The Spirit Of Aladonn
 
มิถุนายน 2560
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
16 มิถุนายน 2560

การกระทำความผิดประหาร ไม่ประหาร!!!



จากคดีฆาตกรรมที่เกิดขึ้นอย่างดาษดื่นและเป็นข่าวอยู่ทุกวันนี้พร้อมๆกับกระแสเรียกร้องให้มีการประหารชีวิตฆาตกรให้ตายตกไปตามกันนั้นมักจะมีกระแสคัดค้านจากกลุ่มไม่เห็นด้วยว่า “หากฆาตกรตายตกตามกันแล้ว เหยื่อจะฟื้นขึ้นมาหรือเปล่าหากเป็นเช่นนั้นแล้วรังแต่จะสร้างความเสียใจให้แก่ผู้อยู่เท่านั้นหรือการประหารชีวิตเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อความสะใจของญาติฝ่ายเหยื่อเท่านั้น”

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา (3 มิ.ย. 60) นายธวัชชัยไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรมและโฆษกกระทรวงยุติธรรมโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า “การกระทำความผิดรุนแรงประหาร ไม่ประหาร..!!?? เหตุผลในการยกเลิกโทษประหารชีวิตจากผลการวิจัยทั่วโลกการประหารชีวิตไม่ได้มีผลต่อการยับยั้งอาชญากรรมที่รุนแรงหรือทำให้สังคมปลอดภัยขึ้นได้ แต่ยังส่งผลกระทบที่เลวร้ายต่อสังคมกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้ เพราะย่อมมีความเสี่ยงที่จะตัดสินผิดพลาดได้เนื่องจากไม่มีระบบใดที่จะสามารถตัดสินได้อย่างเป็นธรรมสม่ำเสมอโดยที่ไม่มีข้อบกพร่องได้ เพราะอาจมีแพะที่ถูกประหารชีวิตไปแล้วย่อมไม่อาจสามารถเรียกชีวิตกลับคืนมาได้ ทั้งนี้ยังมีข้อค้นพบว่านักโทษที่ถูกประหารชีวิตส่วนใหญ่จะคนยากจน และคนด้อยโอกาสซึ่งไม่สามารถว่าจ้างทนายความที่มีความสามารถเพื่อให้ความรู้และแก้ต่างให้กับตนเองได้นอกจากนี้นักมานุษยวิทยาเห็นว่าการประหารชีวิตเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์การประหารชีวิตทุกวิธีก่อให้เกิดความทรมานต่อนักโทษอย่างแสนสาหัสถึงแม้ว่าผู้กระทำผิดเหล่านี้จะได้ก่อเหตุรุนแรงมาแล้วก็ตาม”ความจริงแล้วบทความนี้ผมเคยได้อ่านมาแล้วก่อนหน้านี้ แต่ไม่คิดว่าจะได้ยินจากโฆษกกระทรวงยุติธรรมเมื่อได้อ่านบทความดังกล่าวจากโฆษกกระทรวงยุติธรรมทำให้มีความรู้สึกเหมือนกับว่าสิ้นหวังแล้วซึ่งความยุติธรรมบนแผ่นดินนี้ซึ่งสามารถชี้แจงเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

ประเด็นที่ 1 ผลการวิจัยทั่วโลกการประหารชีวิตไม่ได้มีผลต่อการยับยั้งอาชญากรรมที่รุนแรงเนื่องจากการลงโทษในปัจจุบันนั้นเป็นการลงโทษที่โดยทางลับ คือเป็นการลงโทษที่มีเจตนาสั่งสอนผู้ทำความผิดโดยไม่สนใจว่าสังคมจะรับรู้ถึงการลงโทษหรือไม่ซึ่งต่างจากในอดีตซึ่งเป็นการลงโทษแบบเปิดเผยจึงสามารถสั่งสอนทั้งตัวผู้กระทำความผิดและเป็นการป้องปรามสังคมด้วยเหตุนี้จึงพบว่าอาชญากรรมต่างๆ (ไม่เฉพาะการฆาตกรรม) มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งหากพิจารณาในมุมมองเดียวกับทบลงโทษประหารชีวิตแล้วมิต้องยกเลิกบทลงโทษทั้งหมดหรอกหรือ!?

ประเด็นที่ 2 เนื่องจากไม่มีระบบใดที่จะสามารถตัดสินได้อย่างเป็นธรรมสม่ำเสมอโดยที่ไม่มีข้อบกพร่องได้ในประเด็นนี้ผมทราบดีว่าไม่มีใครสามารถให้ความยุติธรรมได้ 100%แต่ในฐานะรองปลัดกระทรวงยุติธรรมและโฆษกกระทรวงยุติธรรมจำเป็นต้องยืนยันในระบบยุติธรรมที่ตนเองดูแลอยู่เพื่อให้ความเชื่อมั่นแก่ประชาชนได้ว่าจะรับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมของประเทศและหากจะมีการลงโทษผิดตัวจริงก็ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่องค์คณะผู้พิพากษาจะล่วงรู้ทุกอย่างได้นอกจากนี้ในกระบวนการยุติธรรมเองก็ยังมีการทวนสอบคำพิพากษาด้วยเช่นกัน

