Group Blog
 
All blogs
 
อสงไขย - The Sis, ลาวม่านแก้ว


อสงไขย

ศิลปิน - The Sis




ปล่อยความคิดถึง ปลิวไปในอากาศ
ล่องลอยหัวใจสะอาด ลอยไปแสนไกล
กรุ่นกลิ่นบุหงา พัดมาด้วยรักจากใจ
เพียงหวังให้ถึงใคร คนที่รอคนนั้น

ส่งความคิดถึง ปลิวไปในอากาศ
คิดถึงใจจะขาด เธออาจไม่เข้าใจ
แค่อยากให้รู้ ไม่ได้ต้องการสิ่งใด
เธอไม่ต้องคืนใจ ถ้าเธอไม่ต้องการ

ฝากเป็นเพลง ให้ลอยเล่นลมไป
ล่องลอย ผ่านไปถึงเธอ
แม้จะเนิ่นนาน ยังรักเธอ
ตราบนาน อสงไขยเวลา

หากเพลงคิดถึง ที่ปลิวไปในอากาศ
เพียงถ้ามันพลั้งพลาด ไปไม่พบเธอ
ให้บทเพลงนี้ ล่องลอยเรื่อยไปเสมอ
รอซักวันที่เจอ คนที่เขาต้องการ

ฝากเป็นเพลงให้ลอยเล่นลมไป
ล่องลอย ผ่านไปถึงเธอ
แม้จะเนิ่นนาน ยังรักเธอ
ตราบนาน อสงไขยเวลา

แม้จะเนิ่นนาน ยังรักเธอ
ตราบนาน อสงไขยเวลา


จากบทประพันธ์ของ "ว.วิจฉัยกุล" นักเขียนในดวงใจของหลาย ๆ คน มาสู่ละครที่ประทับใจหลาย ๆ คนไม่แพ้กัน เพลง "อสงไขย" เป็นเพลงประกอบ "แต่ปางก่อน" ในเวอร์ชั่นของศรราม เทพพิทักษ์ กับ แอน ทองประสม

หลายคนฟังชื่อเพลงแล้วก็สงสัยว่า "อสงไขย" แปลว่าอะไร ดิฉันเลยไปหาข้อมูล เมื่ออ่านความหมายแล้วก็ต้องหวนกลับไปคิดว่า การที่รักใครสักคนตราบชั่ว "อสงไขย" คงจะรักมากล้นเหลือคณา

ดิฉันขอแถมเรื่องย่อ และเพลง "ลาวม่านแก้ว" ไว้ในนี้ด้วยเลยแล้วกันนะคะ

***************

เรื่องย่อ "แต่ปางก่อน"

พ.ศ. 2490 “ราชาวดี” สาวน้อยวัย 17 ปี เมื่อจบการศึกษาแล้วก็ได้เดินทางมาที่โรงเรียนกุลนารี เพื่อสมัครเป็นครูตามความประสงค์ของมารดาที่ล่วงลับไปแล้ว “กาบทอง” อาจารย์ใหญ่ประจำโรงเรียนรับราชาวดีเข้าเป็นครูด้วยความเต็มใจ เพราะเธอกับแม่ของราชาวดีเคยรู้จักกันมาก่อน นับแต่ก้าวแรกที่ราชาวดีเหยียบย่างเข้ามาในเขตโรงเรียนซึ่งเป็นวังเก่าก็รู้สึกแปลก ๆ เพราะเหมือนมีใครตามเธออยู่ห่างๆ และยิ่ง “ถวิล” เพื่อนสนิทของเธอเล่าถึงความน่ากลัวของเสด็จในกรมฯ และท่านชายรังสิธรผู้เป็นโอรสและเจ้าของวัง ซึ่งล่วงลับไปแล้ว ยิ่งทำให้ราชาวดีสนใจวังนี้มากขึ้นไปอีก คืนแรกที่ราชาวดีเข้าพัก เธอก็ได้ฝันถึงวังอันรโหฐาน และเพลงไทยเดิมที่ชื่อ “ลาวม่านแก้ว” อันแสนไพเราะ และชายหนุ่มที่เรียกเธอว่า “เจ้านางน้อย” แต่ไม่ทันได้เห็นหน้าผู้ชายคนนั้นราชาวดีก็สะดุ้งตื่นเสียก่อน

