Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
19 มกราคม 2552
 
All Blogs
 

น้ำมันหอมระเหย

น้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) คืออะไร ?



น้ำมันหอมระเหย เป็นผลิตผลจากการสกัดพืชสมุนไพรนานาชนิด ซึ่งอาจสกัดมาจากส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชนั้นๆ เช่น สกัดมาจาก ผล ดอก ใบ เมล็ด เปลือก ก้าน ฯลฯ วิธีการสกัดที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ การกลั่นด้วยไอน้ำ และการใช้สารเคมีเป็นตัวทำลาย หลังจากการสกัดน้ำมันหอมระเหยที่ได้จะถูกนำมาสังเคราะห์ เพื่อกลั่นแยกหาสารต่างๆ ที่มีกลิ่นหอม สารเหล่านี้เองที่จะถูกนำมาคัดเลือก ผสมผสานและสร้างขึ้นมาเป็นกลิ่นใหม่ๆ


การสร้างสรรค์ให้ได้กลิ่น โดยปกติแล้ว มี 3 ขั้นตอน คือ
1.สกัด
2.สังเคราะห์
3.ประกอบสร้างขึ้นใหม่


กลิ่นสังเคราะห์จากสารเคมี...และที่มา


นับตั้งแต่ นักเคมีชาวอังกฤษ เซอร์วิลเลี่ยม เฮนรีเบอร์กิน ได้สกัดกลิ่นหอมจากสารเคมีขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ.1863 จนถึงทุกวันนี้ ทำให้มีสารกลิ่นหอมที่ได้จากการสังเคราะห์สารเคมี อยู่มากกว่า 4,000 ชนิด (ส่วนกลิ่นที่สกัดจากพืชธรรมชาติ มีมากกว่า 2,000 ชนิด และพบในประเทศไทย ประมาณ 400 ชนิดและกลิ่นหอมที่ได้จากสัตว์มีเพียง 4 ชนิด)
กลิ่นหอมกลิ่นแรกที่คิดค้นได้เป็นกลิ่นที่คล้ายกับกลิ่นอัลมอลด์ ซึ่งเป็นกลิ่นไนโตรเบนซิน ได้มาจากสารสังเคราะห์ จากกรดไนตริกและเบนซิน ต่อมาก็มีการคิดค้นกลิ่นต่างๆ อีกมากมาย


สารหอมระเหยที่ได้จากสัตว์มีเพียง 4 ชนิด


นอกเหนือจากที่รู้กันว่าดอกไม้มีกลิ่นหอมแล้ว ยังมีกลิ่นหอมที่ได้จากสัตว์อยู่ 4 ชนิด ซึ่งเป็นที่รู้จักดีมาตั้งแต่โบราณ สารระเหยที่ได้จากสัตว์มักมีราคาแพงและหายาก เพราะต้องคร่าชีวิตสัตว์เหล่านั้นมาเพื่อได้ซึ่งกลิ่นหอม


1. กลิ่นอำพัน หรืออำพันทอง (ambergris) จากปลาวาฬหัวทุย เป็นส่วนที่ปลาวาฬจะสำรอกเอาก้อนอำพันนี้ ออกมาจากกระเพาะหรือฆ่าปลาวาฬแล้วผ่าเอาก้อนอำพันมา มักพบมากในแถบชายฝั่งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์


2. กลิ่นชะมด กลิ่นที่ได้จากชะมด เป็นสิ่งที่ชะมดขับจากกระเปาะของต่อมคู่ใกล้อวัยวะสืบพันธ์ ของทั้งตัวผู้และตัวเมียที่เช็ดเอาไว้ตามต้นไม้ กลิ่นนี้ถ้าหากต้องการ ต้องจับชะมดมาขังไว้แล้วจะได้กลิ่นที่ชะมดเช็ดเอาไว้ตามกรง