ในประเด็นนี้ผมขอยกตัวอย่างสายการบิน ทุกสายการบินย่อมต้องประกาศว่าสายการบินของตัวเองปลอดภัยแต่ในขณะเดียวกันในเที่ยวบินไกลๆ นั้น เครื่องบินจะมีห้องพักนักบินเพื่อให้นักบินได้หลับพักผ่อนระหว่างการเดินทางโดยไม่ให้ผู้โดยสารรู้ซึ่งอาจทำให้ผู้โดยสารตกใจกลัวจนรู้สึกไม่ปลอดภัยได้ และในความเป็นจริงก็ไม่มีสายการบินไหนที่ปลอดภัย100%เหมือนกัน

ประเด็นที่ 3 นักโทษที่ถูกประหารชีวิตส่วนใหญ่จะคนยากจนและคนด้อยโอกาสซึ่งไม่สามารถว่าจ้างทนายความที่มีความสามารถเพื่อให้ความรู้และแก้ต่างให้กับตนเองได้ของดแสดงความเห็นเนื่องจากเป็นกระบวนการพิจารณาไต่สวน การวินิจฉัยและดุลยพินิจขององค์คณะผู้พิพากษาแต่ละท่านในการรับฟังทนายซักฟอก และ/หรือ การซักโจทย์หรือจำเลยโดยไม่ผ่านทนาย

ประเด็นที่ 4 นักมานุษยวิทยาเห็นว่าการประหารชีวิตเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ใช่ครับดำรงชีวิตเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ดังนั้นการประหารฆาตกรจึงจำเป็นที่ต้องทำเนื่องจากเป็นการปกป้องคุ้มครองผู้บริสุทธิ์อีกหลายๆคนให้สามารถใช้สิทธิขั้นพื้นฐานนี้ได้ การปล่อยให้ฆาตกรลอยนวลย่อมส่งผลให้ผู้บริสุทธิ์จำนวนมากไม่ปลอดภัยซึ่งขัดกับหลักการทางมานุษยวิทยา

ประเด็นที่ 5 ถึงแม้ว่าผู้กระทำผิดเหล่านี้จะได้ก่อเหตุรุนแรงมาแล้วก็ตามเห็นด้วยครับ แต่ญาติของเหยื่อเห็นด้วยหรือเปล่า กฎหมายเคยเปิดโอกาสให้สอบถามญาติของเหยื่อหรือไม่ในบางกรณีญาติของเหยื่ออาจยินยอมที่จะรับสินไหมทดแทนแต่บางกรณีก็ไม่ยินดีที่จะรับ

ประเด็นสุดท้ายการมีโทษประหารชีวิต มีคำพิพากษาประหารชีวิต แต่ไม่มีการประหาร เท่ากับละเมิดอำนาจศาลละเมิดพระปรมาภิไธย และปฎิเสธความยุติธรรม เนื่องจากการไม่ลงโทษผู้กระทำความผิดเท่ากับการลงโทษผู้ทำความดีแน่นอนครับการไม่ทำความผิดคือการทำความดีอย่างหนึ่ง เมื่อแผ่นดินไร้ซึ่งความยุติธรรมศาลเตี้ยย่อมถือกำเนิด เมื่อศาลเตี้ยทรงอิทธิพลแผ่นดินย่อมแตกแยก

ก่อนที่ความวิบัติจะเกิดขึ้นบนแผ่นดินผมขออันเชิญพระบรมราชโองการพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาเตือนสติฝ่ายยุติธรรม 3 บทคือ

“...กฎหมายมิใช่ตัวความยุติธรรมหากเป็นแต่เพียงบทบัญญัติหรือปัจจัยที่ตราไว้เพื่อรักษาความยุติธรรมผู้ใดก็ตามแม้ไม่รู้กฎหมายแต่ถ้าประพฤติปฏิบัติด้วยความสุจริตแล้วควรจะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเต็มที่ตรงกันข้ามคนที่รู้กฎหมายแต่ใช้กฎหมายไปในทางทุจริตควรต้องถือว่าทุจริต...”

“...กฎหมายนี้มีช่องโหว่เสมอถ้าเราถือโอกาสในการมีช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อการทุจริตนั้นเป็นสิ่งที่เลวทรามและทำให้นำไปสู่ความหายนะแต่ถ้าใช้ช่องโหว่ในกฎหมายเพื่อสร้างสรรค์ก็เป็นการป้องกันมิให้ใช้ช่องโหว่ของกฎหมายในทางทุจริต ...”

“...สิ่งที่มีกฎเกณฑ์ก็เรียกว่าเป็นกฎหมายบุคคลนั้นก็ต้องอาศัยกฎเกณฑ์ที่ถูกต้องจึงจะมีความสุขได้ถ้าไม่มีกฎเกณฑ์ที่ถูกต้อง ทำให้อยู่กันไม่ผาสุก เพราะว่ามีการเบียดเบียนกันบ้างมีการเข้าใจผิดกันบ้าง ฉะนั้น จึงต้องมีกฎเกณฑ์คือกฎหมายที่ตราขึ้นมาเพื่อความสงบเรียบร้อย...”




 

Create Date : 16 มิถุนายน 2560
1 comments
Last Update : 16 มิถุนายน 2560 16:36:45 น.
Counter : 2634 Pageviews.

 

Hello,

New club music, download MP3/FLAC, Label, LIVESETS, Music Videos https://0daymusic.org


0daymusic Team

 

โดย: Lewishic IP: 51.210.176.129 17 เมษายน 2567 10:21:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Aladonn
Location :
ยะลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add Aladonn's blog to your web]