ปล่อยวางเสียได้เป็นสุขอย่างยิ่ง
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
30 พฤศจิกายน 2549
 
All Blogs
 

สบายดี... หลวงพระบาง (ตอน 3) วัดเชียงทองสุดยอดสถาปัตยกรรมล้านช้าง



วัดเชียงทองสุดยอดสถาปัตยกรรมล้านช้าง

อ้ายกร มาตรงตามเวลานัดเป๊ะ คือเจ็ดโมงตรง ครูแหววเล่าให้อ้ายกรฟังว่าไปใส่บาตรข้าวเหนียวมา อ้ายกรจึงรับปากกับชาวคณะว่าพรุ่งนี้จะพาไปตักบาตรข้าวเหนียวอีกที่หนึ่งซึ่งมีพระเยอะมากเพราะแถวๆ บริเวณที่พักไม่ใช่แหล่งชุมชน และไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวและมีวัดน้อย จึงมีพระมารับบาตรน้อย แต่ที่จะพาไปวันพรุ่งนี้จะมีพระมากกว่านี้อีกแต่ต้องตื่นเช้าๆ ไว้พรุ่งนี้ตีห้าครึ่งอ้ายกรจะพาไปตักบาตรข้าวเหนียวอีกที่หนึ่ง

อ้ายกร บอกว่าวันนี้จะพาไปชมวัดเชียงทอง แล้วล่องเรือไปถ้ำติ่ง ถ้าที่มีชื่อเสียงของหลวงพระบาง ไม่ว่าใครที่มาถึงหลวงพระบางแล้ว จะต้องเดินทางต่อไปถ้ำติ่ง เพราะถ้าไม้ไปถ้ำติ่ง ก็น่าเสียดาย เพราะเหมือนกับมาไม่ถึงหลวงพระบาง
เมืองหลวงพระบางนั้นไม่ใหญ่โตอะไรมาก การจราจรก็ไม่ติดขัด บรรยากาศดูน่าสบายไปหมด และมองดูแล้วไม่ต่างจากเมืองไทย เลยไม่ค่อยรู้สึกว่ามาอยู่ต่างประเทศนั่งรถไปก็ยังนึกว่าอยู่ในเมืองไทย ค่าครองชีพก็ไม่สูง ถูกกว่ากรุงเทพฯ แน่นอน แต่ไม่ถูกกว่ามาก เพราะหลวงพระบาง กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวไปแล้ว เพียงแต่ในช่วงที่คณะของลุงสุขเดินทางไปหลวงพระบางนั้นตรงกับวันหยุดหลายวัน จึงมีนักท่องเที่ยวชาวไทยเข้ามาเที่ยวหลวงพระบางมากเป็นพิเศษ มองไปทางไหนก็เจอแต่คนไทยส่งภาษาไทยกันล้งเล้ง ชาวต่างชาติมีไม่มากนัก และส่วนใหญ่ดูจะเป็นชาติเอเชียมากกว่า ฝรั่ง ภาษาไทย และเงินไทยใช้ที่หลวงพระบางได้เลย แม่ค้าพ่อค้าชาวลาวไม่รังเกียจเงินไทย ที่นี่ เงินไทย และ ดอลล่า ใช้ได้เหมือนเงินลาวเลย เพียงแต่จ่ายเป็นเงินบาท แต่เวลาทอนกับทอนมาเป็นเงินกีบ คณะของลุงสุขเลยไม่ได้แลกเงินกีบ ใช้เงินไทยเหมือนอยู่ในประเทศไทยเลย เวลาจะซื้ออะไรก็ภามว่ากี่บาท พ่อค้าแม่ค้าก็บอกราคาเป็นเงินบาทมา โดยเขาเอา 250 หาร เงินกีบอีกทีหนึ่ง (ขณะนั้นเงินไทย 1 บาท แลกได้เงินกีบ 265 กีบแม่ค้าพ่อค้าก็ได้กำไรไปบาทละ 15 กีบ แต่ที่แย่คือเขาไม่มีแบงค์ 500 กีบทอนให้ ส่วนใหญ่จะปัดเศษเป็น 1 พันหมด คือซื้ออะไรก็ต้องจ่ายอย่างน้อย 4 บาทเราต้องขาดทุนเงินทอนทุกที) ส่วนใหญ่เวลาซื้อของก็ต้องเป็นหลักพัน เช่น ห้าพัน แปดพัน เป็นต้น นั่งดูบรรยากาศชีวิตชาวลาวสองข้างทางเพลินๆ ไม่นานอ้ายกร ก็นำรถมาจอดบริเวณหน้าวัดเชียงทอง
วัดเชียงทอง หรือชื่อเต็มๆ ว่า “วัดเชียงทองราชวระวิหาร” วัดเชียงทองนี้ตั้งใจกลางของเมืองหลวงพระบาง ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง บริเวณหัวแหลมที่แม่น้ำสองสายไหลมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำโขง และแม่น้ำคานตัววัดอยู่บนเนินสูง ซึ่งเมือจอดรถแล้วเราจะต้องเดินขึ้นบันไดไปอีกหลายขั้น แต่ก่อนที่เราจะเข้าชมก็ต้องควักเงินคนละ 1,000 กีบลาว หรือ 40 บาทไทย เพื่อเป็นค่าผ่านประตู ซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ตั้งแต่เวลา หกโมงเช้า ถึงห้าโมงเย็นกันทีเดียว