3. กลิ่นจากบีเวอร์ เป็นกลิ่น castoreum ซึ่งเป็นสิ่งขับถ่ายจากกระเปาะรูปทรงรีระหว่างทวารหนัก และอวัยวะสืบพันธุ์ แรกๆ จะมีกลิ่นไม่หอมแต่เมื่อเวลาผ่านไป กระบวนการทางเคมีจะเปลี่ยนให้กลิ่นหอมทนนาน ขบวนการนี้ก็เช่นเดียวกับอำพันซึ่งต้องใช้เวลาเปลี่ยนให้กลิ่นหอมขึ้น


4. กลิ่นจากกวาง (Musk deer, Moschus mos-chiferus) ซึ่ง Musk เป็นผงไขมันแข็ง สีคล้ำอยู่ในกระเปาะที่เป็นถุงหนัง จะได้มาด้วยการฆ่ากวางแล้วผ่าเอาออกมา จึงมีราคาแพง


น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากพืชธรรมชาติปลอดภัย รักษาสิ่งแวดล้อม
ประวัติศาสตร์ของการสกัดกลิ่นหอมจากพืชธรรมชาติ มีมากกว่า 6,000 ปี ดังนั้นวิวัฒนาการที่ใช้ในการได้มาซึ่งกลิ่น จึงมีหลากหลาย ตามแต่ยุคสมัย ตั้งแต่วิธีที่ง่ายที่สุดถึงยากที่สุด อาทิ


1. เปลวไฟย่างท่อนไม้ จนทำให้ไม้คายน้ำมันออกมา ทีละหยด แล้วนำน้ำมันหอมไปใช้


2. ต้มด้วยความร้อน นำดอกไม้ลงต้มกับน้ำมัน จนถึงระดับความร้อนที่น้ำมันในดอกไม้คายตัวออกมา แล้วนำไขน้ำมันหอม (ปอมเมด-POMADE-น้ำมันหอมเข้มข้น) ที่ได้มาไปทิ้งไว้ให้เย็นเพื่อนำไปเก็บไว้ใช้ต่อไป แต่วิธีนี้ใช้ได้กับดอกไม้ที่มีกลีบแข็งแรงและทนทาน เช่น กุหลาบ และกระดังงา ส่วนดอกไม้ที่บอบบางเช่น มะลิ ใช้วิธีนี้ไม่ได้จะทำให้กลิ่นเหม็นเขียว


3. หีบ คล้ายกับการหีบอ้อย ส่วนมากจะใช้กับไม้ใบ กิ่ง ก้าน ลำต้น ส่วนที่ได้มาคือน้ำเลี้ยง (ซึ่งจะนอนก้น) และน้ำมันหอม (ซึ่งจะลอยอยู่ส่วนบน) เมื่อได้น้ำมันหอมมาก็ซ้อนขึ้นมาใช้ได้เลย


4. กลั่น แพทย์ชาวอาหรับชื่อ อวิเซนา เป็นผู้ค้นพบวิธีกลั่นนี้ ซึ่งใช้หลักง่าย ๆ โดยการต้มดอกไม้ ใบไม้ แล้วปล่อยให้ไอน้ำ พากลิ่นหอมลอยไปปะทะความเย็น ในฉับพลันไอน้ำร้อนนั้นจะควบแน่นเป็นหยดน้ำมันหอมระเหย วิธีนี้เป็นที่นิยมและแพร่กระจายไปทั่วยุโรป จนทำให้มีวิวัฒนาการ การสกัดเกิดขึ้นอีกหลายวิธี และวิธีกลั่นนี้ก็ยังนิยมใช้กันจนถึงปัจจุบันนี้ แต่เครื่องกลั่นมีความทันสมัยขึ้นเพราะจะมีท่อแยกน้ำมันหอมระเหย และน้ำออกจากกัน


5. การสกัดด้วยการดูดซึมด้วยความเย็น โดยใช้ไขวัวบริสุทธิ์ ฉาบบนแผ่นกระจกใสแล้วโรยดอกไม้หอมให้ทั่ว กลิ่นหอมจะถูกไขวัวซึ่งเย็นกว่าดูดซับน้ำหอมเอาไว้ แล้วจึงนำไขวัว ไปแยกกลิ่นหอมอีกทีหนึ่ง วิธีดูดซับกลิ่นด้วยไขมันนี้ เป็นวิธีการที่พัฒนามาจากอียิปต์โบราณ ซึ่งนิยมแช่ดอกไม้หอม ในไขวัว-แกะ-ห่าน เพื่อนำมาใช้แต่งผม วิธีการทำน้ำหอมที่เรียกว่า อองเฟลอราจ (Enfleurage) ก็มีวิวัฒนาการมาจากการสกัดนี้เช่นกัน


