เหตุทำให้เกิดผล... ผลทำให้เกิดเหตุ
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2553
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
13 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 
เรียนรู้ดูขันธ์กับอ.สุรวัฒน์ : การเดินจงกรม


การเดินจงกรม



เดินจงกรม หมายถึง เดินอย่างมีสติ รู้สึกถึงร่างกายที่กำลังเดินอยู่ครับ



เวลาเดินก็เดินไปตามปกติเหมือนที่เดินในชีวิตประจำวันนั่นแหละครับ



แล้วก็แค่หัดรู้สึกไปสบายๆ ว่า



มีร่างกายกำลังเดิน แล้วก็สลับกับรู้สึกว่าเผลอลืมกายไป


เดินแบบนี้เป็นการเดินแบบทำวิปัสสนาครับ


 


Smiley 5 Smiley 5 Smiley 5 Smiley 5 Smiley 5 Smiley 5 Smiley 5 Smiley 5






Create Date : 13 ตุลาคม 2553
Last Update : 13 ตุลาคม 2553 13:00:09 น. 4 comments
Counter : 1199 Pageviews.

 


โดย: หน่อยอิง วันที่: 13 ตุลาคม 2553 เวลา:19:50:55 น.  

 
เดินจงกรมไม่มีเดินแบบวิปัสสนาค่ะมีแต่สมถะรู้ตัวตลอด วิปัสสนาต้องเป็นการอยู่นิ่งๆพิจารณาความคิดไปตามหลักธรรม


โดย: Chulapinan วันที่: 13 ตุลาคม 2553 เวลา:22:17:17 น.  

 
หยุด!ทำร้ายพระพุทธศาสนา หยุด! ถวายเงิน ทอง แก่พระภิกษุและสามเณร พระภิกษุและสามเณร ที่รับเงิน รับทอง เป็นผู้ทำผิดพระวินัยบัญญัติและกฎหมายอาญา

ธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วเปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรือง (เล่ม ๑๐ หน้า ๔๖๕_ปกน้ำเงิน)

บัญญัติของพระพุทธเจ้า จากพระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม ของมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่ม 3
(ปกสีแดง หน้า 887 ปกสีน้ำเงิน หน้า 940)

พระบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่ง ทอง-เงิน หรือยินดี ทอง-เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์
(นิสสัคคียปาจิตตีย์ 1 ตัว ต้องตกโรรุวนรก 1 ชั่วอายุ คือ 4,000 ปีของนรกขุมนี้ เท่ากับ 840,960,000 ล้านปีมนุษย์)

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535
เป็นปีที่ 47 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้
โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภาดังต่อไปนี้

มาตรา 15 ตรี มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
...(4)รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา

**หยุดทำร้ายพระพุทธศาสนา(โยมควรเรียนรู้) ทำบุญแล้วเป็นบาป ตกนรกทั้งพระและโยม
1.ตักบาตรด้วยเงินและทอง
2.ตักบาตรด้วยสิ่งของที่ต้องห้าม
3.ทำบุญกับพระทุศีล(ผิดศีลธรรมและไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย)รับเงิน รับทอง มีบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของตนเอง
มีบัตรเอทีเอ็ม มีบัตรเครดิต
4.ฯลฯ
จากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลไทยฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย 91 เล่ม

**ชาวพุทธทั้งหลาย ขอให้อธิษฐานเพื่อถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้
“ขออำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลบุญของข้าพระพุทธเจ้าให้เข้าไปรวมเป็นพระราชกุศลของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พลังบุญทั้งหลาย ที่พระองค์ได้ทรงกระทำต่อพสกนิกรและราชอาณาจักร ขอบุญนั้นทั้งหมด
จงเป็นพลังขับดันโรคภัยทั้งหลายที่กำลังเกิดในพระวรกายของพระองค์ให้อันตรธานไป”

จากหลักฐานเทียบเคียงของการใช้สัจอธิษฐาน ในพระไตรปิฎก 91 เล่ม ฉบับมหามกฎราชวิทยาลัย เล่ม 74 หน้า 447-479
ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 มาตรา 1, 3, 341, 342 และ 343 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักสงฆ์ป่าสามแยก
ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ (www.samyaek.com)

ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ขอจงพิจารณาเอาเถิด เพราะไม่บังคับให้ใครมาเชื่อหรือทำตาม
เพียงแต่นำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเปิดเผย เพื่อให้ชาวพุทธปฏิบัติได้ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น


โดย: shada วันที่: 14 ตุลาคม 2553 เวลา:3:40:29 น.  

 

ถึงคุณ Chulapinan ครับ
ถ้าพูดถึง สมถะ และ วิปัสนา ต้องทำความเข้าใจ สติปัฏฐาน 4
คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
เป็นได้ทั้ง สมถะ และ วิปัสนา
สมถะ คือ จิต นิ่งอยู่ในอารมณ์เดียวไม่แส่ส่ายไปหาอารมณ์อื่น
วิปัสนา คือ การรู้อย่างวิเศษ คือรู้ตามความเป็นจริง ของ กาย และ ใจ เห็นความเป็นไตรลักษณ์ คือ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน หรือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา

ย้อนมาถึงการเดินจงกรม ถ้าเดินแบบ รู้เท้ากระทบพื้นโดยจิตไม่แส่ส่ายไปไหนเลย อันนี้เป็น สมถะ เพราะจิตจะนิ่งในอารมณ์เดียว ก็จะได้ความสงบ แต่จะเห็นไตรลักษณ์ เพราะจิตจะไม่แสดงความเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
แต่ถ้าเดินจงกรมโดยรู้เท้ากระทบพื้น โดยแยกผู้ดูออกมาคือ ตัวจิต
ดูร่างกายเดิน แบบสบายๆ อันนี้ก็ยังไม่จัดเป็น วิปัสนาแท้ แต่เป็นการฝึก ให้จิต เกิด มโนสัญญเจตนา คือ จิตจะเริ่มเกิดสัญญาว่า เวลาที่มีการเดิน จิต จะไปดูเท้ากระทบ เครื่องอยู่ของจิต(วิหารธรรม)คือ ร่างกายที่เดิน แต่เราไม่ได้ บังคับกดข่มให้จิตอยู่ในอารมณ์เดียว จิตอาจจะเกิดการแส่ส่ายไป รู้อย่างอื่นได้ เช่น จิตไปคิดเรื่องอื่น จิตไปคิดถึงคนอื่น หรือ หูได้ยินเสียงแล้วจิตไปคิด เวลานั้น จิตจะลืมรู้เท้าที่กระทบทันที แล้วสิ่งที่เราฝึกให้เกิดสัญญาควบไปกับการกระทบของเท้า ก็จะเกิดขึ้น จิตระลึกได้ว่า หลงไปดูอย่างอื่น แล้ว ที่จิตระลึกรู้ได้เอง นี่คือ วิปัสนา ครับ


โดย: สหพล IP: 222.123.93.137 วันที่: 14 ตุลาคม 2553 เวลา:13:57:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ฝักอ่อน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ฝักอ่อน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.