<<
ตุลาคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
16 ตุลาคม 2557
 

ตะลุยดินแดนเสาหลักยุทธภพ ไหว้พระวัดเส้าหลิน (Shaolin Temple: 少林寺) ตอน 1

             วัดเส้าหลินหรือสำนักเส้าหลิน ( Shaolin Temple: 少林寺) หรือ เสี้ยวลิ้มยี่ ชื่อที่คนไทยคุ้นเคยเป็นวัดทางพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่มีความเก่าแก่อายุมากกว่า 1,500 ปี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาซงซาน หนึ่งในจำนวนห้ายอดเขาอันศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวจีน เป็นเทือกเขาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดทั้งในด้านของประวัติศาสตร์และในแวดวงยุทธภพ ประกอบด้วยยอดเขาน้อยใหญ่จำนวน 72 ยอด อยู่ในอำเภอเติงเฟิง เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน

 
 
 
 
 
              วัดเส้าหลิน (Shaolin Temple: 少林寺) อยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองเจิ้งโจวและเมืองลั่วหยาง บริเวณรอบ ๆ วัดเส้าหลินเป็นพื้นที่โล่งกว้าง ใช้สำหรับฝึกวิทยายุทธของหลวงจีน รายล้อมด้วยป่าเจดีย์หรือถ่าหลิน ซึ่งเป็นสุสานของอดีตเจ้าอาวาสและหลวงจีน ซึ่งมีมาตั้งแต่ในยุคสมัยของราชวงศ์ถัง
 
 
 
 
              วัดเส้าหลิน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1038 ในสมัยของไท่เหอเจ้าผู้ครองรัฐวุ่ยเหนือ ในปี พ.ศ. 929 - พ.ศ. 1077 เนื่องจากตั้งอยู่บนยอดเขาเส้าซื่อ (少室) ทางด้านทิศตะวันตกของเทือกเขาซงซาน (松山) ครอบคลุมอาณาเขตพื้นที่เกือบทั้งหมดด้วยป่าหรือ "หลิน" (林) ในภาษาจีนกลาง จึงกลายเป็นที่มาของชื่อ วัดเส้าหลิน  
 
 
 
 
 
             ในยุคสมัยบุกเบิกยังไม่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง ภายหลังจากสร้างขึ้นมาได้ประมาณ 32 ปี ในปี พ.ศ. 1070 พระโพธิธรรมเถระหรือตั๊กม้อ พระภิกษุจากประเทศอินเดีย ได้เดินทางเข้ามาเผยแผ่พุทธศาสนานิกายเซนที่วัดเส้าหลินเป็นครั้งแรก อีกทั้งแลเห็นว่าวัดเส้าหลินอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ มีความสงบร่มรื่น เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรปฏิบัติธรรมจนบรรลุธรรมตามนัยของพุทธศาสนานิกายเซน  ปรมาจารย์ตั๊กม้อจึงเข้าพำนักและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์แรก ทำให้ชื่อเสียงของวัดเส้าหลิน อยู่ในฐานะเป็นต้นกำเนิดของศาสนาพุทธนิกายเซนในประเทศจีน กลายเป็นที่รู้จักมากขึ้น
 
 
 
 
             ตามตำนานจีนโบราณ ศิลปะการต่อสู้และกังฟูเส้าหลิน มีต้นกำเนิดจากการที่หลวงจีนใช้วิชากังฟู ฝึกฝนร่างกายและออกกำลังกาย เพื่อเป็นการขจัดความเมื่อยล้าจากการนั่งสมาธิวิปัสนากรรมฐานเป็นเวลานาน ต่อมาได้มีการพัฒนาจนกลายเป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของวัดเส้าหลิน ชาวจีนเชื่อกันว่าผู้ที่คิดค้นสุดยอดวิชากังฟูคือตั๊กม้อ 
 
 
 
 
 
            ในปี พ.ศ. 1503 - พ.ศ. 1822 วิชากังฟูเส้าหลินได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงขีดสุด จนถึงสมัยราชวงศ์ชิง ในปี พ.ศ. 2159 -พ.ศ. 2454 และในปี พ.ศ. 2270 หลังการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิหย่งเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิงได้ประมาณ 5 ปี จากเหตุผลทางด้านการเมือง ราชสำนักได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการลดบทบาทของวัดเส้าหลินลง แม้ว่าหลวงจีนจะถูกห้ามไม่ให้ฝึกกังฟู แต่ยังคงมีการลักลอบแอบฝึกกังฟูกันอย่างลับ ๆ ทั้งในบริเวณวัดและตามสถานที่ต่าง ๆ ทำให้วิชากังฟูเส้าหลินไม่สูญหายไปตามกาลเวลา และได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
 
 
 
 
 
 
              ปัจจุบันในประเทศจีนมีวัดเส้าหลินทั้งหมดสามแห่ง แห่งแรกตั้งอยู่บนเทือกเขาซงซาน มณฑลเหอนาน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดพุทธศาสนานิกายเซนและกังฟูเส้าหลิน แห่งที่สองตั้งอยู่ที่เทือกเขาผานซาน สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หงวน และแห่งที่สามตั้งอยู่ที่เทือกเขาจิ่วเหลียนซาน มณฑลฮกเกี้ยน เรียก "สำนักเสี้ยวลิ้มใต้ คู่กับ "สำนักเสี้ยวลิ้มเหนือ" ที่เทือกเขาซงซาน สำนักใหญ่ของวัดเส้าหลิน แบ่งออกเป็น 2 สายหลัก ๆ คือสายพระบู๊ซึ่งเป็นสายของการการสืบทอดศิลปะการต่อสู้และกังฟูเส้าหลินของตั๊กม้อ และสายพระวินัยซึ่งเป็นสายที่เน้นการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพุทธศาสนาเป็นสำคัญ 
 
 
 
 
 
           ในบล็อกต่อไปผมจะพาเยี่ยมชมวัดเส้าหลิน ( Shaolin Temple: 少林寺) ซึ่งเป็นวัดมีความเก่าแก่และมีประวัติศาสตร์อย่างยาวนาน อย่างละเอียดทุกซอกทุกมุมเลยครับ
 
ที่มาข้อมูล
https://www.tnews.co.th
https://www.matichon.co.th
https://www.th.wikipedia.org/wiki/




 

Create Date : 16 ตุลาคม 2557
3 comments
Last Update : 23 เมษายน 2563 19:57:05 น.
Counter : 4800 Pageviews.

 
 
 
 
 
 

โดย: สมาชิกหมายเลข 1770075 วันที่: 16 ตุลาคม 2557 เวลา:17:16:08 น.  

 
 
 
ตอนดู ๆ ก็คิดว่า "ทำไม" น่ะคะ คือทรมานร่างกายแทน
 
 

โดย: mariabamboo วันที่: 21 ตุลาคม 2557 เวลา:12:04:40 น.  

 
 
 
มีกระถางธูป รอยสักมังกรหรือเปล่าคะ
 
 

โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 7 พฤศจิกายน 2557 เวลา:17:13:41 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

camel_27
 
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




[Add camel_27's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com