<<
ธันวาคม 2556
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
26 ธันวาคม 2556
 

เยี่ยมชมมรดกโลกเขื่อนตูเจียงเอี้ยน (都江堰: Dujiangyan Irrigation Project of China) ตอนที่ 1

ภูมิปัญญาอีกประการหนึ่งของชาวจีน คืองานด้านวิศวกรรมการก่อสร้างและการต่อสู้กับภัยธรรมชาติด้วยความพยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติให้ได้ โดยเฉพาะการบังคับ น้ำชาวจีนเชื่อว่า ผู้ใด กำหนดน้ำได้ ผู้นั้นปกครองประเทศได้ ผลงานวิศวกรรมของชาวจีนที่แสดงให้ประจักษ์ถึงความพยายามนี้ คือโครงการชลประทานเขื่อนตูเจียงเอี้ยน( 都江堰) ที่เมืองตูเจียงเอี้ยน มณฑลเสฉวน ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ.2542

ถ้านับอายุเขื่อนตูเจียงเอี้ยนแล้ว เขื่อนนี้สร้างมากกว่าสองพันปี ตั้งแต่ยุคจิ๋นซีฮ่องเต้ แสดงถึงความก้าวหน้าด้านงานโยธาโบราณที่ทดน้ำ จากแม่น้ำหมินเจียงเข้าสู่ที่ราบมณฑลเสฉวน ดังคำกล่าวที่ว่า “ทางเหนือมีกำแพงยักษ์ ทางใต้มีระบบชลประทานตูเจียงเอี้ยน 2 สิ่งมหัศจรรย์ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน” เขื่อนตูเจียงเอี้ยนนี้ นอกจากเป็นเขื่อนที่เก่าแก่ที่สุดในโลกแล้ว ยังเป็นเขื่อนที่ยังคงใช้งานได้จนถึงปัจจุบัน 

ผู้ออกแบบก่อสร้างเขื่อนตูเจียงเอี้ยน (都江堰) คือ หลีปิง [李冰] ผู้ปกครองมณฑลเสฉวนขณะนั้น ท่านหลีปิง [李冰]ได้เดินทางไปตรวจดูงานในเมืองเฉินตู พบว่าเมืองนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก แต่มักจะเกิดภัยน้ำท่วมอยู่เนืองๆ เพราะแม่น้ำหมินเจียง (岷江) ปริมาณน้ำมากในฤดูน้ำหลาก ไหลบ่าท่วมไร่นาเสียหาย ท่านจึงเกิดความคิดที่จะบรรเทาทุกข์ราษฎร โดยการควบคุมน้ำให้ไหลเข้าเมืองนี้เพียงพอสำหรับใช้ในการเกษตรและไม่ก่อให้เกิดน้ำท่วม
 

ก่อนการเยี่ยมชมความงามของแหล่งท่องเที่ยวนี้ ผมขออธิบายให้ทราบถึงโครงสร้างและการออกแบบทางวิศวกรรมของเขื่อนนี้ก่อนครับ 

ระบบชลประทานเขื่อนตูเจียงเอี้ยน( 都江堰) ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนด้วยกันคือ

ส่วนที่หนึ่งที่เรียกว่าปากปลา (鱼嘴) ซึ่งจะเป็นเกาะกลางน้ำทำหน้าที่แบ่งแยกน้ำในแม่น้ำหมินเจียง (岷江) เป็นสองส่วนคือแม่น้ำสายใน (内江)และแม่น้ำสายนอก  ซึ่งจะดึงแม่น้ำสายในมาใช้ประโยชน์โดยการทำให้แม่น้ำสายใน (内江) มีเส้นทางที่โค้งน้ำที่ยาวกว่า เพื่อให้น้ำไหลช้าและเกิดการตกตะกอนในฝายน้ำล้นเฟยชาเอี้ยน (飞沙堰:Feisha Dike )   ซึ่งเป็นส่วนสำคัญส่วนที่สอง และทำหน้าที่ส่งน้ำส่วนเกินของระบบกลับเข้าไปที่แม่น้ำสายนอกอีกด้วย โดยสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ เช่น ในฤดูฤดูแล้ง สายน้ำจากแม่น้ำหมินเจียงที่ผ่านปากปลาจะไหลเข้าสูสายใน 60% เพื่อใช้ในการเกษตร และอีก 40% ระบายออกสายนอก ขณะที่ในฤดูน้ำหลากสัดส่วนจะกลับกันโดยจะลดปริมาณน้ำเข้าสู่ตัวเมืองเหลือแค่ 40 % และระบายออกสายนอก 60%

ส่วนที่สามคือเป่าผิงโข่ว (宝瓶口;Baopingkou) เป็นช่องทางน้ำที่นำน้ำเข้ามาใช้ประโยชน์ในเมือง โดยเจาะเป็นช่องแคบๆ แต่มีความลึกตัดผ่านช่องเขายูเหล่ย (Yulei) โดยใช้แรงงานคน การทำงานนี้เกิดก่อนการประดิษฐ์วัตถุระเบิดหรือดินปืนด้วยซ้ำ ดังนั้นการทำงานจะยากลำบากมากโดยการตัดไม้จากภูเขามาเผาหินให้เกิดความร้อนแล้วใช้น้ำจากแม่น้ำหมินเจียง (岷江) ดับความร้อนเพื่อให้หินแตกเป็นชิ้น แล้วค่อยๆ ย่อยหินนำไปทิ้ง ซึ่งขั้นตอนขบวนการดังกล่าวต้องใช้เวลาการทำงานนานถึง 7 ปี เต็มๆ จนได้ช่องทางที่เป็นอย่างทุกวันนี้ จึงต้องนับถือความพยายามของคนโบราณจริงๆ 垒山;

 

ในบล็อกต่อไปผมจะนำชมทิวทัศน์ความงามของเขื่อนตูเจียงเอี้ยน( 都江堰) อย่างใกล้ชิดครับ




 

Create Date : 26 ธันวาคม 2556
2 comments
Last Update : 14 มีนาคม 2563 20:21:55 น.
Counter : 11200 Pageviews.

 
 
 
 
 
 

โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 29 ธันวาคม 2556 เวลา:13:29:06 น.  

 
 
 
มาตามเที่ยวต่อค่ะ
 
 

โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 2 มกราคม 2557 เวลา:22:17:12 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

camel_27
 
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




[Add camel_27's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com