ราชาวดีต้องการหาคำตอบว่าสิ่งที่เธอฝันนั้นคืออะไร จึงแอบเข้าไปในวังซึ่งถูกทิ้งร้างมานานจนทรุดโทรม ที่นั่นราชาวดีได้พบกับ “จางวางจัน” ข้ารับใช้เก่าแก่ของเสด็จในกรมฯ ราชาวดียิ่งแปลกใจมากขึ้น เมื่อจางวางจันเรียกเธอว่า “เจ้านางน้อย” เหมือนผู้ชายคนนั้นในฝันของเธอ จางวางจันชวน ราชาวดี ไปที่ ตำหนักริมน้ำแต่เธอปฏิเสธ ระหว่างเดินทางกลับราชาวดีรู้สึกเหมือนมีใครบางคนดึงดูดเธอให้ตามเขาไปโดยไม่รู้ตัว ราชาวดีรู้สึกตัวอีกทีก็พบว่ายืนอยู่หน้าบ้านสีขาว ราวบ้านในเทพนิยาย เธอรู้ทันทีว่านี่คือตำหนักริมน้ำที่จางวางจันชวนเธอมา กาบทองพาราชาวดีไป กราบหม่อม “พรรณราย” เจ้าของโรงเรียน ทำให้ได้พบกับ “ม.ร.ว. จิรายุส” ลูกชายของหม่อมและ “สวรรยา” คู่หมั้น ทุกคนประหลาดใจที่ราชาวดีหน้าตาเหมือนเจ้านางน้อยไม่มีผิดเพี้ยน ราชาวดีหาโอกาสปลีกตัวไปที่ตำหนักริมน้ำบ่อยครั้ง จนได้พบกับผู้ชายผู้เป็นเจ้าของตำหนัก เธอรู้สึกสนิทคุ้นเคยเหมือนรู้จักกันมานาน ชายคนนั้นให้ราชาวดี ดูรูปเจ้านางน้อยที่อยู่ในตำหนัก ทำให้ราชาวดีถึงกับหมดสติไป เพราะภาพที่เห็นช่างเหมือนตัวเธอราวคน ๆ เดียวกัน

เมื่อฟื้นจากสลบก็พบว่าตนเองได้เข้ามาอยู่ปี พ.ศ.2453 ในสภาพเจ้านางน้อย ราชาวดีได้พบกับท่านชายใหญ่หรือ “ท่านชายรังสิธร” ซึ่งนั่นก็ทำให้เธอหมดสติไปอีกครั้ง เมื่อได้สติขึ้นมา คราวนี้ราชาวดีพบว่าตัวเองนอนสลบอยู่บนเตียง โดยมีบรรดาครูรุมล้อมด้วยความห่วงใย ถวิลเล่าให้ราชาวดีฟังว่าจางวางจันพบเธอนอนสลบอยู่ในสวนหน้าวัง ราชาวดีสารภาพว่าเธอแอบเข้าไปที่ตำหนักริมน้ำ ราชาวดีได้พบวิญญาณท่านชายใหญ่อีกครั้งในงานประจำปีของโรงเรียน โดยเธอได้บรรเลงไวโอลินเพลง “ลาวม่านแก้ว” ทำให้ท่านหญิงวิไลเรขา ป้าแท้ๆ ของจิรายุส ขวัญผวา เพราะก่อนหน้านั้นวิไลเรขาเคยเป็นคู่หมั้นของท่านชายใหญ่ตามความเห็นชอบของผู้ใหญ่ แต่ท้ายที่สุดท่านชายใหญ่ก็ขอถอนหมั้นกับเธอ แล้วไปแต่งงานกับเจ้านางน้อย ส่วนเพลง “ลาวม่านแก้ว” เป็นเพลงที่ท่านชายใหญ่แต่งให้เจ้านางน้อย และถูกนำมาบรรเลงในวันแต่งงาน วิไลเรขาเกลียดราชาวดีเพราะคิดว่าเป็นเจ้านางน้อยกลับชาติมาเกิดเพื่อจองเวรกับเธอ ดังนั้นวิไลเรขาจึงแกล้งให้ราชาวดีมาอยู่รับใช้ช่วงปิดเทอม ราชาวดีถูกวางยาให้ป่วยทีละน้อย เหมือนที่วิไลเรขาเคยทำกับเจ้านางน้อยในอดีต