6. การสกัดด้วยวิธีแช่ดอกไม้ลงในสารละลายที่ระเหยเร็วมาก สารทำละลายที่ใช้คือ แอลกอฮอล์ อาซีโตน เฮกเซน อีเทอร์ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับดอกไม้แต่ละชนิดว่า ต้องใช้ตัวทำละลายชนิดไหน ใช้อุณหภูมิเท่าใด ขั้นตอนที่เข้าใจง่ายๆ คือ เรียงดอกไม้ลงในถัง ไม่ให้แน่นเกินไป เมื่อใส่สารละลายลงไปก็จะได้ทำปฏิกิริยาได้อย่างทั่วถึง
สารละลายนี้จะละลายเอาน้ำมันหอมระเหยออกจากดอกไม้ จากนั้นก็เป็นขบวนการแยกสารสกัดหอมออกจากตัวทำละลาย เอาน้ำมันหอมระเหยออกจากดอกไม้ จากนั้นก็เป็นขบวนการ แยกสารสกัดหอมจากตัวทำละลาย ซึ่งสารสกัดหอมที่ได้ จะอยู่ในหลายรูปแบบ เช่น ของเหลว ของแข็ง และครีมเข้ม ส่วนสีก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด ในการสกัดนี้ จะใช้เวลาในการสกัดไม่เท่ากัน บางชนิด 10 ชั่วโมง บางชนิดถึง 40 ชั่วโมง จากนั้นก็นำสารสกัดที่ได้ไปทำปฏิกิริยาทางเคมีอีกครั้ง เพื่อแยกให้ได้มาซึ่ง สารหอมระเหย หรือน้ำมันหอมระเหย ด้วยวิวัฒนาการที่ทันสมัย และนักเคมีปัจจุบันที่เก่งๆ สารหอมนี้เองจะถูกแยกได้อีกเป็นร้อยๆ ชนิดเพราะในกลิ่นหอม 1 ชนิด ไม่ได้มีกลิ่นเพียงกลิ่นเดียว อาทิ สารจากตะไคร้ สามารถแยกเป็นกลิ่นกุหลายและกลิ่นมะนาวได้อีกด้วย


เนื่องด้วย อโรมา-เธราปี เป็นการรวมศาสตร์และศิลป์ ของกลิ่น-น้ำมันหอมระเหย-และการนวดเข้าด้วยกัน โดยอโรมา-เธอราปี เป็นการบำบัดโรคเพื่อจุดประสงค์ให้เกิดความสมดุล ของร่างกาย-จิตใจ-และอารมณ์ การนำเอาวิธีต่างๆ มาประยุกต์ใช้ ร่วมกับกลิ่นหอมที่อยู่ในสารหอม หรือน้ำมันหอมระเหยจึงเป็นอีกหลายทางเลือก ที่มนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องมาตลอดระยะเวลาหลายพันปี จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้


8 วิธีทางเลือกกับ Aroma Therapy


1. การนวด (Message) เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่ง เพราะด้วยสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด จะสามารถช่วยบำบัดรักษาโรคได้ ตัวยาจะซึมผ่านผิวหนังด้วยการนวด ส่วนกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยจะช่วยให้ประสาทสัมผัสรับกลิ่น ปรับอารมณ์ให้รู้สึกสบายขึ้นไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นการใช้น้ำมันหอมระเหย ที่มีคุณภาพดี และเลือกใช้ให้เหมาะกับความต้องการในการบำบัด จะทำให้การนวดมีประสิทธิภาพขึ้น


