12 weeks แรกลูกน้อยในครรภ์โตเร็วสุดๆ
lozocaelozocae

สัปดาห์ที่ 4-8 หลังการปฏิสนธิ จะเป็นช่วงของการสร้างอวัยวะต่างๆ (Organogenesis) เนื่องจากการเจริญของบริเวณท่อส่วนที่สร้างระบบประสาท (Neural tube) ซึ่งอยู่ด้านหลังเจริญเร็วกว่าส่วนท้องของตัวอ่อน ทำให้เกิดการโค้งของสมองและหัวใจมาทับกันอยู่ด้านหน้า จึงเห็นรูปร่างภายนอกของตัวอ่อนโค้งงอ แล้วค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปจนมีลักษณะคล้ายมนุษย์เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 8





ช่วงสัปดาห์ที่ 12 การตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นระยะที่สามารถคลำยอดมดลูกได้เหนือกระดูกหัวหน่างแล้ว ความยาวทารกจากศรีษะถึงกัน วัดด้วยเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อคำนวณอายุครรภ์ (crown-rump length) จะได้ประมาณ 6-7 เซนติเมตร

ในช่วงอายุครรภ์นี้จะมีการสร้างเนื้อกระดูก (ossification) และการพัฒนาของนิ้วมือและนิ้วเท้า ผิวหนัง เล็บและเส้นขน อวัยวะเพศภายนอกเริ่มแยกได้ว่าเป็นชายหรือหญิง แต่ยังตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ไม่พบนะครับ

ระยะนี้ทารกเริ่มมีการเคลื่อนไหว โดยคุณแม่จะไม่รู้สึกว่าลูกดิ้น เนื่องจากแม่จะเริ่มรู้ว่าลูกดิ้นในท้องแรกเมื่ออายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นท้องหลัง คุณแม่จะรู้สึกได้เมื่ออายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ แต่ความเป็นจริงในมดลูกคือ ทารกเริ่มมีการเต้นของหัวใจ ตั้งแต่เริ่มเห็นตัวทารก และจะเริ่มเห็นทารกขยับตัวในการตรวจอัลตราซาวนด์ เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 8-10 สัปดาห์

ดังนั้น คุณแม่ต้องเข้าใจว่าการเคลื่อนไหวของทารกมีตั้งแต่อายุครรภ์ 8-10 สัปดาห์แล้ว แต่คุณแม่ไม่รู้สึกเนื่องจากทารกยังเล็กมาก และเคลื่อนไหวก็ไม่มากจนทำให้คุณแม่รู้สึก เพราะฉะนั้นช่วงอายุครรภ์ที่ต่ำกว่า 16-18 สัปดาห์นี้ คุณแม่จะไม่รู้ว่าลูกดิ้นอยู่แน่นอน จึงไม่ต้องกังวลใจหากไม่รู้สึกว่าลูกดิ้นอยู่ก่อนอายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ครับ

การทำงานของระบบประสาททารกเริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ หลังมีการงอกของอวัยวะและลำตัว และจะเริ่มมีตุ่มรับรสที่ลิ้นเมื่ออายุครรภ์ 7 สัปดาห์ โดยตุ่มรับรสจะเริ่มทำงานเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์

เมื่ออายุครรภ์ 10 สัปดาห์ ทารกเริ่มกลืนได้ และตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น โดยการกลอกตา อ้าปากและขยับมือ รวมทั้งสามารถกำมือได้เต็มที่เมื่ออายุครรภ์ 12-16 สัปดาห์

เมื่ออายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ ทารกเริ่มกลืนได้และลำไส้เล็กเริ่มเคลื่อนไหวพร้อมทั้งดูดซึมกลูโคสได้ ตับอ่อน (pancreas) สามารถสร้าง insulin ตั้งแต่อายุครรภ์ 9-10 สัปดาห์ และเริ่มตรวจพบ insulin ในเลือดทารกเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ เชื่อว่าการเจริญเติบโตของทารกส่วนหนึ่งเป็นผลจากอาหารที่คุณแม่กิน และ insulin ของทารก

