Group Blog
 
All blogs
 

บทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา





อนุโมทนา

สวดมนต์ไหว้พระเป็นธรรมประจำชีวิต เป็นข้อคิดประจำใจ เกิดผลผลิตงอกงามเพื่อสร้างความดีให้แก่ตน ผลกำไรเป็นความดีเพื่อมอบให้แก่เพื่อนร่วมชาติ ร่วมโลกได้อยู่ด้วยความมีโชคดีทุก ๆ ท่าน

ขอให้ท่านพร้อมสมาชิกในครอบครัวได้สวดมนต์กันทุกคน ทุกครอบครัว เพื่อเป็นมงคลในชีวิต จะเกิดฐานะดี มีปัญญา จะได้มีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปในชีวิต

ขอให้ท่านชวนลูกชวนหลานทุก ๆ คน สวดมนต์ก่อนนอน ถ้าท่านทั้งหลายตั้งใจ-ศรัทธา เชื่อมั่น ลูกหลานได้สวดมนต์ตามหนังสือนี้แล้ว ผลที่ได้รับจากการสวดมนต์นั้น
๑. ลูกหลานจะมีระเบียบวินัยดี
๒. ลูกหลานจะไม่เถียง จะเคารพเชื่อฟังพ่อ-แม่ เขาจะรู้ว่าเขาเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่-จะวางตัวได้เหมาะสม
๓. เมื่อเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว ก็จะเป็นลูกหลานที่ดีของพ่อ-แม่ เป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ
๔. ผู้ที่สวดและปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอ จะเจริญรุ่งเรืองพัฒนาสถาพร จะรวย จะสวย จะดีมีปัญญา จะสมประสงค์ในสิ่งที่ดีงาม
ตลอดไปทุกประการ

ขออำนวยพร
พระเทพสิงหบุราจารย์
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน และเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี

"...สวดมนต์เป็นนิจ อธิษฐานจิตเป็นประจำ อโหสิกรรมก่อนค่อยแผ่เมตตาจึงจะสำเร็จผล ประกอบกุศลได้ผลอนันต์ เป็นหลักฐานสำคัญของชีวิต สวดมนต์เป็นยาทา วิปัสสนาเป็นยากิน ทั้งกินทั้งทาได้ผลแน่นอน

เวลาสวดมนต์ไม่ต้องตั้งความหวัง ให้สวดด้วยสมาธิ บุญเกิดขึ้นในจิตใจ แล้วสิ่งต่าง ๆ จะเกิดขึ้นมาเอง โดยเฉพาะคนที่ทำการค้า อย่าทะเลาะกัน ถ้าวันไหนทะเลาะกัน จะไม่ค่อยมีลูกค้า ตื่นขึ้นมาสวดมนต์ไหว้พระ และแผ่เมตตาทำจิตใจให้มีเมตตา อารมณ์ดี แล้วจะมีลูกค้าเข้ามาอย่างไม่ขาด การสวดมนต์จะต้องสวดทุกวันอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่วันนี้สวด พรุ่งนี้หยุดแล้วมาสวดชดเชย..."

จากหนังสือ "ทำดีได้ดี" การสวดมนต์ และปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานตามแนวทางของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม) วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
หน้า ๑๔-๑๕

***************


บทสวดมนต์ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหาการุณิโกฯ

บทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ )

พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ



(๑) พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(๒) มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(๓) นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(๔) อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(๕) กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(๖) สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(๗) นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(๘) ทุคคาหะทิฉฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

หลังจากที่ท่านสวดมนต์ชัยมงคลถาคา (หรือถวายพรพระ) ตั้งแต่ต้น จนจบ แล้วท่านก็กราบพระ ๓ หน แล้วก็สวดเฉพาะบท “อิติปิโส ภะคะวา..................พุทโธ ภะคะวาติ” ให้ได้จำนวนจบ เท่ากับอายุของท่าน แล้วสวดเพิ่มอีกหนึ่งจบ
ตัวอย่างเช่น ถ้าท่านอายุ ๓๕ ปี ท่านต้องสวด ๓๖ จบ เป็นต้น

เมื่อสวดพุทธคุณครบตามจำนวนจบที่ต้องการแล้ว จึงตั้งจิตแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลดังนี้

คาถาแผ่เมตตาตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
อะหัง อะเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด

แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิดฯ

บทกรวดน้ำ (อุทิศส่วนกุศล)

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แด่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลาย ขอให้เทวดาทั้งหลายจงมีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลาย ขอให้เปรตทั้งหลาย จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงมีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพสัตตา
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

จบบทสวด


ข้อมูลนำมาจาก //www.jarun.org/v5/th/library_pray11-2.html และ //www.84000.org/pray/puttakun.shtml และ //www.palungjit.com/buddhism/audio/showthread.php?t=294





 

Create Date : 12 มิถุนายน 2550    
Last Update : 22 มกราคม 2553 12:09:51 น.
Counter : 1117 Pageviews.  

