|
ประเทศไทยต้องมีการปฏิวัติครั้งใหญ่
ประเทศไทยในตอนนี้เรียกได้ว่าต้องมีการปฏิวัติครั้งใหญ่ ไม่ใช่จะให้ไปปฏิวัติใคร แต่ต้องปฏิวัติคนไทยและนิสัยคนไทยใหม่ เพราะตอนนี้ไทยเราเป็นสังคมที่เข้าสู่ขั้นงมงายแล้ว คำว่างมงายคือ ตอนนี้คนไทยเราเชื่ออะไรง่ายๆและเมื่อเชื่อแล้วจะไม่สนใจอื่นๆเลย มันเป็นดาบ 2 คม หากความเชื่อนั้นมันถูกต้องก็จะดีไปแต่หากมันผิด ก็ยากที่จะดึงกลับมาให้ทำในสิ่งที่ถูกอีก และหากการเชื่อแบบงมงายแบบผิดๆเมื่อเชื่ออะไรแล้วก็จะเกิดการต่อต้านสิ่งอื่นๆที่เป็นด้านลบกับฝ่ายตนเองและพยายามเสริมความเชื่อและเหตุผลของฝ่ายตนว่าเป็นฝ่ายถูก ซึ่งไม่มีใครบอกได้แน่นอนว่าฝ่ายใดถูกฝ่ายใดผิด เพราะมันไม่ใช่คณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ ที่มีความแน่นอนและพิสูจน์ได้ แต่มันเป็นความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคน
ยกตัวอย่างง่ายๆอย่าง ม็อบ กับ คมชตอนนี้ สมมติว่าต่อให้ความจริงคือ คมช ปฏิวัติเพื่อประชาชนเพื่อประเทศจริงและม็อบตอนนี้คือผู้ที่เสียประโยชน์และต้องการอำนาจคืน กลุ่มที่อยู่ฝ่ายม็อบก็จะมีใครเชื่อแล้วจะพยายามหาข้อเสียข้อผิดพลาดของ คมช มาเสริมให้ฝ่ายตนเองว่าที่เชื่อนั้นถูกต้องแล้ว แม้จะมีพยานหรือหลักฐานที่เป็นจริง ม็อบก็จะไม่เชื่อจะอ้างว่าเป็นการ makeหรือสร้างตกแต่งขึ้นมา ต่อให้มียาที่ให้พูดแต่ความจริง คนก็ยังไม่เชื่อ พูดง่ายๆคือเมื่อคนๆหนึ่งเชื่ออะไรที่ฝังลึกแล้วต่อคุณเป็นผ้าขาวเขาก็จะมองว่าเป็นผ้าดำ
ม็อบตอนนี้ผมคิดว่าอาจจะแบ่งม็อบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่มีจุดประสงค์และอุดมการณ์ในม็อบจริงๆ 2.กลุ่มที่เสียผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งและต้องการผลประโยชน์คืน 3.กลุ่มทีโดนชักจูงมาโดยมีผลประโยชน์แลกเปลี่ยน 4.กลุ่มที่เชื่อแบบงมงาย โดยเฉพาะกลุ่มที่งมงายอีกหน่อยจะกลายเป็นโล่ให้กลับกลุ่มที่ไม่ประสงค์ดีกับบ้านเมืองโดยไม่รู้ตัว เช่น หากกลุ่มที่มีอำนาจในครั้งต่อไปถูกตรวจสอบ หรือทำให้เสียผลประโยชน์ กลุ่มๆนั้นหากมีประชาชนหนุนหลัง ก็จะพยายามกดดันอีกฝ่ายโดยใช้พลังมวลชนที่ไว้วางใจในตัวเขามาเป็นโล่ในการเรียกร้องสิทธิ์คืน และเราซึ่งประชาธิปไตยแบบบอบบาง คือหากไปทำอะไรให้ประชาชนนิดๆหน่อยก็จะเกิดการต่อต้านที่รุณแรงได้ ผมไม่ได้ว่าใครแต่ผมคาดการณ์ว่าในอนาคตม็อบมันจะเป็นรูปแบบนี้ ซึ่งหากเป็นแบบนี้ต่อไปบ้านเมืองไทยจะไม่มีทางสงบสุขได้เลย
