|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
คุณธรรมทั้ง 8 ประการของขงจื้อ
คุณธรรมทั้ง 8 ประการของขงจื้อนั้น ชาวจีนถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและอยู่ในสายเลือดของชาวจีนมานานกว่า 2,500 ปีมาแล้ว โดยถือว่าผู้ใดที่มีคุณธรรมทั้ง 8 ประการนี้จะเป็นผู้ที่เจริญรุ่งเรือง มากมายด้วยบารมีและอำนาจ
ขงจื้อ (孔子) นั้นเป็นคำที่ชาวมักรู้จักกันดีว่าเป็นปราชญ์เอกของชาวจีน โดยถ้าจะออกเสียงเป็นสำเนียงจีนกลางแล้วจะออกเสียงว่า ข่งจวื่อ หรือในสำเนียงแต้จิ๋วว่า ค่งจื้อ ซึ่งมีชื่อเดิมว่า ข่งชิว (孔丘) เกิดเมื่อประมาณ 551 ปีก่อนคริสตกาล
ขงจื้อนั้นเป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความรู้ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ปรัชญา การดนตรี การบริหารเป็นอย่างดี เขานั้นเกิดมาท่ามกลางกลียุคที่ประเทศจีนแบ่งแยกออกเป็นก๊กต่างๆ แล้วทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างเจ้ารัฐทั้งหลาย
เขาจึงมองหาช่องทางอันเป็นช่องทางที่จะทำให้เกิดสันติสุขที่แท้จริงในชีวิตของคนเรา จึงได้เที่ยวสั่งสอนอบรมศีลธรรมจรรยาให้ผู้คนทั่วไป ครั้นหนึ่งเคยรับราชการเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม แต่ภายหลังด้วยความเบื่อหน่ายในเกมการเมืองจึงได้ลาออกจากตำแหน่ง แล้วท่องเที่ยวไปในแคว้นต่างๆ เพื่อเผยแพร่คุณธรรมของเขา จนเป็นที่รู้จักไปทั่วแผ่นดินจีนในสมัยนั้น
บั้นปลายชีวิตขงจื้อได้เดินทางกลับสู่แคว้นหลู่ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตน เลิกยุ่งกับการเมือง ทำหน้าที่เป็นอาจารย์อบรมสั่งสอนสานุศิษย์เพียงอย่างเดียวจนถึงแก่กรรม
คำสอนของขงจื้อนั้นจะสั่งสอนให้มนุษย์ทุกคนเป็นคนโดยสมบูรณ์ ด้วยการปฏิบัติตามคุณธรรม 8 ประการ (八德) หรือ ปาเต่อ ในภาษาจีนกลางและ โป่ยเต็ก ในภาษาจีนแต้จิ๋ว โดยคุณธรรมทั้ง 8 ประการนั้นจะมีดังนี้
1. 孝 (จีนกลาง : เซี่ยว / จีนแต้จิ๋ว : เห่า) อันหมายถึง การมีความกตัญญูกตเวที อันเป็นคุณธรรมอันดับแรกที่จะขาดเสียมิได้ เพราะชาวจีนจะถือเป็นเรื่องใหญ่ว่า ถ้าคนเราไม่รู้สำนึกในบุญคุณคนและไม่รู้จักการตอบแทนบุญคุณแล้ว ถือว่าคนผู้นั้นไร้ซึ่งคุณธรรมเลยทีเดียว
ซึ่งจะแยกย่อยออกเป็น 4 ข้อใหญ่ดังนี้ คือ 1) มไม่นำความเสื่อมเสียมาให้แก่ผู้ที่มีบุญคุณ, 2) ช่วยรับภาระความทุกข์ของผู้มีบุญคุณ, 3) ตอบแทนบุญคุณด้วยความเคารพและจริงใจ และ 4) โอนอ่อนไม่ขัดใจ ไม่ขัดเคืองโกรธตอบในสิ่งที่ท่านสั่งสอน
2. 悌 (จีนกลาง : ที่ / จีนแต้จิ๋ว : ตี๋) อันหมายถึง ความรักใคร่ปรองดอง หรือ การให้ความเคารพปรนนิบัติรับใช้ผู้ที่มีอายุมากกว่าชาวจีนถือว่าการที่ครอบครัวหรือชุมชนนั้นมีความปรองดอง รู้จักให้อภัย รู้จักอดทนซึ่งกันและกัน รู้จักเอื้ออารีกัน ย่อมจะทำให้เกิดความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองตามมา
3. 忠 (จีนกลาง : ตง / จีนแต้จิ๋ว : ตง) หมายถึง ความซื่อสัตย์, จงรักภักดี, ตรงไปตรงมา อันสื่อถึงการวางหัวใจของตนนั้นให้เที่ยงตรงไม่โอนเอียง มีความยุติธรรมเป็นหลัก ไม่หักหลังทำสิ่งน่าละอายต่อตนเองและผู้อื่น ซื่อตรงต่อฟ้าดิน ต่อบ้านเมือง และบุคคลทั่วไป คือ มีความซื่อตรงทั้งต่อหน้าและลับหลัง
4. 信 (จีนกลาง : ซิ่น / จีนแต้จิ๋ว : สิ่ง) หมายถึง มีสัจจะ, มีสัตย์ ซึ่งวาจาสัตย์นั้นถือว่าเป็นบรรทัดฐานแห่งมนุษยธรรมอันล้ำค่า ดังจะได้ยินจากภาพยนต์อยู่บ่อยว่า พูดแล้วไม่คืนคำ อันจะนำมาซึ่ง ความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ และเกียรติคุณในอนาคต
