เฟินข้าหลวงชนิดใบประกอบ
นอกจากเฟินข้าหลวงชนิดใบเดี่ยวแล้วเฟินในสกุลข้าหลวงยังมีทั้งที่เป็นชนิดใบประกอบขนนกแบบ2-3ชั้น อีกด้วยลักษณะภายนอกจะดูไม่ออกเลยว่าเป็นเฟินในกลุ่มข้าหลวงต้องดูรายละเอียดย่อยลงไปที่ลักษณะซอไรของสปอร์ ซอไร(อับสปอร์)จะเกิดเป็นแนวยาวตามเส้นใบมีอินดูเซีย(เยื่อหุ้มอับสปอร์)รูปร่างเดียวกับซอไรขนานไปด้วยกันสปอร์เกิดเป็นแบบ2ซีกเหมือนกัน และมีเยื่อหุ้มสปอร์เฟินแม่ Asplenium bulbiferumสามารถเกิดเฟินต้นอ่อนได้ที่ปลายใบ นำไปขยายพันธุ์ต่อได้.....กระปอกหางแมว Asplenium affineAsplenium dimorphumหางนากจิ๋วอ่างขาง Asplenium exiguumเป็นเฟินเกาะอาศัยขนาดเล็กสมกับชื่อของมัน พบได้ในเฉพาะในบางพื้นที่ ที่มีอากาศเย็นAsplenium kansoiAsplenium sp.
Collections '08
1.ข้าหลวงด่างญี่ปุ่น2.ข้าหลวงลูกผสมระหว่างข้าหลวงจักรพรรดิ์และข้าหลวงจีบโดยฝีมือคนไทย3.ข้าหลวงกลายพันธุ์ อีกตัวหนึ่ง ใบแฉกกว้างดูคล้ายข้าหลวงราชินี แต่ใบตกลงไม่ตั้งเป็นพุ่ม4.ข้าหลวงกลายยพันธุ์5.ข้าหลวงลูกผสมจากอินโดฯ6.ข้าหลวงลูกผสมจากอินโดฯ7.ข้าหลวงลูกผสมจากอินโดฯ8.ข้าหลวงสุลต่านของอินโดฯ9.ข้าหลวงจากอินโดฯ10.ข้าหลวงใบแฉกแขนงจากฟิลิปินส์1.ข้าหลวงใบแฉกจากฟิลิปินส์12.ข้าหลวงใบแฉกจากฟิลิปินส์13.ข้าหลวงใบแฉกจากฟิลิปินส์14.ข้าหลวงใบรอนจากฟิลิปินส์15.ข้าหลวงใบรอนจากอินโดฯ
การแยกดูประเภทเฟินข้าหลวงหลังลายใบเดี่ยว
Asplenium sp.ที่เป็นเฟินข้าหลวงหลังลายใบเดี่ยวมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายสกุลแต่กลุ่มที่พบเห็นอยู่บ่อยๆ และ ที่มีสายพันธุ์ย่อยแยกออกไปจำนวนมาก สามารถจะแยกออกได้เป็น6กลุ่มใหญ่หลักๆได้แก่1. Asplenium antiqumm2. Asplenium australasicum3. Asplenium colubrinum4. Asplenium cymbifolium5. Asplenium musifolium6. Asplenium nidusหากใช้การดูลักษณะใบจากภายนอกอาจจะสับสนแต่หากเรานำใบมาผ่าดูตามขวาง ก็จะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนภาพเปรียบเทียบการตัดด้านขวางใบ ของAsplenium ใบเดี่ยวชนิดต่างๆมักจะพบได้บ่อยๆ โดยเข้าใจผิดว่าเป็นตัวเดียวกับ A. nidus มาโดยตลอดต้องจับสัมผัสที่ใต้สันใบหากเจอตัวWก็ใช่เลยครับเป็น musifoliumส่วน A. nidus ข้างใต้สันใบจะโค้งเรียบAsplenium australasicumAsplenium antiqummตัวอย่างของเฟินข้าหลวงหลังลายแบบใบเดี่ยว ที่พบได้บ่อยๆ 3ชนิดตัวอย่างบางชนิดของ A. musifolium เฟินข้าหลวงหลังลาย(ธรรมดา) ซึ่งเป็นข้าหลวงหลังลายที่เราพบเห็นได้ทั่วๆไปตัวอย่างของต้น A. australasicumเฟินข้าหลวงออสเตรเลียใบแฉก ตัวอย่างของต้น A. antiqummเฟินข้าหลวงฮาวาย
แนะนำตัวข้าหลวง Asplenium sp.
