..

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา



เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕

ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมถวายพระพร ขอทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
และขอจัดทำำ พระราชประวัติ พระกรณียกิจ
เพื่อแสดงความจงรักภัคดี ตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณอันมากมายต่อแผ่นดินไทย

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดฯ ด้วยกล้าวด้วยกระหม่อม ขอเดชะ



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่อง ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕

สำหรับแบบตราสัญลักษณ์มีความหมายดังนี้

แบบตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕

อักษรพระนามาภิไธย ส.ก. อยู่ภายในวงรี ด้านบนวงรีเป็นพระมหามงกุฎ ภายในพระมหามงกุฎเป็นพระแสงจักรและพระแสงตรีศูล มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์โบราณมงคลพระมหาสังวาลนพรัตนราชวราภรณ์ล้อมรอบวงรี ขนาบข้างด้วยพระสัปตปฎลเศวตฉัตร ด้านล่างวงรีเป็นเลขไทย ๘๐ อยู่ในรูปทรงของเพชรด้านล่างเลขไทย ๘๐ เป็นผ้าแพรแถบอักษรข้อความ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาสมเด็จพระราชินี เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี แล้วพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์


ที่มา : กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

พระราชประวัติ

















(เดี่ยว)

ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ที่บ้านพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพันธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) ผู้เป็นบิดาของหม่อมหลวงบัว ณ บ้านเลขที่ ๑๘๐๘ ถนนพระราหก ตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ขณะนั้น เป็นระยะที่ประเทศเพิ่งเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย ก่อนหน้านั้นพระบิดาของพระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก มียศเป็นพันเอกหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร

สารคดีเฉลิมพระเกียรติพระราชินี ชุด "สานสายใยแผ่นดิน" ตอน ปฐมบทแห่งความผูกพัน


โดย cosovo999


หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้อง ทรงออกจากราชการทหาร โดยรัฐบาลแต่งตั้งให้ ไป รับราชการในตำแหน่งเลขานุการเอก ประจำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนหม่อมหลวงบัว ยังคงพำนักอยู่ในประเทศไทย จนให้ กำเนิดหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์แล้วจึงเดินทางไป สมทบมอบหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ให้ อยู่ในความดูแลของเจ้าพระยาวงศา นุประพันธ์และ ท้าววนิดา พิจาริณี ผู้เป็นบิดาและ มารดาของหม่อมหลวงบัว

หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ต้องอยู่ห่างไกลพระบิดามารดาตั้งแต่อายุพียงน้อยนิด บางคราวต้องระหกระเหินไป ต่างจังหวัดกับพระบรมวงศานุวงศ์ตามเหตุการณ์ผันผวนทางการเมือง เช่น ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร พระมารดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ ทรงรับนัดดาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไป สงขลาด้วย

ปลายปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ หม่อมจ้านักขัตรมงคล ทรงลาออกจากราชการ กลับประเทศไทยพร้อมครอบครัว อันมีหม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์บุตรคนโตและ หม่อมราชวงศ์บุษบาบุตรีคนเล็กผู้เกิดที่สหรัฐอเมริกาแล้วมารับหม่อมราชวงศ์อดุลยกิติ์บุตรคนรอง กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์จากหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กลับมาอยู่รวมกันที่ตำหนักซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เริ่มเรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี ปากคลองตลาดในพุทธศักราช ๒๔๗๙ แต่เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาลุกลามมาถึงประเทศไทย จังหวัดพระนครถูกโจมตีทางอากาศบ่อย ๆ ทำให้ การเดินทางไม่สะดวกและ ปลอดภัย หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ จึงต้องย้ายไป โรงเรียนที่โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ และ ในเวลาต่อมาได้ตั้งใจที่จะเป็นนักเปียโนผู้มีชื่อเสียง

หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้เผชิญสภาพของสงครามโลกเช่นเดียวกับคนไทยทั้งหลาย พระบิดาผู้ ทรงเป็นทหารเป็นผู้ปลูกฝังให้ บุตร และ บุตรีรู้จักความมีวินัย ความอดทน ความกล้าหาญ และ ความเสียสละ โดยอาศัยเหตุการณ์ในสงครามเป็นตัวอย่าง และ สงครามก็ทำให้ ผู้คนต้องหันหน้าเข้าช่วยเหลือกันในยามทุกข์ยากสิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์มีความเมตตาต่อผู้อื่น และ รักความมีระเบียบแบบแผนมาตั้งแต่เยาว์วัย

หลังจากสงครามสงบแล้ว นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น คือ นายควง อภัยวงศ์ ได้แต่งตั้งให้ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลเป็นรัฐทูตวิสามัญและ อัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนักเซ็นต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลจึง ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไป ด้วยในกลางปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ขณะนั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เรียนจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ ของโรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์แล้ว

ระหว่างที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ตั้งใจเรียนเปียโน ภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศสกับครูพิเศษ แต่อยู่อังกฤษได้ไม่นานหม่อมเจ้านักขัตร มงคลก็ ทรงย้ายไป ประเทศเดนมาร์กและ ประเทศฝรั่งเศสตามลำดับ ระหว่างนี้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ยังคงตั้งใจเรียนเปียโนอย่างขะมักเขม้นเพื่อเตรียมสอบเข้าวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส

พุทธศักราช ๒๔๙๑ ขณะที่หม่อมเจ้านักขัตรมงคลและ ครอบครัวอยู่ในปารีส ได้รับเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งโปรดเสด็จพระราชดำเนินไป ทอดพระเนตรโรงงานทำรถยนต์ในกรุงปารีสอยู่เสมอ จนเป็นที่คุ้นเคยต่อพระยุคลบาทและ ต้องพระราชอัธยาศัย ฉะนั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอุปัทวเหตุทางรถยนต์ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ต้องประทับรักษาพระองค์ในสถานพยาบาล จึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ หม่อมหลวงบัวพาบุตรีทั้งสง คือหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ และ หม่อมราชวงศ์บุษบา เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเยี่ยมอาการเป็นประจำ จนพระอาการประชวรทุเลาลง เสด็จกลับพระตำหนักได้ สมเด็จพระราชชนนีได้รับสั่งขอให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่ศึกษาต่อที่เมืองโลซานน์ในโรงเรียนประจำ Riante Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในการสอนวิชาพิเศษแก่กุลสตรี คือ ภาษา ศิลปะ ดนตรี ประวัติวรรณคดี และ ประวัติศาสตร์

ต่อมาอีก ๑ ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลและ ครอบครัวมาเฝ้าฯ แล้วสมเด็จพระราชชนนีรับสั่งขอหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ต่อหม่อมเจ้านักขัตรมงคล และ ประกอบพระราชพิธีหมั้นอย่างเงียบ ๆ ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ทรงใช้พระธำมรงค์ที่สมเด็จพระราชบิดา ทรงหมั้นสมเด็จพระราชชนนี เป็นพระธำมรงค์หมั้น แล้วคงให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ศึกษาต่อไป จนเสด็จนิวัตพระนคร จึงโปรดเกล้าฯ ให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ตามเสด็จกลับมาถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓






วันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓
สารคดีเฉลิมพระเกียรติฯ พระคู่บารมี


โดย tgbbody

วันที่ 28 เมษายน นับเป็นอีกวันหนึ่งที่สำคัญยิ่ง หากนับถอยหลังไปในวันนี้เมื่อ พุทธศักราช 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงเข้าพิธีราชาภิเษกสมรส กับ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร พระธิดาพระองค์ใหญ่ในพลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และ หม่อมหลวงบัว กิติยากร

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในครั้งนั้น นับว่าเป็นปรากฏการณ์ ครั้งแรกสำหรับพระมหากษัตริย์ไทยในยุคประชาธิปไตย ที่ได้ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่นเดียวกับประชาชนชาวไทยทั่ว

เมื่อพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน "ราชาภิเษก" ได้มีพระบรมราชโองการสถาปนาพระอัครมเหสี โดยประกาศวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2493 ความตอนหนึ่งว่า "มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า "ได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ถูกต้องตามกฎหมายและราชประเพณีโดยสมบูรณ์ทุกประการแล้ว"

ใน ปีพ.ศ.2489 เมื่อรัฐบาลในนามของประชาชนทั้งประเทศ กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครองราชย์สืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นั้น ประเทศไทย ขาดพระบรมราชินีมาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหมั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งขณะนั้นคือ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2492 ประชาชนชาวไทยจึงพากันตื่นเต้นยินดี ยิ่งได้ทราบว่าพระคู่หมั้นทรงมีพระสิริโฉมงดงาม

และแล้วสำนักพระราชวังก็ได้ประกาศข่าวพระราชกระแสรับสั่งให้จัดเตรียมการพระ ราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้นเป็นลำดับแรก และพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นลำดับถัดไป ซึ่งพระราชกระแสรับสั่งดังกล่าวได้มีประกาศไว้ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 23 เล่มที่ 67 ลงวันที่ 25 เมษายน 2493 เรื่อง การพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส 2493

รวมพลังกด Like //goo.gl/b8SE6 แสดงความตั้งใจทำความดีถวาย "ในหลวง"

ปลูกจิตสำนักให้ทุกคน รักชาติ รักแผ่นดิน รักในหลวง
Like //goo.gl/b3haH








วันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓
เป็นวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับเฉลิมพระบรมนามาภิไธยว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และ ทรงสถาปนาเฉลิมพระยศสมเด็จพระราชินีเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี”

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมรส

โดย dolly6299

๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙

สารคดีเฉลิมพระเกียรติพระราชินี ชุด "สานสายใยแผ่นดิน" ตอน คู่พระราชหฤทัย


โดย cosovo999


สารคดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555 ชุด "สานสายใยแผ่นดิน" ของสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ตอนที่ 1 คู่พระราชหฤทัย

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นขัตติยนารีผู้เปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ได้ทรงอุทิศพระองค์และพระปรีชาสามารถประกอบพระราชกรณียกิจ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและความผาสุกของพสกนิกรชาวไทยเคียงข้างพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นระยะเวลานานกว่า 50 ปี ด้วยทรงมีพระราชประสงค์มุ่งมั่นสนองพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จะคุ้มครองให้บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข จากการที่ ได้ทรงแนะนำอาชีพเสริม ดูแลการศึกษา สุขภาพอนามัย ควบคู่ไปด้วย จนกระทั่งในปัจจุบันผลงานส่งเสริมอาชีพราษฎรตามพระราชดำริ งานศิลปาชีพได้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เป็นที่กล่าวขวัญทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งงานด้านอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของชาติในหลายแขนงมิให้สูญหาย นอกจากนี้ ยังทรงส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์และพรรณพืชตลอดจนสิ่งแวดล้อมจนเป็นที่รู้จัก ยกย่องในทั่วโลก รวมถึงพระราชกรณียกิจนานัปการ ที่ก่อให้เกิดผลดีแก่แผ่นดินและพสกนิกรชาวไทย

รวมพลังกด Like (ถูกใจ) //goo.gl/b8SE6 แฟนเพจ เพื่อเป็นการแสดงถึงความตั้งใจในการทำความดีเพื่อถวายแด่ "พระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ของพวกเราชาวไทย

คนไทยต้องรักกัน และร่วมกันปลูกจิตสำนักให้ทุกคน รักชาติ รักแผ่นดิน รักในหลวง
Like (ถูกใจ) //goo.gl/b3haH