การค้นพบพระชัยมงคลคาถา


มูลเหตุแห่งการค้นพบพระชัยมงคลคาถา

(จากคำสอนของพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี)

เมื่ออาตมาได้พบกับสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว

คืนหนึ่งอาตมานอนหลับ แล้ว ฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่แห่งหนึ่ง ได้พบกับพระสงฆ์รูปหนึ่งครองจีวรคร่ำ สมณสารูปเรียบร้อยน่าเลื่อมใส อาตมาเห็นว่าเป็นพระอาวุโส ผู้รัตตัญญู จึงน้อมนมัสการท่าน ท่นหยุดยืนตรงหน้าอาตมา แล้วกล่าวกับอาตมาว่า "ฉันคือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอไปที่วัดใหญ่ชัยมงคลเพื่อดูจารึก ที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติแด่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้เป็นเจ้า เนื่องในวาระที่สร้างพระเจดีย์ฉลองชัยชนะ เหนือพระมหาอุปราชแห่งพม่า และประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทย จากหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว"

ในฝันอาตมารับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งที่บรรจุให้ แล้วก็ตกใจตื่นตอนใกล้รุ่ง อาตมาก็ทบทวนความฝัน ก็นึกอยู่ในใจว่า เราเองนั้น กำหนดจิตด้วยกรรมฐาน มีสติอยู่เสมอ เรื่องฝันฟุ้งซ่านเป็นไม่มี อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นแหละว่า ทางกรมศิลปากรทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหญ่ ในวัดใหญ่ชัยมงคล และจะทำการบรรจุพระบรมธาตุที่ยอดพระเจดีย์ อันเป็นนิมิตหมายการสิ้นสุดการบูรณะ แล้วจะรื้อนั่งร้านทั้งหมดออกเสร็จสิ้น

อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร บอกนายภิรมณ์ ชินเจริญ ให้เลื่อนการปิดยอดบัวไปอีกวันหนึ่ง เพื่อที่อาตมาจะได้นำพระซุ้มเสมาชัย ซุ้มเสมาขอที่อาตมาได้สร้างขึ้น ตามแบบดั้งเดิมที่พบในเจดีย์ใกล้กับวัดอัมพวัน ซึ่งพังลงน้ำ ที่ก๋งเหล๋งเป็นคนรวบรวมเอามาให้อาตมา ตั้งแต่เมื่อเริ่มมาพัฒนาวัดใหม่ ๆ แต่แตกหัก ผุพัง ทั้งนั้น หลายสิบปี๊บ อาตมาได้ป่นเอามาผสมสร้างเป็นองค์พระใหม่ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์บ้าง

วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึง ก็ได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบันได แล้วมองเห็นโพรงที่ทางเข้าทำไว้สำหรับลงไปด้านล่าง มีร้านไม่พอไต่ลงไปภายใน ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่า ลงไปคราวนี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้านไม้ ก็ยอมตาย คนที่ร่วมเดินทางมา เขามัวแต่ไปบนลานชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง มีไฟฉายดวงหนึ่ง เวลานั้นประมาณ ๙.๐๐ น. อาตมาลงไปภายในพบลานทองคำ ๑๓ ลาน ดังที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้จริง ๆ อาตมาจึงได้พบว่า แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ท่านได้จารึกถวายพระพร ก็คือ บทสวดมนต์ที่เรียกว่า "พาหุง มหาการุณิโก"

ท้ายของนิมิตนั้นระบุว่า "เราสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ศรีอโยธเยศ คือผู้จารึกนิมตรจนาเอาไว้ ถวายพระพรแด่พระมหาบพิตรเจ้า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช"

พาหุงมหาการุณิโก คืออะไร

พาหุงมหากา คือ บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วก็ พรพาหุงอันเริ่มด้วย พาหุงสะหัส จนไปถึง ทุคคาหะทิฏฐิ แล้วเรื่อยไปจนถึง มหาการุณิโกนาโถหิตายะ และบลงด้วยภะวะตุสัพพะมังคะลัง สัพพะพุทธา สัพพะธรรมา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต อาตมาเรียกรวมกันว่า "พาหุงมหากา"