ดังนั้นเราควรเปลี่ยนแปลงสังคมไทยครั้งใหญ่คือควรจะให้คนไทยมีทักษะการวิเคราะห์เกี่ยวกับข่าวหรือข้อมูลต่างๆที่ได้มาเสียก่อน อย่างการเลือกตั้งครั้งหน้าหากเราสามารถวิเคราะห์ได้เราจะรู้เลยว่าพรรคไหนเป็นอย่างไร นโยบายไหนจริงนโยบายลวง นโยบายไหนเพื่อประชาชนนโยบายไหนแอบแฝง ผมในตอนนี้ก็กำลังฝึกทักษะนี้อยู่ อย่างเมื่อก่อนผมเคยอยู่ฝ่ายทักษิณแหละครับ ข่าวไหนที่ดูแล้วเป็นการใส่ร้ายท่านผมก็จะไม่ยอมรับ แต่สิ่งที่ทำให้ผมเปลี่ยนไปคือรูปๆหนึ่งเป็นรูปลิง3ตัว ตัวหนึ่งปิดหู ตัวหนึ่งปิดตา อีกตัวปาก ผมเลยคิดว่าถ้าเรามัวแต่ปิดตัวเองไม่มองรอบค้าง ไม่ฟังเสียงรอบข้างเราก็จะเป็นคนที่ไม่รู้อะไรเลย ผมจึงเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นคนอื่น ฟังข่าวแล้วก็ให้นำไปลองคิดวิเคราะห์ก่อนว่าหากทำแบบนี้หรือเป็นแบบนี้ต่อจะเกิดอะไร ข้อดีข้อเสียถ้าหากมันเกิดขึ้นแล้ว ผลลัพธ์ แล้วข่าวนั้นมันมีทั้งข่าวจริงข่าวลือ และข่าวโดยส่วนมากมันเ ป็นเพียงปลายยอดเท่านั้นเปรียบเหมือนภูเขาน้ำแข็งในไททานิคเขาเห็นเพียงยอดก็คิดว่าเล็กอย่างนี้ก็น่าจะหลบได้ แต่ผลสุดท้ายคือความเสียหายใหญ่หลวง ดังนั้นก่อนที่เราจะเชื่ออะไรต้องหาข้อมูลตรวจสอบให้แน่ใจว่าสิ่งที่เราจะเชื่อนั้นมันถูกต้อง และอีกอย่างหนึ่งคืนคนไทยต้องเป็นชาตินิยม คือต้องคิดไว้ว่ายังไงประเทศชาติต้องมาก่อน แม้ว่าจะมีคนให้หรือประโยชน์แก่เราสักแค่ไหน แต่หากเขาทำร้ายต่อประเทศแล้วต้องขับไล่ออกไป
แต่ที่ปรับเปลี่ยนยากคือไทยเรามันมีความเหลื่อมชั้นทางสังคมมากระหว่างคนจนคนรวย และการศึกษาก็มักจะเน้นให้ประโยชน์ทางคนรวยมากกว่า ดังนั้นใครที่ทำให้คนจนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น เขาก็จะชอบและเทิดทูนคนๆนั้น และประเทศไทยเป็นการศึกษาโดยจะเน้นแบบท่องจำ จะไม่ค่อยให้มีการวิเคราะห์เท่าไรต้องตามที่เรียน ใครคิดนอกกรอบก็จะโดนหาว่าเป็นคนนอกคอก จึงทำให้เราไม่ได้เกิดการคิดวิเคราะห์ ใครพูดไรมาก็จะเชื่อไปหมด และคนไทยเป็นประเภทที่ว่ารู้แค่พื้นแต่ก็นึกว่าตัวเองเข้าใจอะไรดีหมดแล้ว ผมมีบทความอันหนึ่งอยากให้อ่านกัน เอามาจาก //thaicoon.wordpress.com/ คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อหลายๆคน
////Global Village บทเรียนจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้//// นิตยสาร thaicoon ฉบับเดือนพฤษภาคม มีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับบทเรียนความสำเร็จจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ครับ ช่วงก่อนสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ มีหนังสือเล่มหนึ่งวางอยู่บนโต๊ะผม สิ่งที่สะดุดตาอย่างแรกก็คือชื่อหนังสือ Global Village โดยที่ไม่ได้อ่านชื่อภาษาไทยเสียด้วยซ้ำ ผมคุ้นกับคำว่า Global Village มานาน ทุกครั้งที่พูดถึงความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสาร และก้าวเข้าสู่โลกาภิวัตน์ ผมมักจะบอกเหมือนที่คนอื่นๆพูดกันว่าโลกเล็กลงจนกลายเป็น หมู่บ้านโลก ทว่า Global Village เล่มนี้คือหมู่บ้านระดับโลกจริงๆ มันเป็นหมู่บ้านญี่ปุ่นที่เป็น ต้นแบบโอท็อป ไทย ความสำเร็จของหมู่บ้านเหล่านี้สะท้อนความสำเร็จของคนญี่ปุ่น นฤตม์ เทิดสถิรศักดิ์ ผู้เขียนนั่งทำงานที่บีโอไอ มีประสบการณ์ทั้งระดับโลกและระดับท้องถิ่น ในรัฐบาลชุดที่ผ่านมาเขาได้มีส่วนร่วมในโครงการ OTOP ซึ่งหนังสือเล่มนี้คือประสบการณ์จากการทำ OTOP นั่นเอง นอกนี้เขายังเขียนถึงความสำเร็จของเกาหลีใต้อีกต่างหาก
////บทเรียนจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้////
ถ้าให้กะเทาะเปลือกจากหนังสือ Global Village : มหัศจรรย์แห่งหมู่บ้านหลังเขา เขาคิดว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จของญี่ปุ่นและเกาหลีที่เป็นตัวร่วม (common factors) มีอยู่ 2-3 เรื่องที่สำคัญ ซึ่งคนไทยน่าจะเรียนรู้และเอามาปรับใช้กับตัวเอง คือ ประการแรก ประเทศชาติจะเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนได้ ต้องมาจากการพัฒนาที่อยู่บนฐานของความ สมดุล ทั้งในระดับของประเทศ และในระดับชุมชน ซึ่งจริงๆ แล้ว การสร้างความสมดุลเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน ก็เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั่นเอง
สมดุล ในระดับของประเทศ
สมดุลระหว่าง
การพัฒนาเมือง กับชนบท สมดุลระหว่าง
เศรษฐกิจ กับสังคมและสิ่งแวดล้อม สมดุลระหว่าง
อุตสาหกรรม กับเกษตรกรรม สมดุลระหว่าง
โลกาภิวัตน์ กับชุมชนภิวัตน์
สมดุล ในระดับของชุมชน
สมดุลระหว่าง
การอนุรักษ์ กับการพัฒนา สมดุลระหว่าง
การรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมและความสงบสุขของชุมชน กับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ สมดุลระหว่าง
ความเจริญทางวัตถุ กับการยกระดับจิตใจ สมดุลระหว่าง
Tradition & Innovation สมดุลระหว่าง
High Touch & High Tech
นอกจากนี้ การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องเป็นการพัฒนาจากภายใน ที่เกิดจากความคิดริเริ่มของคนในชุมชน อาศัยการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก พัฒนาบนศักยภาพที่ตนมี ไม่ใช่เป็นการพัฒนาจากภายนอก ที่รอคอยแต่การชี้นำและความช่วยเหลือจากภาครัฐ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และทุกคนที่อยู่ในชุมชนเอง ต้องตระหนัก และคิดกับมันอย่างจริงจังสักที ประการที่สอง ทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ต่างเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการใช้ วัฒนธรรม เป็นอาวุธในการแข่งขันกับโลก