|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติอานาปานสติ
จุฬาภินันท์อ่านพระไตรปิฎกฉบับประชาชน ส่วนข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก มีพุทธพจน์ที่ตรัสถึงวิธีปฏิบัติที่น่าเอาเยี่ยงอย่าง ๔ พุทธพจน์ ว่าด้วย อานาปานสติค่ะ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ตัวเรา ในสมัยก่อนจะตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์ ผู้ยังมิได้ตรัสรู้ ก็อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายของเราก็ไม่ลำบาก ตาของเราก็ไม่ลำบาก และจิตของเราก็พ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า กายของเราไม่พึงลำบาก ตาของเราไม่พึงลำบาก จิตของเราพึงพ้นอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เธอก็พึงทำไว้ในใจซึ่งสมาธิอันมีสติกำหนดลมหายใจเป็นอารมณ์นี้ให้ดี" สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๐๑
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่เร้น (ในป่าอิฉานังคละ) เมื่อล่วงเวลา ๓ เดือนแล้ว จึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านักบวชเจ้าลัทธิอื่น พึงถามอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมอะไรโดยมาก ท่านทั้งหลายพึงตอบว่า พระผู้มีพระภาคอยู่จำพรรษาด้วยสมาธิมีสติกำหนดลมหายใจเป็นอารมณ์" สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๒
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดที่เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ (สิ้นกิเลส) อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีสิ่งควรทำอันได้ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันวางแล้ว มีประโยชน์ส่วนตนอันได้บรรลุแล้ว สิ้นกิเลสเป็นเหตุมัดไว้ในภพแล้ว พ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปด้วยความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ" สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๓
"ดูก่อนอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง คือ อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน ๔ อย่างให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสัมโพชฌงค์ (องค์ประกอบแห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้) ๗ อย่างให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลผู้เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชา (ความรู้) วิมุติ (ความหลุดพ้น) ให้บริบูรณ์" สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๗
สัมโพชฌงค์ แปลว่า องค์แห่งการตรัสรู้พร้อม หมายถึง ธรรมที่สนับสนุนให้ถึงการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า หรืออรหันต์ ดังนั้น ผู้ใดสามารถทำให้โพชฌงค์ ๗ เกิดขึ้นพร้อมกันในตน ก็ย่อมตรัสรู้ตามพระอริยเจ้าทั้งหลายได้ ๑. สติสัมโพชฌงค์ - กำหนดรู้เท่าทัน ๒. ธัมมวิจยโพชฌงค์ - คัดสรรเลือกเฟ้นด้วยปัญญา ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ - เพียรพิจารณาให้ยิ่งขึ้นไป ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ - ความเอิบอิ่มใจไร้อามิส ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ - กาย-จิตสงบ ไม่หวั่นไหว ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ - ใจตั้งมั่น อารมณ์นิ่ง ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ - ดิ่งสู่ความวางเฉย
Create Date : 28 ธันวาคม 2552 |
Last Update : 15 มกราคม 2553 12:30:45 น. |
|
27 comments
|
Counter : 1114 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: Chulapinan วันที่: 28 ธันวาคม 2552 เวลา:22:00:55 น. |
|
|
|
โดย: Chulapinan วันที่: 28 ธันวาคม 2552 เวลา:22:23:17 น. |
|
|
|
โดย: home4best วันที่: 29 ธันวาคม 2552 เวลา:8:20:08 น. |
|
|
|
โดย: Pormaid วันที่: 30 ธันวาคม 2552 เวลา:11:35:13 น. |
|
|
|
โดย: nootikky วันที่: 31 ธันวาคม 2552 เวลา:20:59:42 น. |
|
|
|
โดย: itoursab วันที่: 31 ธันวาคม 2552 เวลา:21:30:35 น. |
|
|
|
โดย: โบว์ (myshumi ) วันที่: 31 ธันวาคม 2552 เวลา:23:21:39 น. |
|
|
|
โดย: แม่ไก่ IP: 118.174.43.36 วันที่: 1 มกราคม 2553 เวลา:20:33:11 น. |
|
|
|
โดย: Emotion-P วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:12:12:31 น. |
|
|
|
โดย: หวัน (หวันยิหวา ) วันที่: 3 มกราคม 2553 เวลา:22:27:46 น. |
|
|
|
โดย: ย่าชอบเล่า วันที่: 4 มกราคม 2553 เวลา:2:44:42 น. |
|
|
|
โดย: หอมกร วันที่: 4 มกราคม 2553 เวลา:8:06:33 น. |
|
|
|
โดย: badinblood วันที่: 4 มกราคม 2553 เวลา:15:24:07 น. |
|
|
|
โดย: atinatana วันที่: 5 มกราคม 2553 เวลา:20:53:39 น. |
|
|
|
โดย: bam_ka@ IP: 124.122.43.82 วันที่: 9 มกราคม 2553 เวลา:12:21:43 น. |
|
|
|
โดย: ใจพรานธรรม วันที่: 9 มกราคม 2553 เวลา:15:18:22 น. |
|
|
|
โดย: jj_jane1980 วันที่: 9 มกราคม 2553 เวลา:19:26:23 น. |
|
|
|
โดย: FoNdHaPpY วันที่: 10 มกราคม 2553 เวลา:1:09:48 น. |
|
|
|
โดย: Chulapinan วันที่: 10 มกราคม 2553 เวลา:15:47:57 น. |
|
|
|
โดย: Teacher_Beau IP: 125.26.252.230 วันที่: 10 มกราคม 2553 เวลา:20:15:54 น. |
|
|
|
|
|
|
|
จุฬาภินันท์ตอนนี้ก็ทำสมาธิโดยถือเอาลมหายใจเป็นอารมณ์ค่ะ บอกได้เต็มปากว่า ได้ปัญญาธรรมแล้วค่ะ