ท่าทุ่มยูโด tai otoshi
ข้อ1 การทุ่มในจังหวะที่อุเกเดินถอยหลัง อาจารย์ผมเคยบอกไว้ว่าท่าไทโอโตชิให้จับจังหวะการก้าวขาขวาของคู่ต่อสู้ คือจังหวะมันจะเหมือนกับซาซาเอะทรึริโกมิอาชิ กับ ฮิสะกุรุม่าในจังหวะที่คู่ต่อสู้ขยับขาขวาออกมาเพื่อที่จะก้าวเราก็แค่เอาขาของเราเข้าไปขัดตรงนั้น คู่ต่อสู้ตัวใหญ่ยังไงก็จะล้มง่ายๆแต่ในหนังสือของโคโดกังกลับสอนให้ทุ่มในจังหวะที่อุเกเดินถอยหลัง(แรกๆคิดว่าผมแปลความหมายผิดซะแล้ว แต่มันเป็นจังหวะทุ่มตอนอุเกถอยหลังอย่างนั้นจริงๆ) เริ่มจากโทริดึงพร้อมกับก้าวถอยหลังด้วยขาขวาแล้วก็ขาซ้ายอุเกก็จะถูกดึงมาข้างหน้าด้วยขาซ้ายและขาขวาเพราะดึงร่างกายท่อนบนของอุเกทำให้อุเกเดินตามมาในลักษณะโค้งตัวมาทางด้านหน้าเล็กน้อยพอโทริหยุดดึงทั้งสองมือแต่เปลี่ยนเป็นดันด้วยแขนซ้าย อุเกจะรักษาสมดุลย์ด้วยการตัวตรงพร้อมกับการก้าวขาขวาถอยหลังลงไปจังหวะมาแล้วครับ ในขณะที่ขาขวาของอุเกถอยหลังเลยขาซ้ายของตัวเองลงไป โทริต้องทำหลายอย่างเลยครับคือก้าวขาขวาออกไป(หนังสือบอกก้าวออกไประหว่างกึ่งกลางขาของอุเกแต่อาจารย์ผมแนะนำให้เฉียงไปทางขวาเล็กน้อย แต่จุดนี้บางครั้งต้องแล้วแต่การประยุกต์ของแต่ละคนว่าก้าวแรกอยู่ตรงไหนถึงจะทุ่มในจังหวะสุดท้ายได้ดี)แล้วก็ก้าวขาซ้าย+หมุนตัว(ตอนลงขาซ้ายงอเข่าซ้ายเล็กน้อย)พร้อมกับการดึงยกขึ้นด้วยแขนทั้งสองข้าง ทิศทางของการดึงถ้าดูจากโทริคือหลังเฉียงซ้าย ส่วนมุมของอุเกจะเป็นหน้าเฉียงขวา ถ้าทำทันทำถูกขาขวาที่กำลังก้าวถอยหลังของอุเกจะตายแล้วถูกบังคับให้ก้าวขาขวากลับขึ้นมาเพื่อรักษาสมดุลย์ของตัวอุเกเองไอ้ตรงบังคับให้ก้าวขึ้นมาเราก็เอาขาไปขัดซะ(คล้ายๆกับการที่คนกำลังจะก้าวขาเดินแต่เราเอาไม้หรือเอาขาแหย่ออกไปขวางตรงจังหวะนั้นหน้าก็จะคว่ำคะมำอย่างง่ายๆ) ตรงนี้จุดที่เน้นคือจังหวะก้าวขาของอุเก ถ้าอุเกถอยหลังก้าวเท้าขวาเหยียบลงพื้นไปเรียบร้อยแล้วสมดุลย์มาครบจากตรงนั้นโทริจะดึงให้เสียสมดุลย์มันยากแล้วครับถ้าทำทันทำถูก(อีกครั้ง)ก็วางท่าทุ่มปกติครับ คือโทริเอาขาขวาเหยียดออกไปขัดบริเวณข้อเท้าของอุเกที่ก้าวกลับขึ้นมาเพื่อรักษาสมดุลย์จากการที่ถูกโทริดึงหลังของโทริตั้งตรงไม่งอไปด้านหน้าหรือด้านหลังแต่อาจจะงอไปด้านข้างได้เล็กน้อยจังหวะสุดท้ายเหยียดเข่าซ้ายที่งออยู่ขึ้นพร้อมๆกับดึงมือซ้ายเข้าติดช่วงลำตัวส่วนมือขวาดันขึ้นการทุ่มจะเป็นวงกลมโดยศูนย์กลางอยู่ที่ขาขวาของโทริกับข้อเท้าขวาของอุเก มีข้อแม้อยู่หน่อยนึงคือระหว่างที่ฝึกทุ่มหาจังหวะถ้าอุเกตัวแข็งๆจะฝึกลำบากครับต้องตัวอ่อนๆไม่ออกแรงต้านพอชำนาญและจับจังหวะได้แล้วค่อยว่ากันครับ ข้อ2 การทุ่มโดยการจับไปที่ฝั่งขวาของอุเกทั้งสองมือ ข้อ3 การทุ่มโดยการรวบจับแขนอุเกไขว้กัน ผมแปลและศึกษาแต่พื้นๆครับพวกการจับฝั่งเดียวกันหรือว่ารวบแขนผมยังไม่สามารถใช้ได้เพราะพื้นฐานยูโดยังไม่แข็งอาจจะไปทำให้คู่ต่อสู้เจ็บได้ครับเลยขอผ่านข้อสองกับข้อสามไปก่อนครับ โดยรวมแล้วไทโอโตชิ ท่านี้เหมือนง่าย นักยูโดใช้กันเยอะแต่ว่าคนใช้ผิดกันก็เยอะครับทำให้อานุภาพมันออกมาไม่เต็มที่จุดที่ผิดกันเยอะผมว่า 1.ตรงบริเวณลำตัวด้านหลังของโทริจะไม่ติดอยู่กับลำตัวด้านหน้าของอุเกเพราะถ้าลำตัวติดกันแล้วจะกลายเป็นฐานให้อุเกยึดไว้ทำให้ทุ่มได้ยากขึ้นครับรวมถึงแรงเหวี่ยงของท่าที่พื้นฐานเป็นวงกลมโดยจุดศูนย์กลางอยู่ที่ข้อเท้าขวาไทโอโตชิเป็นท่าทุ่มโดยใช้เทคนิคมือ แต่ว่าคนทุ่มต้องประสานแขน เอวแล้วก็ขาให้ลงตัวถึงจะทุ่มได้อย่างง่ายๆ 2.การลงน้ำหนักขาของผู้ทุ่มช่วงเริ่มฝึกใหม่ๆการลงน้ำหนักขาจะผิดซะส่วนใหญ่อาจารย์ที่โคโดกังเคยแนะนำว่าให้แบ่งน้ำหนักเป็นขาขวา60 ส่วนขาซ้ายซัก40การทุ่มถึงจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแต่ว่าการลงน้ำหนักไปที่ขาขวาเยอะก็เป็นจุดอ่อนเหมือนกันคืออาจจะโดนสวนกลับด้วยท่าโคโซโตการิ(จากจังหวะนั้นโดนไปล้มแน่นอนครับผมก็เป็นคนนึงที่ชอบหลอกล่อหรือรอให้คู่ต่อสู้ใช้ไทโอโตชิออกมาเพื่อสวนด้วยโคโซโตการิครับ) 3.ตำแหน่งการวางเท้าขวาในจังหวะแรกให้อยู่เขยิบจากกึ่งกลางมาทางขวาซักเล็กน้อย(ไม่ได้อยู่กึ่งกลางระหว่างขาทั้ง2ข้างของอุเก)เพราะว่าหลังจากหมุนตัวแล้วมันจะวางเท้าออกไปในตำแหน่งที่มีแรงส่งในการทุ่มได้พอดี ก่อนการทุ่มย่อเข่าทางซ้ายด้วยครับระหว่างทุ่มค่อยเหยียดขึ้นเป็นแรงสปริงส่งให้กับการทุ่มครับ 4.