วันที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๓
ทั้งสองพระองค์เสด็จกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพราะแพทย์ผู้รักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกราบบังคมทูลแนะนำให้ ทรงพักรักษาพระองค์อีกระยะหนึ่ง พุทธศักราช ๒๔๙๔ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อเจริญพระชันษาได้ ๗ เดือน ทั้งสามพระองค์จึงเสด็จนิวัตประเทศ ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต หลังจากนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ซึ่งต่อมา ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งต่อมา ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ ได้ประสูติต่อมาตามลำดับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน รวมพระราชโอรสและ พระราชธิดา ๔ พระองค์






























๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙

"สานสายใยแผ่นดิน" ตอน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ


โดย cosovo999






๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙



สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เป็นลำดับมา ทั้งในฐานะที่ ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีของไทยและ ในฐานะคู่พระราชหฤทัยแห่งพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว กล่าวคือ ทรงช่วยแบ่งเบาพระราชภาระทั้งหลายไป ได้มาก อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ทรัพยากรธรรมชาติ และ การพัฒนาประเทศอยู่เนือง ๆ เห็นได้ชัดจากพระราชกรณียกิจที่เผยแพร่สู่สายตาประชาชนอยู่ทุกวันนี้

























(คู่)



๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙

"สานสายใยแผ่นดิน" ตอน รู้ รักแผ่นดิน

โดย cosovo999


























(เริ่มภาระกิจ)
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙

ตามเสด็จต่างประเทศ ตอนที่ ๑


โดยcosovo999


"สานสายใยแผ่นดิน" ตามเสด็จต่างประเทศ ตอนที่ ๒


โดย cosovo999




























(ต่างประเทศ)



สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นขัตติยนารีผู้เปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ได้ทรงอุทิศพระองค์และพระปรีชาสามารถประกอบพระราชกรณียกิจ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและความผาสุกของพสกนิกรชาวไทยเคียงข้างพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นระยะเวลานานกว่า 50 ปี ด้วยทรงมีพระราชประสงค์มุ่งมั่นสนองพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จะคุ้มครองให้บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข จากการที่ ได้ทรงแนะนำอาชีพเสริม ดูแลการศึกษา สุขภาพอนามัย ควบคู่ไปด้วย จนกระทั่งในปัจจุบันผลงานส่งเสริมอาชีพราษฎรตามพระราชดำริ งานศิลปาชีพได้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เป็นที่กล่าวขวัญทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งงานด้านอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของชาติในหลายแขนงมิให้สูญหาย นอกจากนี้ ยังทรงส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์และพรรณพืชตลอดจนสิ่งแวดล้อมจนเป็นที่รู้จัก ยกย่องในทั่วโลก รวมถึงพระราชกรณียกิจนานัปการ ที่ก่อให้เกิดผลดีแก่แผ่นดินและพสกนิกรชาวไทย



๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙










































































พระราชกิจที่ทรงทำมาจากนั้นจนบัดนี้ มากมาย

ตั้งแต่๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ จนถึงวันนี้ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ของเราชาวไทย อยู่เคีนงข้าง ในหลวงทุกวัน ทรงทำงานสนอง งานในหลวงมากมาย
เชิญอ่านรายละเอียดต่างๆๆโดย กดเข้าอ่านตามหัวข้อ

อ่านต่อที่

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา
พระราชกรณียกิจ ด้านสาธารณสุขและสังคมสงเคราะห์
พระราชดำริเกี่ยว กับการอนุรักษ์เต่าทะเล
กำเนิดโครงการศิลปาชิพ
พระราชกรณียกิจด้านศาสนา
พระราชภารกิจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
เรื่องเล่าของ พลเอกณพล บุณทับ รองสมุหราชองครักษ์

ทรงผ้าไทยเสด็จฯ ไปทั่วหล้า



พระเมตตาดั่งสายธาร" ตอน ฟ้าดิน เดียวกัน



โดย KhonLukChat
ตอนนี้ดูแล้วพระองค์ท่านเล่าสนุกดี ขำ แต่มาจากน้ำพระทัยที่ ในหลวง มีต่อประชาขน

























ติดตามต่อนะคะยังไม่เสร็จ




 

Create Date : 07 สิงหาคม 2555    
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2555 21:48:34 น.
Counter : 12750 Pageviews.  

ทรงเป็นศูนย์รวมใจไทยทั้งชาติ ณ.ทุ่งมะขามหย่อม อยุธยา



นับเป็นวันแห่งความสุข ของเราชาวไทยอีกครั้ง
ที่เราได้เห็นพระองค์ท่าน ออกจาก โรงพยาบาล ศิริราช
ก็ไม่ใช่ว่าไปดูการแสดงของชาวอยุธยา
แต่พระองค์ทรงเป็นห่วงเรื่องน้ำในปีนี้ต่อประสพนิกรของพระองค์ท่านท่าน
พอชาวไทยที่แม้จะไม่ใช่ชาวอยุธยา ทราบข่าว ก็ต่างรอคอยชมพระบารมี
ชาวอยุธยาซึ่งเป็นผู้ได้รับพระมากรุณาธิคุณจากโครงการนี้โดยตรง
กว่าสิบปี ทั้งในด้านอุทกภัย หรือการเพราะปลูก
จึงได้แสดงความจงรักภัคดี รำลึกในพระมหาธิคุณ



ทุ่งมะขามหย่อง สมรภูมิรบสำคัญในสมัยอยุธยา ที่ถูกจารึกลงในประวัติศาสตร์ ถึงการเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ของวีรสตรีไทย"สมเด็จพระศรีสุริโยทัย" ที่ ทรงสละชีพเพื่อปกป้องแผ่นดินไทยในการรบกับพม่าเมื่อปี พ.ศ.2091 ตั้งอยู่ในตำบลภูเขาทอง อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กินพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ มีพระราชานุสาวรีย์ช้างทรงของสมเด็จพระสุริโยทัย และนักรบจาตุรงคบาท ตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำ ซึ่งอนุสรณ์สถานแห่งนี้ถูกจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2534 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติให้กับสมเด็จพระศรีสุริโยทัย และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวาระมหามงคลพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในปี พ.ศ.2535 ด้วย สถานที่แห่งนี้จึงมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย"

นอกจากนี้ ยังเป็นที่ดินส่วนพระองค์ ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวตามแนวพระราชดำริ เป็นพื้นที่แก้มลิง เพื่อรองรับและป้องกันน้ำท่วม โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ผันน้ำเหนือจากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ที่ดินส่วนพระองค์บริเวณทุ่งมะขามหย่องและทุ่งภูเขาทองที่อยู่ติดกัน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวบ้านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก

"ภาพประวัติศาสตร์ "ในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนิน ทุ่งมะขามหย่อง 14 พฤษภาคม 2539


ขอบคุณภาพ
เผยแพร่เมื่อ 23 พ.ค. 2012 โดย cosovo999
ภาพประวัติศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ทุ่งมะขามหย่อง ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2539 เป็นเวลา 16 ปีมาแล้ว ยังความปราบปลื้มปิติมิรู้ลืมมาสู่ชาวอยุธยาเมื่อ พระองค์ทรงเคียวเกี่ยว­ข้าวที่ทุ่งมะขามหย่อง เป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้­ ที่ชาวอยุธยาไม่มีวันลืม ครบรอบ 16 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเกี่ยวข้าวที่ทุ่งมะขามหย่อง จ.พระนครศรีอยุธยา โอกาสนี้ทางจังหวัดได้จัดสร้างพระบรมรูปนูนสูง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถือเคียวเกี่ยวข้าว เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น

เป็นพระบรมรูปนูนสูง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถือเคียวเกี่ยวข้าว ซึ่ง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้จัดสร้างขึ้นภายในบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งความจงรักภักดี ในโอกาสครบรอบ 16 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเกี่ยวข้าวที่ทุ่งมะขามหย่อง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2539 สำหรับเคียวดังกล่าวเป็นเคียวสแตนเลส ประดับมุก ทำขึ้นใหม่ด้วยฝีมือของนายพยงค์ ทรัพย์มีชัย นายช่างที่ตีเคียวอันเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เกี่ยวข้าวที่ทุ่งมะขามหย่อง เมื่อ 16 ปีก่อน

นายพยงค์ เปิดเผยถึงความภาคภูมิใจในฐานะช่างตีเคียว พร้อมยืนยันว่า จะตั้งใจทำงาน สืบสานอาชีพช่างตีมีดและเคียวเอาไว้ต่อไป

"อนุสรณ์สถานแห่งความจงรักภักดี" ทุ่งหันตรา พระนครศรีอยุธยา : https://www.youtube.com/watch?v=lPtbDYVfceI

ขณะเดียวกัน ที่บริเวณทุ่งมะขามหย่อง คนงานจำนวนมากกำลังเร่งสร้างเวทีการแสดงขนาดใหญ่ เพื่อเตรียมการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างต้องใช้เวลาประมาณ 20 วัน จึงจะแล้วเสร็จ

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

รวมพลังกด Like (ถูกใจ) //goo.gl/b8SE6 แฟนเพจ เพื่อเป็นการแสดงถึงความตั้งใจใ­นการทำความดีเพื่อถวายแด่ "พระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู­่หัว" ของพวกเราชาวไทย

คนไทยต้องรักกัน และร่วมกันปลูกจิตสำนักให้ทุกคน รักชาติ รักแผ่นดิน รักในหลวง
Like (ถูกใจ) //goo.gl/b3haH
















“ทุ่งมะขามหย่อง” ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านใหม่ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นบริเวณที่น้ำท่วมขังในฤดูน้ำหลาก เมื่อ พ.ศ.2091 หลังจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ได้ 7 เดือน พระเจ้าหงสาวดีตะเบงชะเวตี้ยกกองทัพเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เมืองกาญจนบุรี ถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 4 แล้วตั้งค่ายล้อมพระนคร 4 ค่าย คือค่ายพระเจ้าหงสาวดี ตั้งอยู่ที่บ้านกุ่มดวง ค่ายบุเรงนองตั้งอยู่ที่ ต.เพนียด ค่ายพระเจ้าแปรตั้งอยู่ที่บ้านใหม่มะขามหย่อง ค่ายพระยาพะสิมตั้งอยู่ที่ทุ่งประเชด หรือทุ่งวรเชษฐ์

ครั้นวันอาทิตย์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พร้อมด้วยพระมเหสี คือ สมเด็จพระมหาสุริโยทัย ซึ่งแต่งพระองค์เยี่ยงพระมหาอุปราช และพระราชโอรส พระราชธิดา คือ พระราเมศวร พระมหินทร์ พระบรมดิลก ทรงช้าง ยกกองทัพไปยังทุ่งภูเขาทอง หมายจะลองกำลังศึก กองทัพกรุงศรีอยุธยาปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นกองหน้าที่ทุ่งมะขามหย่อง

พระมหาจักรพรรดิทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร แต่พลายแก้วจักรพรรดิ พระคชาธารของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิถลำไปข้างหน้ารั้งไว้ไม่อยู่ พระเจ้าแปรได้ทีจึงเบนช้างไล่ตาม สมเด็จพระศรีสุริโยทัยเกรงพระสวามีจะเป็นอันตราย จึงไสช้างทรงพลายสุริยกษัตริย์เข้าขวางไว้ ช้างพระเจ้าแปรได้ล่าง ใช้งาเสยข้างสมเด็จพระศรีสุริโยทัยแหงนหงาย พระเจ้าแปรจึงจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าวต้องพระอังสากระทั่งราวพระถัน สิ้นพระชนม์บนคอช้าง พระราเมศวรกับพระมหินทร์ขับช้างเข้ากันพระศพพระราชมารดานำกลับพระนครได้

