•HK• fSCT : fernSiam Community of Thailand

สีดาจิปาถะ - Assorted Platys

ตั้งชื่อเรื่องแบบไม่มีอะไรมากครับ
เพราะจะค่อยๆทะยอยรวบรวมชายผ้าสีดาที่มีอยู่มาเก็บไว้แบบไม่แยกชนิด
มีทั้งที่เป็นลูกผสมที่ผสมข้ามชนิดกัน และตัวที่เป็นฟอร์มที่แตกต่างกันออกไป

1. P.Horn Surprise


2. P.veitchii cv.


3. P.willinckii


4. สายม่านแคระที่มาจากฟิลิปินส์ เป็นสายม่านที่ถูกเพาะมาให้ต้นไม่โตเท่าต้นของเดิม




 

Create Date : 11 มกราคม 2550   
Last Update : 20 มิถุนายน 2550 0:31:59 น.   
Counter : 2122 Pageviews.  

14 นางสีดาต่างชาติ - 14 ii-Platys

ชายผ้าสีดาที่พบอีก14ชนิด ที่ได้สะสมไว้ เป็นชายผ้าสีดาของต่างประเทศได้แก่

1. P.alcicorne (อาซิคอนเน่)
ชายผ้าสีดาชนิดนี้มีอยู่ด้วยกัน2ประเภทคือ ชนิดที่มาจากแผ่นดินใหญ่ของอัฟริกา และที่มาจากหมู่เกาะมาดากัสกา

(P.alcicorne ชนิดที่มาจากแผ่นดินใหญ่ของอัฟริกา)



(P.alcicorne ชนิดที่มาจากหมู่เกาะมาดากัสกา)


2. P.andinum (แอนดินุม)



3. P.bifurcatum (ไบเฟอคาตั้ม)



4. P.elephantotis (อิลิเฟนโตติส) หรือหูช้างอัฟริกา



5. P.ellisii (เอลลีสิไอย์)
(ต้นจากป่ามาดากัสกา)


6. P.grande (แกรนเด้)



7. P.hillii (ฮิลิไอย์)



8. P.madagascariense (มาดากัสการิเอนเซ่)
(ต้นจากป่ามาดากัสกา)


9. P.quadridichotomum (ควอตริไดโชโตมัม)


10. P.superbum (ซูเปอร์บัม)


11. P.stemmaria (สเตมมาเลีย)



12. P.veitchii (วิชชิไอย์)


13. P.wandae (แวนเด้)



14. P.willinckii (วิลลิงกิไอย์)






 

Create Date : 11 มกราคม 2550   
Last Update : 28 กรกฎาคม 2550 21:22:45 น.   
Counter : 1352 Pageviews.  

4 นางสีดาไทย - 4 of Thai Platyceriums

ชายผ้าสีดาที่พบได้ในป่าเมืองไทยทั้ง4ชนิดได้แก่

1.ชายผ้าสีดาสายม่าน P.coronarium



2.ชายผ้าสีดาหูช้าง P.holttumii



3.ชายผ้าสีดาเขากวางตั้ง P.ridleyi



4.ปีกผีเสื้อ P.wallichii


ปีกผีเสื้อเมื่อเข้าสู่ช่วงพักตัว(จำศีล)





 

Create Date : 11 มกราคม 2550   
Last Update : 26 มีนาคม 2553 18:02:19 น.   
Counter : 1189 Pageviews.  

เฟินสกุลชายผ้าสีดา - Platycerium sp.

เฟินสกุลชายผ้าสีดา Platycerium (plat-ee-sir-ee-um) ในบ้านเรา ภาคใต้เรียก "ชายผ้าสีดา" ภาคอีสาน เรียก "กระเช้าสีดา" หรือ"สไบสีดา" และภาคเหนือเรียก "ห่อข้าวสีดา" หรือ "หัวเฒ่าย่าบา" ชื่อ "สีดา" นี้เป็นชื่อของนางเอกในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ในขณะที่ทางต่างประเทศเขาไม่มีตัวละครแบบเรา จึงตั้งชื่อเปรียบกับเขาของกวาง ที่แตกเป็นแฉก หรือเปรียบเป็นมงกุฏของนางฟ้า ชื่อของสกุล Platycerium มาจากคำในภาษากรีกว่า platys+kera (platy แปลว่า broad เป็นแผ่น และ keras แปลว่า horn เขาของสัตว์)

เฟินชายผ้าสีดา เป็นเฟินที่มีเสน่ห์ มีลักษณะที่แตกต่างจากเฟินทั่วไป จัดอยู่ในจำพวกไม้อากาศ ในธรรมชาติพบเกาะอยู่ตามคาคบไม้ แต่ไม่ได้เป็นไม้กาฝาก เพียงขอเกาะอาศัย เพื่อรับแสงแดดและลม หรืออาจพบเกาะอยู่ตามโขดหิน หน้าผาหิน ก็มี พบอยู่ในเป่าเขตร้อนและกึ่งร้อนทั่วโลก ด้วยเสน่ห์น่าหลงไหลของเฟินชายผ้าสีดา จึงเป็นที่นิยมนำมาปลูกประดับสถานที่ กำแพงบ้าน หรือกระถางแขวน กระเช้าแขวน หรือเกาะบนต้นไม้ใหญ่ในสวน

ในธรรมชาติบางครั้งเราอาจพบชายผ้าสีดามีเฟินริบบิ้นขึ้นปะปนอยู่ด้วย
(หูช้างไทย Platycerium holttumii)



