|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
|
|
|
|
|
|
|
Drug case [Ivomectin]: เรียนรู้ เข้าใจกับมันซักนิด แล้วคุณจะรู้ว่าของทุกอย่างมีทั้งคุณและโทษ
เราๆ ท่านๆ ที่เลี้ยงสุนัข คงจะคุ้นเคยกับการจะต้องพาเจ้าตัวยุ่งสี่ขา พาไปฉีดยาหรือไม่ก็กินยาถ่ายพยาธิหัวใจ แล้วก็กำจัดเห็บหมัดกันทุกเดือนใช่ไหมคะ ??
ในปัจจุบัน เท่าที่เจ้าของบล็อกเคยเที่ยวเล่นใน รพส. และคลีนิค และร้านขายอาหารสัตว์ทั่วๆไป ก็จะพบจะเห็นบรรดายาเหล่านี้มีไว้เพื่อสนองความต้องการของเจ้าของหมาอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ยาชนิดเม็ด หรือยาชนิดฉีด.. (ไอ้ยาเม็ดเนี่ย พอเข้าใจอยู่หรอก
แต่ไอ้ยาฉีดเนี่ย
ร้านทั่วไปที่ไม่ใช่ร้านบริการเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์เลี้ยง มีสิทธิ์ในการขาย โดยไม่ได้อยู่ในการควบคุมของสัตว์แพทย์ด้วยเหรอ อันนี้ไม่รู้จริงๆนะ.. )
นานมาแล้ว เคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ เจ้าของหมาพาหมาไปฉีดยากำจัดเห็บหมัด / พยาธิหัวใจ.. แล้วก็มีอาการแพ้ยาฉีดกำจัดพยาธิ เกิดขึ้นมาแล้วก็ตายในสถานพยาบาลแห่งนั้นนั่นเอง

ก็นับว่าเป็นเรื่องที่อ่านแล้วรู้สึกเศร้าใจจริงๆ เพราะไม่แน่ใจว่า สุนัขตัวนั้น ตายเนื่องจากอะไรกันแน่ ระหว่าง
สัตว์แพทย์ที่ฉีดไม่ได้เป็นสัตว์แพทย์ประเภท 1 และใช้ยาที่มี Dose (ปริมาณยา) สำหรับใช้กับสัตว์ใหญ่ หรือใช้ยาที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน
หรือ
เป็นคราวเคราะห์ของหมาตัวนั้น ที่เผอิญแพ้ยาฉีดชนิดนี้พอดี.. กันแน่
เกริ่นนำกันมากมายแล้วค่ะ แหะๆ งั้นมาเข้าเรื่องกันต่อดีกว่าเนอะ
ยาฉีดป้องกันพยาธิหัวใจ เห็บหมัดทั้งหลาย รู้จักกันดีในชื่อของ ivermectin ค่ะ.. ปัจจุบันแตกแขนงและผลิตออกมาได้โดยหลายบริษัทยา ทำให้มีชื่อเรียก ทางการค้าแยกออกไป เช่น Ivomec® ของ Merial , Zimectrin® ของ Farnam หรือว่าจะเป็น Eqvalan® Heartgard® ของ Merial, หรือ Iverhart® มากมายก่ายกอง
วิธีการให้ก็มักจะทำได้ทั้ง การฉีด อย่าง ivomec และการกิน. อย่าง Heartguard
อันดับแรกๆ นั้น ยากลุ่มนี้ถูกใช้ในการถ่ายพยาธิพวกปศุสัตว์ ทั้งหลาย จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังมีใช้กันอยู่ เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันว่า ในระดับปริมาณยาที่ค่อนข้างพอเหมาะ สามารถฆ่าสัตว์ ปรสิตได้ดีโดยไม่ส่งผลกระเทือนต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมค่ะ