ทั้งใช้หาพวกและหารายได้เข้าประเทศ ซึ่งเป็นอาวุธพิเศษที่เป็นของใครของมัน ไม่มีใครลอกเลียนแบบกันได้ ผู้ชนะคือ ประเทศที่มีทุนทางวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง และสามารถนำเอาวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้มากที่สุด นอกจากนี้ เขายังใช้วัฒนธรรมเป็นพาหนะสำคัญในการเชื่อมต่อ Local ไปสู่ Global อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ประการที่สาม ปัจจัยแห่งความสำเร็จของญี่ปุ่นและเกาหลี ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ระดับโลก หรือหมู่บ้านเล็กๆ ในชนบท ล้วนมาจากตัวเดียวกันคือ คน คุณภาพของคน จึงเป็นแก่นของการพัฒนาประเทศ และเป็น common factor ที่สำคัญที่ทำให้ทั้งสองประเทศประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนจนถึงทุกวันนี้ จากประสบการณ์ที่ผมได้มีโอกาสสัมผัสกับผู้คนทั้งสองชาติตลอดเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา พอจะสกัด DNA ของพวกเขาออกมาได้ 3-4 ข้อ คือ
(1) เป็นคนที่มีจิตสาธารณะ หรือ Public Mind สูงมาก ประชากรของเขาจะถูกปลูกฝังให้คิดและทำทุกอย่างเพื่อองค์กร เพื่อสังคมส่วนรวม เพื่อประเทศชาติ ตั้งแต่เกิดจนตาย คนญี่ปุ่นและเกาหลีจึงเป็นคนที่มี team spirit สูงมาก ทำงานเป็นทีมได้ดี และไม่ว่าเขาจะทำงานในบริษัท Sony หรือเป็นชาวนาที่โออิตะ เขาก็จะทำเพื่อส่วนรวม จะทุ่มเทชีวิตให้กับองค์กร ให้กับชุมชนที่เขาอยู่ อันนี้เองที่ทำให้สองประเทศนี้ประสบความสำเร็จ เท่านั้นไม่พอ ยังถูกฝึกในเรื่องระเบียบวินัยอย่างเข้มข้น ทำให้พวกเขาเป็นคนที่เคารพกฎ กติกาของสังคม และสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นด้วย
(2) สังคมของญี่ปุ่นและเกาหลีเป็นสังคมแห่งความรู้มาตั้งแต่โบราณ คนญี่ปุ่นและเกาหลีถูกพัฒนามาในแนวดิ่ง ก่อนที่พวกเขาจะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง เขาจะเริ่มต้นจากการหาองค์ความรู้ ศึกษาเรื่องนั้นๆ ให้รู้จริงถึงแก่น แปลงจากข้อมูลให้เป็นความรู้และปัญญา ก่อนที่จะลงมือทำด้วยความมุ่งมั่น ทำจริง และอดทนต่ออุปสรรคทั้งปวง เรียกว่ากัดไม่ปล่อย ไม่ยอมปล่อยให้ตัวเองถูกกระแสสังคมชักจูงไปซ้ายทีขวาทีเหมือนบ้านเราซึ่งถูกพัฒนามาในแนวราบ อย่างที่มีคนเปรียบเทียบองค์ความรู้ของคนญี่ปุ่นว่าเหมือนเสาเข็มที่ลงลึก ขณะที่องค์ความรู้ของคนไทยส่วนใหญ่ยังเป็นเหมือนพื้นซิเมนต์ คือ รู้แค่ผิว และชอบทำอะไรฉาบฉวย