2. การอาบ (Baths) เป็นวิธีง่ายๆ ที่สามารถทำเองได้ คือ ผสมน้ำอุ่นในอ่างน้ำสำหรับลงแช่ได้ แล้วหยดน้ำมันหอมระเหย ประมาณ 6-8 หยด ลงในอ่างน้ำ แล้วลงแช่ทั้งตัวสักประมาณ 20 นาที ไอระเหยจากอ่างน้ำอุ่นและการซึมทางผิวหนังด้วยการแช่ จะช่วยให้รู้สึกสดชื่นขึ้น


3. การประคบ (Compresses) ใช้ผ้าขนหนูสะอาดๆ ชุบน้ำที่ผสมน้ำมันหอมระเหยแล้วประคบตามบริเวณที่ต้องการ (ห้ามประคบบริเวณดวงตา) ส่วนผสมใช้น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยดต่อน้ำอุ่น 100 มล. การประคบนี้จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นเฉพาะที่


4. การสูดดม (Inhalations) เป็นการใช้กลิ่นหอม จากน้ำมันหอมระเหยอย่างเดียวไม่มีการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดดมกลิ่นหอมทำได้ 2 วิธีคือ ใส่น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยด ในชามที่เตรียมน้ำอุ่นไว้แล้วก้มลงสูดดมสัก 2-3 นาที หยด น้ำมันหอมระเหย 1-2 หยด ในผ้าเช็ดหน้าแล้วสูดดม (ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำมันหอมระเหยโดยตรง)


5. การสูดไอน้ำ (Vaporisation) น้ำมันระเหยบางชนิด เป็นแอนตี้เซปติก (Antiseptic) ฆ่าเชื้อโรคได้ เมื่อสูดดมไอน้ำจากน้ำมันหอมระเหยชนิดนี้เข้าไป จะช่วยกำจัดเชื้อโรคในระบบทางเดินหานใจได้
วิธีทำ หยดน้ำมันหอมระเหย 2-4 หยด ลงในชามใหญ่ ซึ่งผสมน้ำร้อนไว้แล้ว ใช้ผ้าคลุมและก้มหน้าลงเข้าไปอังไอน้ำ สูดไอน้ำร้อนผสมน้ำมันหอมระเหย พักเป็นระยะๆ วิธีนี้ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องผิวบาง และไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นหอบหืด


6.การเผา-อบห้อง เป็นการอบห้องให้หอม หลักการอบห้องเพื่อฆ่าเชื้อโรค ในโรงพยาบาลก็ใช้หลักการนี้เช่นกัน เพราะน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจะถูกอบอวล ในห้องที่ปิดมิดชิดสามารถฆ่าเชื้อโรคได้
ในกรณีที่ต้องการให้ห้องหอมตามกลิ่นที่ต้องการ ก็สามารถทำได้โดย หยดน้ำมันหอมระเหย 3-4 หยด ในน้ำที่เตรียมใส่ในจานสำหรับเผา (Aroma Jar) แล้วจุดเทียนไว้ในห้อง ความร้อน จากเทียนจะทำให้กลิ่นหอม จากน้ำผสมน้ำมันหอมระเหยส่งกลิ่นอบอวลไปทั่วห้อง ควรเผา-อบไม่นานกว่า 10 นาที ต่อครั้ง


7. ใช้ผสมกับเครื่องหอม และน้ำหอม ส่วนมากเครื่องหอม เช่น บุหงา และน้ำหอมจะมีส่วนผสมจากกลิ่นไม้หอม หรือกลิ่นจากดอกไม้นานพันธุ์ผสมอยู่ การใช้เครื่องหอมและน้ำหอม ส่วนมากจะมีจุดประสงค์ให้เกิดความสบายใจ สะอาด สดชื่น และเป็นที่เร้าใจตราตรึงใจจากผู้คนที่อยู่ใกล้


