พฤศจิกายน 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
เมืองจักรยานที่เคยอยู่
ถ้าไม่นับที่เคยขี่จักรยานเที่ยวเล่นสมัยยังเด็ก   ผมมาใช้จักรยานอย่างจงใจจะให้เป็นพาหนะเอาเมื่ออายุย่างเข้า 30    สาเหตุเพราะมีอันให้ไปเป็นกระเหรี่ยงต่างแดนอยู่ในเขตชานเมืองของเมืองที่ชาวบ้านชาวช่องเขาเรียกอย่างภาคภูมิใจว่าเป็น "เมืองหลวงของจักรยาน"

   เมืองที่ว่า คือ  Christchurch ประเทศนิวซีแลนด์

   เมื่อสมัยที่ผมไปตกระกำลำบากอยู่แถวนั้น   เจ้าของบ้านเมืองพูดกันว่าทั้งประเทศมีประชากรแกะมากกว่าประชากรมนุษย์เสียอีก (อันที่จริงประชากรทั้งประเทศ ณ เวลานั้นเท่ากับประชากรในกรุงเทพฯ พอดี)    พื้นที่แถบนั้นหรือก็แสนจะราบเรียบ   ย่านชานเมืองเป็นฟาร์มแกะและตัวเมือง (หมู่บ้าน) เล็กๆ   แต่ถนนหนทางไปมาสะดวก

   ความที่คนน้อยกว่าแกะ   ถนนเลยพลอยว่าง   ประกอบกับน้ำมันแพงเพราะประเทศนี้เป็นเกาะอยู่ไกลผู้ไกลคน   ประชาชนที่นี่จึงพึ่งพาจักรยานเป็นพาหนะหลักในการเดินทางระยะใกล้   เรียกกันว่าเป็นวัฒนธรรมประจำเมืองเลยก็ว่าได้

   ย่านชุมชน   หน้าศูนย์การค้า   ย่านธุรกิจ   โบสถ์   สวนสาธารณะ   ทุกแห่งมีที่จอดจักรยาน   และมีจักรยานไปจอดเรียงราย

   ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นคนสวมกางเกงขี่จักรยานเดินตามถนนหรือเข้าร่วมกิจกรรมที่ไม่ต้องแต่งกายอย่างเป็นทางการมาก

    อันที่จริงมีสาวมั่นเพื่อนร่วมรุ่นของผมคนหนึ่งสวมกางเกงจักรยานขาสั้นเข้าห้องเรียนด้วยซ้ำ

    แต่เมืองนี้ไม่มีทางเฉพาะจักรยาน

    ปัจจุบันอาจจะมีแล้ว   แต่เมื่อครั้งกระโน้นไม่มีแน่ๆ   เพื่อนผมที่มาจากยุโรปและคุ้นเคยกับการมีทางจักรยานเคยถามเจ้าถิ่นว่าทำไมที่นี่ไม่มีทางจักรยาน   คนถูกถามทำหน้ากวนๆ แล้วบอกว่า  ที่นี่เป็นเมืองหลวงของจักรยาน   จักรยานเป็นใหญ่   คนขับรถให้ความเกรงใจ

   นัยยะของคำตอบนั้นก็คือ   คนขับรถให้ความเคารพต่อสิทธิของการใช้ถนนร่วมของคนขี่จักรยาน   ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีทางจักรยานให้เปลืองงบประมาณ

   แล้วปลอดภัยไหม

   ขี่จักรยานอยู่แถวนั้นเป็นนาน   โดนรถยนต์ปาดหน้าครั้งเดียว   สาเหตุเพราะผมดันจะตามน้ำฝ่าไฟแดงด้วยความเคยชินแบบไทยๆ

  ประเด็นที่น่าสนใจที่อยากเขียนถึงตรงนี้คือ   ถ้าเมืองไทยจะมีเมืองจักรยานบ้าง   บรรยากาศควรจะเป็นอย่างไร

   ข้อแรกที่ควรจะเป็นเลยคือ   ประชากรส่วนใหญ่มีความเห็นว่าจักรยานก็เป็นพาหนะหลักชนิดหนึ่งในการเดินทาง   ไม่ใช่ของเล่นหรือเครื่องออกกำลังกาย

   ข้อที่สองคือ   โครงสร้างของเมืองต้องเอื้อต่อการเดินทางด้วยจักรยาน   เมืองไม่ควรมีศูนย์กลางอยู่ที่เดียว   แต่ควรจะกระจายย่านธุรกิจออกเป๋็นหย่อมๆ   ล้อมรอบด้วยย่านที่พักอาศัย   ที่พักอาศัยและทำเลธุรกิจควรจะอยู่ในรัศมี 20 กิโลบวกลบนิดหน่อยเป็นอย่างสูง   เพื่อเอิ้อให้คนสามารถเดินทางด้วยจักรยานได้   มากกว่านี้มันพ้นวิสัยที่คนสุขภาพโดยเฉลี่ยทั่วไปจะใช้จักรยานเป็นพาหนะในการไปทำงานหรือไปจับจ่ายซื้อของหรือทำกิจวัตรประจำวันประการอื่นได้   และหากต้องการหรือมีความจำเป็นที่จะเดินทางไปยังส่วนอื่นของเมือง   ต้องมีระบบขนส่งมวลชนที่ดีพอจะทำได้

   ข้อที่สามคือวัฒนธรรมองค์กรทั้งหมดในเมืองต้องยอมผ่อนคลายเรื่องเสื้อผ้าหน้าผมที่ต้องเป๊ะตลอดเวลาลงบ้าง   เอาแต่เพียงพอดีๆ   เปิดโอกาสให้คนที่ขี่จักรยานได้พกพาเสื้อผ้ามาอาบน้ำแต่งตัวในที่ทำงานได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะโดนบอสเล่นงานเรื่องเสื้อยับหรือทรงผมไม่เป็นระเบียบ

   ถ้าได้อย่างนี้คนจะกันมาใช้จักรยานเป็นพาหนะกันมากขึ้น   เกื้อหนุนให้เกิดสภาพของเมืองจักรยานขึ้นมาเอง

   ส่วนการตีเส้นแบ่งเลนจักรยานและโหมโฆษณานั้น   ไม่ได้ทำให้เมืองเป็นเมืองจักรยานขึ้นมาได้แน่นอน







Create Date : 19 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 24 ตุลาคม 2558 18:09:55 น.
Counter : 346 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Tanis
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]