ในแผ่นดินพระมหาธรรมราชา หลังจากสมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศเอกราชได้ 2 ปี พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงให้มังมอดราชบุตร ซึ่งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ยกกองทัพมาตั้งค่ายที่ขนอนปากคู่ ใกล้ทุ่งมะขามหย่อง สมเด็จพระนเรศวรยกพลออกมาปล้นค่ายพม่าหลายครั้ง ทรงใช้พระโอษฐ์คาบพระแสงดาบปีนเสาระเนียดเข้าไปในค่ายข้าศึก ทำให้พระแสงดาบเล่มนั้นปรากฏนามว่า “พระแสงดาบคาบค่าย”

ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริให้สร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ที่บริเวณ “ทุ่งมะขามหย่อง” เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมในครั้งกระนั้น

ซึ่งรัฐบาลได้สนองพระราชดำริโดยร่วมกับพสกนิกรชาวไทยดำเนินโครงการสร้างพระราชานุสาวรีย์เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวาย ในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ใน พ.ศ.2535 โดย “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และ “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์” เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2534

และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระศรีสุริโยทัย เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2538

ใน พ.ศ.2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเกี่ยวข้าวที่ “ทุ่งมะขามหย่อง” นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงให้ใช้พื้นที่ทุ่งมะขามหย่องอันเป็นที่ดินส่วนพระองค์ ในโครงการพระราชดำริ เพื่อป้องกันน้ำท่วม ทั้งในการเป็นแหล่งเก็บน้ำและรองรับน้ำ เมื่อเกิดอุทกภัยในภาคกลาง ทุ่งมะขามหย่องจึงเป็นที่รองรับน้ำที่สำคัญ


ใน พ.ศ.2549เมื่อเกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักน้ำท่วมขังในหลายจังหวัด ก็ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ผันน้ำเหนือจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาในทุ่งมะขามหย่อง ซึ่งเป็นที่ดินส่วนพระองค์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร

ทั้งนี้ อนุสรณ์สถานแห่งนี้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสถานที่รวมจิตใจคนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพระราชกรณียกิจ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาหลายต่อหลายครั้ง โดยเฉพาะครั้งที่สร้างความประทับใจให้ชาวอยุธยามิรู้ลืม คือครั้งที่พระองค์ทรงเกี่ยวข้าวที่ทุ่งมะขามหย่อง ในปี 2539

นอกจากนี้ ในทางความสำคัญแห่งวิถีชีวิตของประชาชน ทุ่งมะขามหย่องแห่งนี้ ยังเป็นหนึ่งในพื้นที่โครงการพระราชดำริ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้นำพื้นที่ทุ่งนาในตำบลบ้านใหม่ อ.พระนครศรีอยุธยา กว่า 250 ไร่ มาเป็นพื้นที่แก้มลิงมาตั้งแต่กลางปี 2538 ด้วยทรงห่วงใยพสกนิกรในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ต้องเผชิญทั้งปัญหาน้ำหลากและภัยแล้ง ทุ่งมะขามหย่อง ต. บ้านใหม่ จึงเป็นที่รองรับน้ำที่สำคัญ และในปี 2549 เมื่อเกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักน้ำท่วมขังในหลายจังหวัด ก็ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ผันน้ำเหนือจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาในทุ่งมะขามหย่อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร

ไม่นานมานี้ปลายปีที่ผ่านมา จากเหตุมหาอุทกภัยใหญ่ แต่บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ ยังเป็นแหล่งพักพิงของประชาชนที่บ้านถูกน้ำท่วมนับพันชีวิต รวมไปถึงสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นช้าง ม้า วัว ควาย ได้อาศัยอยู่หนีน้ำยาวนานนับเดือน


ท่านรองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการอิสระ เล่าให้ฟังถึงที่มาของ “ทุ่งมะขามหย่อง” อีกมิติหนึ่งไว้ในมติชนออนไลน์วันก่อนว่า ในอดีตแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ใช่ลำน้ำสายเดียว แต่มีแม่น้ำหลายสายไหลมาบรรจบลงพื้นที่บริเวณนี้ ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยม

“สมัยก่อนลำน้ำที่ไหลผ่านทางนี้เข้ากรุงศรีอยุธยา เรียกว่า “ลำน้ำมะขามหย่อง” ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำน้อย ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาคือ “ลำน้ำบางแก้ว” ไหลผ่านมาถึงบางปะหัน ถึงทุ่งวัดนนทรี แล้วมารวมกันที่ลุ่มน้ำมะขามหย่อง ทำให้พื้นที่ระหว่างลำน้ำมะขามหย่องกับลำน้ำลพบุรี กลายเป็นทุ่งกว้าง จึงเรียกว่า “ทุ่งมะขามหย่อง”

ในแง่ของภูมิศาสตร์ เป็นท้องทุ่งพื้นที่รับน้ำมาตั้งแต่สมัยโบราณ ลำน้ำหลายสายไหลเข้ามาหากรุงศรีอยุธยาก็จะมาบรรจบกันบริเวณทุ่งแห่งนี้ ในแง่ของการทำสงครามยุทธหัตถี ก็ยังถือเป็นสมรภูมิรบระหว่างกองทัพทหารพม่ากับกองทัพไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนในแง่ประวัติศาสตร์ ที่นี่เป็นตำนานความกล้าหาญและวีรกรรมที่ควรยกย่องของสมเด็จพระสุริโยทัย
รศ.ศรีศักรเล่าอีกว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ทรงเข้าใจในลักษณะของประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ของประเทศไทยเป็นอย่างดี เมื่อเกิดน้ำท่วมอยุธยาในระยะแรก พระองค์ก็ทรงมีพระประสงค์จะทำอ่างกักเก็บน้ำในบริเวณทุ่งมะขามหย่อง จากนั้นเป็นต้นมาทุ่งแห่งนี้จึงกลายเป็นอ่างเก็บน้ำถาวร”

“ความคิดของผม พระองค์ท่านเสด็จฯ มาทุ่งมะขามหย่องเป็นการส่วนพระองค์ในครั้งนี้ น่าจะเสด็จฯ ไปเพื่อทรงขยายอ่างเก็บน้ำที่เป็น “แก้มลิง” สำหรับรับมือกับน้ำท่วมพระนครศรีอยุธยา”
รศ.ศรีศักรกล่าว
รศ.ศรีศักรยังกล่าวต่ออีกว่า

“นอกจากนี้ ผู้รับผิดชอบควรพิจารณาปัญหานายทุนจะสร้างบ้านจัดสรรที่อยุธยา เพราะปัจจุบันพื้นที่บริเวณทุ่งมะขามหย่องมีบ้านจัดสรรผุดขึ้นเป็นจำนวนมาก บ้านจัดสรรและนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวได้สร้างทับพื้นที่ฟลัดเวย์ ทำให้น้ำท่วมมากขึ้นกว่าในอดีต”

//www.chaoprayanews.com/2012/05/25/พระผู้ “ทรงกลดกลางใจ” มว/

//www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20120525/453536/เปิดตำนาน'ทุ่งมะขามหย่อง.html






‘ทรงพระเจริญ’ พสกนิกรแซ่ซ้องกึกก้อง‘ในหลวง’เสด็จฯทุ่งมะขามหย่อง

ในหลวง ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารบก เสด็จฯไปยังทุ่งมะขามหย่อง@250555


เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย realmkii

"ในหลวง พระราชินี" เสด็จฯ ทุ่งมะขามหย่อง "ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ"


เผยแพร่เมื่อ 14 พ.ค. 2012 โดย Khon LukChat

ในหลวง พระราชินี เสด็จฯไปยังทุ่งมะขามหย่อง@250555


เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย realmkii























จ พระนครศรีอยุธยา ได้จัดทำสูจิบัตรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แจกราษฎรที่ไปรับเสด็จฯ


เผยแพร่เมื่อ 24 พ.ค. 2012 โดย cosovo999

-------------

ในหลวง เสด็จทุ่งมะขามหย่อง ๒๕ พ.ค. ๕๕



เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย CityLoveUChannel


--------------


ริ้วขบวนอัญเชิญเครื่องราชสักการะ ในการถวายการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย cosovo999

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯยังศาลาพลับพลากลางน้ำ ทอดพระเนตรการแสดงแสงสีเสียง เริ่มด้วยขบวนแห่ช้างและขบวนทหารกองเกียรติยศ สวนสนามเลียบอ่างเก็บน้ำมายังพลับพลาพิธีเพื่อถวายพระเกียรติ โดยช้างทั้ง 9 เชือกที่เข้าร่วมพิธีรับเสด็จ ได้ผ่านพิธีปักษะปะพรมน้ำมนตร์ทั้งช้างและควาญช้างเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยช้างเชือกแรกนำพานพุ่มให้ผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมด้วยข้าราชการผู้ใหญ่ 36 ท่าน ถวายบังคม

-------------------

เพลงเห่เรือ การแสดงแสงสีเสียง ทุ่งมะขามหย่อง ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ



เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย cosovo999
การแสดงชุด "เพลงเห่เรือ" เรือ 6 ลำ ซึ่งจะขับเพลงเห่เรือประจำถิ่นที่สื่อความหมายถึงการสรรเสริญเทิดพระเกียรติที่พระอง­ค์ท่านทรงทำให้ถิ่นแผ่นดินอุดมสมบูรณ์ มีน้ำใช้ในหน้าแล้งและที่เก็บน้ำในหน้าฝน ซึ่งในปัจจุบันเป็นพื้นที่รองรับน้ำท่วมให้ประชาชนคนกรุงเทพฯ ซึ่งล้วนมาจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งเมื่อครั้งน้ำท่วมใ­หญ่ในปี พ.ศ. 2538 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ปล่อยน้ำเข้าพื้นที่โดยรอบพระราชานุสาวรีย์และให้กักเก็บ­น้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้งตามโครงการพระราชดำริ ในวันที่ 23 ม.ค. 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดคันบังคับน้ำปล่อยน้ำเข้าสู่ท่อส­่งน้ำให้แก่เกษตรกร และในวันที่ 14 พ.ค. 2539 ทรงเกี่ยวข้าวในนาข้าวด้วยพระองค์เอง

เพลงเรือเฉลิมพระเกียรติ ณ ทุ่งมะขามหย่อง : วิทยาลัยนาฏศิลป์ อ่างทอง
พ่อเพลงชาย : นายวีระศักดิ์ แม้นพฆัยค์
แม่เพลงหญิง : นางสาวประภาพรรณ ลิ้นทอง
ฝึกซ้อมโดย : แม่ครูจำรัส อยู่สุข
ขอบคุณข้อมูล : จากคุณ icecoolzaza69

--------------

น้ำพระทัยขับไล่น้ำตา ทุ่งมะขามหย่อง ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ


เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย cosovo999
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ทุ่งมะขามหย่อง ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ
การแสดงชุด "น้ำพระทัยขับไล่น้ำตา" เป็นวีดีโอประมวลภาพ ผวจ.พระนครศรีอยุธยา และชาวบ้านที่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

-------------

การแสดงชุดสายน้ำหลั่งไหล น้ำตาหลั่งริน ชีวีสูญสิ้น ณ ทุ่งมะขามหย่อง



เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย cosovo999
การแสดงชุด "สายน้ำหลั่งไหล น้ำตาหลั่งริน ชีวีสูญสิ้น" โดยมี อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี บรรเลงเสียงขลุ่ย ประกอบขับบทกลอนจาก อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ที่สื่อความหมายถึงความทุกข์ยากของประชาชนที่เกิดจากการประสบอุทกภัยในหลายครั้งหลาย­ครา