เฟินชายผ้าสีดาที่ค้นพบทั่วโลกมีทั้งหมด 18 ชนิด มี 5 ชนิดในออสเตเรียและอินโดนีเซีย, 3 ชนิดในอาฟริกา, 4 ชนิดบนบนเกาะมาดากัสกา, 6 ชนิดในเอเซีย และมี 1 ชนิดในอเมริกา สำหรับในป่าประเทศไทยมีพบได้อยู่ 4 ชนิด

ชายผ้าสีดา4ชนิดที่พบได้ในป่าเมืองไทยได้แก่
1. P.coronarium (โค-โร-นา-ลิ-อุม) ชายผ้าสีดา สายม่าน
มีถิ่นกำเนิดในไทย (ภาคตะวันออกและภาคใต้) มาเลเซีย สิงคโปร์ และ Tenasserim

2. P.holttumii (ฮอล-ตัม-มิ-ไอ) กระเช้าสีดา หูช้าง
มีถิ่นกำเนิดในไทย ลาว เวียดนาม

3. P.ridleyi (ริด-รี-ไอ) ชายผ้าสีดา-เขากวางตั้ง
มีถิ่นกำเนิดในภาคใต้ของ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ สุมาตรา บอร์เนียว

4. P.wallichii (วอ-ลิ-ชิ-ไอ) ห่อข้าวสีดา ห่อข้าวย่าบา หัวเฒ่าย่าบา ชายผ้าสาวน้อย หรือ ปีกผีเสื้อ
มีถิ่นกำนิดในไทย จีนตอนใต้ พม่า ลาว


ส่วนอีก14ชนิดที่เป็นสายพันธุ์ต่างประเทศได้แก่
5.P. alcicorne (อาล-ซิ-คอน-เน่)
มีถิ่นกำเนิดในอาฟริกาและหมู่เกาะมาดากัสกา

6. P.andinum (แอน-ดี-นุม) ชื่อสามัญ South American Staghorn.
เป็นชายผ้าสีดาชนิดเดียวในทวีปอเมริกา
ถิ่นกำเนิดในเปรู อเมริกาใต้

7. P.bifurcatum (ไบ-เฟอ-คา-ตัม) ชื่อสามัญ Elkhorn fern.
มีถิ่นกำเนิดในออสเตเรีย นิวกวีนี อินโดนีเซีย

8. P.elephantotis (อี-ลี-แฟน-โต-ติส)ชื่อสามัญ Cabbage fern หูช้างอัฟริกา
ชนิดนี้ ใบเหมือนหูช้างสมชื่อ มีถิ่นกำเนิดในอัฟริกาเขตร้อน

9. P.ellisii (อิ-ลิ-ซิ-ไอ)
ชายผ้าสีดานี้มีถิ่นกำเนิดในเกาะมาดากัสกา

10. P.grande (แกรนเด หรือ แกรนดา grand-daa) ชื่อสามัญ Staghorn fern กระโปรงสีดา
มีถิ่นกำเนิดในพิลิปปินส์เท่านั้นและมีแน้วโน้มสูญพันธุ์ไปจากป่าธรรมชาติ

11. P.hillii (ฮิ-ลิ-ไอ)ชื่อสามัญ Northern Elkhorn
เป็นเขากวางตั้งจากถิ่นกำเนิดในออสเตเลีย

12. P.madagascariense (มา-ดา-กัส-คา-ริ-เอน-เซ)
มีถิ่นกำเนิดในมาดากัสกา เป็นชนิดที่หายากในป่าธรรมชาติ

13. P.quadridichotomum (ควอด-ดิ-ได-โช-โต-มุม)
มีถิ่นกำเนิดในมาดากัสกา และชนิดนี้หายากเช่นกัน

14. P.stemmaria (สะ-เตม-มา-เรีย) ชื่อสามัญ Triangular staghorn.
ชายผ้าสีดาชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดใน คองโก อัฟริกาเขตร้อน

15. P.superbum (ซุป-เปิป-อัม, ซุปเปอร์บัม)
เป็นชายผ้าสีดาขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในออสเตเลีย, อินโดนีเซีย

16. P.veitchii (วิท-ชิ-ไอ) ชื่อสามัญ Silver staghorn
เป็นชายผ้าสีดาที่มาจากป่ากึ่งทะเลทราย มีถิ่นกำเนิดในออสเตเลีย มีสายพันธุ์ย่อยและลูกผสมหลายชนิด

17. P.willinckii (วิล-ลิง-กิ-ไอ)ชายผ้าสีดา สายม่านบุษบา หรือชายผ้าอินโดนีเซีย
มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย นิวกวีนี ออสเตเลีย

18. P.wandae (แวน-เด้)
ชายผ้าสีดาชนิดนี้เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด มีถิ่นกำเนิดใน นิวกีวนี

......ข้อมูลจาก //www.fernsiam.com ......




 

Create Date : 10 มกราคม 2550   
Last Update : 21 กรกฎาคม 2550 3:08:07 น.   
Counter : 5008 Pageviews.  


HKK
Location :
BKK Hong Kong SAR

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




เลือดชมพูหยดน้อยหยดนี้ ขอร่วมขับไล่และกำจัด ไอ้พวกทรราช ขายชาติขายแผ่นดิน........... ...................................@BKK. ...................................@HKK.
[Add HKK's blog to your web]

MY VIP Friend