อาตมาจึงเข้าใจในบัดนั้นเองว่า บทพาหุงนี้คือ บทสวดมนต์ที่ สมเด็จพระพนรัตน์ วัด ป่าแก้ว ได้ถวายให้พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไว้สวดเป็นประจำ เวลาอยู่กับพระบรมราชวัง และในระหว่างศึกสงคราม จึงปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า ทรงรบ ณ ที่ใดทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมา มิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลย แม้จะเพียงลำพังสองพระองค์กับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ท่ามกลางกองทัพพม่า ด้วยการกระทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ ดอนเจดีย์ปูชนียสถาน แม้ข้าศึกจะยิงปืนไฟเข้าใส่พระองค์ในตอนที่เข้ากันพระศพของพระมหาอุปราชาออกไปราวกับห่าฝนก็มิปาน แต่ก็มิได้ต้องพระองค์ ด้วยเดชะพาหุงมหากา ที่ทรงเจริญอยู่เป็นประจำนั่นเอง อาตมาได้พบตามที่นิมิตแล้วก็ไต่ขึ้นมาด้วยความสบายใจ ถึงปากปล่องที่ลงไป เนื้อตัวมีแต่หยากไย่ เดินลงมาแม่ชีเห็นเข้ายังร้องว่า หลวงพ่อเข้าไปในโพรงนั่นมาหรือ แต่อาตมาไม่ตอบ

ตั้งแต่นั้นมา อาตมาจึงสอนการสวดพาหุงมหากาฯ ให้แก่ญาติโยมเป็นต้นมา เพราะอะไร เพราะ พาหุงมหากานั้น เป็นบทสวดมนต์ที่มีค่ามากที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา จากพญาวัสดีมาร จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคีรี จากองคุลิมาล จากนางจิญมานวิกา จากสัจจะกะนิครนธ์ จกาพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มา ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้ ผู้ใดได้สวดไว้เป็นประจำทุกวัน จะมีชัยชนะ มีความเจริญรุ่งเรือง ตลอดกาลนาน มีสติระลึกได้จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ

ขอให้คุณโยมช่วยประชาสัมพันธ์ให้ด้วยนะ ว่าให้สวดพาหุงมหากากันให้ถ้วนหน้า นอกจากจะคุ้มตัวแล้วยังคุ้มครอบครัวได้ สวดมาก ๆ เข้า สวดกันทั้งหลายประเทศ ก็ทำให้ประเทศมีแต่ความรุ่งเรือง พวกคนพาลสันดานหยาบก็แพ้ภัยไปอย่างถ้วนหน้า

ไม่เพียงแต่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้น ที่พบความมหัศจรรย์ของพบพาหุงมหากา แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงพบเช่นกัน โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ดังนี้"

"เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเล็งเห็นว่า สงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนาและยืดยาว จึงทรงโปรดเกล้าให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้น แล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุงมหากาบรรจุไว้ในองค์พระ และพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตาม พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วยการเจริญพาหุงมหากา จึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"

ข้อมูลนำมาจาก //www.jarun.org/v5/th/library_pray11.html

***************


ฟังบทสวดพาหุงมหาการุณิโกได้ที่ ฟังบทสวดพาหุง มหาการุณิโก ค่ะ





 

Create Date : 12 มิถุนายน 2550    
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2552 4:57:43 น.
Counter : 389 Pageviews.  

ฟังบทสวดพาหุง มหาการุณิโก


พระคาถาพาหุงมหากา


เรียกอีกอย่างว่า ชัยมงคลคาถา หรือ บทสวดถวายพระพร เป็นพระคาถาแปดบท ใช้สวดสรรเสริญชัยชนะแปดประการองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมนุษย์และอมนุษย์ ที่ได้มาด้วยพระพุทธธรรม มิได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์แต่อย่างใด โดยพระมักสวดต่อท้ายทำวัตรเช้า – เย็น เริ่มด้วย บทพาหุง ตามด้วยบทมหาการุณิโก รวมเรียกว่า พาหุงมหาการุณิโก หรือ พาหุงมหากา



๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๕. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๘. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

* ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)

มหาการุณิโก

มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง
นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหมิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*

* ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)

คำแปลบทพาหุง

๑. พญามารเนรมิตแขนตั้งพัน ถืออาวุธ ครบมือ ขี่ช้าง ครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามาร โห่ร้องก้องกึก พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ ด้วยธรรมวิธี มีทานบารมี เป็นต้น ด้วยเดช แห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
อรรถาธิบายอย่างย่อ
ปราบมาร ด้วยทานบารมี
พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ พระยาวัสสวดีมาราธิราช ได้ขี่ช้างคิรีเมขล์ ยกทัพมารที่ดุร้ายมุ่งผจญข่มขู่พระโพธิสัตว์ แต่ด้วยบุญบารมีของพระโพธิสัตว์ทำให้ พระแม่ธรณีปรากฏกายขึ้นบิดมวยผม เกิดน้ำท่วมใหญ่พัดพากองทัพมารแตกพ่ายไป

