สงสัยว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล อยากหาจิตแพทย์ทำไงดี


เคยบอกเพื่อนๆแล้วว่ารู้สึกตัวเองจะเป็นโรคซึมเศร้า แต่โชคดีที่รู้ตัวเลยพยายามหาวิธีไม่ทำให้ตัวเองคิดมากไปกว่าเดิม สำหรับเพื่อนๆที่คิดว่าตัวเองก็เป็นโรคนี้ หรือมีแนวโน้ม แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร เสี่ยวไช่มีบทความดีๆ ซึ่งไปเจอมาจากเฟซบุ๊ค Drama-addict มาให้เพื่อนๆได้อ่านกันค่ะ



สงสัยว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล อยากหาจิตแพทย์ทำไงดี

ควรทราบว่าประเทศ่วาไทย เปนประเทศที่ประชาชนมีสิทธิ์เข้าถึงจิตแพทย์ได้รวดเร็วและง่ายมากที่สุดประเทศนึงในโลก ทั้งที่เรามีจิตแพทย์ที่ทำงานจริงๆประมาณ 700กว่าๆทั่วประเทศ

(อนึ่ง อ้างอิงจากประสบการณ์ส่วนตัวของจิตแพทย์ท่านนึงที่เคยไปเรียนในอังกฤษ ฝึกงานที่ไต้หวันและดูงานญี่ปุ่น ส่วนใครจะเถียงว่าไนจีเรีย หรือเซอร์เบียเข้าถึงง่ายกว่า ก็ไม่รู้ เพราะไม่เคยไป)

วิธีเข้าถึงบริการด้านจิตเวชในบ้านเรา เริ่มจาก

1.สำรวจว่าตนเองมีสิทธิ์การรักษาแบบไหน บัตรทอง ประกันสังคม และต้นสังกัดของตัวเองอยู่รพ.อะไร

2.ไปรพ. ต้นสังกัดของตน แล้วแจ้งว่า อยากจะพบจิตแพทย์ ถ้าหากรพ.นั้นไม่มีจิตแพทย์ รพ.จะให้เจอ แพทย์ทั่วไปตรวจไปพลางและเขียนใบส่งตัวไป รพ.ที่มีจิตแพทย์และเป็นเครือข่าย ส่วนมากก็รพ.จิตเวช หรือ รพ.ศูนย์ (ถ้าเป็นตจว) รพ.รัฐที่มีจิตแพทย์ดูข้อมูลในลิงค์ในเม้นนาจา

3.ไปถึงรพ. แล้ว จะต้องเจอพยาบาลคัดกรอง ถามว่ามีอาการอะไร ไม่ต้องอายเจ๊แก นี่คือขั้นตอนปรกติ ตอบไปว่า นอนไม่หลับ บลาๆๆๆ อาการที่เป็นและระบุระยะเวลาที่เป็นด้วยว่าเป็นมานานแค่ไหน
บางแห่ง (เช่นรพ.จิตเวชที่ หมอคนนึงตรวจคนไข้เป็นร้อย ซึ่งเอาไปเล่าที่ประเทศอื่น มีแต่คนอเมซิ่งไทยแลนด์เป็นอันมาก สายตาที่มองดูเราเหมือนเรามีสี่กร) พยาบาลจะให้ทำแบบคัดกรองด้วย เพื่อช่วยจัดลำดับความเร่งด่วน ทำไปเถอะ ช่วยพยาบาลหน่อย (ขอให้ขึ้นไปดูจำนวนจิตแพทย์ทั่วประเทศอีกรอบ) บางที่ อาการไม่หนักมาก หรือเป็นรพ.ที่ไม่มีจิตแพทย์ตรวจ พยาบาลจะส่งให้หมอทั่วไปดูก่อน ซึ่งอิหมอพวกนี้ มันต้องเรียนจิตเวชเบื้องต้นกันมาทุกคน รักษาได้เบื้องต้น ยกเว้นเอาไม่อยู่ หรืออาการหนักจริงๆ พวกนางจะเขียนใบส่งตัวท่านเอง (หรือคนไข้จะขอให้นางเขียนก็ได้ ถ้าคิดว่าไม่ไหวแล้ว หมอ)

4.ได้วันนัดแล้ว ไปพบแพทย์ ไม่ต้องตื่นเต้น หมอไม่กัด บางทีรักษาๆไป เฮ้ย หมอคนนี้ไม่ใช่อะ ไม่ไหวอะ ดูไม่เข้าใจเรา ไม่คลิก คนไข้ก็เทหมอได้ ด้วยการไปบอกพยาบาลว่าขอเปลี่ยนหมอ อันนี้ปรกติ มันเป็นเรื่องของกลไกทางจิตของแต่ละคน จิตแพทย์ทุกคนไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ทุกเคส บ่อยไปที่จิตแพทย์ส่งต่อคนไข้ให้จิตแพทย์ด้วยกันเอง ตามความถนัดและอื่นๆ การหาจิตแพทย์ที่เหมาะกับตัวเองพบ น่าจะง่ายกว่าการหาสามี (จิตแพทย์สาวโสดท่านหนึ่งรำพึงโดยไม่มีหลักฐานทางสถิติรองรับ)