ไตของทารกจะมีพัฒนาการเป็นระยะ ซึ่งจะเริ่มสร้างเมื่ออายุครรภ์ 9-12 สัปดาห์ ส่วนการเจริญเติบโตของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีความสำคัญต่อการรอดชีวิตของทารกหลังจากคลอดทารกที่คลอดก่อนกำหนดและปอดยังเจริญไม่เต็มที่ จะเกิดภาวะที่เรียกว่า respiratory distess syndrome (ภาวะปอดยังเจริญไม่เต็มที่) อาจทำให้ทารกเสียชีวิตหลังคลอดได้)

การเจริญเติบโตของปอดจะเริ่มระหว่างอายุครรภ์ 5-17 สัปดาห์ จะมีการเจริญของหลอดลม กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจจะเริ่มทำงานเมื่ออายุครรภ์ 11 สัปดาห์ และเมื่อ 12 สัปดาห์ จะสามารถเคลื่อนไหวจนทำให้เกิดการไหลของน้ำคร่ำ เข้าและออก จากปอดของลูกน้อยในครรภ์

ต่อมไทรอยด์เริ่มสร้างฮอร์โมน เมื่ออายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ ไทรอยด์ฮอร์โมนในทารกมีบทบาทในการพัฒนาอวัยวะแทบทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะที่สมองของลูกน้อยในครรภ์

ระบบไหลเวียนในรกเริ่มทำงานเมื่อทารกอายุตั้งแต่ 17 วัน โดยจะมีการไหลเวียนของโลหิตใน villi (หลอดเลือดที่เลี้ยงอยู่ในรก) ในกรณีที่ villi ไม่มีการสร้างเส้นเลือดเชื่อมต่อกับทารกจะเกิดการสะสมของเหลวใน villi และพองเป็นถุง (vesicles)

ถ้าหากมีความผิดปกติมากก็จะกลายเป็น ครรภ์ไข่ปลาอุก (hydatidiform mole) คุณแม่บางคนอาจเคยได้ยินคำนี้ เช่น คุณหมอบอกว่าการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกไม่มีตัวเด็ก คุณหมอหมายถึงว่ามีความผิดปกติในการพัฒนาของรกและระบบไหลเวียนโลหิตใน villi ทำให้เกิดเป็นถุงเล็กๆ หรืออาจเป็นถุงใหญ่ๆ ดูคล้ายไข่ปลาอุก ที่เราเรียกว่า ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก อาจพบร่วมกับมีหรือไม่ทารกก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่พบว่ามีทารก ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นมะเร็งได้

ดังนั้นหากตรวจพบว่าเป็นการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก คุณหมอก็จะแนะนำให้คุณแม่สิ้นสุดการตั้งครรภ์ โดยการตรวจเลือดเพื่อหาระดับ hormone ที่เรียกว่า Beta hcg รวมทั้งการตรวจเลือดเพื่อดูค่าต่างๆ และเตรียมเลือดให้เพียงพอเพื่อการขูดไข่ปลาอุกในมดลูก เราจะพบว่ามีโอกาสเสียเลือดของคุณแม่ขณะดูดและขูดมดลูกได้สูงมาก และมีโอกาสเสี่ยงหากชิ้นเนื้อนั้นสงสัยว่าจะมีการกลายเป็นมะเร็ง ซึ่งอาจต้องตัดมดลูกหรือร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดร่วมไปด้วย

มาถึงตอนนี้ คุณแม่คงนึกภาพสรีรวิทยาของทารกในครรภ์ได้ชัดเจนมากขึ้น และสามารถเข้าใจการเติบโตของอวัยวะต่างๆ ของทารกได้ดีขึ้น ยังมีสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับลูกในท้องของคุณอีกมาก จะเห็นได้ว่าในช่วงการสร้างอวัยวะต่างๆ เหล่านี้ล้วนเกิดในช่วงอายุครรภ์ก่อน 3 เดือน คุณแม่จึงต้องระวังเรื่องการรับประทานยาที่อาจมีผลต่อการสร้างอวัยวะต่างๆ ของลูกน้อยในครรภ์


(update 9 กรกฎาคม 2005)
[ ที่มา.. นิตยสารรักลูก ปีที่ 23 ฉบับที่ 265 กุมภาพันธ์ 2548 ]

lozocaelozocae



Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 24 มิถุนายน 2552 5:43:20 น.
Counter : 6572 Pageviews.

0 comments

เจ้าแม่แฟชั่น
Location :
  Maldives

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



Group Blog
กุมภาพันธ์ 2552

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
23
24
25
26
28
 
All Blog