๒. อาฬวกยักษ์ผู้กระด้าง ปราศจาก ความอดทน ดุร้าย สู้รบกับพระพุทธเจ้าอย่าง ทรหดยิ่งกว่ามารตลอดราตรี พระจอมมุนีทรง เอาชนะได้ด้วยขันติวิธีที่ทรงฝึกฝนมาดี ด้วย เดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
อรรถาธิบายอย่างย่อ
ปราบยักษ์ ด้วยขันติธรรม
พระพุทธเจ้าเสด็จไปปราบอาฬวกยักษ์ ซึ่งสำแดงฤทธิ์ ถีบยอดเขาไกรลาศ แล้วร้องเรียกยักษ์บริวารมาล้อมวิมาน ยิงศาสตราวุธ ๗ ประการใส่พระพุทธเจ้า อาวุธนั้นกลับกลายเป็นดอกไม้บูชาพระพุทธองค์ อาฬวกยักษ์แพ้ฤทธิ์แล้ว พระองค์จึงเทศนาโปรด จนยักษ์ถึงแก่พระโสดา

๓. พญาช้างชื่อ นาฬาคิรี ตกมัน ดุร้ายยิ่งนัก ประดุจไฟป่า จักราวุธ และสายฟ้า พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยวิธีรดด้วยน้ำ คือเมตตา ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
อรรถาธิบายอย่างย่อ
ปราบช้าง ด้วยเมตตาธรรม
พระพุทธองค์ทรงทรมานช้างนาฬาคีรี ครั้งนั้นพระเทวทัตคิดฆ่าพระพุทธเจ้า จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรู ขอให้เอาเหล้ากรอกช้างนาฬาคีรี แล้วปล่อยไปตามถนน ที่พระพุทธองค์เสด็จออกบิณฑบาต พระพุทธเจ้าทรงทรมานช้างนาฬาคีรีให้หายเมาเหล้า แล้วตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมณ์

๔. โจรองคุลิมาล (โจรฆ่าคนเอานิ้ว ทำพวงมาลัยแสนดุร้าย) ถือดาบเงื้อง่าวิ่งไล่ฆ่า พระพุทธองค์สิ้นระยะทาง ๓ โยชน์ พระจอมมุณี ทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจเอาชนะได้ราบคาบ ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
อรรถาธิบายอย่างย่อ
ปราบมหาโจร ด้วยอิทธิฤทธิ์
พระพุทธเจ้าทรงโปรดองคุลิมาล เมื่อพระพุทธองค์กลับจากบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีพบองคุลิมาล องคุลิมาลเห็นเข้าจึงจับอาวุธไล่ตามพระพุทธองค์ แต่ไล่ตามไม่ทัน พระพุทธองค์ตรัสให้องคุลิมาลได้คิด “เราหยุดแล้ว แต่ท่านสิไม่หยุด” องคุลิมาลเลื่อมใส ขอบวช และตามเสด็จกลับไปกรุงสาวัตถี พักอยู่ ณ เชตวนาราม

๕. นางจิญจมาณวิกา (สาวิกาพวกนิครนถ์) เอาไม้กลมๆ มาผูกท้อง ทำอาการ ประหนึ่งว่ามีครรภ์ ใส่ร้ายพระพุทะเจ้า ท่ามกลางฝูงชน พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ ด้วยวิธีสงบระงับพระหฤทัยอันงดงาม ด้วย เดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
อรรถาธิบายอย่างย่อ
ปราบหญิงแพศยา ด้วยสันติธรรม
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เชตุพน ใกล้เมืองสาวัตถี ครั้งนั้นเกิดลาภสักการะในพระพุทธศาสนามาก พวกเศรษฐีให้นางจิญจมาณวิกา ทำอุบาย เข้าออกในพระเชตุพนเนืองๆ แล้วเอาท่อนไม้ผูกท้องเข้าในผ้านุ่ง ไปยืนแสดงตนขณะพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนา ร้องตู่ว่าพระองค์ทำให้นางมีครรภ์ พระอินทร์และเทพยดา ๔ องค์ นิมิตลงมาเป็นหนูกัดเชือกผูกท่อนไม้ขาด แล้วแผ่นดินก็สูบนางจิญจมาณวิกาลงไปในนรก