---------
การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง



เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย cosovo999
การแสดงชุด "หลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน" พร้อมด้วยการฉายวีดีโอเรื่องราวประวัติศาสตร์ของทุ่งมะขามหย่องที่พระมหาจักพรรดิต่อ­สู่กับกองทัพพม่า เพื่อไม่ให้เข้าสู่กรุงศรีอยุธยาได้ รวมทั้งวีดีโอเรื่องราวของสมเด็จพระสุริโยทัย ถ่ายทอดความเสียสละของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่างฉายวีดีโอเทิดพระเกียรติสมเด็จพระสุริโยทัย รอบข้างเวทีได้นำเสนอภาพช้างบำรุงงา โดยควาญช้างผู้มากด้วยประสบการณ์ (การฝึกช้างยุทธหัตถี ซึ่งเป็นสุดยอดแห่งการฝึกช้างให้รู้จักประสานงา เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงพระราชสงคราม สมเด็จพระสุริโยทัย ในทุ่งมะขามหย่อง สมัยกรุงศรีอยุธยา) ที่นำแสดงโดยช้าง 6 เชือก จากวังช้างอยุธยาแลเพนียด ต.สวนพริก อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ที่แต่งกายสวยงามตามโบราณประเพณี ด้วยผ้าหลากสีสันสดใสทั้งสีทอง แดง และเหลือง ซึ่งเป็นสีที่แสดงถึงความเป็นนักสู้ สีทอง คือ สีแห่งความรุ่งเรือง มองแล้วสว่างไสวขับกับสีผิวของช้าง


---------------------
บทกวีเทิดพระเกียรติ ขับบทกวีโดย นางจิระนันท์ พิตรปรีชา ณ ทุ่งมะขามหย่อง



เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย cosovo999
การแสดงชุด บทกวีเทิดพระเกียรติ โดย อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี บรรเลงเสียงขลุ่ยประกอบการอ่านบทกวีจากนางจิระนันท์ พิตรปรีชา มีเนื้อหาสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงช่วยเหลือประชาชน

----------------
ผู้ปิดทองหลังพระ แอ๊ด คาราบาว ทุ่งมะขามหย่อง "ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ"


เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย cosovo999
การแสดงขับร้องบทเพลงเทิดพระเกียรติ จาก แอ๊ด คาราบาว ทำการขับร้องในบทเพลง
"ปิดทองหลังพระ"
แอ๊ด คาราบาว ได้แต่งเพลงพิเศษขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสปีมหามงคล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา
วัตถุประสงค์ของการแต่งเพลงนี้ขึ้น ก็เพื่อให้คนไทยทราบ และจดจำพระนามเต็ม
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช
มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร)
ภายใต้ชื่อเพลง "ผู้ปิดทองหลังพระ"

แอ๊ด คาราบาว 30 ปี - ผู้ปิดทองหลังพระ.mp3
//www.4shared.com/audio/kgifmGa6/__30__-_.html


-------------
สดุดีมหาราชา ณ ทุ่งมะขามหย่อง



เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย tigerneversleeps

--------------

เพลงสรรเสริญพระบารมี ณ ทุ่งมะขามหย่อง "ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ"



เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย cosovo999
พสกนิกรต่างเปล่งเสียงทรงพระเจริญอย่างกึกก้องและยาวนานไปทั่วทุ่งมะขามหย่อง พร้องส่งเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประทับรถยนต์พระที่นั่งไปยังพระตำหนักสิริยาลัย ในฝั่งเกาะเมืองพระนครศรี อยุธยาติดแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงข้ามวัดไชยวัฒนาราม เพื่อเสวยพระกระยาหารค่ำ ตามพระราชอัธยาศัย

โดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จัดทำกระทงสาย จำนวน 2,500 กระทง เพื่อลอยตามแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งจะไหลผ่านหน้าพระตำหนักสิริยาลัย เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ได้ทอดพระเนตร จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับ รพ.ศิริราช

รวมพลังกด Like (ถูกใจ) //goo.gl/b8SE6 แฟนเพจ เพื่อเป็นการแสดงถึงความตั้งใจในการทำความดีเพื่อถวายแด่ "พระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ของพวกเราชาวไทย

คนไทยต้องรักกัน และร่วมกันปลูกจิตสำนักให้ทุกคน รักชาติ รักแผ่นดิน รักในหลวง
Like (ถูกใจ) //goo.gl/b3haH

วิธีการแจ้งคลิปไม่เหมาะสม (จาบจ้วง/หมิ่นฯ) : //on.fb.me/rY2cdJ

ปล. สำหรับตัวเองเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี ที่เพราะมากเลย

-------------











==============


วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
//www.thaipost.net/news/260512/57366

‘ทรงพระเจริญ’ พสกนิกรแซ่ซ้องกึกก้อง‘ในหลวง’เสด็จฯทุ่งมะขามหย่อง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารบก เสด็จฯ ทุ่งมะขามหย่องพร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พสกนิกรถวายความจงรักภักดีตลอดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินผ่าน "ยิ่งลัษณ์" ทูลเกล้าฯ ถวายที่ดิน 7 ไร่ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติจดบันทึกจดหมายเหตุ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ ภาพเหตุการณ์พสกนิกรชาวไทยที่มาเฝ้าฯ รอรับเสด็จด้วย
การเสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ ทุ่งมะขามหย่อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 พสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อ เพราะมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยในช่วงเย็น
ขณะที่ประชาชนเรือนแสนจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดใกล้เคียงพากันจับจองพื้นที่จนแน่นทุกตารางนิ้วบริเวณทุ่งมะขามหย่องตั้งแต่เช้า บางรายเดินทางมาล่วงหน้าตั้งแต่วันก่อน ขณะเดียวกันบริเวณสองข้างทางเสด็จพระราชดำเนิน ตั้งแต่เชียงรากน้อย ตลอดเส้นทางหลวงหมายเลข 347 มีพระสงฆ์จำนวน 850 รูป รวมถึงประชาชนในพื้นที่และต่างจังหวัดรอรับเสด็จรวม 85 จุด
เวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารบก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จาก รพ.ศิริราช ไปทุ่งมะขามหย่อง มีพสกนิกรถวายพระพรจำนวนมาก
ตลอดเส้นทางพระราชดำเนินผ่านในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บ้านเรือนประชาชน โรงงาน ร้านค้าต่างๆ ต่างก็อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์มาประดิษฐานไว้ที่หน้าบ้านหรือหน้าโรงงานของตนเอง
ต่อมาเวลาประมาณ 17.45 น. เสด็จถึงทุ่งมะขามหย่อง ตลอดเส้นทาง พสกนิกรที่รอเฝ้าฯ รับเสด็จได้เปล่งเสียง "ทรงพระเจริญ" อย่างกึกก้องไปตลอดเส้นทาง พร้อมธงสัญลักษณ์และตราสัญลักษณ์ รวมทั้งพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถไว้เหนือหัว
เมื่อรถยนต์พระที่นั่งถึงพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย เจ้าพนักงานพระราชพิธีเชิญพวงมาลัยเข้าถวาย แล้วพระราชทานไปถวายสักการะที่โต๊ะหมู่หน้าพระราชานุสาวรีย์ ประทับรถยนต์พระที่นั่งทอดพระเนตรบริเวณรอบพระราชานุสาวรีย์ จากนั้นเสด็จฯ ไปยังศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน และผลิตผลการเกษตร น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายโฉนดที่ดินแปลงนาที่ทรงเกี่ยวข้าว เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2539 เนื้อที่ 7 ไร่
ต่อมานายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้อมถวายเงินจำนวน 9,999,999 บาท แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อสมทบทุนมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์
จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปยังศาลากลางน้ำ ทอดพระเนตรการแสดงสื่อผสม ทุ่งมะขามหย่อง แผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ ช้างเผือก 9 เชือก และการแสดงแสง สี เสียง และการแสดงเพลงเรือ
เวลา 19.30 น. เสด็จเข้าพระตำหนักสิริยาลัย เสวยพระกระยาหารค่ำตามพระราชอัธยาศัย แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ว่า เป็นความปลื้มปีติของคนไทยทั้งประเทศที่ได้เห็นพระองค์ทรงแข็งแรง และเสด็จฯ ออกไปเยี่ยมเยียนประชาชนได้อีกครั้งหนึ่ง เป็นที่น่าดีใจ ส่วนประชาชนชาวอยุธยาถือเป็นประชาชนที่โชคดีที่ได้เข้าเฝ้าฯ และรับเสด็จอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่พระองค์ท่านเสด็จฯ ไปเมื่อครั้งก่อนที่ท่านทรงเกี่ยวข้าวในพื้นที่ จ.อยุธยา พระองค์ท่านทรงเป็นผู้ริเริ่มก่อนที่หน่วยราชการจะเข้าไปดำเนินการต่อ ถือว่า ประเทศไทยมีทุกวันนี้ได้ เป็นเพราะพระองค์ท่านทรงทำมา และทำให้คนไทยมีอาชีพ โดยเฉพาะด้านการเกษตรจนถึงทุกวันนี้
"งบประมาณปี 2556 ที่กองทัพเสนอไปไม่ได้เพียงทำกิจกรรมเทิดทูนพระองค์ท่านเพียงอย่างเดียว แต่เป็นงบที่ต้องใช้กับประชาชนทั้งการทำโครงการ แนวเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อลงไปสู่ประชาชน หน้าที่กองทัพบกคือการสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างต่อเนื่อง กองทัพให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ดังนั้นงบประมาณเหล่านี้จะใช้เพื่อนำไปสู่ประชาชน และนำความรู้ต่างๆ ของพระองค์ท่านลงไปถ่ายทอดให้กับประชาชน เพื่อไปพัฒนาอาชีพของตนเองให้มีผลผลิตสูงขึ้น"
ผบ.ทบ.ยังกล่าวว่า ทั้ง 2 พระองค์ทรงคาดหวังว่า อยากให้ประชาชนคนไทยที่ทำอาชีพการเกษตรใช้เนื้อที่ให้น้อยที่สุดในการทำประโยชน์ให้เกิดสูงสุด เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่อัตคัดเรื่องน้ำ และระบบชลประทานต่างๆ ไม่ได้มีหิมะเหมือนประเทศอื่น เราต้องมีการจัดการทรัพยากรน้ำให้เหมาะสม เป็นความห่วงใยที่ทั้ง 2 พระองค์ทรงห่วงใยเรื่องน้ำมาโดยตลอด
นางสุรีรัตน์ วงศ์เสงี่ยม รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร จะมีการจดบันทึกจดหมายเหตุ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ โดยจะจดบันทึกเหตุการณ์ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินออกจากโรงพยาบาลศิริราช จนกระทั่งถึงที่ประทับ ณ ทุ่งมะขามหย่อง และเสด็จฯ กลับ
ในขณะเดียวกันจะมีการบันทึกภาพเหตุการณ์พสกนิกรชาวไทยที่มาเฝ้าฯ รอรับเสด็จอีกด้วย โดยจะมีการประสานกับทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดงาน และสื่อมวลชนทุกแขนง เพื่อรวบรวมข้อมูลเอกสาร และภาพถ่ายตลอดการประทับ ณ ทุ่งมะขามหย่องด้วย.


000000000000000000

พบที่ดินประวัติศาสตร์ “ทุ่งมะขามหย่อง” เปลี่ยนหลายมือ ก่อน “อำพน” ซื้อให้นายกฯ ทูลเกล้าถวาย


//www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000063687

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 พฤษภาคม 2555 10:13 น.