8. ใช้ผสมกับเครื่องสำอางค์ ครีม โลชั่น ความหลากหลายของคุณสมบัติเฉพาะ จากน้ำมันหอมระเหย สามารถช่วยให้เครื่องสำอางค์ ครีมและโลชั่นต่างๆ กลายเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกาย ผิวหน้า เส้นผม และสารสกัดบางชนิดยังช่วยในการทำความสะอาดผิวหนัง สร้างความสมดุลให้ผิวอีกด้วย แต่การเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด ต้องพิถีพิถัน และศึกษาให้รู้จริงว่า สารชนิดใด มีคุณสมบัติเช่นใด จึงจะก่อประโยชน์สูงสุด

คนจีน อาจเป็นชาติแรกที่ได้คิดค้นวิธีการใช้กลิ่นหอมของพืชพันธ์ธรรมชาติสำหรับการบำบัดโรค
จากข้อมูลที่พบว่า การจุดธูปนั้น ทำให้เกิดความรื่นรมย์ และความสมดุล
ต่อมาชาวอียิป ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรเพื่อใช้สกัดเอาน้ำมันจากไม้บางชนิด
บ้างก็เชื่อว่า ชาวเปอร์เซีย และอินเดีย อาจเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรเพื่อใช้สกัดกลิ่น ด้วยเช่นกัน

การนำน้ำมันหอมระเหย ไปใช้ในชีวิตประจำวันของคุณเป็นสิ่งที่ง่าย น่าสนุก และมีประโยชน์

ภาพ น้ำมันหอมระเหย พร้อมภาชนะ

ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำในการใช้น้ำมันหอมระเหยอย่างปลอดภัย
พึงระลึกไว้เสมอว่าน้ำมันเป็นสิ่งที่ติดไฟได้ง่าย

วิธีการดมเอากลิ่นโดยตรง - หยด น้ำมันหอมระเหย 3-4 หยด บนกระดาษทิชชู่ แล้วดมน้ำมันหอมระเหยจาก
กระดาษทิชชู่

วิธีการ แบบใช้ไอน้ำ - ต้มน้ำ 2 ถ้วย แล้วรินน้ำร้อนไปที่ชาม จากนั้นหยดน้ำมันหอมระเหย 3-7 หยด ให้สูด
เอากลิ่นไอจากชาม

วิธีการให้ความสดชื่นแด่ห้องคุณ - ใช้วิธี แบบใช้ไอน้ำดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ไม่ได้สูดเอากลิ่นจากชามโดยตรง
แต่สูดกลิ่นที่กระจายอบอวลทั่วห้อง

กลิ่นที่ใช้ ใช้ตั้งแต่ 10 หยด ขึ้นไป ทั้งนี้ต้องดูว่าน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด เพราะมีกลิ่นมากน้อยต่างกัน

วิธีการใช้ในบ้าน - หยด น้ำมันหอมระเหยลงไปในถังขยะ ถังซักผ้า ที่กำจัดน้ำทิ้ง เครื่องกรองฝุ่น
หรือที่วางกระดาษทิชชู่ จะทำให้เกิดกลิ่นหอม

ในการนวด - ให้ใช้น้ำมันหอมระเหย 20 หยดขึ้นไป ต่อน้ำมันนวด 1 ออนซ์ ในการนวดตัว

ในอ่างอาบน้ำ - หยดน้ำมันหอมระเหย 5 -7 หยด ต่อน้ำ 1 ออนซ์ แล้ว ผสมลงไปในน้ำที่เปิดทิ้งไว้ให้ผสม
กันดีในอ่าง

น้ำมันหอมระเหยที่คุณหายใจเข้าไปในปอด เชื่อว่ามีประโยชน์ทั้งด้านจิตวิทยาและระบบร่างกาย
นอกจากน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติที่กระตุ้นสมอง แล้ว สารเคมีจากธรรมชาติที่ไปสู่ปอดยังช่วยใน
ระบบร่างกายอีกด้วย

กลิ่นน้ำมันหอมระเหย ที่ได้รับความนิยม ได้แก่

1. น้ำมันหอมระเหย - โรสแมรี่ ช่วยขจัดแบคทีเรีย-ขับเชื้อโรค ทำให้สดชื่นแจ่มใสช่วยให้มีสมาธิและมีกำลังใจ ถ้าใช้ในการนวดจะให้ความอบอุ่นกระตุ้นและปรับตัว เหมาะสำหรับผิวมัน