ในสัตว์เลี้ยง ตอนนี้ยาตัวนี้มีการพัฒนาไปมากมายถึงกับใช้ในสัตว์เลี้ยงได้ โดยเฉพาะพวกปรสิตที่มีผลกับ ผิวหนัง หู ระบบการย่อยอาหาร และอวัยวะภายในอย่างเช่น หัวใจ ปอด ตับ และยอมรับกันว่า ivermectin เป็นหนึ่งในกลุ่มยาที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการบำบัดค่ะ ถือว่ามีช่วงการรักษาที่ค่อนข้างกว้าง
จะมีก็แต่ พวกพยาธิตัวตืดในทางเดินอาหาร กับ พยาธิใบไม้ในตับ , พยาธิแส้ม้า, พยาธิเม็ดเลือดตัวเต็มวัย ที่ ivermetin กำจัดไม่ได้
แต่ (อีกแล้ว) ทุกสิ่งทุกอย่าง มีทั้งคุณและโทษ .. ในสาขาที่เจ้าของ blog เรียนมา มีคำศักดิ์สิทธิ์ประจำสาขาอยู่ พูดเอาไว้เมื่อนานมากกกกกๆๆๆ ของ หมอคนหนึ่ง Paracelsus
All substances are poisons; there is none which is not a poison. The right dose differentiates a poison from a remedy
แปลไทยด้วยภาษาปะกิด แบบ งูๆ ปลาๆ ของเจ้าของบล็อค
สารทุกชนิดล้วนแต่เป็นพิษ ; และไม่มีสารที่ไม่มีพิษอยู่ในโลก. ปริมาณที่ถูกต้องเท่านั้นที่แยกสารพิษกับยารักษาโรค ออกจากกัน
ivermectin ก็ใช่จะมีประโยชน์อย่างเดียวนะคะ โทษของมันก็มีเหมือนกัน
เนื่องจาก กลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่มนี้ คือจะไปจับกับ หรือไปจับกันกับที่ผนังเซลล์ชนิดหนึ่ง ที่มีมากในพวกระบบประสาทของสัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เราเรียกบริเวณผนังเซลล์ที่จับ glutamate gated chloride channel แล้วก็เกิดการทำให้บริเวณนี้เปิดออก ทำให้พวกปรสิตทั้งหลายเป็น อัมพาต หลุดร่วง ออกมาจากตัวผลอยๆๆ..
ดังนั้น ทำความเข้าใจซักนิดนะคะ
ไม่ใช่ว่า ฉีดยาตัวนี้ไปแล้ว เห็บหมัดจะไม่กัดบรรดาสี่ขาของเรานะคะ เพียงแต่ หลังกัดและดูดเลือดไปแล้ว ปริมาณยาของ ivermectin ในเลือดจะทำให้เกิดอัมพาตในเห็บและหมัด และ ถ้าเกิดโชคร้าย เห็บหมัดตัวนั้น เป็นพยาธิเม็ดเลือด เข้าไปกัดคุณหมาคุณแมวของเรา.. ก็สามารถที่จะเข้าไปแพร่พันธ์เข้าไปได้ในตัวสุนัขอยู่ดีค่ะ
ข้อควรระวังใน ivermectin
- ivermectin ไม่สามารถใช้ได้ในกลุ่มสุนัขสายพันธ์ collies หรือสายพันธ์ที่มีเชื้อสายของ collies ,Australian sheepdogs,Shetland sheepdog, Old English sheepdog พบว่า มีอาการแพ้ยาในปริมาณต่ำกว่า 0.1 mg/kg (เนื่องจาก สุนัขในกลุ่มนี้มี gene ที่มีการกลายพันธ์ของ ยีนที่เรียกว่า P-glycoprotein)
- ไม่สามารถใช้ได้ในสุนัขที่แพ้ยาตัวนี้ หรือปรากฏอาการแพ้ยาตัวนี้ (ในสุนัขทั่วไป พบว่า ถ้าใช้ยาในปริมาณต่ำกว่า 0.8 mg/kg แล้วเกิดอาการแพ้ ถือว่าแพ้ยาชนิดนี้)