จิรายุสนำตัวราชาวดีส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ซึ่งก็ทำให้วิไลเรขาโกรธมากจนป่วยหนัก ก่อนที่วิไลเรขาจะสิ้นลมเธอได้บังคับให้จิรายุสเต่งงานกับสวรรยา และหลังการแต่งงานจิรายุสก็หย่าขาดจากสวรรยา โดยมีลูกชายด้วย 1 คน คือ “จิราคม” ราชาวดีตัดสินใจลาออกจากการเป็นครูแล้วกลับมาที่อุดรฯ โดยมีวิญญาณ ของท่านชายใหญ่ติดตามมาเป็นกำลังใจ กระทั่งคืนหนึ่งท่านชายได้มาบอกลาเธอ ราชาวดีเสียใจที่จะไม่ได้พบท่านชายแล้ว แต่ถ้าเป็นการ จากลาเพื่อได้พบกันใหม่ราชาวดีก็ยินดี จากนั้นเธอก็ตัดกิเลสทางโลกเข้าวัดบำเพ็ญกุศล ราชาวดีป่วยหนัก เมื่อถวิลไปเยี่ยมก็พบเพียงร่างไร้วิญญาณของเธอ หลังจากนั้นถวิลก็คลอดลูกคนที่สอง เธอตั้งชื่อว่า “อันตรา” กาบทองมาเยี่ยมถวิลที่บ้านและได้พบกับอันตราก็ถึงกับอึ้งไป เพราะอันตรามีหน้าตาเหมือนราชาวดีเหลือเกิน อันตราอาสามาส่งกาบทองที่บ้าน ทำให้เธอได้พบกับจิรายุส เมื่อจิรายุสได้พบอันตราก็รู้สึกเอ็นดู

อันตราชอบตำหนักริมน้ำของจิรายุสมาก เธอพยายามขอ ซื้อแต่ไม่สำเร็จ เพราะจิรายุสตั้งใจเก็บไว้มอบให้จิราคมในวันแต่งงาน อันตรามักจะไปที่ตำหนักริมน้ำบ่อย ๆ จนได้เจอจิราคม ทั้งคู่รู้สึกเหมือนมีกระแสไฟอ่อนๆ แล่นพล่านไปทั้งตัว อันตราตกใจรีบหนีออกมา แต่ทั้งคู่ก็ต้องมาพบกันอีกครั้งในงานราตรี จิราคมเดี่ยวเปียโนเพลง “ลาวม่านแก้ว” ซึ่งอันตราโปรดปรานมาก เพราะแม่ของเธอเคยร้องให้ฟังตอนเธอเด็ก ๆ ความสัมพันธ์ของทั้งคู่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จิรายุสไปทาบทามอันตรามาเป็นสะใภ้ พร้อมกับเปรยว่า การรอคอยของท่านชายใหญ่ และเจ้านางน้อยสมควรจะจบสิ้นลงได้แล้ว

อุปสรรคต่าง ๆ ได้ผ่านพ้นไป ทั้งคู่เข้าสู่พิธีวิวาห์ และสัญญาต่อกันว่าจะดูแลกันไปจนแก่เฒ่าท่ามกลางบรรยากาศหวานละมุนของเสียงเปียโน เพลง “ลาวม่านแก้ว” ที่จิราคมเซอร์ไพรส์เจ้าสาวในวันแต่งงาน


ลาวม่านแก้ว (orchestra)



ลาวม่านแก้ว (ขับร้องกับเปียโน)


