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทิ ( อันเกิดจากกำหนดจิตในอมตธาตุ ) นั้นๆนั่นเอง

..........ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของเรา ประกอบการฝึกอยู่กะรูปหุ่นคนที่ทำด้วยหญ้าบ้างกะรูปหุ่นดินบ้าง สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงไกลยิงเร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้

..........ภิกษุ ท.! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุ เพราะการก้าวล่วงซึ่งรูปสัญญาเสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ทำไว้ในใจ ซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการกระทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สิ้นสุด ดังนี้ แล้วแลอยู่ ( เธอนั้นกำหนดขันธ์เพียงสี่ขันธ์ ว่าขันธ์แต่ละขันธ์ ประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะ เป็นต้น แล้วน้อมจิตไปสู่อมตะธาตุ คือ นิพพาน ถึงความสิ้นอาสวะ เมื่อดำรงอยู่ในวิปัสสนา ญาณ มีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น หรือ มิฉะนั้น ก็เป็น อนาคามี เพราะมีธัมมราคะ มีธัมมนันทิ ใน นิพพานนั้น ) ดังนี้

..........ภิกษุ ท.! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ภิกษุ ท.! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย อากาสานัญจายตนะบ้าง ดังนี้ นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว

( ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย วิญญาณัญจายตนะ บ้าง เพราะอาศัย อากิญจัญญายตนะ บ้าง ก็มีคำอธิบายที่ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกัน กับกรณีแห่ง อากาสานัญจายตนะข้างต้นนี้ ทุกตัวอักษรทั้งในส่วนของ อุปมา อุปไมย ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌาน เท่านั้น )

..........ภิกษุ ท.! ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล เป็นอันกล่าวได้ว่า สัญญาสมาบัติ มีประมาณเท่าใด อัญญาปฎิเวธ ( การแทงตลอดอรหัตตผล ) ก็มีประมาณเท่านั้น

..........ภิกษุ ท.! ส่วนว่า อายตนะอีก ๒ ประการ กล่าวคือ เนวสัญญานาสัญญายตนะสมาบัติ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งอาศัยสัญญาสมาบัติ ( ๗ ประการ ) เหล่านั้น นั้นเรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่ ฌายีภิกษุผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการ ออกจากสมาบัติ จะพึงเข้าสมาบัติ ออกจากสมาบัติ แล้ว กล่าวว่าเป็นอะไรได้เองโดยชอบ ดังนี้




Create Date : 22 กรกฎาคม 2553
Last Update : 22 กรกฎาคม 2553 21:21:26 น. 4 comments
Counter : 695 Pageviews.

 
ผู้ใดดำรงพรหมวิหารสี่ไว้ได้ ผู้นั้นย่อมพบแต่ความสุขกาย

ขอให้มีความสุขด้วยพรหมวิหารสี่ประจำใจ ตลอดไป...นะคะ



สวัสดีค่ะ คุณจูปิเตอร์...สบายดี...นะคะ



โดย: พรหมญาณี วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:10:39:59 น.  

 
อนุโมทนาสาธุครับ


โดย: shadee829 วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:57:12 น.  

 





โดย: พธู วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:19:33:56 น.  

 
ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

มีความสุขกับชีวิต ด้วยการมองทุกสิ่งให้เป็นธรรมดา ตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 23 กรกฎาคม 2553 เวลา:13:42:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ดูกรภิกษุทั้งหลาย : บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ
Friends' blogs
[Add จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.