(3) คนทั้งสองชาตินั้นถูกฝึกให้อยู่ในสังคมแห่งการแข่งขัน ตั้งแต่เด็กๆ ทำให้ต้องเรียนรู้วิถีแห่งการต่อสู้ ด้วยการพึ่งพาตนเอง แตกต่างจากไทยที่มีวิถีแบบ สบายๆ ภายใต้สังคมอุปถัมภ์ ทำให้ดูเหมือนจะกลายเป็นคนที่ไม่กระตือรือร้น มักรอคอยความช่วยเหลือจากผู้อื่น และมีวัฒนธรรมอย่างที่บางคนใช้คำว่า เด็ดปลายยอด คือ หวังความสำเร็จแบบทางลัด จึงเป็นที่มาของความเชื่อในเรื่องโชคชะตา เครื่องรางของขลัง การบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือการพนันเสี่ยงโชค ที่พบเห็นได้ทั่วไปในสังคมไทย
(4) ความเป็นคนละเมียดในทุกๆ เรื่อง ใส่ใจในรายละเอียดทุกขั้นตอน ทั้งวิถีชีวิตหรือเรื่องงาน ทั้งงานใหญ่ระดับโลก หรือการห่อของขวัญเล็กๆ สักชิ้น โดยเฉพาะในกรณีของคนญี่ปุ่นจะเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างในการผลิตสินค้าสักชิ้นหนึ่ง เขาจะใส่ใจตั้งแต่การออกแบบ การเลือกวัตถุดิบ การผลิตที่ประณีต การบรรจุหีบห่อ ช่องทางการจำหน่ายที่เฉพาะเจาะจงแต่ละกลุ่มลูกค้า และไม่ลืมที่จะสร้างเรื่องราว (story) เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ด้วย
ซึ่งเมื่อผมอ่านแล้วคิดว่าจริงเพราะเขาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ผมไม่ได้นิยมต่างชาติแต่คิดว่าแต่ละประเทศมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน อันไหนดีๆของเขาก็นำมาปรับใช้ประเทศเราเสีย
และอย่างสุดท้ายคือต้องพัฒนา EQ หมายถึง ความสามารถทางอารมณ์ในการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข การรู้จักความฉลาดทางอารมณ์ของตนเองเพื่อการพัฒนาและการใช้ศักยภาพของตนเองในการดำเนินชีวิตครอบครัว การทำงานและการอยู่ร่วมกับผุ้อื่นได้อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จ สังเกตได้เลยว่าสังคมไทยเปลี่ยนไปจากเดิมมากเพราะสังคมเปลี่ยนแปลงไปการแข่งขันการรีบเร่งทางเศรษฐกิจเปลี่ยนจากสังคมที่เอื้อเฟื้อกันเป็นแบบตัวใครตัวมัน กระทบด้านจิตใจทำให้เราโกรธง่าย และเมื่อถ้าไปโกรธใครแล้วและก็จะคิดร้ายต่อคนอื่นๆ แล้วอารมณ์อิจฉาคนอื่นๆไทยเรากำลังจะเป็นแบบว่าจะชอบเห็นใครดีกว่า ก็จะพยายามกลั่นแกล้งไม่ให้ได้ดี ดังนั้นเราต้องหัดควบคุมจิตใจตนเอง เข้าวัด นั่งสมาธิ ปล่อยวางไว้บ้าง ดังที่พระท่านที่ว่าง ทุกสิ่งๆทุกอย่างไม่มีอะไรจีรังยั่งยืนมีเกิดมีดับจะไปยึดถืออะไร เงินทอง ลาภยศเป็นเพียงภาพลวงตา
หากเราจะเปลี่ยนให้ไทยเราดีขึ้นเราต้องเปลี่ยนจากคน อย่างน้อยก็เริ่มจากตัวเองก่อน
Create Date : 14 มิถุนายน 2550 |
Last Update : 14 มิถุนายน 2550 23:16:00 น. |
|
2 comments
|
Counter : 413 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: หอมกร วันที่: 21 มิถุนายน 2550 เวลา:21:14:03 น. |
|
โดย: kanapo วันที่: 6 กรกฎาคม 2550 เวลา:21:04:00 น. |
|
|
|
|
sunzhu |
 |
|
 |
|
๙๙๙ เจิมให้เค้าหน่อย ๙๙๙
เฮง เฮง เฮง เน้อ