5.การตอบสนองต่อการรักษาใช้เวลา เป็นอาทิตย์ เฉลี่ย10-14วัน กินยารักษาสามวันไม่หาย อย่าเพิ่งเทหมอ แต่ถ้ามีผลข้างเคียงจากยามาก เช่นอ้วกจนแฟนตกใจนึกว่าท้อง นอนหลับจนตื่นไปทำงานไม่ไหว อันนี้รีบไปหาหมอก่อนเวลานัดได้ เพราะผลข้างเคียงแต่ละคนไม่เท่ากัน

6.คนที่ขี้เกียจรอคิวในเวลาราชการ เช่นมันนานเกินรอไม่ไหว แต่ยังอยากใช้สิทธิ์ ให้ถามคุณพยาบาลคัดกรอง รพ.ต้นสังกัด นั่นแหละว่า มีคลินิคนอกเวลาไหม เพราะค่ายาไม่ต้องจ่าย แต่ต้องจ่ายค่าหมอ ซึ่งที่อื่นไม่รู้คิดเท่าไหร่ แต่แถวๆนี้เฉลี่ยอยู่ประมาณ 150-300 (จิตแพทย์ต่างชาติช็อกมาก บอกว่าจิตแพทย์ไทยค่าตัวราคาเท่าค่ารถเมล์บ้านเขา ขาไปขาเดียวด้วยนะ ขากลับต้องตรวจเพิ่มอีกคน) บางสิทธิ์เท่าที่รู้เช่นรัฐวิสาหกิจเบิกค่าหมอได้ด้วย
7.สำหรับผู้ที่ขี้เกียจรอคิว ในและนอกเวลาราชการ หรืออยากได้ความเป็นส่วนตัว ความสะดวกสบาย หมอสาวแต่งหน้าสวยๆไม่หน้าเมือกหัวฟูมาตรวจ หมอชายผมเรียบกริ๊บ หน้าใส พยาบาลสาวหุ่นดีเอวมด บริการท่านยิ่งกว่าแอร์โฮสเตสชั้นเฟิร์สคลาส คิดว่าตอนนี้รพ.เอกชนเกือบทุกที่ มีจิตแพทย์ประจำ (บางที่อาจไม่มีตลอดเวลา มาเป็นช่วงเวลาเช่นเย็นๆของบางวันในสัปดาห์-ขอให้ผู้อ่านขึ้นไปดูจำนวนจิตแพทย์ทั่วประเทศอีกครั้ง) โทรไปจองที่แผนกจิตเวช ของรพ.นั้นๆได้เลย ตามสโลแกน #อยากเจอต้องได้เจอแถมระบุชนิดจิตแพทย์ได้ด้วย ที่เคยได้ยินมา คือมีผู้ป่วยเคยขอ “ขอจิตแพทย์หญิงที่จบรร.เตรียมอุดมมีลูกมีสามีแล้วและสามีเป็นหมอ” รพ.ก็ไปหามาจนได้(ปรบมือ) แน่นอน ราคาค่าบริการคือ เรทรพ.เอกชน (และคำขอเช่นนี้ขอรพ.รัฐไม่ได้ บางรพ.หมอขึ้นคานยกแผนกก็มี)

8.รพ.เอกชนเฉพาะทางจิตเวชตอนนี้ในไทยมีแห่งเดียว คือ รพ.มนารมย์ เสริชกูเกิ้ลได้เลย จัดเป็นรพ.ที่มีจิตแพทย์ครบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นโรคทางจิตด้านใด ช่วงอายุไหน ก็จะมีผู้เชี่ยวชาญโรคนั้นๆเวียนมาออกตรวจ (แน่นอน เป็นระยะๆและระบุช่วงเวลา เพราะบุคลากรโดยรวมมีจำกัด) ค่าบริการเรทเอกชนเช่นกัน
9.นอกจากนี้ยังมีคลินิคจิตเวชอยู่กระจายทั่วไปทั้งในและนอก กทม.สามารถโทรไปจองคิว ค่าบริการถูกกว่ารพ.เอกชน แต่แพงกว่ารพ.รัฐ(ซึ่งมักจะจ่ายเฉพาะกรณีไม่ใช้สิทธิ์ต้นสังกัด จ่ายเงินสด ยาที่ใช้สิทธิ์ไม่ครอบคลุมเป็นยาราคาแพง หรือ คลินิคนอกเวลา)

อนึ่งผู้ที่ทำประกันกับบริษัทประกันเอกชน ให้ถามรายละเอียดกับตัวแทนประกันชีวิตของท่าน เพราะสัญญาประกันชีวิต/ประกันสุขภาพหลากหลายมาก มีปลีกย่อยไปตามแต่บริษัท ตัวแทนประกันของท่านต้องทราบว่าจะจัดการอย่างไร ให้ลูกค้าได้ประโยชน์สูงสุด ถ้าตัวแทนท่านไม่รู้อะไรเลย ให้เทตัวแทนนั่นทิ้ง และไปหาตัวแทนใหม่ โดยแจ้งไปที่บริษัทโดยตรง ไม่ต้องเลิกสัญญาประกัน เป็นสิทธิ์ที่ท่านพึงได้
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ไปโพสต์ถามได้ที่เพจ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ยังไม่แจ้งแอดมิน แต่แท็กแบบนี้สักพักคงรู้ตัวแล้ว

ขอบคุณข้อมูลจากจิตแพทย์หญิงท่านหนึ่งที่เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงให้บทความนี้นาจา




Create Date : 01 ธันวาคม 2559
Last Update : 1 ธันวาคม 2559 17:37:00 น.
Counter : 613 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3361050
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]