๖. สัจจกนิครนถ์ผู้ถือตัวว่าฉลาด เป็นนักโต้วาทะชั้นยอด สละเสียซึ่งสัจจะ ตั้งใจมาได้วาทะหักล้างพระพุทธองค์ เป็นคน มืดบอดยิ่งนัก พระจอมมุนีผู้สว่างจ้าด้วย “แสงปัญญา” ทรงเอาชนะได้ ด้วยเดชแห่ง ชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
อรรถาธิบายอย่างย่อ
ปราบเจ้าลัทธิ ด้วยปัญญา
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในมหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นมีสัจกนิครนถ์บุตร อาศัยในเมืองเวสาลี ถือมิจฉาทิฐิ ตั้งตนเป็นปราชญ์ มีความรู้มาก ต้องทำแผ่นเหล็กรัดท้อง เพราะกลัววิชาจะทำลายท้องแตก วันหนึ่งพบพระอัสชิ จึงถามปัญหาแก่ท่าน ต่อมาได้ชวนพญาลิจฉวีทั้ง ๕๐๐ ไปป่ามหาวัน ถามปัญหาแก่พระพุทธเจ้า ขณะนั้นพระอินทร์นิมิตเป็นยักษ์ถือฆ้อน ลอยอยู่บนอากาศ เหนือศีรษะของสัจกนิครนถ์ สัจกนิครนถ์นั้นได้ฟังพระธรรมเทศนา จากพระพุทธเจ้า ก็ละมิจฉาทิฐิ แล้วตั้งตนอยู่ในพระไตรสรณคมณ์

๗. พญานาค ชื่อนันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก พระจอมมุนี ทรงมี พุทธบัญชาให้พระโมคคัลลานะพุทธโอรส ไป ปราบด้วยวิธีแสดงฤทธิ์ที่เหนือกว่า ด้วยเดช แห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคล จงมีแก่ท่าน
อรรถาธิบายอย่างย่อ
ปราบพญานาคจอมพาล ด้วยฤทธิ์สู้ฤทธิ์
ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เหาะไปสู่เทวโลก พญานันโทปนันทนาคเห็นเข้า ก็โกรธว่าพระสมณะเหาะข้ามศีรษะ จึงบันดาลขดกายใหญ่พันเขาพระสุเมรุ แผ่พังพานยังดาวดึงส์ พระพุทธองค์ส่งพระโมคคัลานะไปปราบ ต่างสำแดงฤทธิ์เดชต่างๆ เป็นโกลาหล ภายหลังพญานาคแพ้ฤทธิ์ แล้วตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมณ์

๘. พรหมชื่อพกะ (ถือตัวว่า) มีความ บริสุทธิ์ รุ่งเรืองและมีฤทธิ์ ยึดมั่นในความเห็นผิด ดุจมีมือถูกอสรพิษขบเอา
อรรถาธิบายอย่างย่อ
ปราบพกาพรหม ด้วยญาณ
พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นสู่พรหมโลก ท้าวพกาพรหมเห็นพระพุทธองค์เสด็จมา จึงเรียกร้องด้วยคำกระด้าง แล้วกำบังกาย แต่ก็มิสามารถกำบังกายได้ หมู่พรหมทั้งหลายก็หัวเราะเยาะเย้ย ท้าวผกาพรหมได้รับความอับอายยิ่งนัก แล้วพระพุทธเจ้าจึงเทศนาธรรม ทรมานท้าวพกาพรหมและพรหม ๑,๐๐๐ ให้สำเร็จมรรคผล

ข้อมูลนำมาจาก //th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B8%87

สรุปความหมายอย่างง่าย ๆ คือ
บทที่ ๑ สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ
บทที่ ๒ สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์
บทที่ ๓ สำหรับเอาชนะสัตว์ร้ายหรือคู่ต่อสู้
บทที่ ๔ สำหรับเอาชนะโจร
บทที่ ๕ สำหรับเอาชนะการแกล้ง ใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีความ
บทที่ ๖ สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ
บทที่ ๗ สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
บทที่ ๘ สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน

คำแปลมหาการุณิโก

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

อานิสงส์ของบทสวดมนต์ ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหาการุณิโก

ผู้ใดสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา เป็นประจำทุกๆ วันแล้ว มีแต่ชัยชนะทุกประการ เรียนหนังสือก็เกิดปัญญา มีแต่ความเก่งกล้าสามารถ ผู้ใดสวดทุกเช้า ค่ำ คิดสิ่งใดที่ดีเป็นมงคล จะสมความปรารถนาทุกประการ

ข้อมูลนำมาจาก //www.84000.org/pray/puttakun.shtml


***************

เชิญอ่านการค้นพบพระชัยมงคลคาถาได้ที่ มูลเหตุแห่งการค้นพบพระชัยมงคลคาถา ค่ะ




 

Create Date : 10 มิถุนายน 2550    
Last Update : 13 มกราคม 2553 9:26:07 น.
Counter : 3960 Pageviews.  