เผยปูมหลังที่ดินประวัติศาสตร์ “ในหลวง” เคยเสด็จฯ เกี่ยวข้าวเมื่อปี 2539 พบเคยเปลี่ยนมือหลายทอด คุณยายวัย 79 ปีโอดถูกทิ้งร้างไร้การดูแล ก่อนตกเป็นของนายทุนตระกูล “เตชะศิริวรรณ” แต่ปล่อยให้ทำนาโดยไม่คิดค่าเช่าที่ พบ “อำพน” เลขาธิการ ครม.ดอดขอซื้อที่ดิน 20 ล้าน แฉนายกฯ ใช้ทีมงานโทร.แจ้งสื่อขอแก้ข่าวเป็นถวายในนามส่วนตัวไม่เกี่ยวกับตระกูลชินวัตร

• คุณยายงงถูกนายทุนฮุบที่ดิน-เผยสำนักพระราชวังเคยติดต่อขอซื้อที่ก่อนน้ำท่วม

คุณยายสวัสดิ์เปิดเผยว่า เดิมที่แปลงนาแห่งนี้เป็นของนางมณี เสถียรพจน์ ชาวบ้าน ต.บ้านใหม่ และต่อมามีการซื้อขายเปลี่ยนมือหลายทอด โดยช่วงปี 2539 มีนายทวี พันธุ์เสือ ชาวบ้าน ต.บ้านใหม่ เป็นคนเช่าที่นาแปลงนี้ทำกิน ต่อจากนั้นทราบว่าล่าสุดที่นาแปลงนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของนายทุนคนหนึ่งใน จ.ระยอง ตนเองในฐานะชาวบ้านก็งงกับทางราชการ เพราะสถานที่นี้เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ของชาติไทย แต่ทำไมไม่มีใครคิดจะทำให้สถานที่แห่งนี้สมเกียรติ ทรงคุณค่าแก่ลูกหลาน และประวัติศาสตร์การทำนาของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ก็ถูกทิ้งร้างไร้การดูแล ซึ่งก็มีการทำนาปลูกข้าว เข้าใจว่าเป็นที่นากรรมสิทธิ์ของเจ้าของ ไม่ใช่ที่ดินของหลวง แต่ราชการก็ควรติดต่อซื้อคืนมาเพื่อทำ อีกทั้งตรงจุดนี้ติดทุ่งมะขามหย่อง และติดถนนสายสำคัญ เป็นถนนสายหลักของการเดินทางไปภาคเหนือที่ผ่าน จ.พระนครศรีอยุธยา หากพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ก็จะดีมาก

นอกจากนี้ คุณยายสวัสดิ์เปิดเผยอีกว่า เมื่อก่อนน้ำท่วมปี 2554 สำนักพระราชวังติดต่อผ่าน อบต.ภูเขาทอง และ อบต.บ้านใหม่ มาว่าที่นาที่ในหลวงเกี่ยวข้าวอยู่ตรงไหน ตนเองก็มาดูและทุกฝ่ายในชุมชนก็พยายามที่จะตามหาเจ้าของที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงโดยสำนักพระราชวังแจ้งว่า อยากจะขอติดต่อซื้อที่ดินจำนวน 10 ไร่ตรงที่ในหลวงทรงเกี่ยวข้าวเพื่อมาทำสถานที่รำลึกถึงพระองค์ท่านที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกร โดยเฉพาะชาวนา แต่ทุกอย่างก็อยู่ระหว่าประสานงานและเงียบกันไปถึงวันนี้




๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙










ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน











 

Create Date : 26 พฤษภาคม 2555    
Last Update : 27 พฤษภาคม 2555 0:43:14 น.
Counter : 5457 Pageviews.  

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของเราชาวไทย



เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ


...............

ขออัญเชิญภาพ ของพระองค์ มาชื่นชมในพระอิริยาบถต่างๆ















































































































 

Create Date : 01 เมษายน 2555    
Last Update : 1 เมษายน 2555 22:36:07 น.
Counter : 2413 Pageviews.  

ในหลวงพระราชทานพรปีใหม่ 2555



ในหลวงพระราชทานพรปีใหม่ 2555




อัปโหลดโดย realmkii เมื่อ 31 ธ.ค. 2011






ในหลวงพระราชทานส.ค.ส.ปีใหม่

ในหลวงพระราชทาน ส.ค.ส. ปีใหม่พร้อมพระราชทานพรปีใหม่แก่ชาวไทย ให้เตรียมตัวพร้อมกับการเผชิญปัญหา ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท มีสติรู้ตัวและปัญหารู้คิดกำกับ


วันที่ 31 ธันวาคม 2554 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส.ปีพุทธศักราช 2555 แก่ประชาชนชาวไทย โดยส.ค.ส.พระราชทาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีพุทธศักราช 2555 นี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์สากลสีเทาลายริ้วสีอ่อน ปกด้านซ้าย ทรงประดับเข็มเครื่องหมายมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ มูลนิธิที่พระราชทานกำเนิดและทรงดำรงตำแหน่งพระบรมราชูปถัมภก ทรงผูกเนคไทสีแดงมีลวดลายสีทอง เข้าชุดกับผ้าปักพระกระเป๋า ฉลองพระองค์ชั้นในเป็นเชิ้ตขาว ประทับบนพระเก้าอี้ ด้านข้างพระเก้าอี้ที่ประทับทั้งสองข้าง มีโต๊ะกลม โต๊ะด้านขวาวางแจกันแก้วขนาดเล็กปักดอกไม้หลากสี ทรงฉายกับสุนัขทรงเลี้ยง คือ คุณทองแดงที่ทรงเลี้ยงมาตั้งแต่ปี 2541 สวมเสื้อสีทอง หมอบอยู่แทบพระบาท หน้าพระเก้าอี้ด้านซ้าย


ด้านหลังพระเก้าอี้ที่ประทับตกแต่งเป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับ ด้านซ้ายมีระแนงไม้สีขาว ประดับอักษรสีชมพู ข้อความภาษาไทยว่า สวัสดีปีใหม่ และข้อความภาษาอังกฤษว่า Happy New Year ด้านขวามีต้นสนประดับเครื่องตกแต่ง ฉากหลังเป็นผ้าม่านสีเทาอ่อน ด้านซ้ายบนมีตราพระมหาพิชัยมงกุฎประดับ ส่วนด้านขวามีผอบทองประดับ
ตรงกลาง ส.ค.ส.ด้านขวา มีข้อความจากบทพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ซึ่งเป็นคำตอบที่พระมหาชนกทรงตอบนางมณีเมขลาว่า "ถึงจะมองไม่เห็นฝั่ง เราก็ต้องพยายามว่ายอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร โภคะทั้งหลาย มิได้สำเร็จด้วยเพียงคิดเท่านั้น" ทรงเตือนสติให้คนไทยทั้งหลายมีความเพียร เช่นเดียวกับพระมหาชนก ที่ทรงอดทนว่ายน้ำในมหาสมุทรด้วยความเพียร จนรอดชีวิต ประโยชน์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากการกระทำไม่ได้เกิดจากแค่เพียงคิด
ตรงกลาง ส.ค.ส.ด้านซ้าย มีข้อความภาษาไทยพิมพ์ด้วยสีชมพูขอบสีเหลืองว่า ขอจงมีความสุขความเจริญ 2555 และข้อความภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วยสีแดงขอบสีเหลืองว่า Happy New Year 2012
ด้านล่างของ ส.ค.ว.มุมล่างขวามีข้อความ ก.ส.9 ปรุง 185029 ธค.54 พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา พริ้นเทด แอ้ท เดอะ สุวรรณชาด , ดี.พรหมบุตร พับลิชเชอร์
กรอบของ ส.ค.ส.พระราชทานฉบับนี้ เป็นภาพใบหน้าคนเล็กๆ เรียงกัน ด้านซ้ายและด้านขวาเรียงกันด้านละ 3 แถว ส่วนด้านบนและด้านล่างเรียงกันด้านละ 2 แถว ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม
พร้อมกันนี้ทรงมีพระราชดำรัสพระราชทานพรปีใหม่แก่ประชาชนทั้งหลาย ความว่า ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คน และขอขอบใจท่านเป็นอย่างมาก ที่ร่วมกันจัดงานฉลองอายุครบ 7 รอบให้อย่างเหมาะสมงดงาม ระหว่างปีที่แล้ว เหตุการณ์ต่าง ๆ ในบ้านเมืองนับว่าเป็นปรกติดี แต่พอเข้าปลายปี ก็เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ เป็นเหตุให้ประชาชนหลายจังหวัด ต้องประสบอันตราย และความเดือดร้อนลำบาก ความเสียหายครั้งนี้ ดูจะร้ายแรงกว่าครั้งไหนๆ ที่ผ่านมา ข้อนี้ น่าจะเป็นเครื่องเตือนใจอย่างสำคัญ ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้หลายครั้งแล้วว่า วิถีชีวิตของคนเรานั้น จะต้องมีทุกข์ มีภัย มีอุปสรรค ผ่านเข้ามาเนืองๆ ไม่มีผู้ใดจะอยู่เป็นปรกติสุกอย่างเดียวได้ ทุกคนจึงต้องเตรียมกายเตรียมใจ และเตรียมการไว้ให้พร้อมเสมอ เพื่อเผชิญและป้องกันแก้ไขความไม่ปรกติเดือดร้อนต่างๆ ด้วยความไม่ประมาท ด้วยเหตุผล ด้วยหลักวิชา และด้วยสามัคคีธรรม
ในปีใหม่นี้ จึงขอให้ประชาชนชาวไทยได้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท โดยมีสติรู้ตัวและปัญญารู้คิดกำกับอยู่ตลอดเวลา ผู้ใดมีภาระหน้าที่อันใด ก็เร่งกระทำให้สำเร็จลุล่วงไปให้ทันการณ์ทันเวลา ผลงานทั้งนั้น จะได้ส่งเสริมให้แต่ละคนประสบแต่ความสุขความเจริญ และทำให้ชาติบ้านเมืองดำรงมั่นคง และก้าวหน้าต่อไปด้วยความผาสุกสวัสดี
ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จงคุ้มครองรักษาท่านทุกคน ให้มีความสุข ไม่มีทุกข์ ไม่มีภัย ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน


--------

ขอคุณภาพ และข่าวจาก นสพ คมชัดลึก

//www.komchadluek.net/detail/20111231/119158/.html









 

Create Date : 31 ธันวาคม 2554    
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2555 22:07:59 น.
Counter : 2304 Pageviews.  

ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมถวายพระพรชัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่รักยิ่ง ของเราชาวไทย






ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน



(ทำขึ้นเพราะประทับใจในเนื้อหาของบทเพลงหลายบทเพลง
ที่แต่ขึ้นถวายในหลวง 84 พรรษา
อยากรวมความหมายหลายเพลงมาอยู่ในแนวคิดที่เป็นสิ่งที่อยู่ในใจ
ในความจงรักภักดี ต่อพระองค์

ขอขอบคุณ mvครองแผ่นดินโดยธรรม บทเพลงเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=tQMpvJsh9Wo

mvบทเพลงรักแห่งแผ่นดิน Full Version HD บทเพลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

https://www.youtube.com/watch?v=E1dvYJvbX6w&feature=related

mvผู้ปิดทองหลังพระ - คาราบาว

https://www.youtube.com/watch?v=p6u9bPXxFtk&feature=related)




เนื่องในวโรกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี
จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิรา บรมนาถบพิตร

ครบ 7 รอบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554

ข้าพระพุทธเจ้า ขอเป็นอีกหนึ่งใน63 ล้านคนไทย ขอน้อมถวายพระพรชัย
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน






ถวายบังคมเทิดไท้ องราชันย์



๐ ถวายบังคมเทิดไท้…………….ราชันย์
คุณะ ธ อนันต์……………………..เทียบฟ้า
ทวยราษฎร์สุขเกษมสันต์…………ถ้วนทั่ว
ธ ท่านคือขวัญหล้า……………….ปกเกล้าชาวสยาม

๐ พระนามพระเกียรติก้อง………..เกริกไกร
“ภูมิพล” ขจรไป…………………..ทั่วด้าว
คือหลักแห่งธงชัย…………………ปวงเหล่า ชนเฮย
ทูนเทิดพระเหนือเกล้า…………….เกศน้อมถวายพระพร



( จาก //www.klonthai.com/682--
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า นางสาวหทัยชนก
สมาชิกบ้านกลอนไทย)


พระราชประวัติ


พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเซสท์ ระเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (พระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ซึ่งภายหลังทั้งสองพระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระเชษฐภคินีและพระเชษฐา คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ประสูติเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กับพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี


เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๑ ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เสด็จกลับประเทศไทย ประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาในวันที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกทิวงคต ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงเจริญพระชนมายุได้ไม่ถึงสองพรรษา และเมื่อมีพระชนมายุได้ ๕ พรรษา ได้เสด็จเข้ารับการศึกษาชั้นต้น ณ โรงเรียนมาแตร์ เดอี กรุงเทพฯ จนถึงพุทธศักราช ๒๔๗๖ จึงเสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินีและพระเชษฐา เพื่อทรงศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษา ในโรงเรียนเมียร์มองต์ ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมันและภาษาอังกฤษ จากนั้นทรงเข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ณ เอกอล นูแวล เดอ ลา ชืออิส โรมองต์ เมืองแชลลี ชือ โลซานน์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์จาก ยิมนาส กลาชีค กังโดนาล แห่งเมืองโลซานน์ แล้วทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโลซานน์ โดยทรงเลือกศึกษาในแขนงวิชาวิศวกรรมศาสตร์





















ในพุทธศักราช ๒๔๗๗ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๘ และได้โดยเสด็จพระราชดำเนิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นิวัติประเทศไทยเป็นครั้งแรก ในพุทธ>ศักราช ๒๔๘๑ โดยประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เป็นการชั่วคราว แล้วเสด็จกลับไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนถึงพุทธศักราช ๒๔๘๘ จึงโดยเสด็จพระราชดำเนิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นิวัติประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ครั้งนี้ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง


ในวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยกระทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น แต่เนื่องจากยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา จึงต้องทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ เพื่อทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม ในครั้งนี้ ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายและวิชารัฐศาสตร์ แทนวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม









ระหว่างที่ประทับศึกษาอยู่ในต่างประเทศนั้น ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (พระนามเดิม หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศ ขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้านักขัตรมงคล เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๓ และในพุทธศักราช ๒๔๙๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่าพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) และหม่อมหลวงบัว (สนิทวงศ์) กิติยากร ต่อมาทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์


ในพุทธศักราช ๒๔๙๓ เสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ในเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ต่อมาในวันที่ ๒๘ เมษายน ปีเดียวกัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์


ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระบรมนามาภิไธย ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร พร้อมทั้งพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม และในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี

หลังจากเสร็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงรักษาสุขภาพ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตามที่คณะแพทย์ได้ถวายคำแนะนำ และระหว่างที่ประทับรักษาพระองค์อยู่นั้น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาลพระราชธิดาพระองค์แรก คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ซึ่งประสูติ ณ โรงพยาบาลมองซัวซีส์ เมืองโลซานน์ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๔ และเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์แรกเจริญพระชันษาได้ ๗ เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นทรงย้ายที่ประทับไปประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต และที่พระที่นั่งอัมพรสถานนี้เอง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาลพระราชโอรสและพระราชธิดาอีกสามพระองค์ คือ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร
เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ
สยามบรมราชกุมารี

เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๔๙๘

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ประสูติ เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐

ในพุทธศักราช ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาที่จะทรงผนวช ด้วยทรงพระราชดำริว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ที่ประชาชนของพระองค์เลื่อมใสกันอยู่เป็นจำนวนมาก ยิ่งทรงมีโอกาสคุ้นเคยกับหลักการและทางปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน ระหว่างที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ก็ทรงมีพระราชศรัทธายิ่งขึ้น เพราะได้ประจักษ์แก่พระราชหฤทัยว่า ธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยเหตุผลและสัจจธรรม แม้ผู้ใดจะวิจารณ์ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ ก็จะไม่เสื่อมถอยในความนิยมเชื่อถือ ทั้งจักเป็นทางสนองพระเดชพระคุณพระราชบูรพการีตามคตินิยมอีกโสตหนึ่งด้วย จึงได้เสด็จออกทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ เสร็จการพระราชพิธีทรงผนวชแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ตลอดเวลา ๑๕ วันที่ทรงผนวชอยู่ และจากการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้อย่างเรียบร้อย เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปีเดียวกันนั้นเอง และในพุทธศักราช ๒๕๐๐ ทรงย้ายที่ประทับจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จนถึงปัจจุบัน

(ที่มา: เครือข่ายกาญจนาภิเษก //www.king84.th/th/biography.php)































พระราชประวัติ1.wmv



(โดย lMyLovel )

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก



(โดย dolly6299 )




จาก ข่าว //www.siamrath.co.th/web/?q=node/67659

พระราชกรณียกิจที่สำคัญต่อมาได้แก่ พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตรและชลประทาน ซึ่งเป็นพระราชกรณียกิจที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อชาติไทย และประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชาชนประมาณร้อยละ 80 เป็นเกษตรกร และส่วนมากก็เป็นชาวนาชาวไร่หรือเป็นเกษตรกรที่ยากจน

ปัญหาด้านความเดือดร้อนของราษฎรที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเกษตร ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของเศรษฐกิจในประเทศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการส่งเสริมและพัฒนาด้านเกษตรกรรมทุกแขนงอย่างจริงจัง นำมาใช้กับกิจกรรมด้านการเกษตร และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอย่างถูกต้องสมบูรณ์และครบวงจรทุกขั้นทุกตอน

สำหรับการแก้ปัญหาเรื่องน้ำ พระองค์จะเสด็จฯไปทอดพระเนตรต้นน้ำลำธารในพื้นที่เกษตรและสภาพภูมิประเทศจริงๆ เพื่อให้ทราบข้อมูลอย่างถูกต้อง โดยพระองค์จะทรงมีแผนที่ติดพระหัตถ์อยู่เสมอ และจะทรงตรวจสอบชื่อและตำแหน่งที่ตั้งของแหล่งน้ำลำธารจากชาวบ้านอยู่เสมอว่าตรงกับแผนที่หรือไม่ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องก่อนที่จะทรงกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา

นอกจากนี้ ยังมีพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับด้านต่างๆ อีกจำนวนมาก อาทิ พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชนบท, ด้านการปฏิรูปและพัฒนาที่ดิน, ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ด้านสังคมสงเคราะห์, ด้านการแพทย์ สาธารณสุข และอนามัย, ด้านการส่งเสริมการศึกษาของชาติ, ด้านศาสนา, ด้านส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรมของชาติ, ด้านการทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร และลูกเสือชาวบ้าน, ด้านการพัฒนาเยาวชนของชาติ, ด้านการส่งเสริมการกีฬา, พระราชกรณียกิจด้านการเสด็จฯ เยี่ยมประชาชนทั่วประเทศ และพระราชกรณียกิจด้านการจัดตั้งโครงการ หน่วยงาน และมูลนิธิต่างๆ เพื่อเป็นกำลังในการขับเคลื่อน ช่วยเหลือ และพัฒนาประเทศชาติ เพื่อให้ราษฎรของพระองค์มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

จากการพัฒนาในด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ให้ประเทศไทยเจริญขึ้น และพระองค์ได้พระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ราษฎรของพระองค์นำไปปฏิบัติเพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิต เพื่อให้พบความสุขอย่างยั่งยืนจากการพอประมาณและการพึ่งพาตนเอง

ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติเป็นเวลา 65 ปี ซึ่งยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในประวัติศาสตร์ชาติไทยและในโลก ตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์ทรงปฏิบัติพระองค์ตามพระปฐมบรมราชโองการที่พระราชทานไว้เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 มาโดยตลอดว่า

ภาพประทับใจ














H M The King Solo ในหลวงทรงดนตรีกับวง Preservation Hall Jazz Band ในปี 1988


(โดย cosovo999 )

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงดนตรีกับวง Preservation Hall Jazz Band ในปี 1988

ขอบคุณ อาจารย์ภาธร ศรีกรานนท์ เป็นอย่างสูงที่เอื้อเฟื้อภาพพระองค์ทรงดนตรี ซึ่งหาชมได้ยากมาก






























































เชิญชมงานที่ทำขึ้นถวาย




อลังการสื่อผสม กำแพงพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 2 ธ.ค. สำนักพระราชวัง จัดซ้อมใหญ่ภาพยนตร์พาโนรามา สื่อผสมเฉลิมพระเกียรติ “84 ปี แห่งความเรืองรองของกรุงรัตนโกสินทร์” ที่จัดฉายตลอดแนวกำแพงพระบรมมหาราชวัง บริเวณถนนหน้าพระลาน ด้วยความยาว 200 เมตร โดยมีประชาชนให้ความสนใจจำนวนมาก ก่อนจะเปิดฉายอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 5-9 ธ.ค.นี้

ก่อนหน้านี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการฝ่ายจัดพิธีถวายพระพรชัยมงคลงานมหรสพสมโภชและนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พร้อมด้วยนายรัตนาวุธ วัชโรทัย ที่ปรึกษาฝ่ายกิจกรรมพิเศษ สำนักพระราชวัง และนายศุภวัฒน์(ศุภักษร) จงศิริ ประธานบริษัท คอมอาร์ตโปรดักชั่น จำกัด ในฐานะหัวหน้าคณะดำเนินงาน ร่วมกันแถลงการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ในชื่องาน “เย็นศิระเพราะพระบริบาล” ระหว่างวันที่ 3-9 ธ.ค. รวม 7 วัน บริเวณสนามหลวง ถนนหน้าพระธาตุ และกำแพงพระบรมมหาราชวัง

สำหรับกิจกรรมประกอบด้วย

1. กิจกรรมการถวายพระชัยมงคลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2555 ในเวลา 16.00 น.-20.00 น. ที่บริเวณท้องสนามหลวง โดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐและประชาชนทั่วประเทศร่วมกันถวายพระพรชัยมงคล

2.กิจกรรมการลงนามถวายพระพร ณ ร่มโพธิ์ร่มไทรของแผ่นดิน โดยมีหัวใจสำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของแผ่นดิน จึงมีการจัดสร้างร่มโพธิ์ร่มไทรสองข้างทางสนามหลวง เพื่อให้ประชาชนลงนามถวายพระพรและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับการ์ดที่ระลึก

3.กิจกรรมนิทรรศการ “เย็นศิระเพราะพระบริบาล” เพื่อเผยแพร่เรื่องราวอันเป็นพระอัจฉริยภาพ อันเป็นเรื่องราวภาพของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านต่างๆ ที่ทรงเรียนรู้ เข้าใจ ประดิษฐ์คิดค้น แก้ไขปัญหาทุกด้านให้กับประชาชน ให้พ้นทุกข์และพบกับความร่มเย็น ด้วยรูปแบบโมเดลของจำลอง บอร์ดนิทรรศการ และงานระบบมัลติมีเดีย โดยประกอบด้วย ส่วนต้อนรับและซุ้มประตูทางเข้า 84 พรรษา ดวงใจราฎร์ปราชญ์แห่งน้ำ 84 พรรษา ประโยชน์สุดสู่ปวงประชา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั่วปประเทศ ห้องแสดงภาพยนต์พระราชกรณียกิจ พระราชอัจฉริยภาพในการทรงงานด้านการบริหารจัดการน้ำและเศรษฐกิจพอเพียง