2. น้ำมันหอมระเหย - ลาเวนเดอร์ ช่วยกำจัดแบคทีเรีย และช่วยกระตุ้นให้ร่างกายขับเชื้อโรคออกไป ทำให้สงบ และผ่อนคลาย ช่วยให้อารมณ์ เกิดความสมดุล ถ้าใช้ในการนวด จะช่วยให้นอนหลับสบายและผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ทำงานหนัก ถ้าใช้ผสมกับครีม-โลชั่นจะช่วยบำรุงผิวและลดความมันบนใบหน้า และยังช่วยสมานแผลได้อีกด้วย


3. น้ำมันหอมระเหย คาโมมายล์ ช่วยทำให้ผิวสะอาด ช่วยให้จิตใจแจ่มใส มีสมาธิแน่วแน่ ถ้าใช้นวดจะช่วยให้รู้สบาย และสงบเหมาะกับผิวแห้งและธรรมดาช่วยให้ผิวหนังรู้สึกผ่อนคลาย


4. น้ำมันหอมระเหย-ยูคาลิปตัส ช่วยให้หายใจโล่ง ช่วยให้มีความกระจ่าง ปลอดโปร่งและมีสมาธิ มีคุณสมบัติ ในการขจัดแบคทีเรียอีกด้วย ถ้าใช้นวด จะช่วยให้สดชื่น และฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายเหมาะกับผิวธรรมดาถึงผิวมัน


5. น้ำมันหอมระเหย-เป๊ปเปอร์มินต์ ช่วยกำจัดแบคทีเรีย ช่วยให้จิตใจแจ่มใส ปลอดโปร่ง ช่วยให้สดชื่นและมีชีวิตชีวา เหมาะสำหรับผิวมัน ไม่ควรใช้กับผิวที่แพ้ง่าย


6. น้ำมันหอมระเหย-มะนาว (เลมอน) ช่วยให้สดชื่น แจ่มใส มีสมาธิ ถ้าใช้นวดจะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น จะช่วยให้รู้สึกร่าเริงและกระตือรือร้น


7. น้ำมันหอมระเหย-เบอร์กาม็อท ช่วยดับกลิ่นและให้ความสดชื่น และเสริมสร้างอารมณ์ให้มีทัศนะในทางบวกมากขึ้น เหมาะสำหรับผิวมัน


8. น้ำมันหอมระเหย-กระดังงา (อีแลงอีแลง) ช่วยให้มั่นใจ และจิตใจสบาย ให้ความรู้สึกคลาสสิก ให้ความอบอุ่นและอารมณ์ รัญจวน ถ้าผสมกับครีม-โลชั่นจะช่วยลดความมันบนใบหน้าได้ เหมาะสำหรับผิวทุกประเภท


9. น้ำมันหอมระเหย-มะลิ (จัสมิน) ช่วยให้เกิดความมั่นใจ มองโลกในแง่ดี ช่วยผ่อนคลายและเกิดอารมณ์รักใช้ได้กับทุกประเภทผิว และดีมากสำหรับผิวแห้ง


10. สารสกัดจากการบูร ใช้รักษาหนังศีรษะ

11. น้ำมันหอมระเหย จากต้นชา (Tea tree) ช่วยทำความสะอาดผิวได้

12. น้ำมันหอมระเหย-ไม้ซีดาร์ ช่วยให้รู้สึกสงบและผ่อนคลาย

13. น้ำมันหอมระเหย-จากส้ม ช่วยให้การเผาผลาญพลังงาน เป็นไปตามปกติ ช่วยให้สดชื่น ผ่อนคลายความตึงเครียด จากการทำงานหนักมาทั้งวัน และยังให้ความรู้สึกเย้ายวน


14. น้ำมันหอมระเหยจาก-องุ่น ช่วยให้อารมณ์แจ่มใส สดชื่น

15. น้ำมันหอมระเหย- ตะไคร้หอม Lemongrass ช่วยทำความสะอาดผิวได้ดี

16. น้ำมันหอมระเหย-มินต์ ช่วยลดอาการบวมน้ำ และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตได้ดี