ฟังบทสวดคาถาชินบัญชร



คาถาชินบัญชร


ของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ก่อนที่จะเจริญภาวนา ให้ตั้ง นะโม ๓ จบ แล้วน้อมจิตระลึกถึงและบูชาเจ้าประคุณสมเด็จฯ ด้วยคำว่า

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ




๑. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา

๒. ตัณหัง กะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติตฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา

๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร

๔. หะทะเย เม อุนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก

๕. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก

๖. เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิ ปุงคะโล

๗. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร

๘. ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปะลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะอิเมชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ

๙. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา

๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง

๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเล ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา

๑๒. ชินานานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา

๑๓. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร

๑๔. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา

๑๕. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิชินะปัญชะเรติ

คำแปล

๑. พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราช ผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะ แล้วเสวย อมตรส คือ อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

๒. มี ๒๘ พระองค์ คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกร เป็นอาทิ พระพุทธเจ้าจอมมุนีทั้งหมดนั้น

๓. ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก

๔. พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง

๕. พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

๖. มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะ ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ ดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

๗. พระเถระกุมาระกัสสะปะ ผู้แสวงหาบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ

๘. พระปุณณะ พระอังคุลิมา พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฎเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

๙. ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย
แต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีล ให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

๑๐. พระรัตระสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคสูตรอยู่เบื้องหลัง

๑๑. พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฎานะฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

๑๒. อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลายนอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด
มีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือสัตตะปราการเป็นอาภรณ์ มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

๑๓. ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้า ไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชร แวดวงกงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทะทุกข์ทั้งภายนอกและภายในอันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐาน จงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

๑๔. ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้าผู้อยู่ในภาคพื้นท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล

๑๕. ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ
ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญ ฯ

อานุภาพแห่งพระคาถาชินบัญชร

ขออนุญาตนำมาจากเว็บไซต์ //www.dhammajak.net/prayer/chinna01.php
ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ากล้ำกลาย ไปทางใดย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่าง ๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริตแก้สรรพโรคภัยหายสิ้นเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนาดังคำโบราณว่า “ฝอยท่วมหลังช้าง” จะเดินทางไปที่ใด ๆ สวด 10 จบ แล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ

หมายเหตุ: คำแนะนำทั้งหมดสำหรับผู้ที่มีความศรัทธามั่นคงใน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และเป็นผู้ที่มีคุณธรรมประจำใจประพฤติตัวอยู่ในศีล ผู้นั้นก็จะได้รับความสุขและรอดพ้นจากภัยพิบัติต่าง ๆ นอกจากว่าจะเกิดจากกรรมในอดีต ส่งผลมาถึงท่านก็ช่วยให้หนักเป็นเบาได้ ขอให้ทำเป็นประจำ และช่วยกันเผยแพร่ต่อ ๆ ไปด้วยเป็นการเพิ่มกุศลให้กับตนเอง

ตอนก่อนจะออกจากบ้านทุกเวลา ให้พนมมือ สวดนะโม… 3 จบแล้วว่า “ชินะปัญชะระปะริตตังมัง รักขะตุ สัพพะทา” 3 จบ “ขอพระชินบัญชรปริตร จงรักษาข้าพเจ้า ตลอดเวลาทุกเมื่อ





 

Create Date : 08 มิถุนายน 2550    
Last Update : 22 มกราคม 2553 12:10:38 น.
Counter : 1462 Pageviews.  

พระสร้างถนน 57 ก.ม.-ไม่ง้องบจากรัฐ





ฮือฮา! พระสร้างถนน 57ก.ม.-ไม่ง้องบ

ชาวกะเหรี่ยง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ช่วยกันสร้างถนนระยะทาง 57 ก.ม.ไปยังอ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ โดยมีพระพิศาลประชานุกูล แห่งวัดศรีโสดา จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยงเช่นกัน ใช้อาหารแห้งแลกเป็นค่าแรง

เมื่อวันที่ 2 พ.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า พระพิศาลประชานุกูล อายุ 47 ปี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีโสดา ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ได้สร้างถนนลำลอง 5 สาย เชื่อมระหว่างอ.ท่าสองยาง จ.ตาก กับอ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ รวมระยะทาง 95 กิโลเมตร รวมถึงสะพานอีก 2 แห่ง โดยใช้กำลังคนที่มีอุปกรณ์แค่จอบเสียมล้วนๆ

และไม่พึ่งพาเงินงบประมาณจากทางราชการแม้แต่บาทเดียว สามารถทำถนนเสร็จไปแล้ว 1 โครงการ และขณะนี้กำลังดำเนินการโครงการที่ 2 อย่างต่อเนื่อง เป็นการปฏิบัติคล้ายกับที่ครูบาศรีวิชัย อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคเหนือ เคยร่วมกับชาวบ้านสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพนั่นเอง