Asplenium sp. หรือเฟินในสกุลเดียวกับข้าหลวงหลังลายมีอยู่มากมายหลายชนิดมีทั้งที่เป็นเฟินชนิดใบเดียว, ใบประกอบขนนกชั้นเดียว และ ใบประกอบขนนก2-3ชั้นข้าหลวงลังลายใบเดี่ยว มีลักษณะการเกิดของใบออกเป็นชุดเป็นวงกลมทีละชั้นๆแบบกลีบดอกกุหลาบ(rosette)การกระจายพันธุ์ หลายชนิดมีพบได้ในทุกภาคของไทย แต่บางชนิดก็เป็นเฟินที่พบได้เฉพาะที่บางชนิดก็พบได้เฉพาะบนเขาสูง แลชอบอากาศเย็นในต่างประเทศก็มีเฟินในสกุลนี้อยู่มากมายเช่นกันเช่นที่ฟิลิปินส์ประเทศเดียว ได้มีการค้นพบเฟินข้าหลวงรูปแบบต่างๆกันมากมาย ซึ่งโดยมากเกิดจากการกลายพันธุ์เองในธรรมชาติ แม้แต่ในเขตประเทศที่มีอากาศหนาวและหิมะตกก็ยังสามารถพบเห็นเฟินในตระกูลเฟินข้าหลวง Asplenium sp.ได้เช่นกันที่จะนำมาให้ชมในปล็อกกลุ่มนี้เป็นเฟินข้าหลวงหลังลายจากหลายๆแห่งในบ้านเรา รวมทั้งในภูมิภาคที่ใกล้เคียงกับบ้านเรา เฟินข้าหลวง nidus ตัวธรรมดาๆที่พบว่ามีการกลายพันธุ์ไปในแบบต่างๆ........เฟินข้าหลวง nidus อีกแบบหนึ่งเฟินข้าหลวง nidus อีกแบบหนึ่งเฟินข้าหลวงราชินี (Asplenium nidus cv.Beauty Queen) เป็นเฟินข้าหลวงที่กลายพันธุ์เองโดยธรรมชาติ จากรังกล้วยไม้ในเมืองไทยแห่งหนึ่งนี่เองเฟินข้าหลวงจักรพรรดิ์ (Asplenium nidus cv. Monstrifera) เป็นเฟินข้าหลวงหลังลายอีกตัวหนึ่งที่เกิดจากการผสม ข้ามสายพันธุ์กันระหว่างข้าหลวงหลังลาย Asplenium nidus กับเฟินเขากวาง (Polypodium polycarpon cv. Grandiceps)เฟินข้าหลวงใบจีบเฟินข้าหลวงโอซาก้าเฟินข้าหลวงปาปัว พบได้มากทางภาคเหนือของบ้านเราเช่นกันเฟินข้าหลวงมูเซอ (คนให้มาบอกชื่อมาแบบนี้)เฟินข้าหลวงป่าอีกชนิดหนึ่งเฟินข้าหลวงใบช้อน หรือใบพาย A. gervillei (ตัวก้านใบสามเหลี่ยม)เฟินข้าหลวงใบช้อน (ตัวก้านใบกลม)ก้านกลม ไม่มีครีบใบที่เป็นสามเหลี่ยมแบบตัวข้างบนเปรียบเทียบตัวก้านกลม(กระถางบน)กับตัวก้านเหลี่ยม(ที่ก็มีต่างกันไปอีก2แบบ)เฟินข้าหลวงเลื้อย Asplenium batuenseเป็นเฟินข้าหลวงใบเดี่ยวที่แตกต่างไปจากตัวอื่นๆเพราะมีเหง้าเลื้อยยาวทอดไปข้างหน้าหรือเลื้อยขึ้นไปตามต้นไม้............เฟินข้าหลวงฟิลิปินส์ปลายแฉกเฟินข้าหลวงสุลต่านจากอินโดนีเซียเฟินข้าหลวงอินโดฯ