4.กิจกรรมอธิฐานบูชา “พระทันตธาตุ” สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยได้อันเชิญ “พระบรมสารีริกธาตุพระทันตธาตุ” ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากราชอาณาจักรภูฏาน มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราวในประเทศไทย และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้สักการะ

5. กิจกรรมการแสดงเฉลิมพระเกียรติ 7 วัน อาทิเช่น การแสดงรำถวายพระพรและโขนเฉลิมพระเกียรติ ชุดรามราชจักรี การแสดงแสง เสียง และสื่อผสม “วัฒนธรรมทองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 84 พรรษามหาราชา” การแสดงบทเพลงเฉลิมพระเกียรติ “น้อมใจภักดิ์รักพ่อ” การแสดงวงโยธวาธิต โรงเรียนหอวัง รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานฯ การแสดงละครเฉลิมพระเกียรติเรื่อง พระมหาชนก เป็นต้น

6.กิจกรรมการแสดงพิเศษจากชีวิตจริง “เย็นศิระเพราะพระบริบาล” เพื่อเป็นการเผยแพร่ พระอัจฉริยภาพในด้านต่างๆโดยผ่านเรื่องราวชีวิตจริงของผู้ที่ได้เข้าเฝ้า ได้รับประโยชน์สุข ได้รับประโยชน์ ได้รับการแก้ไขปัญหา ได้รับแสงสว่างสู่ชีวิต ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกทราบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณและตื้นตันใจที่เกิดเป็นคนไทยใต้พระบารมี “เย็นศิระเพราะพระบริบาล” จากคนไทยทั้ง 4 ภาค

7.กิจกรรม “ถนนเย็นศิระเพราะพระบริบาล” โดยจะมีการออกร้านโครงการหลวง ออกร้านขายของที่ระลึกของหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี กรมไปรษณีย์ มูลนิธิราชประชาสมาศัย และการออกร้านธงฟ้า

8.กิจกรรมภาพยนต์พาโนรามาสื่อผสมเฉลิมพระเกียรติ ชุด 84 ปี แห่งการเรืองรองของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยจะฉายภาพไปบนกำแพงพระบรมมหาราชวังติดต่อกันเป็นภาพยาว และเป็นการฉายภาพยนต์พร้อมการแสดงโขนในองก์2 ซึ่งเป็นการนำเสนอเรื่องราวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์แผ่นดินทอง อันเป็นแผ่นดินใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารแห่งพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลบที่ 9 ซึ่งอุดมด้วยความงดงามทางศิลปและวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา

9.กิจกรรมการแสดงแสงเสียงและสื่อผสม “วัฒนธรรมทองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 84 พรรษามหาราชา” โดยจะเป็นนำเสนอเรื่องราวที่ร้องเรียงประวัติศาสตร์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่จุดเริ่มต้นการก่อสร้างเมือง ต่อเนื่องถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งตลอดระยะเวลาอันยาวนานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกระกอบพระราชกรณียกิจ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและเป็นการตั้งคำถามกับคนไทยทุกคนว่า คนไทยควรทำอะไร เพื่อประบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเป็นที่รักและเทิดทูลยิ่ง











(ที่มา จาก ข่าวสด //www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNeU1qZ3lOREF6T0E9PQ==ionid=)




สำนักพระราชวังร่วมมือกับรัฐบาลจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 (CMO Group)

(ที่มางานเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา
wannarat41)



ตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔






The Celebration on the Auspicious Occasion of His Majesty the King’s 7th Cycle Birthday Anniversary

5th December 2011





ความหมายตราสัญลักษณ์

ตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔



โดย cosovo999








อักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. สีเหลืองทอง อันเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพอยู่กลางตราสัญลักษณ์ ขลิบรอบตัวอักษรด้วยสีทองบนพื้นวงกลมสีน้ำเงินล้อมรอบด้วยกรอบโค้งเรียบ สีเหลืองทอง หมายความว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจของคนไทยทั้งชาติ ด้านบนอักษณพระปรมาภิไธยเป็นเลข ๙ หมายถึงพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เลข ๙ นั้น อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ อันเป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นสมเด็จราชาธิราช

ถัดลงมาด้านข้างซ้ายขวาของอักษรพระปรมาภิไธย มีสายพุ่มข้าวบิณฑ์สีทอง ซึ่งมีสัปตปฎลเศวตฉัตรประดิษฐานอยู่เบื้องบน
ด้านนอกสุดเป็นกรอบโค้งมีลวดลายสีทองบนพื้นสีเขียว หมายถึงสีอันเป็นเดชแห่งวันพระบรมราชสมภพ อีกทั้งยังหมายถึงความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์และความสงบร่มเย็น ด้านล่างอักษรพระปรมาภิไธยเป็นรูปกระต่ายสีขาว กระต่ายนั้นทรงเครื่องอยู่ในลักษณะกำลังก้าวย่าง อันหมายถึง ปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ตรงกับปีเถาะ ซึ่งปีกระต่ายเป็นเครื่องหมายแห่งปีนักษัตร โดยรูปกระต่ายอยู่บนพื้นสีน้ำเงิน

มีลายกระหนกสีทอง อันหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทย ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร
เบื้องล่างตราสัญลักษณ์เป็นแพรแถบสีชมพูขลิบทองเขียนอักษรสีทอง ความว่า
“พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ”



(ที่มา //www.princessofdesign.com/article/design-article/

ผู้ชนะเลิศการประกวดตราสัญลักษณ์ในครั้งนี้ได้แก่ นายศิริ หนูแดง)


เรื่องของในหลวงที่เรา(อาจ)ไม่เคยรู้

1.ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45น.
2.นายแพทย์ผู้ทำคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ ทรงมีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์
3.พระนาม 'ภูมิพล' ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7
4.พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช
5.ทรงมีชื่อเล่น ว่า เล็ก หรือ พระองค์เล็ก
6.ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษา
ทรงเคยเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า
'H.H Bhummibol Mahidol'หมายเลขประจำตัว 449
7.ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือสมเด็จย่า อย่างธรรมดาว่า 'แม่'
8.สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนม อาทิตย์ละครั้ง
9.แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย
เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม
10.สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง
ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต

11.สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยทรงพระเยาว์เป็นสุนัขไทย ทรงตั้งชื่อให้ว่า'บ๊อบบี้'
12.ทรงฉลองพระเนตร(แว่นสายตา)ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ
เพราะครูประจำชั้นสังเกตเห็นว่าเวลาจะทรงจดอะไรจากกระดานดำพระองค์
ต้องลุกขึ้นบ่อยๆ
13.สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่า
โทษนี้ควรตีกี่ที ในหลวงจะทรงต่อรองว่า 3 ที มากเกินไป 2 ทีพอแล้ว
14.ระหว่างประทับอยู่ สวิตเซอร์แลนด์นั้นระหว่างพี่น้องจะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศส
แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ
15.ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก 'การให้' โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสิน
เรียกว่า 'กระป๋องคนจน' เอาไว้ หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก
'เก็บภาษี' หยอดใส่กระปุกนี้ 10% ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุมเพื่อถามว่า
จะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า
หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
16.ครั้งหนึ่ง ในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆ
เขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าก็ตอบว่า 'ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ
หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อจักรยาน'
17.กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสม
ส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา
18.ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง
19. พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก 'การเล่น' สมัยทรงพระเยาว์
เพราะหากอยากได้ของเล่นอะไรต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อเอง หรือ ประดิษฐ์เอง
ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับพระเชษฐา ซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วเอามาประกอบเอง
เป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง
20.สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และภูมิประเทศของไทย
โดยโปรดเกล้าฯให้โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทยเป็นรูปตัวต่อ
เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆเพื่อให้ทรงเล่นเป็นจิ๊กซอว์

21.ในหลวงทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด เช่น เปียโน กีตาร์ แซกโซโฟน
แต่รู้หรือไม่ว่าเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่นคือ หีบเพลง (แอกคอร์เดียน)
22.ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟน
มือสองราคา 300 ฟรังก์มาหัดเล่น โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง
และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้
23.ครูสอนดนตรีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส
24.ทรงพระราชนิพนธ์พลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรก
คือ 'แสงเทียน' จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง
25.ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย
อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซองจดหมายตีเส้น 5 เส้น
แล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง 'เราสู้'
26. รู้ไหม...? ทรงมีพระอุปนิสัยสนใจการถ่ายภาพเหมือนใคร : เหมือนสมเด็จย่า
และ รัชกาลที่ 5
27. นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย
ทรงเคยนำภาพยนตร??ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้มาสร้างอาคาร
สภากาชาดไทยที่ รพ.จุฬาฯ โรงพยาบาลภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอ
และโรคเรื้อนด้วย
28. ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง 'นายอินทร์' และ 'ติโต' ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์
แล้วให้เสมียนพิมพ์ แต่ 'พระมหาชนก' ทรงพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
29. ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน
สกี และ เรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค
ในกีฬาแหลมทอง(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น'กีฬาซีเกมส์') ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2510
30. ครั้งหนึ่ง ทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่ง และตรัสกับ
ผู้ที่คอยมาเฝ้าฯว่า เสด็จฯกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า
ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกา
มากแค่ไหน

31. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ ์
คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ 'กังหันชัยพัฒนา' เมื่อปี 2536
33. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน
เช่น แก๊สโซฮอล์,ดีโซฮอลล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว
34. องค์การสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์
แด่ในหลวงเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2549 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจ
ด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย โดยมี นายโคฟี อันนัน
เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง
35. พระนามเต็มของในหลวง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรา มหาภูมิพลอดุลยเดช
มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
36. รักแรกพบ ของในหลวงและหม่อมสิริกิติ์เกิดขึ้นที่สวิสเซอร์แลนด์
แต่เหตุการณ์ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯทรงให้สัมภาษณ์ว่า'น่าจะเป็น
เกลียดแรกพบ มากกว่ารั??แรกพบ เนื่อง
เพราะรับสั่งว่าจะเสด็จถึงเวลาบ่าย 4 โมง แต่จริงๆแล้วเสด็จมาถึงหนึ่งทุ่ม
ช้ากว่าเวลานัดหมายตั้งสามชั่วโมง
37. ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492
และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ที่วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493
โดยทรงจดทะเบียนสมรสเหมือนคนทั่วไป ข้อความในสมุดทะเบียนก็เหมือนคนทั่วไป
ทุกอย่าง ปิดอากรแสตมป์ 10 สตางค์ เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
37. หลังอภิเษกสมรส ทรง'ฮันนีมูน'ที่หัวหิน
38. ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน
39. ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาย์และพระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช
40. ของใช้ส่วนพระองค์นั้นไม่จำเป็นต้องแพงหรือต้องแบรนด์เนม
ดังนั้นการถวายของให้ในหลวงจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นของแพง
อะไรที่มาจากน้ำใจจะทรงใช้ทั้งนั้น


