พระราชอาณาเขตร

การจัดการปกครอง
พระราชอาณาเขตรของพระนครเมืองน่าน


 
     พระราชอาณาเขตรภายใต้การปกครอง ของพระนครเมืองน่าน ใน ร.ศ. 116 โดยมี พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน เป็นประมุขสูงสุด
----------
     พระนครเมืองน่าน แบ่งพื้นที่ปกครองออกเป็น 8 แขวง ดังนี้

1.  แขวงนครน่าน ประกอบด้วย เมืองน่าน , เมืองสา , เมืองพง , เมืองไชยภูมิ , เมืองบ่อว้า ให้มีที่ว่าการแขวง ตั้งที่เมืองนครน่าน

2.  แขวงน้ำแหง  ประกอบด้วย เมืองหิน , เมืองศรีสะเกษ , เมืองลี้ ให้มีที่ว่าการแขวง ตั้งที่เมืองศรีสะเกษ (อ.นาน้อย จ.น่าน)

3.  เเขวงน่านใต้  ประกอบด้วย เมืองท่าแฝก , บ้านท่าปลา , บ้านผาเลือด , บ้านหาดล้า , เมืองจริม ให้มีที่ว่าการแขวง ตั้งที่บ้านท่าปลา (อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์)

4.  แขวงน้ำปัว  ประกอบด้วย เมืองปัว , เมืองริม , เมืองอวน , เมืองยม , เมืองย่าง , เมืองแงง , เมืองบ่อ ให้มีที่ว่าการแขวง ตั้งที่เมืองปัว (อ.ปัว จ.น่าน)

5.  แขวงขุนน่าน  ประกอบด้วย เมืองเชียงกลาง , เมืองและ , เมืองงอบ , เมืองปอน , เมืองเบือ , เมืองเชียงคาน , เมืองยอด , เมืองสะเกิน , เมืองยาว ให้มีที่ว่าการแขวงตั้งที่เมืองเชียงกลาง (อ.เชียงกลาง จ.น่าน)

6.  แขวงน้ำของ ประกอบด้วย เมืองงอบ , เมืองเชียงลม , เมืองเชียงฮ่อน , เมืองเงิน ให้มีที่ว่าการแขวง ตั้งที่เมืองเชียงลม (ปัจจุบันคือ พื้นที่ทั้งหมดแขวงไชยบุรี ป. ลาว)

7.  แขวงน้ำอิง ประกอบด้วย เมืองเชียงคำ (จ.พะเยา) , เมืองเชียงแลง , เมืองเทิง (จ.เชียงราย) , เมืองงาว (จ.ลำปาง) , เมืองเชียงของ (จ.เชียงราย , เมืองเชียงเคี่ยน , เมืองลอ (จ. แพร่), เมืองมิน ให้มีที่ว่าการแขวง ตั้งที่เมืองเทิง

8.  แขวงขุนยม ประกอบด้วย เมืองเชียงม่วน (จ.พะเยา), เมืองสะเอียบ , เมืองสระ , เมืองสวด , เมืองปง (จ.พะเยา , เมืองงิม , เมืองออย , เมืองควน ให้มีที่ว่าการแขวง ตั้งที่เมืองปง 

แขวงหนึ่งแบ่งออกเป็น “ พ่ง” มีประมาณ 10 พ่งๆ หนึ่งแบ่งออกเป็นหมู่บ้านมีประมาณ 10 หมู่บ้าน ๆ หนึ่งมีลูกบ้านประมาณ 20 คน แขวงหนึ่งให้มี “ นายแขวง” 1 คน “ รองแขวง” 2 คน หรือหลายคนตามการมากและน้อยและมี “ สมุห์บัญชี” 1 คน เสมียนใช้ตามสมควร พ่งหนึ่งให้มี “ เจ้าพ่ง” 1 คน มีศักดิ์เป็นพญามี “ รองเจ้าพ่ง” อีก 1 หรือ 2 คน ตามพ่งน้อยและใหญ่กับมีล่ามอีก 2ค คน ( ต่อมาได้เปลี่ยนพ่งเป็นแคว้น ) หมู่บ้านหนึ่งให้มี “ แก่บ้าน” คนหนึ่ง