5. 礼 หรือ 禮 (จีนกลาง : หลี่ / จีนแต้จิ๋ว : โล่ย, ลี่) หมายถึง จริยธรรม, จารีตประเพณี, การให้ความเคารพ, มารยาท ชาวจีนเชื่อว่าคนเรานั้นประเสริฐกว่าสัตว์เดรัจฉานและคนเราจะได้รับการยกย่องก็ต่อเมื่อคนเรานั้นมีจริยธรรม มารยาทอันดีงาม รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน มีความสุภาพสง่างาม มีสัมมาคารวะ เคารพในสิทธิของผู้อื่น
6. 义 หรือ 義 (จีนกลาง : อี้ / จีนแต้จิ๋ว : หงี่) หมายถึง มโนธรรม, ความสันโดษมักน้อย, หลักธรรมนองคลองธรรม, สัจธรรม ถ้าหากมีความเป็นธรรมในหัวใจอันเป็นจุดเริ่มต้นของการกระทำแล้ว มนุษย์ย่อมไม่กระทำในสิ่งชั่วร้าย จะไม่โลภในทรัพย์สินของผู้อื่น แล้วจะรู้จักการเสียสละช่วยเหลือผู้อื่นด้วย
7. 廉 (จีนกลาง : เหลียน / จีนแต้จิ๋ว : เนี้ยม) หมายถึง สุจริตธรรม, มือสะอาด, ไม่คดโกง และต้องเป็นคนเสมอต้นเสมอปลายด้วยการกระทำความดี ทั้งในด้าน การงาน, การเงิน, มารยาทระหว่างชายหญิง, มีกายวาจาใจที่เที่ยงตรง และมีพฤติกรรมการแสดงออกที่เที่ยงตรง
8. 耻 หรือ 恥 (จีนกลาง : ฉวื่อ / จีนแต้จิ๋ว : ชี่) แปลว่า ยางอาย, ความละอายต่อความชั่ว อีกทั้งคุณธรรมข้อนี้ยังสอนให้รู้จักอดทนอดกลั้นต่อคำสบประมาทหรือเหยียดหยาม โดยก่อนจะโกรธหรือเกลียดใครให้ชั่งใจก่อนว่าสิ่งที่เขากล่าวมานั้น เราได้ทำดีหรือทำผิดไปหรือไม่ ถ้าทำดีแล้วก็ปล่อยวาง แต่ถ้าเราทำไม่ดีอย่างที่เขาว่าก็ควรปรับปรุงตัว
นอกจากคุณธรรมทั้ง 8 ประการของขงจื้อนี้แล้ว ชาวจีนบางท่านอาจนำคำอื่นซึ่งมีความหมายคล้ายกันแทนคุณธรรมข้อ 悌 กับ 信 ก็มีคือคำว่า
仁 (จีนกลาง : เหยิน / จีนแต้จิ๋ว : ยิ้ง) แปลว่า เมตตาปราณี, เมตตาการุณย์, มีสัจจะ, มีศีลธรรม, มีธรรมประจำใจ หรือ คุณธรรมของบัณฑิต เพราะ ความเมตตาปราณีนั้นจะนำมาซึ่งมิตรที่ดี
爱 หรือ 愛 (จีนกลาง : ไอ้ / จีนแต้จิ๋ว : ไอ่) แปลว่า รักด้วยความจริงใจ, ชอบในสิ่งที่ควร, หวงแหน, สิ่งที่ตนนิยม อันแสดงถึง ความรักที่เป็นสาธารณะ หรือ ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ถูกต้อง
นี่เองที่ชาวจีนถือว่าเป็นคุณธรรมประจำใจอันตกทอดสืบต่อกันมาของสายเลือดมังกร และถือว่าเป็นมงคลแห่งชีวิตที่ควรประพฤติปฏิบัติตาม ดั่งคำที่ชาวจีนมักกล่าวกันไว้ว่า เมื่อคนเรามีคุณธรรมแล้ว โชคลาภความร่ำรวยชื่อเสียงเกียรติยศย่อมตามมา หรือในมุมกลับกัน ถ้าไร้ซึ่งคุณธรรมเสียแล้ว แม้จะเก่งกล้าหรือดวงดีสักแค่ไหน สุดท้ายก็จะพบแต่ความพินาศ
ดังนั้นจึงเห็นว่าชาวจีนมักจะติดวลีคุณธรรมมงคลไว้กันในบ้านเรือนเพื่อเตือนใจ ว่า 孝悌忠信礼义廉耻 หรือคำว่า 忠孝仁愛禮義廉耻 กันอยู่เสมอเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจถึงการมีคุณธรรมประจำใจ อันจะนำมาซึ่งโชคลาภและความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตทั้งมวล
(((((((((((( <3 ))))))))))))
#พระธรรม #สังสารวัฏ #วัฏสังสาร #น้ำทิพย์ #พ้นทุกข์ #หลุดพ้น #หลุดพ้นทุกข์ #ทุกข์ #สุข #สงบ#แสงแห่งธรรม #เพลงธรรม #รวมพระโอวาท#สารบัญเพลงธรรม #รวมเพลงธรรม #พระโพธิสัตว์#พระพุทธะ #พระศาสดา #อนุตตรธรรม #จิตจักรวาล #พระบิดา #พระมารดา #พระเจ้า
คัดลอกมาจาก : https://www.facebook.com/743491969091991/photos/a.743497972424724/1342852865822562/?type=3&theater
Create Date : 16 ธันวาคม 2561 |
Last Update : 16 ธันวาคม 2561 10:12:11 น. |
|
1 comments
|
Counter : 12655 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: ตังชัย วันที่: 16 ธันวาคม 2561 เวลา:10:13:39 น. |
|
|
|
|
|
|
|