มือในจังหวะสุดท้าย มือซ้ายพยายามดึงให้อยู่ติดกับลำตัวของโทริทางด้านซ้ายส่วนมือขวาดันขึ้นไม่เปิดมือแบะออกถ้ามือขวาแบะออกนอกจากบางครั้งจะเกิดอันตรายกับข้อมือตัวเองแล้วทำให้แรงในการยกทุ่มลดลงไปอีกด้วย 5.บางครั้งอาจมีการหลอกล่อด้วยไทโอโตชิ2ชั้น (tai otoshi nidan-shiki) คือครั้งแรกจะเข้าทำโดยเน้นไปที่ขาซ้ายของอุเกก่อนลักษณะจะคล้ายๆกับโออุจิการิแล้วใส่ไทโอโตชิอีกครั้งไปที่ขาขวาจุดที่ผิดทำให้แรงในการทุ่มลดลงจะอยู่ที่ขาครับ คือว่าการเข้าครั้งแรก จะเป็นขาขวา ขาซ้าย+หมุนตัว แล้วก็ขาขวาพอจะเข้าครั้งที่2บางครั้งอยากเร็วจนลืมสเต็ปขาไปคือเข้าต่อไปแค่การยื่นขาขวาออกไปขัดที่ข้อเท้าของอุเกเป็นการเข้าที่ผิดครับถึงจะเร็วแต่ว่าไม่มีแรงถ้าทุ่มได้ก็คือคู่ต่อสู้ไม่ทันระวังหรือไม่ก็คู่ต่อสู้อ่อนหัดไปหน่อยสเต็ปขาของ ไทโอโตชิ2ชั้นที่ถูกต้องคือ การเข้าจังหวะแรก ขาขวา ขาซ้าย+หมุนตัวแล้วก็ขาขวา ส่วนการต่อจังหวะที่สองคือ ขาซ้าย+หมุนตัวแล้วค่อยวางขาขวาไปขัด ดังนั้นอย่าลืมการเพิ่มขาเข้าไปอีกก้าวนึงแรงดึงกับแรงเหวี่ยงจะเพิ่มขึ้นอีกมากมายครับแต่ถ้าใช้มือดึงไม่ถูกหลักกับการก้าวขาในจังหวะแรงไม่สมดุลย์ไม่ต้องรอใส่จังหวะสองหรอกครับโทริจะโดนปัดขาตั้งแต่ตอนที่วางขาขวาเข้าไปที่ขาซ้ายของอุเกแล้วครับ อย่างที่บอกว่าท่านี้คนเล่นยูโดใช้กันเยอะครับ เลยต้องหาทางแก้ไว้ครับก็อยากให้ฝึกท่าโคโซโตการิเอาไว้ให้ชำนาญด้วยครับจะได้ไม่ต้องไปกลัวไทโอโตชิแต่ว่าคนที่ใช้ไทโอโตชิเก่งๆแล้ว จังหวะที่สมบูรณ์ ความแรงในการดึงมาครบบวกกับความเร็วบางครั้งคิดจะสวนก็โดนทุ่มล้มไปก่อนแล้วครับ ท้ายสุดท่านี้น่าจะเป็นคู่ปรับกับอุจิมาตะฝั่งซ้ายปกติคนที่จับขวามาเจอกับคนจับซ้ายแล้วอุจิมาตะมักจะถูกงัดออกมาใช้ในทางกลับกันถ้าใช้ไทโอโตชิชำนาญแล้วสามารถสวนอุจิมาตะกลับได้ง่ายครับดังนั้นสมควรอย่างยิ่งที่จะฝึกไทโอโตชิให้ชำนาญ เจอกับพวกมือซ้ายอย่างน้อยก็เอาตัวรอดจากอุจิมาตะไปได้
Create Date : 22 มิถุนายน 2555 |
|
15 comments |
Last Update : 22 มิถุนายน 2555 20:47:18 น. |
Counter : 5547 Pageviews. |
|
 |
|
กราบขอบพระคุณครับ