วัดเชียงทองเป็นวัดเก่าแก่ กว่า 400 ปี และมีความสำคัญมาก และยังได้ชื่อเสียงในด้านความสวยงามว่าเป็นวัดที่สวยงามที่สุดในหลวงพระบาง ได้รับการยกย่องว่าเป็นอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมของลาว นับว่าเป็นสุดยอดของสถาปัตยกรรมสกุลช่างล้านช้างเลยทีเดียว วัดเชียงทองสร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังนครเวียงจันทร์ไม่นาน คือ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2102-2103 วัดเชียงทองจึงเป็นจุดรวมของความสนใจของนักท่องเที่ยวทั้งหลายที่เดินทางมาหลวงพระบาง

จุดเด่นของวัดเชียงทองอยู่ที่พระอุโบสถ หรือที่ชาวลาวเรียกว่า “สิม” เป็นพระอุโบสถขนาดไม่ใหญ่โตนัก มีหลังคาแอ่นโค้งลาดต่ำลงมาซ้อนกันอยู่สามชั้น ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะของหลวงพระบาง ส่วนกลางของหลังคามีเครื่องยอดสีทองเหลืองอ่าม ซึ่งชาวลาวเรียกส่วนนี้ว่า “ช่อฟ้า” ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 17 ช่อ เป็นที่น่าสังเกตุว่า วัดที่กษัตริย์สร้างจะมีช่อฟ้า 17 ช่อ ส่วนวัดที่คนสามัญสร้างจะมีเพีย 1-7 ช่อเท่านั้น บริเวณตรงกลางของช่อฟ้าเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก เชื่อกันว่ามีของมีค่าบรรจุอยู่ สำหรับส่วนที่ประดับหน้าบัน ชาวลาวเรียกว่า โหง่ มีรูร่างเป็นเศียรนาค ซึ่งนาคนี้มีความสัมพันธ์กับศาสนาพุทธ ประตูพระอุโบสถเป็นไม้แกะสลักซึ่งประดิษฐ์ ประดอยอย่างวิจิตรงดงามมาก เช่นเดียวกับหน้าต่าง ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพลงรักปิดทอง เหลืองอร่ามงดงามยิ่งนัก ส่วนใหญ่เป็นภาพพุทธประวัติ เรื่องพระสุธน – มโนราห์ และเรื่องพระเจ้าสิบชาติ
ภายในพระอุโบสถ หรือ “สิม” นั้นเป็นที่ประดิษฐานของพระประธาน หรือที่เรียกกันว่าพระองค์หลวง สีทองเหลืออร่ามงดงามมาก ข้างพระองค์หลวงมีพระบางจำลอง และผนังด้านหลังของพระอุโบสถเป็นภาพที่เกิดจากการใช้กระจกสีตัด ติดต่อกันเป็นรูปต้นทองขนาดใหญ่ ซึ่งเคยมีในเมืองหลวงพระบางลักษณะคล้ายต้นโพธิ์ ด้านข้างต้นทองเป็นรูปสัตว์ในวรรคดียามใดที่แสงแดดสดส่องสะท้อนดูงดงาม

ด้านข้างและด้านหลังของพระอุโบสถเป็นที่ตั้งของวิหารน้อยสองหลัง ซึ่งมีจุดเด่นคือผนังด้านนอกมีการตกแต่งด้วยกระจกสี ตัดเป็นชิ้นเล็กๆและนำมาต่อเป็นรูปต่างๆเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน บนพื้นสีชมพู ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระพุทธรูปนี้เคยถูกนำไปจักแสดงที่กรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2474 และนำไปประดิษฐานที่นครเวียงจันทน์หลายสิบปี ก่อนจะนำมายังหลวงพระบางในปี พ.ศ.2507