ผู้สื่อข่าวจึงเดินทางไปพบกับพระพิศาลประชานุกูล และเปิดเผยว่า อาตมาได้ไปธุดงค์และไปจำพรรษาตามวัดต่างๆ ที่จ.ตาก และเชียงใหม่ อยู่ตามถิ่นทุรกันดาร เวลาเดินทางก็ต้องเดินเท้าขึ้นลงเขา มีหลายครั้งที่นำสิ่งของขึ้นไปในหมู่บ้านที่อยู่บนดอยในช่วงอากาศหนาว เช่น ผ้าห่ม ก็ต้องแบกขึ้นไป ญาติโยมก็ต้องมาช่วยกัน ผู้มีจิตศรัทธาที่อยากจะบริจาคสิ่งของเพื่อไปช่วยคนยากจน บางรายเดินทางไปครั้งเดียว ครั้งหลังเข็ดไม่ไปอีกเลยเพราะเส้นทางการเดินทางลำบากมาก

อาตมาจึงมานั่งคิดทีหลังว่า เวลาเรามีเสื้อผ้า มีผ้าห่มเพื่อจะขึ้นไปแจกจ่ายให้กับประชาชนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารซึ่งมีอยู่จำนวนมากในหุบเขา บนภูเขาสูง และสถานที่ห่างไกลความเจริญ ก็จะไปลำบาก สิ่งของก็ไม่ค่อยถึงมือชาวบ้าน เมื่อชาวบ้านเจ็บป่วยจะมาหาหมอที่โรงพยาบาลลำบาก ต้องล้มป่วยนอนรอความตาย ทำให้ต้องพึ่งผีสางตามความเชื่อไปอย่างนั้น

จะประสานงานกับทางอำเภอเรื่องเอกสารต่างๆ ก็ลำบาก เด็กเล็กไม่มีใครอยากเข้าโรงเรียน เพราะระยะทางการเดินทางไกล เมื่อจบชั้นประถมศึกษาในหมู่บ้านก็ถือว่าจบอยู่ตรงนั้น จะรอทางหน่วยราชการไปช่วยเหลือหรือรองบประมาณของทางราชการก็นาน

พระพิศาลประชานุกูลกล่าวว่า อาตมาคิดว่าสิ่งของที่มีประชาชนนำมาถวายมาทำบุญกับพระสงฆ์ ทั้งบะหมี่สำเร็จรูป ปลากระป๋อง ข้าวสารอาหารแห้งต่างๆ จำนวนมาก จึงมีความคิดนำสิ่งอุปโภคบริโภคเหล่านี้ นำขึ้นไปหาชาวบ้านในถิ่นทุรกันดาร เพื่อขอแลกกับแรงงานชาวบ้านในถิ่นทุรกันดาร

ขอให้ชาวบ้านที่อยู่ห่างไกลลงมาช่วยกันสร้างทางหรือถนนเข้าหมู่บ้านและตัดต่อไปยังถนนใหญ่ โดยอาตมาคิดว่า ปลากระป๋อง บะหมี่สำเร็จรูป เสื้อผ้า สิ่งอุปโภคบริโภคอื่นๆ เป็นค่าจ้างให้คนละ 50 บาทต่อคนต่อวัน กับชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นๆ เพื่อให้ช่วยกันสร้างทางเชื่อมต่อกันจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังหมู่บ้านหนึ่ง จากตำบลหนึ่งไปยังอีกตำบลหนึ่ง

เพื่อความสะดวกในการเดินทางของชาวบ้านเอง ซึ่งเมื่ออาตมาไปสอบถามขอความช่วยเหลือและขอแรงแลกกับเครื่องอุปโภคบริโภคที่นำขึ้นไป พวกชาวบ้านก็ยินดี พร้อมกับนำจอบเสียมที่มีอยู่ออกมาช่วยกันสร้างทาง ชาวบ้านเหล่านี้ส่วนมากจะเป็นพวกชาวเขา โดยเฉพาะชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันเป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม

พระนักพัฒนากล่าวต่อว่า การดำเนินการสร้างถนนนั้น บางครั้งก็มีชาวบ้านมาช่วย 20 คนบ้าง 200 คนบ้าง แล้วแต่หมู่บ้านไหนที่มีคนมากน้อย โดยเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา เบื้องต้นได้สร้างถนนลำลอง 3 สายมาบรรจบกัน ระยะทาง 57 กิโลเมตร ใช้เวลา 3 ปี 4 เดือน จากเขตอ.ท่าสองยาง จ.ตาก ถึงเขตอ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ และสามารถทำสำเร็จไปแล้วเมื่อปี 2545 โดยไม่ได้ใช้งบประมาณทางราชการแต่อย่างใด โดยทำไปเรื่อยๆ ปีหนึ่งได้กี่กิโลก็ทำไป จากเส้นทางคนเดินเป็นเส้นทางรถจักรยานยนต์และขยายจนเป็นเส้นทางรถยนต์วิ่งสัญจรได้สะดวกเริ่มต้นจากเล็กไปหาใหญ่ หากครั้งไหนอาตมาได้รับสิ่งของถวายพวกสิ่งอุปโภคบริโภคจำนวนมาก ก็จะนำไปแลกเป็นแรงงานได้มาก ปัจจุบันนี้เส้นทางลำลองดังกล่าวทั้งคนและรถสามารถสัญจรไปมาได้โดยสะดวก

พระพิศาลประชานุกูลกล่าวต่อว่า ตอนนี้อาตมาดำเนินการโครงการ 2 ต่อ เพราะยังพบว่ามีชาวบ้านที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารยังเดือดร้อนอยากมีเส้นทางการสัญจรที่สะดวก จึงเริ่มโครงการ 2 ในปี 2550 ทันที โครงการที่ 2 นั้นไม่กำหนดวันแล้วเสร็จ ทำไปเรื่อยๆ 2 สาย บรรจบเป็นสายเดียวเชื่อมจากอ.ท่าสองยาง จ.ตาก ไปยังอ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ระยะทาง 38 กิโลเมตร สะพานอีก 2 แห่ง

ซึ่งอาตมาได้นำสิ่งอุปโภคบริโภคที่ได้รับบริจาคและที่ประชาชนนำมาทำบุญ นำไปแลกแรงงานชาวบ้านที่เดือดร้อน ขณะนี้ดำเนินการไปแล้วประมาณ 7-8 กิโลเมตร จึงอยากเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญบริจาคจอบ เสียม เกลือ ปลาเค็ม มะพร้าว เพื่อตอบแทนเป็นค่าแรงงานให้กับชาวบ้าน

โดยเฉพาะเกลือเม็ดเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับชาวดอย อยากให้บริจาคเป็นสิ่งของมากกว่าเงิน ส่วนมะพร้าวที่ชาวบ้านอยากให้บริจาคเพราะว่า ชาวบ้านเห็นมะพร้าวแห้งจะนึกเสียดาย จึงเอาไปเพาะปลูกบริเวณริมลำห้วย หัวไร่ปลายนาบ้านป่าจะมีมะพร้าวไว้กิน เป็นการส่งเสริมปลูกป่าไปด้วย

"อาตมาใช้เงินไม่ค่อยเป็น การทำบุญสร้างถนนหนทางได้บุญมาก อานิสงส์การทำบุญสร้างถนนหนทาง จะทำให้คนไม่ค่อยมีอุปสรรคจะคิดทำอะไรก็ไหลลื่น การทำบุญสร้างถนนหนทางให้คนสัญจรดีกว่าสร้างโบสถ์ วิหารใหญ่โต แต่ไม่มีคนเข้าเป็นไหนๆ" พระพิศาลประชานุกูลกล่าว

สำหรับพระพิศาลประชานุกูล เดิมชื่อ ดำริ ฉายา อิทธิมนฺโต นามสกุล สุขสมบัติธรรม เป็นชาวกะเหรี่ยง อายุ 47 ปี พรรษา 24 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีโสดา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และหัวหน้าศูนย์อบรมศีลธรรมและส่งเสริมพระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูงบ้านแม่สลิดหลวง ต.แม่สอง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เกิดเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2503 ที่บ้านเลขที่ 13 หมู่ 4 ต.แม่อุสุ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

บรรพชาเมื่อวันที่ 2 พ.ค.2518 ที่วัดแม่ต้านเหนือ ต.แม่ต้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก อุปสมบท เมื่อวันที่ 7 ก.ค.2524 ที่พัทธสีมาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กทม. มีสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระพิศาลประชานุกูล" เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.2549 เป็นพระธรรมจาริกชาวกะเหรี่ยงรูปแรกที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ

ที่มาจาก ข่าวสด




 

Create Date : 03 พฤษภาคม 2550    
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2552 5:01:42 น.
Counter : 610 Pageviews.  

1  2  3  

Sunny Shiny Day
Location :
WA United States

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




"โลกสอนมนุษย์ว่าทุกสิ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่โลกก็กลับสอนให้มนุษย์ผูกพัน"

โดยพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต
Custom Search

Free Blog Content

WeatherBug
Your weather just got better.
Friends' blogs
[Add Sunny Shiny Day's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.