***************

อสงไขย คืออะไร

อสงไขย คือ การบอกจำนวนหรือปริมาณทั่วๆ ไปที่ไม่ได้เจาะจงว่าจะเป็นหน่วยของอะไร, เช่น หากใช้ระบุปริมาณเมล็ดถั่ว ก็ใช้ว่า มีถั่วเป็นจำนวน 1 อสงไขยเมล็ด เป็นต้น แต่ในพระพุทธศาสนามักจะใช้กล่าวถึง ระยะเวลาที่พระโพธิสัตว์สร้างสมบารมีมาเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า โดยนับหน่วยเวลาเป็นอสงไขยกัป

อสงไขยเป็นปริมาณหรือจำนวนที่มีการกำหนดที่นับประมาณมิได้ ซึ่งมีอุปมาเปรียบเทียบเอาไว้ว่า ฝนตกใหญ่อย่างมโหฬารทั้งวันทั้งคืน เป็นเวลานานถึง 3 ปี ไม่ได้ขาดสายเลย จนกระทั่งน้ำฝนท่วมเต็มขอบจักรวาล ซึ่งมีระดับความสูง 84,000 โยชน์ หากว่ามีใครสามารถนับเม็ดฝนที่ตกลงมาตลอดทั้ง 3 ปีได้ นับได้เท่าไร นั่นคือจำนวนเม็ดฝน 1 อสงไขย

อนึ่ง คำว่า อสงไขย นั้น มาจากภาษาบาลี ว่า อ + สงฺเขยฺย (สันสกฤต : อ + สํขฺย) หมายถึง นับไม่ได้ หรือนับไม่ถ้วน นั่นเอง พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542ระบุจำนวน ของอสงไขย ไว้ว่า เท่ากับ โกฏิ ยกกำลัง 20

การคำนวณความยาวนาน

1. สมมุติมีกล่องใบหนึ่ง กว้าง 100 โยชน์ ยาว 100โยชน์ และ สูง 100 โยชน์ ในเวลา 100 ปี ให้เอาเมล็ดผักกาด 1 เมล็ด ใส่ลงไปในกล่องนั้น ทำอย่างนี้จนเมล็ดผักกาดนั้นเต็มเสมอเรียบปากกล่อง นั้นละจึงเท่ากับ 1 กัป

2. (บางตำรากล่าวว่า กว้าง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์ สูง 1 โยชน์) วิเคราะห์คำนวณ 1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร ดังนั้นกล่องใบนี้มีปริมาตร = 1600X1600X1600 = 4,096,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร ประมานว่า เมล็ดผักกาด มีขนาด .5 มิลลิเมตร 1 กิโลเมตรเทียบเป็นมิลลิเมตรได้ดังนี้ 10X100X1000 = 1,000,000 มิลลิเมตรจะได้ 1 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = (1,000,000)/0.5 = 2,000,000 เมล็ด

3. ดังนั้น 1600 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน =(1600X2,000,000 = 3,200,000,000) เมล็ด ถ้าเป็นปริมาตร คือ (กว้าง x ยาว x สูง) ต้องใช้เมล็ดผักกาดทั้งหมด คือ (3,200,000,000X3,200,000,000X3,200,000,000 = 32,768,000,000,000,000,000,000,000,000 เมล็ด)

4. ใน 100 ปี ใส่เมล็ดผักเพียง 1 เมล็ด ดังนั้นต้องใช้เวลาทั้งหมดคือ 32,768,000,000,000,000,000,000,000,000X100 =3,276,800,000,000,000,000,000,000,000,000 ปี

5. จึงได้เวลา 1 กัป ประมาณ สามล้านสองแสนเจ็ดหมื่นหกพันแปดร้อยล้านล้านล้านล้าน ปีประมาณ 3.3 X 10 ยกกำลัง 30 ปี

6. 1 อสงไขยกัปมีกี่กัปนั้นเป็นจำนวนที่แน่นอน คือ 1 ตามด้วยเลข 0 จำนวน 140 ตัว หรือ 1 X 10 ยกกำลัง140 กัป