41. เครื่องประดับ : ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน
สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้น นาฬิกา
42. พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว : ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร
อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ
43. หลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ
โดยเฉพาะบริเวณคอหลอด ยังปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด
ซึ่งเป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีด และ กดเป็นรอยบุ๋ม
44. วันที่ในหลวงเสียใจที่สุด คือวันที่สมเด็จย่าเสด็จสวรรคต มีหนังสือเล่าไว้ว่า
วันนั้นในหลวงไปเฝ้า แม่ถึงตีสี่ตีห้า พอแม่หลับจึงเสด็จฯกลับ เมื่อถึงวัง
ทางโรงพยาบาลก็โทรศัพท์มาแจ้งว่า สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์แล้ว
ในหลวงรีบกลับไปที่โรงพยาบาล เห็นแม่นอนหลับตาอยุ่บนเตียง
ในหลวงคุกเข่าเข้าไปกราบที่อกแม่ ซบหน้านิ่งอยู่นาน
ค่อยๆเงยพระพักตร์ขึ้นมาน้ำพระเนตรไหลนอง
45. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนถึงปัจจุบนมีจำนวนกว่า 3,000 โครงการ
46. ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานต่างๆจะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ 3 สิ่ง คือ
แผนที่ซึ่งทรงทำขึ้นเอง(ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ
47.ในหลวงทรงงานด้วยพระองค์เองทุกอย่างแม้กระทั่งการโรเนียวกระดาษ
ที่จะนำมาให้ข้าราชการที่เข้าเฝ้าฯถวายงาน
48. เก็บร่ม : ครั้งหนึ่งเมื่อในหลวงเสด็จฯเยี่ยมโครงการห้วยสัตว์ใหญ่
เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก
ข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน เมื่อทรงเห็นดังนั้น
จึงมีรับสั่งให้องครักษ์เก?บร่ม แล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรทั้งกลางสายฝน
49. ทรงศึกษาลักษณะอากาศทุกวัน โดยใช้ข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยานำขึ้นทูลเกล้าฯ
ร่วมกับข้อมูลจากต่างประเทศที่หามาเอง เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติที่อาจก่อความเสียหาย
แก่ประชาชน
50. โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เริ่มต้นขึ้นจากเงินส่วนพระองค์
จำนวน 32,866.73บาท ซึ่งได้จากการขายหนังสือดนตรีที่พระเจนดุริยางค์
จากการขายนมวัว ก็ค่อยๆเติบโตเป็นโครงการพัฒนามาจนเป็นอย่างที่เราเห้นกันทุกวันนี้

51. เวลามีพระราชอาคันตุกะเสด็จมาเยี่ยมชมโครงการฯสวนจิตรลดา ในหลวงจะเสด็จฯลงมา
อธิบายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากทรงรู้ทุกรายละเอียด
52. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่
ในหลวงตอบว่า 'ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้
เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุข
ของคนไทยทั่วประเทศ
53. ทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันที่พระองค์ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัด
กระดูกสันหลังใน
อีก 5 ชั่วโมง (20 กรกฎาคม 2549) ยังทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้ง
คอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้ เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ พระองค์
จะได้มอนิเตอร์ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน
54. อาหารทรงโปรด : โปรดผัดผักทุกชนิด เช่น ผัดคะน้า ผัดถั่วงอก ผัดถั่วลันเตา
55. ผักที่ไม่โปรด : ผักชี ต้นหอม และตังฉ่าย
56. ทรงเสวย ข้าวกล้อง เป็นพระกระยาหารหลัก
57. ไม่เสวยปลานิล เพราะทรงเป็นผู้เลี้ยงปลานิลคนแรกในประเทศไทย
โดยใช้สระว่ายน้ำในพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นบ่อเลี้ยง แล้วแจกจ่ายพันธุ์ไปให้กรมประมง
58. เครื่องดื่มทรงโปรด : โปรดโอวัลตินเป็นพิเศษ เคยเสวยวันหนึ่งหลายครั้ง
59. ทีวีช่องโปรด ทรงโปรดข่าวช่องฝรั่งเศส ของยูบีซี เพื่อทรงรับฟังข่าวสารจากทั่วโลก
60. ทรงฟัง จส.100 และเคยโทรศัพท์ไปรายงานสถานการณ์ต่างๆใน
กทม.ไปที ่ จส.100ด้วย โดยใช้พระนามแฝง

61. หนังสือที่ในหลวงอ่าน : ตอนเช้าตื่นบรรทม ในหลวงจะเปิดดูหนังสือพิมพ์รายวัน
ทั้งไทยและเทศ ทุกฉบับ และก่อนเข้านอนจะทรงอ่านนิตยสารไทม์ส นิวสวีก
เอเชียวีก ฯลฯ ที่มีข่าวทั่วทุกมุมโลก
62. ร้านตัดเสื้อของในหลวง คือ ร้านยูไลย เจ้าของชื่อ ยูไลย ลาภประเสริฐ
ถวายงานตัดเสื้อในหลวงมาตั้งแต่ปี 2501 เมื่อนายยูไลยเสียชีวิต ก็มี ลูกชาย
นายสมภพ ลาภประเสริฐ มาถวายงานต่อ จนถึงตอนนี้ก็เกือบ 50 ปีแล้ว
63. ห้องทรงงานของในหลวง อยู่ใกล้ห้องบรรทม บนชั้น 8 ของตำหนักจิตรลดาฯ
เป็นห้องเล็กๆ ขนาด 3x4 เมตร ภายในห้องมีวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร
คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์ แผนที่ ฯลฯ
64. สุนัขทรงเลี้ยง นอกจากคุณทองแดง สุวรรณชาด สุนัขประจำรัชกาล
ที่ปัจจุบันอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล แล้ว ยังมีสุนัขทรงเลี้ยงอีก 33 ตัว
65. ในหลวง เกิดจากคำที่ชาวเหนือใช้เรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ว่า 'นายหลวง' ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น ในหลวง
66. ทรงเชี่ยวชาญถึง 6 ภาษา คือ ไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และ สเปน
67. อาชีพของในหลวง เมื่อผู้แทนพระองค์ไปติดต่อเอกสารสำคัญใดๆ
ทรงโปรดให้กรอกในช่อง อาชีพ ของพระองค์ว่า 'ทำราชการ'
68. ในหลวงทรงพระเนตรเทียมข้างขวา เป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ที่เมืองโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ รถพระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง
ทำให้เศษกระจกเข้าพระเนตรข้างขวา ตอนนั้นมีอายุเพียง 20 พรรษา
และทรงใช้พระเนตรข้างซ้ายข้างเดียว ในการทำงานบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชน
ชาวไทยมาตลอดกว่า 60 ปี
69. ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันลงข่าวลือเกี่ยวกับในหลวงว่า แซกโซโฟน
ที่ทรงอยู่เป็นประจำนั้นเป็นแซกโซโฟนที่ทำด้วยทองคำเนื้อแท้บริสุทธิ์
ซึ่งได้มีพระราชดำรัสว่า'อันนี้ไม่จริงเลย สมมติว่าจริงก็จะหนักมาก ยกไม่ไหวหรอก'

70. ปีหนึ่งๆ ในหลวงทรงเบิกดินสอแค่ 12 แท่ง ใช้เดือนละแท่ง จนกระทั่งกุด
71. หัวใจทรงเต้นไม่ปรกติ ในหลวงเคยประชวรหนักจนหัวใจเต้นไม่ปกติ
เนื่องจากติดเชื้อไมโครพลาสม่า ขณะขึ้นเยี่ยมราษฎรที่อำเภอสะเมิงติดต่อกันหลายปี
72. รู้หรือไม่ว่า ในหลวงเป็นคนประดิษฐ์รูปแบบฟอนต์ภาษาในคอมพิวเตอร์
ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้อย่าง ฟอนต์จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์
73. ในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส
ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จัดขึ้นที่อิมแพ็ค มีประชาชนเข้าชมรวม 6ล้านคน
74. ในหลวงเริ่มพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2493 จน 29 ปีต่อมา
จึงมีผู้คำนวณว่าเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละ 3 ช??.
ทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทาน 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด
รวมน้ำหนักทั้งหมด 141 ตัน
75. ดอกไม้ประจำพระองค์ คือ ดอกดาวเรือง
76. สีประจำพระองค์คือ สีเหลือง
77. นั่งรถหารสอง : ทรงรับสั่งกับข้าราชบริพารเสมอว่า การนั่งรถคนละคัน
เป็นการสิ้นเปลือง จึงให้นั่งรวมกัน ไม่โปรดให้มีขบวนรถยาวเหยียด


(ที่มา//www.school.net.th/schoolnet/article/read.php?article_id=)



ก่อนหน้านี้ได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับในหลวงไว้เข้าชมเพิ่มเติ่มได้ที่


ในหลวงในดวงใจ



รวมเพลงที่แต่งขึ้นถวายพระพร




) ✫ ✫ ✫.
`⋎´✫¸.•°*”˜˜”*°•✫
..✫¸.•°*”˜˜”*°•.✫
/ღ˚ •。*  ˚ ˚✰˚ ˛★* 。 ღ˛° 。* ° ˚ • ★ *˚ .ღ 。
/▌*˛˚ ░L░O░N░G░░L░ I░V░E░░T░H░E░░K░I░ N░G░ ˚ ✰*
/ ˚. ★ *˛ ˚* ✰。˚ ˚ღ。* ˛˚  。✰˚* ˚ ★ღ ˚ 。✰ •* ˚ " ✰











เข้าจุดเทียนชัยมงคล ถวายพระพร






 

Create Date : 04 ธันวาคม 2554    
Last Update : 27 ธันวาคม 2554 13:15:44 น.
Counter : 10273 Pageviews.  

1  2  3  

หนึ่งคิด
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




เพลง

..*

หนึ่งในความห่วงใยของพ่อหลวง.....

เยลลี่พระราชทาน แจกฟรี สำหรับผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก

หรือผู้กลืนอาหารไม่ได้

มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระราชูปถัมภ์

หน่วยทันตกรรมพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ร่วมกันพัฒนาเยลลี่โภชนาการ เพื่อผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก

ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเจลกึ่งแข็งกึ่งเหลว

มีเนื้อสัมผัสที่พอดีไม่อ่อนหรือแข็งเกินไป

ง่ายต่อการเคี้ยวและการกลืน ผลิตจากนมที่ผ่านกรรม

วิธีย่อยแลคโต๊สซึ่งเป็นสาเหตุของการดื่มนมแล้ว

ไม่สบายท้อง ท้องเสียแล้ว ทำให้ผู้ที่มีปัญหา

เรื่องดื่มนมแล้วไม่สบายท้อง สามารถกินได้โดยไม่มีปัญหา

และเมื่อนำไปทดลองใช้กับผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก

พบว่าผู้ป่วยไม่ต้องให้อาหารทางสายยาง

ผู้ป่วยสามารถกินได้เอง และผู้ป่วยที่กินเยลลี่โภชนา

การมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 

ผู้สนใจที่มีปัญหาเรื่องมะเร็งช่องปากหรือ

มีญาติมิตรเป็นโรคดังกล่าว สามารถติดต่อขอรับได้

โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดใด ได้ที่ต่างๆ ดังนี้คือ

1. โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา 044-235582, 081-955-9002

2. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรุงเทพฯ 02-3547025-35

3. ศูนย์มหาวชิราลงกรณ ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 02-5461960-6

4. ศูนย์มะเร็งชลบุรี 038-784001-5

5. ศูนย์มะเร็งลพบุรี 036-621800

6. ศูนย์มะเร็งลำปาง 054-335262-8

7. ศูนย์มะเร็งอุดรธานี 042-207375-80

8. ศูนย์มะเร็งอุบลราชธานี 045-285610-5, 045-285637-40

9. ศูนย์มะเร็งสุราษฎร์ธานี 077-211625-8 ต่อ 1006

10.สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 02-889-3489

ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สถานพยาบาล ดังกล่าว

หรือ ติดต่อสอบถามมูลนิธิทันตนวัตกรรม

ได้ที่ คุณบัวขาว หงษาชุม โทรศัพท์ 089-664-4634, 02-218-9027

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ :http://bit.ly/UFCrZa

ขอขอบคุณภาพจาก: ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร Fan page

๙๙๙๙๙๙๙

----


widgeo
------------ โครงการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสมหามงคล 60 ปีราชาภิเษก และ 84 พรรษามหาราชา
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนึ่งคิด's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.