- การใช้ ivermectin ในสุนัขที่มีการปรากฏอาการของโรคพยาธิหัวใจ เว้นไว้เฉพาะกับสัตว์แพทย์เท่านั้น (ง่ายๆคือ ถ้าเกิด heartworm โตเต็มวัยเป็นตัวอ่อนแล้ว อย่าหวังว่าจะรักษาได้โดยไม่ผ่านมือแพทย์นะจ๊ะ) -การใช้ ivermectin ในสุนัขต่ำกว่า 6 สัปดาห์ สมควรหลีกเลี่ยง - ivermectin ไม่ควรใช้ร่วมกับกลุ่มยาจำพวกยากล่อมประสาท หรือยานอนหลับ
ปริมาณยาที่ใช้ในการรักษา *ควรปรึกษาสัตว์แพทย์ก่อนใช้ ปริมาณ (dose) ของ ivermectin จะเปลี่ยนไปค่ะ ขึ้นอยู่กับ ชนิดและสายพันธ์ รวมถึงลักษณะพิเศษเฉพาะสุนัขและแมวแต่ละตัว *
- ในสุนัข ปริมาณ 0.003-0.006 mg/kg ต่อเดือน ในการป้องกันพยาธิหัวใจ ในรอบ 1 เดือน
- ในแมว 0.024 mg/kg ต่อเดือน ในการป้องกันพยาธิหัวใจ
*การให้ฉีดยาชนิดนี้ แบบฉีดใต้ผิวหนัง (subcutaneous) ในสุนัขและแมว อาจจะเกิดปัญหากับผิวหนัง หรือบริเวณที่ฉีดยาได้ เนื่องจากชนิดของตัวทำละลายของยา (vehicle )*
อาการจากการแพ้ยา ivermectin
Ivermectin จะทำให้เกิดอาการแบบนี้ในกรณีหมาแพ้ยา
-ม่านตาขยาย, อาเจียน, มีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ, ไม่สามารถเดินได้ตรง, มีอาการอ่อนแรง,ตามองไม่เห็น, หัวใจเต้นช้า ,อัตราการหายใจต่ำ, โคม่า และตาย
การรักษา
รักษาตามอาการที่แสดงออก เนื่องจากไม่มีการรักษาเฉพาะเมื่อเกิดการเป็นพิษกับ ivomectin
- มีการให้น้ำเกลือ และสารอาหาร ผ่านทางสายยาง - อาจมีการให้ออกซิเจน ที่มีการหายใจติดขัด หรือล้มเหลว
ดังนั้นหลังจากให้ยาตัวนี้ไปแล้ว สังเกตุดูอาการเขาซักนิดนะคะ เผื่อว่าน้องหมาของคุณอาจจะแพ้ ivomec ก็ได้ค่ะ

**Hearthguard plus จะมีตัวยาเพิ่มขึ้นด้วยนะคะ ไม่ใช่ Ivomec อย่างเดียว มี pyrantel เพิ่มด้วยค่ะ สำหรับยาตัวนี้ จะมารีวิวกันต่อรอบหน้านะคะ 

Create Date : 02 กันยายน 2549 |
Last Update : 2 กันยายน 2549 20:23:42 น. |
|
7 comments
|
Counter : 4133 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: ไข่มุกน้อย วันที่: 2 กันยายน 2549 เวลา:20:13:39 น. |
|
|
|
โดย: แมวดื้อ วันที่: 4 กันยายน 2549 เวลา:23:06:31 น. |
|
|
|
โดย: แม่บัดดี้ IP: 124.121.125.4 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:1:08:09 น. |
|
|
|
โดย: ภาพกว้าง : ยามเช้า IP: 124.120.134.80 วันที่: 13 เมษายน 2550 เวลา:14:27:09 น. |
|
|
|
โดย: ปิ๋ม IP: 202.129.10.218 วันที่: 30 ตุลาคม 2550 เวลา:14:02:28 น. |
|
|
|
โดย: GT IP: 125.25.198.51 วันที่: 2 กันยายน 2551 เวลา:16:33:34 น. |
|
|
|
โดย: ขำ IP: 116.58.231.242 วันที่: 26 สิงหาคม 2552 เวลา:23:29:25 น. |
|
|
|
|
|
|
|