วิธีนับอสงไขย

การนับอสงไขยให้เทียบเอาดังนี้

1. สิบ สิบหน เป็น หนึ่งร้อย
2. สิบร้อย เป็น หนึ่งพัน
3. สิบพัน เป็นหนึ่งหมื่น
4. สิบหมื่น เป็น หนึ่งแสน
5. ร้อยแสน เป็นหนึ่งโกฏิ
6. ร้อยแสนโกฏิ เป็น หนี่งปโกฏิ
7. ร้อยแสนปโกฏิ เป็น หนึ่งโกฏิปโกฏิ
8. ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ เป็น หนึ่งนหุต
9. ร้อยแสนนหุตเป็น เป็น หนึ่งนินนหุต
10. ร้อยแสนนินนหุต เป็น หนึ่งอักโขเภนี
11. ร้อยแสนอักโขเภนี เป็น หนึ่งพินทุ
12. ร้อยแสนพินทุ เป็น หนึ่งอพุทะ
13. ร้อยแสนอพุทะ เป็น หนึ่งนิระพุทะ
14. ร้อยแสนนิระพุทะ เป็น หนึ่งอหหะ
15. ร้อยแสนอหหะ เป็น หนึ่งอพพะ
16. ร้อยแสนอพพะ เป็น หนึ่งอฏฏะ
17. ร้อยแสนอฏฏะ เป็น หนึ่งโสคันธิกะ
18. ร้อยแสนโสคันธิกะ เป็น หนึ่งอุปละ
19. ร้อยแสนอุปละ เป็น หนึ่งกมุทะ
20. ร้อยแสนกมุทะ เป็น ปทุมะ
21. ร้อยแสนปทุมะ เป็น หนึ่งปุณฑริกะ
22. ร้อยแสนปุณฑริกะ เป็นหนึ่งอกถาน
23. ร้อยแสนอกถาน เป็น หนึ่งมหากถาน
24. ร้อยแสนมหากถาน เป็น หนึ่งอสงไขย

จำนวนอสงไขย

อสงไขย มี 7 อสงไขย คือ

1. นันทอสงไขย
2. สุนันทอสงไขย
3. ปฐวีอสงไขย
4. มัณฑอสงไขย
5. ธรณีอสงไขย
6. สาครอสงไขย
7. บุณฑริกอสงไขย

***************


ข้อมูลจาก //th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A2 และ //www.yenta4.com/entertainment/show_lakorn2.php?id=102



Create Date : 19 กรกฎาคม 2550
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2552 2:00:12 น. 5 comments
Counter : 2215 Pageviews.

 
ชอบมากเลยค่ะทั้งนิยายทั้งเพลง
ขอบคุณนะคะ


โดย: ป่ามป๊าม วันที่: 24 กรกฎาคม 2550 เวลา:0:00:54 น.  

 
ชอบอ๊า! อ๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


โดย: ยัยตาลบ๊อง IP: 222.123.60.237 วันที่: 23 พฤศจิกายน 2550 เวลา:23:58:11 น.  

 
หาฟังมานานแระ ชอบมาก ขอบคุณค่ะๆๆ ที่มีเพลงดีๆให้ฟัง


โดย: BB_CheeZe IP: 203.118.97.33 วันที่: 20 ธันวาคม 2550 เวลา:16:10:15 น.  

 
ชอบมากมากครับทั้งเพลงลาวม่านแก้วและเรื่องย่อแต่ปางก่อนหามานานแล้ว


โดย: เบียร์ IP: 58.9.79.40 วันที่: 3 มีนาคม 2551 เวลา:16:34:25 น.  

 
ผม ขอโน๊ตเปียนโน เพลงลาวม่านแก้วได้ที่ใหนครับ

ช่วยตอมมาที่ thaichilli@gmail.com

ขอบคุณครับ


โดย: น้อง IP: 118.92.195.87 วันที่: 23 มกราคม 2552 เวลา:6:27:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Sunny Shiny Day
Location :
WA United States

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




"โลกสอนมนุษย์ว่าทุกสิ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่โลกก็กลับสอนให้มนุษย์ผูกพัน"

โดยพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต
Custom Search

Free Blog Content

WeatherBug
Your weather just got better.
Friends' blogs
[Add Sunny Shiny Day's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.