 


พระราชอาณาเขตรนครเมืองน่านในดินแดนลาว

     ในอดีตพระนครเมืองน่าน มีพระราชอาณาเขตรปกครองกว้างขวางเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่พื้นที่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงตั้งแต่ เมืองเชียงของ ลงมาจรด อ.ด่านซ้าย จ.เลย ในปัจจุบัน คือ แขวงไซยะบุรีทั้งหมด ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ตรงกับสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน สยามต้องยอมยกพื้นที่ ฝั่งขวาแม่น้ำโขง คือ อาณาเขตรนครเมืองน่านตะวันออกและเมืองจำปาศักดิ์ เมืองน่านตะวันออก คือ แขวงไซยะบุรีในปัจจุบันทั้งหมด ประกอบไปด้วย เมืองไชยบุรี เมืองคอบ เมืองหงสา เมืองเงิน เมืองเชียงฮ่อน เมืองเพียง เมืองปากลาย เมืองแก่นท้าว เมืองบ่อแตน เมืองทุ่งมีไชย เมืองไชยสถาน พื้นที่ที่เสียไปในครั้งนั้นกินพื้นที่ของพระราชอาณาเขตรนครเมืองน่าน 25,500 ตร.กม. นับตั้งแต่แก่งผาได เมืองเชียงของ กินพื้นที่ฝั่งตะวันออกเข้ามาครึ่งหนึ่งของเขตเมืองน่านถึงฝั่งแม่น้ำโขง ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ยกให้ฝรั่งเศส และกลายเป็นแขวงไซยะบุรี ในปัจจุบัน
       ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี พุทธศักราช 2484 ประเทศไทยได้พื้นที่ บางส่วนกลับมาเป็นของไทยอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง พื้นที่น่านเดิมที่ถูกแบ่งเขตไปได้กลับมาอยู่ใต้การปกครองอีกครั้ง รัฐบาลไทยในสมัยนั้นตั้งเป็นเขตจังหวัดลานช้าง แบ่งการปกครองเป็น 6 อำเภอ คือ อำเภอสมาบุรี อำเภออดุลเดชจรัส (ปากลาย) อำเภอแก่นท้าว อำเภอเชียงแมน อำเภอหาญสงคราม (หงสา) และ อำเภอเชียงฮ่อน 
       และในนวันที่ 6 มกราคม ปีพุทธศักราช 2489 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดลานช้าง คือ นายสังคม ริมทอง แต่ในที่สุดหลังการเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยจำต้องคืนพื้นที่นี้กลับคืนสู่ฝรั่งเศสในช่วงปีเดียวกัน

จากนั้นมาเมืองต่างๆเหล่าก็อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศลาวจวบจนกระทั้งปัจจุบัน


หมายเหตุ :
คนส่วนใหญ่ของที่นี่ เป็นชาวไทลื้อ ไทยวน (คนเมือง) ฟังซอโยนเชียงฮ่อนดูสิครับคำเมืองล้อนๆ

ข้อมูลอ้างอิง : อพท.สำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน และ แขวงไชยบุรี (ลาว: ໄຊຍະບູລີ, ไซยะบูลี)
ภาพประกอบ : พระธาตุเชียงลม และ แม่อุ้ยทำหมอนผา จากเพจเหนื่อยต้องเที่ยว
ซอโยนเชียงฮ่อน : Touy saengsay



Create Date : 11 พฤษภาคม 2563
Last Update : 11 พฤษภาคม 2563 1:48:58 น.
Counter : 972 Pageviews.

0 comments

สมาชิกหมายเลข 2351091
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]