ส่วนวิหารอีกหลังที่อยู่ด้านหลังพระอุโบสถคือ วิหารพระม่าน ผนังวิหารด้านนอกมีลักษณะคล้ายกับวิหารองค์แรก ภายในวิหารนี้ประดิษฐาน พระม่าน ในช่วงวันขึ้นปีใหม่จะมีการอันเชิญมาให้ประชาชนสรงน้ำและกราบไหว้เป็นประจำทุกปี ผนังด้านหลังวิหารทาด้วยสีชมพูประดับด้วยกระจกสีแสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คน สร้างขึ้นใน พ.ศ.2493 เพื่อเฉลิมฉลองที่โลกก้าวสู่ยุคกึ่งพระพุทธกาล
ด้านหลังของวิหารพระม่านจะเป็นพระธาตุศรีสว่างวงศ์ ซึ่งเป็นที่เก็บอัฐิของเจ้ามหาศรีสว่างวงศ์และด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นโขงเรือใกล้กับริมแม่น้ำโขงส่วนด้านหน้าพระอุโบสถเป็นที่ตั้งหอกลองมีลวดลายลงรักปิดทองสวยงาม
โรงเมี้ยนโกศ หรือโรงเก็บราชรถพระโกศของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2505 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดลักษณะเป็นโถงกว้าง ผนังด้านหน้าตั้งแต่หน้าบันลงมาจนถึงพื้นสามารถถอดออกได้เพื่อให้สามารถเคลื่อนราชรถออกมาได้ กลางโรงเมี้ยนโกศเป็นที่ตั้งราชรถไม้แกะสลักปิดทองคำเปลวรอบคัน มีพระโกศสามองค์ตรงกลางเป็นองค์ใหญ่ของเจ้าสว่างศรีวัฒนา ด้านหลังเป็นของพระราชมารดา ส่วนด้านหน้าเป็นของพระเจ้าอา โรงเก็บราชรถนี้ออกแบบโดยเจ้ามณีวงศ์ และใช้ช่างชาวหลวงพระบางชื่อ เพียตัน นับว่าเป็นช่างฝีมือดีประจำพระองค์ มีความชำนาญทั้งด้านงานเขียนและงานแกะสลัก
จุดเด่นของโรงเมี้ยนโกศยังอยู่ที่ประตูด้านนอกคือเป็นภาพแกะสลักวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ตอนสำคัญๆเช่น ตอนพิเภกกำลังบอกความลับที่ซ่อนหัวใจของทศกัณฑ์ให้กับพระราม ถัดลงมาเป็นตอนที่ทศกัณฑ์ต้องศรของพระรามเสียบเข้าที่หัวใจ ถัดลงมาเป็นตอนที่พระรามพระลักษณ์ต่อสู้กับทศกัณฑ์ ด้านล่างสุดเป็นตอนที่นางสีดาลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์กับพระราม เดิมที่ภาพแกะสลักเหล่านี้เป็นการลงรักปิดทอง ต่อมาได้มีการบูรณะใหม่โดยทาสีทอง ภายในวัดยังมีเขตสังฆาวาสและยังมีพระจำพรรษาอยู่เช่นวัดทั่วไป
วัดเชียงทองได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้ามหาชาติศรีสว่างวงศ์ และเจ้ามหาชาติศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์สององค์สุดท้ายของลาว จึงทำให้วัดเชียงทองสามารถรักษาสภาพเดิมอยู่ได้ครบถ้วนสมบูรณ์




 

Create Date : 30 พฤศจิกายน 2549
1 comments
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2549 17:46:56 น.
Counter : 1902 Pageviews.

 




สวย น่าทึ่งมากเลยค่ะ ถ้ามีโอกาศคงได้ไปเห็นด้วยตาตัวเองมั่ง
ขอบคุณนะคะ

 

โดย: Sweety-around-the-world 1 ธันวาคม 2549 1:13:00 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


บรมสุข
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




บรมสุข ชอบท่องเที่ยวทัศนาจร แต่ไม่ค่อยมีโอกาส เพราะปัญหาด้านการงาน และเศรษฐกิจ เป็นหลัก.
ชอบศึกษาพระพุทธศาสนา แต่ไม่ใช่คนเคร่งศาสนา.
ชอบอาหารอร่อยๆ แต่ไม่ชอบทำกับข้าว เพราะไม่ชอบล้างจาน
ชอบถ่ายภาพธรรมชาติ, ชีวิตผู้คน, สัตว์, ต้นไม้, ดอกไม้.

ชอบการมีชีวิตที่เรียบง่าย, อยู่ง่าย,กินง่าย(ถ้าอาหารอร่อย), นอนง่าย
อาหารจานโปรด ไข่เจียว (ชอบเจียวเอง)

จังหวัดที่หลงรัก ภูเก็ต, เชียงใหม่, เชียงราย

จังหวัดที่อยากไป แม่ฮ่องสอน (เพราะไปไม่เคยถึงสักที มีเหตุให้ต้องกลับก่อนถึงแม่ฮ่องสอนทุกที)

จังหวัดที่ไปบ่อย จันทบุรี (ไปทำบุญกับวัดที่ศรัทธาเป็นประจำทุกปี)

Friends' blogs
[Add บรมสุข's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.