17. สารสกัดจากกำมะถัน ช่วยให้การเผาผลาญพลังงาน ให้เป็นไปตามปกติ

18. น้ำมันหอมระเหย-ดอกบัว (Lotus oil) ใช้บำรุงผิว

19. น้ำมันจากผลอะโวคาโด ใช้ผสมครีมบำรุงผิวหน้าและผิวกาย

20. น้ำมันจากจมูกข้าวสาลี ใช้ผสมครีมบำรุงผิวหน้าและผิวกาย




กลิ่นหอมกับความรู้สึกที่แตกต่าง


1. กลิ่นโรแมนติคหอมหวาน มักเป็นกลิ่นดอกไม้ หอมเรียบง่าย งดงามชื่นใจ เช่น กลิ่นดอกมะลิ ดอกกล้วยไม้ ดอกมูเกต์ ดอกกุหลาบ


2. กลิ่นหอมเร่าร้อน-หยิ่ง-ทะนง-กล้าหาย ได้จากกลิ่นหอมตระกูลเครื่องเทศผสมกับดอกไม้ที่มีกลิ่นไม่แรงนัก ให้ความรู้สึกกระปรี้กระเปร่า รู้สึกถึงความมีอิสระ ความกล้า หยิ่ง ทะนงในตัวเอง เช่น กลิ่นดอกพีโอนี ดอกซาตินวู้ด ดอกแซนดัลวู้ด ไม้แทงก้า


3. กลิ่นแห่งความลึกลับ ค้นหา คล้ายๆ กับกลิ่นหยิ่ง ทะนงแต่ร้อนแรงกว่า มักได้มาจากกลิ่นดอกไม้แรงๆ เช่น ไฮยาซินท์ ราตรี นางกวัก ไม้กระวาน กระดังงา ไลแล็ก มิโมซา โบตั๋นขาว ผกากรองหอมและเครื่องเทศแรงๆ บางชนิด จะทำให้เกิดความรู้สึกเร่งเร้า เข้มข้น รุนแรง และลึกลับ น่าค้นหา


4. กลิ่นหอมเย็นของดอกไม้-พรรณพฤกษา บอกถึงพลังอิสระ เช่นกลิ่นหอมซาบซ่านของ มะนาว มะกรูด มะกรูดอิตาเลี่ยน มินต์ บัวส์เดอโรส น้ำมันพริกไทยดำ ส้มซ่า เฟิร์นหอม เพราะเป็นกลิ่นหอมของสีเขียว จึงให้กลิ่นที่หอมเย็น ให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวา สดชื่น มักเป็นกลิ่นของผู้ชาย และผู้หญิงแกร่งเก่งและกล้า


5. กลิ่นของความเสน่หา เป็นกลิ่นที่มีความหอมฉุน อบอวลให้ความรู้สึกที่ลึกล้ำ หอมชวนคลั่งไคล้ร้อนแรง มักได้จากกลิ่นหอมที่มีส่วนผสมของเครื่องเทศ เช่น ขมิ้น กำยาน ยางสน หรือกลิ่นอำพัน กลิ่นชะมด เพราะเป็นกลิ่นที่เร้าใจ เรียกร้องให้ไขว่คว้า


 




 

Create Date : 19 มกราคม 2552
3 comments
Last Update : 19 มกราคม 2552 18:40:32 น.
Counter : 2695 Pageviews.

 

เราหนิงเธอชื่อไร

 

โดย: หนิง IP: 61.7.150.194 28 มกราคม 2552 10:03:59 น.  

 

เธอชื่อไร อายุเท่าไร เรียนชั้นไหน

 

โดย: หนิง IP: 61.7.150.194 28 มกราคม 2552 10:05:51 น.  

 

shit you moron

 

โดย: moron junk IP: 61.90.71.200 24 กรกฎาคม 2554 13:01:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


amaki
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Add to Google
free counters
HotelClub
japa
Friends' blogs
[Add amaki's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.